ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน
ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน
ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน
ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน ย้อมเวลาไปกับเฟอร์นิเจอร์ : รับออกแบบตกแต่งภายใน
 
 

 

ย้อนเวลากับเฟอร์นิเจอร์หลากหลายสไตล์ในอดีต


            การพัฒนารูปแบบ รูปทรง และการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ มักขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ปัจจัยในการดำรงชีวิต สถานะภาพทางสังคม และแฟชั่น หลายประเทศมีการพัฒนารูปแบบไปในทิศทางเดียวกัน ปัจจัยและอิทธิพลที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคล้ายคลึงกัน ทำให้เฟอร์นิเจอร์ในสไตล์ต่างๆ ที่พบเห็น มักถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
            อย่างไรก็ตาม สไตล์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลามีลักษณะโดดเด่นเฉพาะ ตั้งแต่องค์ประกอบโดยรวม รูปร่าง รูปทรง วัสดุที่ใช้ และการประดับประดาตกแต่ง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ง่ายต่อการระบุและบ่งชี้ได้ว่าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นเป็นรูปแบบใดและอยู่ในช่วงเวลาใด

 

 
 
 
 

 

Renaissance
จากต้นกำเนิดในประเทศอิตาลี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 สไตล์ Renaissance ได้รับความนิยมและแพร่หลายไปทั่วทวีปยุโรปกว่า 200 ปีต่อมา คำว่า ‘Renaissance’ หมายความถึง การเกิดใหม่หรือการฟื้นฟู สไตล์นี้ได้รับแรงบันดาลใจในความต้องการที่จะฟื้นฟูศิลปวิทยาการในสมัยกรีกและโรมัน ให้กลับมาโดดเด่นอีกครั้งหนึ่ง นักออกแบบนำเอาลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกรีกและโรมัน เช่น เสาและหัวเสาแบบต่างๆ คิ้วบัว และมุขหลังคารูปจั่ว รวมไปถึงเครื่องเรือนของใช้ แจกัน รูปปั้นผู้หญิง มาผสมผสานกับรูปแบบ Classical ก่อให้เกิดเฟอร์นิเจอร์สไตล์ใหม่ ที่มีความประณีตละเอียดละออตามหลักสถาปัตยกรรม

 
ห้องนั่งเล่น - ออกแบบตกแต่งภายใน
 
  ห้องนั่งเล่น - ออกแบบตกแต่งภายใน
 

 

Baroque
สไตล์ Baroque เน้นการแสดงออกถึงความมั่งคั่ง ร่ำรวย และมีอำนาจ เลียนแบบศิลปะในเชิงการละคร และงานปฎิมากรรม ผสมผสานสไตล์ Classical และ Renaissance เข้าด้วยกัน แต่เน้นความใหญ่โตโอ่อ่า การแกะสลักอย่างวิจิตรบรรจง เลือกใช้วัสดุเสริมและเทคนิคนำเข้าต่างๆ ในชิ้นงาน เช่น การประดับมุกและฝังพลอย การหุ้มเบาะนั่งด้วยผ้ากำมะหยี่อย่างหรูหรา รูปแบบเหล่านี้ถือเป็นสไตล์ Baroque ขนานแท้ที่ถือกำเนิดขึ้นในโรมันประมาณ คริสต์ศตวรรษ 1600 และแพร่หลายไปยังประเทศในแถบยุโรปและงอกงามในอีกหลากหลายพื้นที่ในช่วงเวลาต่อมา

 
 
 
 

 

Chinoiserie
นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา Chinoiserie ได้ถือกำเนิดขึ้น และเป็นสไตล์ที่พัฒนามาจากรูปแบบความงดงามและเสน่ห์อันเย้ายวนใจที่ต่างกัน เช่น กระเบื้องเคลือบแบบยุโรป เครื่องเขินนำเข้า และศิลปะการประดับประดาตกแต่งของจีนและญี่ปุ่น คำว่า ‘Chinois’ สันนิษฐานว่ามาจากคำในภาษาฝรั่งเศส ‘Chinese’ เป็นสไตล์ที่ค้นหาแนวทางและวิถีทางที่เหมาะเจาะเหมาะสมด้วยตัวเอง เช่นเดียวกับนักออกแบบชาวยุโรปที่ได้สร้างสรรค์ศิลปะสไตล์ Oriental ที่แสดงออกมาได้อย่างหลากหลายความงดงาม บทสรุปของสไตล์ Chinoiserie ที่ถูกพัฒนามาเกือบ 200 ปี มีลักษณะเด่นที่พบเห็นจากหลักฐานที่บ่งบอกถึงการผสมผสานศิลปะจากจีนและญี่ปุ่นเข้าด้วยกันในชิ้นงานเดียวกัน เช่น มังกร เจดีย์ ดอกบัวบาน ทิวทัศน์ ภาพชีวิตผู้คนชาวจีน รวมทั้งเครื่องเขินลงรักสีดำที่มีลวดลายเลียนแบบอย่างธรรมชาติได้งดงามและสง่างามอย่างที่สุด

