คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana
คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana
คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana
คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana คลองมหาสวัสดิ์ photo by hana
 
 

 

 

“เฮ่อ!!! เดือนนี้ไม่มี long weekend เลย แต่อยากไปเที่ยวจัง ไปไหนดีล่ะ ที่ใกล้ๆ เอาแบบสบายๆ นะ”

“ไปไหนดีล่ะ”

“ใครเคยเห็นเค้าเก็บบัวบ้าง ไปดูเค้าเก็บบัวกันดีกว่า”

โอเค้..โอเค งั้นวันนี้ลิพาไปเที่ยวเชิงเกษตร ที่คลองมหาสวัสดิ์กันนะคะ คุณล่ะเคยไปมาหรือยัง ???

6.30 น. หน้าศาลายา คือเวลาและสถานที่นัดหมายก่อนเคลื่อนขบวนไปที่วัดสุวรรณาราม
ศูนย์บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จุดเริ่มต้นของ trip นี้ เจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ได้แนะนำเราให้รู้จักกับ
พี่ยา(พี่ยา..ยาใจ หรือเปล่าก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน) วันนี้พี่ยาจะไกด์ประจำเรือของเรา

ก่อนลงเรือพี่ยาแจกเสื้อชูชีพคนละตัว เรือ 1 ลำ บรรจุผู้โดยสารได้ 6 ท่าน เท่านั้น พอดีกับลูกทัวร์ของลิพอเชียวค่ะ อ้อ!! ลืมบอกไปวันนี้พาหนะของเราคือ เรือแจว และมีกัปตันคือ พี่ยาใจนั่นเอง

 

 
 
  klongmahasawad photo by hana  
 
 

 

ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์
มหาโกษาธิบดี (ขำ บุญนาค) ขุดคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นในปี 2398 แล้วเสร็จในปี 2403
เป็นคลองที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเริ่มต้นที่คลองบางกอกน้อย ตรงวัดชัยพฤกษ์มาลา เขตตลิ่งชัน กทม. ไปออกที่แม่น้ำท่าจีน ตรงบริเวณศาลเจาสุบิน ต.งิ้วราย อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เพื่อใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์

 

 
 
  klongmahasawad photo by hana
 

ทุกระยะ 4 กิโลเมตร โปรดเกล้าให้สร้างศาลาไว้ริมคลอง จำนวน 7 ศาลา สมัยนั้นเรียกว่า ศาลา 1, ศาลา2, ศาลา 3, ศาลา 4 (ศาลากลาง), ศาลา 5 (ศาลาทำศพ), ศาลา 6 (ศาลายา), ศาลา 7 (ศาลาดิน)

ปัจจุบันทั้ง 7 ศาลา ไม่เหลือร่องรอย
ให้เห็นแล้ว เหลือไว้แต่ตำนานที่เล่าขานกันว่า ศาลาที่ 4 อยู่ที่ตำบลศาลากลาง
อ.บางกรวย จังหวัดนนทบุรี

 
 
 
 

 

ศาลาที่ 5 มีเรื่องเล่ากันว่าเป็นศาลาคู่สำหรับตั้งทำศพ เพื่อพิธีฌาปนกิจ ตั้งอยู่ตรงหลักกิโลเมตรที่ 15
ริมทางรถไฟสายใต้ เรียกศาลาธรรมสพน์
เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯมหานคร

ศาลาที่ 6 คือ ศาลายา อยู่บริเวณหมู่ที่ 3
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล กล่าวกันว่า
เป็นศาลาที่จารึกตำรายาเอาไว้ใครผ่านไปมา
ก็สามารถจดจำเอาไปใช้ได้

ศาลาสุดท้ายคือ ศาลาดิน อยู่บริเวณหมู่ที่ 3
ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล เล่ากันว่า
เป็นสถานที่ฝั่งศพในสมัยนั้น

 
klongmahasawad photo by hana  
 
 

 

ฟังตำนานกันแล้วนะคะ เราก็มาเที่ยวที่จริงๆ กันบ้างนะคะ ตามวัตถุประสงค์ของการมาเที่ยววันนี้คือการมาดูการเก็บบัว ดังนั้นจุดแรกสำหรับการล่องเรือวันนี้ คือ นาบัวนายแจ่ม หรือลุงแจ่มนั่นเองพี่ยาเล่าว่าลุงแจ่มเพิ่งเสียไปเมื่อปีกลายนี่เองปัจจุบันลูกชายเป็นผู้ดูแลต่อ ขึ้นจากเรือเดินผ่านบ้านลุงแจ่มออกไปที่ศาลาที่ยื่นออกไปกลางนาบัว เห็นแล้วก็ต้องร้องโอ้โหเลยล่ะ นาบัวจริงๆๆ

