ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด ตกแต่งภายใน : บริษัท บาริโอ จำกัด
 
 

 

ไขปัญหากับช่างแม่น พูดมาก

ตอนที่ 2 ถังเก็บน้ำ

ความเดิมจากตอนที่แล้ว หลังจากบรรยายสาระพันเกี่ยวกับถังบำบัดน้ำเสียไปแล้ว คราวนี้ เรื่องต่อมาคงไม่พ้นเรื่องของถังเก็บน้ำ เพราะบ้านเรานี้ ถึงแม้ว่าจะดี มีน้ำมีลำธารมากมาย แต่ก็ใช่ว่าจะพ้นจากปัญหาน้ำแล้ง ทีนี้ พอมีปัญหาน้ำแล้ง เราก็ต้องมานั่งสำรองน้ำเพื่อให้พอใช้ไว้ก่อน ซึ่งก็คงไม่พ้นเรื่องของถังเก็บน้ำ และต่อเนื่องไปยังเครื่องกรองน้ำ และปั๊มน้ำนะขอรับกระผม..

ผม นายช่างแม่น มาขอรายงานตัวครับ.. โดยในวันนี้ ผมจะมาขอเล่าให้ฟัง เกี่ยวกับเรื่องของถังเก็บน้ำที่ในปัจจุบันมีราคาแพงเหลือหลาย มีทั้งแบบบนดิน ใต้ดิน แบบถังกลม ถังเหลี่ยม โอ๊ย..มากมาย..

 


ถังเก็บน้ำบนดิน
 
 
 

 

ในปัจจุบัน ชีวิตคนเราก็ยังผูกพันกับน้ำ ก็เจ้านายท่านเล่าให้ผมฟังว่าคนเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบตั้ง 70 เปอร์เซ็นต์ แล้วจะไม่ให้เราผูกพันกับน้ำได้ยังไงเล่าครับ พูดแล้วก็พูดเถอะ เมื่อยามผมยังเด็ก ยังมีแม่น้ำลำคลองให้โดดตึงๆ ลงน้ำ ร้อนก็วิ่งลงน้ำ ดับร้อนซะหน่อย พอโตขึ้น ไอ้เจ้าน้ำในแม่น้ำลำคลองก็กลายสี เป็นสีคล้ำๆ เกือบดำ ครั้นจะให้ลูกหลานลงไปโดดเล่นก็คงไม่ไหว ไม่ต้องพูดถึงน้ำกิน ยิ่งแล้วใหญ่.. นี่หลวงท่านบอกว่าน้ำประปาดื่มได้ ช่าย..อันนั้น ผมก็คงไม่เถียง แต่ผมขอถามว่า ดื่มแล้วจะเป็นอะไรหรือเปล่า.. โถ..คนพูดยังไม่กล้าดื่ม แล้วจะให้พวกเรามาดื่มกันยังไงล่ะ.. พูดดังมากๆ เดี๋ยวเจ้านายเอ็ดเอา เพราะท่านไม่อยากให้เอาเรื่องการเมืองมาพูด..แหะแหะ...

 

 
 
 
 

ถังเก็บน้ำ หากเราจะแบ่ง ก็คงแบ่งได้อย่างเห็นชัดๆ ได้เป็นสองแบบ คือบนดิน กับใต้ดิน อันนี้ไม่ใช่หวยนะครับ.. เป็นถังเก็บน้ำ โดยเจ้าถังบนดิน ก็จะมีหน้าตามู่ๆ ทู่ๆ มักตั้งอยู่หลังบ้าน ส่วนถังใต้ดิน ก็จะมีลักษณะกลมเหมือนไข่เต่า มีฝาปิดด้านบน เวลาฝังก็ต้องลงฐานราก เพื่อมิให้มันทรุดลงไปมากๆ เดี๋ยวท่อจะหลุด จะขาดซะ..

 

 
 
 

 

เวลาเราเลือกซื้อถังเก็บน้ำประจำบ้าน มักจะต้องตัดสินใจก่อนล่ะว่าจะเอาแบบบนดิน หรือใต้ดิน เพราะถ้าบนดิน แทงถูกก็ได้หลายสิบล้าน..เอ๊ย..ไม่ใช่..เพราะเจ้าถังบนดิน มันจะเกะกะหน่อย หน้าตาไม่สวย ไม่งาม ผิวเป็นมันวาวสะท้อนแสงแดด เข้าตาทีงี้..แทบบอดเลยครับ.. คนส่วนมากเลยต้องเอามันไปหลบไปซ่อน เพื่อจะได้ไม่มีใครเห็นมากนัก ยกเว้นคนใช้ เพราะห้องคนใช้กับถังเก็บน้ำ มักจะอยู่คู่กันทุกทีเลยซีน่า..แต่ถังบนดิน ก็มีประโยชน์มากนะครับ เพราะถังบนดิน จะมองเห็นได้โดยรอบ ดังนั้น พอมีสนิมขึ้น เราก็รู้ได้ หรือมีอะไรตกลงไป ก็ล้างทำความสะอาดง่ายกว่า เพียงแค่ปล่อยรูตรงก้น ให้น้ำไหลออก จากนั้น ก็ส่งคนลงไปล้าง ขัดซะหน่อย ก็เรี่ยมเร้ เรไรไปแล้วละครับ