 

 

 
 
  bedroom - ออกแบบตกแต่งภายใน  
 
 

 

Georgian
Georgian คือ คำที่ใช้อธิบายถึงชิ้นงานเฟอร์นิเจอร์ที่ถูกสร้างขึ้นในอังกฤษ จากปีคริสต์ศตวรรษที่ 1715 – 1811 ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้า Georges ที่ 1 ถึงรัชสมัยที่ 3 ในช่วงต้นรัชสมัยเฟอร์นิเจอร์สไตล์ Georgian ใช้ไม้วอลนัทเป็นวัสดุหลัก ประดับประดาด้วยรูปแบบสไตล์ Rococo ที่เป็นที่นิยมในช่วงนั้น เช่น กนกลวดลายคดเคี้ยววกวน ลวดลายรูปตัวอักษร C และ S และปลายขาชิ้นงานเป็นรูปทรงเลียนแบบหอยและทรงกลม แต่ในช่วงปลายรัชสมัยนั้น เฟอร์นิเจอร์ส่วนมากกลับใช้ไม้มะฮอกกานีเป็นวัสดุหลัก รูปทรงเป็นเส้นตรง และประดับประดาชิ้นงานด้วยรูปแบบสไตล์ Neoclassical ทำให้กลายเป็นที่ชื่นชอบและนิยมใช้กันตลอดมาจนสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 18

 

 

 
 
  ห้องนั่งเล่น - ออกแบบตกแต่งภายใน
 

 

Gothic
เฟอร์นิเจอร์แบบ Gothic เป็นสไตล์ที่กำเนิดมาจากอิทธิพลของสถาปัตยกรรม ที่เกี่ยวกับความเชื่อความศรัทธาในคริสต์ศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สืบทอดกันมาในยุคสมัยกลาง ปรากฎตัวครั้งแรกในอังกฤษในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยช่างเฟอร์นิเจอร์ ชื่อ Thomas Chippendale ซึ่งได้ประยุกต์เอาลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบ Gothic เช่น ซุ้มประตู เส้นโค้งคล้ายอักษร S และดอกไม้สี่กลีบ ใส่เข้าไปอย่างเหมาะเจาะในการออกแบบชิ้นงานเฟอร์นิเจอร์ของเขา สไตล์ Gothic นี้ได้รับการฟื้นฟูและนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และมีอิทธิพลอย่างมากต่อรูปแบบสไตล์ Arts and Crafts Movement ในช่วงเวลาต่อมา

 
 
 
 

 

Louis XV
Louis XV ได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากสไตล์ Rococo คริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เน้นความสะดวกสบาย เรียบง่าย ธรรมดา รวมเข้ากันกับการตกแต่งภายในที่กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ก็ยังคงใช้เฉดสีที่ดูร่ำรวย หรูหรา รวมทั้งใช้สีทองกั้นขอบเขตภายในของชิ้นงานด้วย สไตล์นี้ก่อให้เกิดรูปทรงเฟอร์นิเจอร์แบบใหม่ เช่น เก้าอี้ยาวที่มีพนักหลังและที่เท้าแขนหนึ่งด้าน (chaise longue) เก้าอี้มีที่เท้าแขน (armchair) และโต๊ะทำงานของสตรี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของผู้หญิงในสังคมยุคนั้น สำหรับรูปแบบที่โด่งดังที่สุดในสไตล์นี้ คือ การประดับประดาด้วยชิ้นส่วนทองแดง และการลงรักสีดำบนผิวหน้าชิ้นงานซึ่งเลียนแบบเครื่องเขินสไตล์ Oriental

 
Louis XV giltwood bergere  
 
 

 

1 | 2 Next

 
 

 

 

 
Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links
 
บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 Tel. 66 2881 8536-7 Fax. 66 2881 8538
house servic, decoration design home architect architecture interior design designer homeplan residential furniture family decorat building build planning cost news information structure arch drawing apartment idea bangkok develop foreman เฟอร์นิเจอร์ การซ่อมแซมบ้าน วัสดุแต่งบ้าน ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องอาหาร ออกแบบ ตกแต่งภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ บ้านสวย มัณฑนากร สถาปัตย์ ตกแต่ง บารีโอ บริการ ปรึกษา รับสั่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามแบบ รับเหมาตกแต่ภายใน วรวุฒิ ธรรมกุลางกูร มยุรี ธรรมกุลางกูร