นาบัวฟังแล้วนึกไม่ออกเพราะเคยแต่ได้ยินคำว่าสระบัว  ก็ลองนึกภาพนาข้าวแต่เปลี่ยนจากต้นข้าว
มาเป็นดอกบัวแทน เต็มพื้นที่ 20 ไร่ละกัน บัวจะมากขนาดไหน พี่ยาพาเราไปลงเรือสังกะสี
ที่ศาลากลางนาบัว เพื่อดูวิธีการเก็บดอกบัวได้อย่างใกล้ชิด

 

 
 
  นาบัวนายแจ่ม photo by hana  
 
 

 

ดอกบัวของลุงแจ่ม คือ บัวสัตตบุตย์ การเก็บจะมีคนเดินลุยน้ำในนาที่สูงประมาณเอว จากนั้นเดิน
เก็บดอกบัวที่โตเต็มที่ เพื่อส่งให้กับแม่ค้า
ที่จะมารับไปขายอีกที และหากเจอใบหรือดอก
ที่เหี่ยวก็จะเด็ดทิ้งด้วย ใครสนใจไปดูคนเก็บบัว
ต้องไประหว่างเวลา 5.30 น. ไปจนถึงเวลา
8 โมงกว่า นั่นคือ เมื่อเก็บดอกบัวได้เต็มเรือ
แล้วนั่นเองค่ะ การเก็บบัวจะมีวันเว้นวันเท่านั้นหากจะไปดูจริงๆ คงต้องโทรเช็คกันก่อนนะคะ

 
นาบัวนายแจ่ม photo by hana  
  นาบัวนายแจ่ม photo by hana
 

(ถ้าจะมาเที่ยวนาบัว หรือมาพายเรือ
ในนาบัว ล่ะก็เปิดทั้งวันค่ะ)

ลิลองเด็ดมาแล้วยาก...ส์ ค่ะ เพราะก้านดอกบัวมีหนามเล็กๆ เมื่อเราเด็ดต้องเด็ดให้ก้านยาวนิดหนึ่งเพื่อจะได้เอาไปถวายพระได้.. ถ้าเป็นดอกบัวที่บานแล้ว สามารถเก็บได้ฟรีค่ะ หรือใครอยากเก็บดอกบัวตูมเพื่อไปถวายพระก็เด็ดได้ตามสบาย เพียงแต่เราคงจ่ายค่าดอกบัวนิดหน่อย นิดหน่อยจริงๆ เพราะลูกทัวร์เราไปมีเด็ก ๆ 2 คน แข่งกันเก็บใหญ่ ค่าดอกบัวแค่ 20 บาทเท่านั้นเอง

 
 
 
 

 

เริ่มสาย ท้องก็เริ่มร้องพี่ยาใจตอบสนองทันทีเช่นกันด้วยจุดแวะพักจุดที่ 2 เป็นการชมการแปรรูป
ผลผลิตเกษตร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรรมมหาสวัสดิ์ ขึ้นจากเรือมา เราก็เจอโต๊ะรับแขก
กลางศาลาริมน้ำ จัดวางน้ำดื่มเย็นๆ และขนมจากผลผลิตการแปรรูปไว้ต้อนรับให้เลือกชิมได้
ตามอัธยาศัย มีทั้งผลไม้หยีปรุงรส ได้แก่ มะม่วง มะยม มะละกอ ฝรั่ง มะกอก ข้าวตัง(ผลผลิตจากข้าวซ้อมมือ)หน้าหมูหยอง หน้างา ไข่เค็มเสริมไอโอดีน ที่ถูกใจชาวคณะคงไม่พ้นข้าวตังหน้าหมูหยอง หน้างา ที่มีการสาธิตการทอดข้าวตังและทาหน้ากันทำกันสดๆ ให้ดูให้ชิมเป็นที่อิ่มหน่ำไปตามๆๆ กัน

นอกจากนี้ยังมีผลผลิตเกษตรอื่นๆ อีกเช่น หัตถกรรมจากใบมะพร้าว ได้แก่ หมาก กระเช้า
ทุกผลิตภัณฑ์ได้รับเครื่องหมาย อย.จากกระทรวงสาธารณสุข