ส่วนเจ้าถังใต้ดิน หน้าตาจะกลมๆ เพราะเวลาฝังในดินแล้ว จะได้รับแรงกดจากทั้งภายในและภายนอกได้เป็นอย่างดี แต่ก่อนจะฝังดิน เราจะต้องฝังฐานรากพร้อมลงเข็มให้มันซะก่อน มิฉะนั้น มันจะเคลื่อน จะย้าย จะยุบ อาจทำให้เราหามันไม่เจอในภายหลังได้ อย่างไรก็ดี ถังใต้ดิน แม้ว่าจะซ่อนได้แนบเนียนกว่า มิดชิดกว่า (เพราะอยู่ใต้ดิน) แต่ก็มีราคาแพงกว่า และค่าบำรุงรักษาที่มากกว่า รวมทั้งหากมีปัญหาเกิดขึ้นที่ใต้ดิน ก็จะเป็นเรื่องราวกันใหญ่โต แถมกว่าเราจะรู้ ก็นานเชียวครับ..

สำหรับเรื่องของถังเก็บน้ำใต้ดิน สมัยก่อนก็มีการหล่อเป็นถังคอนกรีตสี่เหลี่ยมพร้อมลงฐานรากเสร็จสรรพ จากนั้นก็หล่อฝาด้านบนปิดทับ ปูกระเบื้องตกแต่ง ใช้เป็นที่นั่งที่เดินเล่น บางคนก็ใช้เป็นที่จอดรถ อ้าว..ไม่ได้โกหกนะ มีจริงๆ นะครับ.. ปัญหาของถังแบบนี้มีมากมายมหาศาล และผมไม่แนะนำให้ใช้เลย เพราะถังแบบนี้มักจะทรุดเร็ว แค่น้ำหนักถังกับน้ำ เข็มหกเมตร จะไปพอที่ไหนกัน ทีนี้พอทรุดตัวลงไป ปัญหาก็ตามมา เพราะฝาถังที่เป็นลานด้านบน มันตามมาไม่ทัน โอ้โห..ถึงตอนนั้น ก็ดูไม่จืดเชียวคุณ เพราะมันจะเกิดรอยแยกบริเวณรอยต่อของตัวถังกับฝาถัง ทีนี้ล่ะ..ดินเอย แมลงสาบเอย..อย่าให้พูดถึงเลยครับ..สยอง..

 
 
 

ถังเก็บน้ำใต้ดิน
 
 
 

 

นอกจากนี้ หากตัดสินใจใช้ถังเก็บน้ำใต้ดินแล้ว ผมขอแนะนำให้ใช้ช่างจากทางบริษัท ตัวแทนจำหน่ายเป็นผู้จัดการ เพราะจะมีความชำนาญมากกว่าช่างรับเหมาทั่วไป พอทำเสร็จแล้วก็ให้เทพื้นปิดด้านบนไปเลย จะได้สบายใจ เหตุที่ต้องพูดอย่างนี้ เพราะผมเอง เคยมีประสบการณ์กับบ้านหลังหนึ่ง มีเจ้าของบ้านเค้าให้ซินแสสูงอายุท่านหนึ่งไปดูบ้านให้ พอดูไปดูมา ซินแสก็บอกว่าบ้านนี้ มีปัญหาเรื่องน้ำ น้ำไม่ดี เจ้าของบ้านเค้าก็ไม่เชื่อ เพราะถังเก็บน้ำฝังไว้ใต้ดินเสร็จตั้งนานแล้ว จะมีปัญหาได้อย่างไร แต่ซินแสก็ยืนยัน และให้ขุดเอาถังออก มิฉะนั้น คนในบ้านจะป่วยเป็นโรคโดยไม่ทราบสาเหตุ สุดท้าย เจ้าของบ้านก็ยอม และให้คนขุดขึ้นมาดู ปรากฎว่าทุกคนตกใจกันหมด ถังเก็บน้ำที่ฝังไว้ใต้ดินซะดิบซะดี เป็นรูๆ ด้านบนถึงห้าหกรู ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