เฮ่อ..กินขนมเรียกน้ำย่อยกันอย่างนี้แล้ว ชาวคณะต่างร่ำร้องขอกินข้าวจริงๆ เลยได้ไหมเพราะ
ยังไม่ได้กินข้าวเช้ากันเลย พี่ยาใจก็เอาใจกันเต็มที่ เร่ง speed เรือกลับมาที่ท่าน้ำที่เราลงกันเมื่อเช้า เพราะตรงท่าเรือมีตลาดให้เลือกซื้อ เลือกกินตามสะดวก เมื่อขึ้นจากเรือได้ทุกคนก็ลงความเห็นขอกินก๋วยเตี๋ยวตรงท่าเรือนี่แหละ ชิมกันไป ชิมกันมา เบิ้ล 2 เป็นแถว (ฮ่า ฮ่า สงสัยวันนี้ใช้พลังงานมากไปหน่อย)


 

 
 
  ดอกกลัวยไม้ photo by hana
 

หนังท้องตึงหนังตาก็หย่อน เอ้ย..ไม่ช่าย หนังท้องตึงแรงเดินก็กลับมา พี่ยาใจ
คนสวย(ยิ่งพูดถึงชื่อพี่ยายิ่งยาวขึ้น) พาไปเที่ยวจุด ที่ 3 คือสวนกล้วยไม้ บ้านนายชุบ คชเวช ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พื้นที่ 12 ไร่  มาถึงชานหน้าบ้านทำเป็นที่นั่ง มีน้ำเย็นไว้เลี้ยงรับรอง(อีกแล้ว..ชื่นใจ)


กล้วยไม้ของลุงชุบ เป็นกล้วยไม้สกุลหวาย ปลูกเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะ ที่น่าสนใจคือ กล้วยไม้พันธุ์ "ทัศนีย์" ซึ่งมีที่เดียวในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการขยายพันธุ์กล้วยไม้ แบบว่ากล้วยไม้เต็มไปหมด แต่ต่างสี ต่างรูปลักษณ์ แล้วบางพันธุ์ยังส่งกลิ่นหอมอีกด้วย(เสียงพี่สาว PR ประจำสวนกล้วยไม้ ยืน เดินตามอธิบายให้ฟัง
ที่มาที่ไปของกล้วยไม้แต่ละชนิด)

 
 
 
 

 

“นั่น ก็ไก่ฟ้าพระยาลอ” เสียงแว่วบอกจากพี่สาว PR
ลิก็หันซ้ายหันขวาหาใหญ่เลย หาไม่เจอ จนพี่สาว PR คนเดิมต้องเดินมาชี้ให้ดูมันอยู่ตรงหน้านี่เอง(น่าอายจริงๆๆ) เคยได้ยินแต่ชื่อ ทีแรกยังนึกว่าเป็นไก่จริงๆ เหมือนในเรื่องอิเหนาเสียอีก (ใครไม่เคยเห็นก็สามารถชมได้ที่นี่ อ๋อมีภาพมาฝากด้วยนะคะ สำหรับผู้ที่รักไม้ดอก ยังสมารถซื้อกลับไปชื่นชมที่บ้านได้อีกด้วย มีทั้งแบบที่ดอกสวย และที่มีกลิ่นหอม

 

ไก่ฟ้าพระยาลอ
 
 
 

 

อืม... และแล้วก็ถึงจุดไคล์แม็กซ์สำหรับนักชิมอีกจุดหนึ่งนั่นคือ สวนผลไม้นายนายบุญเลิศ
เมื่อก้าวเข้าอาณาเขตของบ้านนายบุญเลิศ เศรษฐอำนวย ทีแรกเราก็สงสัยว่าเค้าเป็นร้านอาหาร
หรือมีงานเลี้ยงอะไร เพราะมีโต๊ะ พร้อมของว่างวางไว้เต็มทุกโต๊ะ( 4-5 โต๊ะ) แต่เดินเข้าไปใกล้
คุณแจ๋วเจ้าของบ้านเข้ามาต้อนพวกเราให้นั่งลงโต๊ะที่เตรียมไว้ แล้วก็คะยั้นคะยอให้ให้ชิม
ของว่างต่างๆ เช่น ส้มโอแสนหวาน ขนุนเนื้อหนากรอบบวกหวาน มะม่วงแช่อิ่มหันเป็นชิ้นเล็กๆ พอคำ นอกจากนี้ยังมีขนมไทยที่เราไม่ค่อยได้กินอีกจำพวก ข้าวตู ข้าวเหนียวแก้วที่หอมหวาน