เจ้าของบ้านเลยตามผู้รับเหมามา ผู้รับเหมามาเห็นก็ตกใจเหมือนกัน สุดท้ายก็ยอมรับว่าตัวผู้รับเหมาเองมีปัญหากับคนงานก่อสร้าง เรื่องการจ่ายค่าแรง ทางคนงานก็เลยหายตัวไป เลยคาดกันว่า พอผู้รับเหมาฝังถังเก็บน้ำใต้ดินเสร็จและกลบด้วยทรายอัดให้แน่นแล้ว คนงานก็ใช้เหล็กเส้นยาวๆ ที่ใช้หล่อคานเนี่ยแหละครับ แทงลงไป.. นัยว่าเป็นการแก้แค้นผู้รับเหมา งานนี้ ผู้รับเหมาก็ต้องรับผิดไปตามระเบียบ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายกันอ่วมไปเลย

เอาล่ะครับ โม้มามากแล้ว สำหรับการคำนวณขนาดของถัง ให้ใช้สูตรว่า คนเราหนึ่งคนใช้น้ำ 200 ลิตรต่อวัน ดังนั้น หากบ้านคุณมี 4 คน ก็ใช้น้ำ 800 ลิตรต่อวัน ถ้าต้องการสำรองน้ำใช้สักสองวัน ก็เอาสองไปคูณ ได้เป็น 1,600 ลิตรครับ แต่ถ้าเกิดมีน้ำขาดแคลนบ่อยๆ ก็เลือกรุ่นใหญ่หน่อย ให้สำรองน้ำได้สัก 3 วัน กลายเป็นถัง 2,400 ลิตรขึ้นไป..ง่ายมั้ยครับ แค่จำง่ายๆ ว่าคนเราหนึ่งคนใช้น้ำ 200 ลิตรต่อวัน แค่นั้นเป็นพอ จากนั้น เราอยากจะใช้สำหรับกี่คน กี่วันก็คูณเข้าไป..ง่ายจะตายไป..

สูตรการคำนวณปริมาตรของถังเก็บน้ำ

ขนาดของถังเก็บน้ำ = 200 x จำนวนคน x จำนวนวันที่ต้องการสำรองน้ำ

ในกรณีที่หาถังที่มีขนาดที่ต้องการไม่ได้ ให้หาขนาดที่ใกล้เคียงก็ได้ครับ โดยมาก ผมมักจะแนะนำให้ใช้รุ่นที่ใหญ่ขึ้นไป เพื่อจะได้อุ่นใจเวลาน้ำประปาไม่ไหล

ปัจจุบัน สถาปนิกรุ่นใหม่ๆ หลายคน มักจะเชียร์ให้ใช้ถังรุ่นบนดิน เพราะดูแลรักษาง่ายกว่า แต่ถ้ารังเกียจในหน้าตาของมัน ก็ยังมีรุ่นที่ทำจากไฟเบอร์ หน้าตาสวยๆ เป็นกล่องสี่เหลี่ยมทรงสูงก็มี ทาสีให้เข้ากับบ้านก็ได้ แต่สำหรับผมแล้ว ไม่ขอฟันธงครับ (เดี๋ยวเจ็บมือ) อันนี้แล้วแต่การใช้งานซะมากกว่า หากมีที่กว้างพอและสามารถซ่อนถังให้หลบสายตาได้ดี ก็ใช้บนดินนะแหละครับ..แต่ถ้าที่ทางไม่เอื้ออำนวย หรืออยากให้บ้านเรือนสวยงามเรียบร้อย ก็ควรจะเอาลงใต้ดินซะ อันนี้ หากระวังซะหน่อย ดูแลดีๆ ก็ไม่มีปัญหาหรอกครับ..

 

ช่างแม่น พูดมาก

 

 

 

 

 

 
Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links
 
บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 Tel. 66 2881 8536-7 Fax. 66 2881 8538
house servic, decoration design home architect architecture interior design designer homeplan residential furniture family decorat building build planning cost news information structure arch drawing apartment idea bangkok develop foreman เฟอร์นิเจอร์ การซ่อมแซมบ้าน วัสดุแต่งบ้าน ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องอาหาร ออกแบบ ตกแต่งภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ บ้านสวย มัณฑนากร สถาปัตย์ ตกแต่ง บารีโอ บริการ ปรึกษา รับสั่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามแบบ รับเหมาตกแต่ภายใน วรวุฒิ ธรรมกุลางกูร มยุรี ธรรมกุลางกูร