เสร็จจากภารกิจการชิม(แบบมโหฬาร) เราก็เคลื่อนขบวนไปขึ้นรถอีแต๋น(ไม่ใช่คำหยาบนะคะ) เป็นที่สนุกสนานของเด็กๆ คุณน้าโชเฟอร์โชว์ฝีมือการขับได้สุดเหวี่ยงเรียกเสียงกรีดกร๊าดเมื่อถึงหัวโค้งหรือหักเลี้ยว ได้บรรยากาศอีกแบบเมื่อนั่งรถอีแต๋นดูต้นไม้ ผลไม้ต่างๆ ในสวนของลุงบุญเลิศ เพลินๆ
มาสุดที่ทุ่งสีเขียวผสมเหลืองยาวสุดลูกหูลูกตา ใช่แล้วนาข้าวนั่นเอง คุณน้าโชเฟอร์เล่าให้ฟังว่า
เป็นนาข้าวที่ปลูกเพื่อใช้กินเองหากเหลือจึงจะขาย ตอนนี้ข้าวออกรวงเต็มที่แล้วรอเวลาเกี่ยวเท่านั้น
ก็อีกประมาณ 4-5 วันเท่านั้น

 

 
 
  นาข้าว photo by Isyss นาข้าว photo by hana  
 
 

 

แหม..น่าเสียดายจริงๆ ที่เรามาก่อน ไม่งั้นคงมีโอกาสได้เห็นการเกี่ยวข้าวว่าเค้าทำกันอย่างไงบ้าง
เนอะ... ตั้งใจไว้ว่าจะโทรมาเช็คอีกทีว่าเกี่ยวข้าววันไหนแน่ๆ คราวนี้ไม่พลาดแน่..ฮึม!!

                                                                                                                                   
มะลิ

 

หมายเหตุ :

การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว

จากแยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึงที่ว่าการอำเภอพุทธมณฑล ระยะทาง 1 กม.
จากที่ว่าการอำเภอพุทธมณฑล ถึงทางเข้าวัดสุวรรณาราม ระยะทาง 4 กม.
จากทางเข้าวัดสุวรรณาราม ถึงศูนย์บริการท่องเที่ยวเกษตร(ติดวัดสุวรรณาราม)ระยะทาง 1 กม.

รถประจำทาง
สาย ปอ.16 อนุสาวรีย์ชัย-ศาลายา
สาย 124 พาต้า-ศาลายา
สาย 125 กรุงธน -ศาลายา
ลงรถที่ตลาดใหม่ศาลายา นั่งรถจักรยานยนต์รับจ้างถึงวัดสุวรรณาราม ราคา 10 บาท

รถไฟ
จากสถานีบางกอกน้อยถึงวัดสุวรรณาราม
เวลา 07.20 น.(สายบางกอกน้อย-หลังสวน)
เวลา 07.40 น.(สายบางกอกน้อย-น้ำตกฯ)

อัตราค่าบริการ
ค่าบัตรเข้าชมสวน ทั้ง 4 จุดท่องเที่ยว ผู้ใหญ่ คนละ 70 บาท เด็ก คนละ 40 บาท(อายุ 5-12ปี)

ค่าเรือพร้อมผู้นำชม
ลำละ 300 บาท(นั่งได้ 6 คน/ลำ) (นำเที่ยวจุดท่องเที่ยวทั้ง 4 จุด และล่องเรือเลียบคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อชมทัศนียภาพสองฝั่งคลอง)

สนใจติดต่อโดยตรงได้ที่ :
ศุนย์บริการท่องเที่ยวเกษตรอำเภอพุทธมณฑล 034-297152,02-8893842,01-4959091
สำนักงานเกษตรอำเภอพุทธมณฑล 02-4410837
ที่ว่าการอำเภอพุทธมณฑล 02-4419830
(ข้อมูลบางส่วนคัดลอกมาจาก แผ่นพับนำเที่ยว สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม
กรมส่งเสริมการเกษตร)

 

 

 
 

 

 

 
Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links
 
บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 Tel. 66 2881 8536-7 Fax. 66 2881 8538
house servic, decoration design home architect architecture interior design designer homeplan residential furniture family decorat building build planning cost news information structure arch drawing apartment idea bangkok develop foreman เฟอร์นิเจอร์ การซ่อมแซมบ้าน วัสดุแต่งบ้าน ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องอาหาร ออกแบบ ตกแต่งภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ บ้านสวย มัณฑนากร สถาปัตย์ ตกแต่ง บารีโอ บริการ ปรึกษา รับสั่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามแบบ รับเหมาตกแต่ภายใน วรวุฒิ ธรรมกุลางกูร มยุรี ธรรมกุลางกูร