ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss
ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss
ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss
ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss ดอยแม่สะลอง : Photo by Isyss
 
 

 

เยือนเหนือสุดแดนสยาม

 

 
 
 
 

เมื่อลมหนาวเริ่มโชยชาย ขาเที่ยวอย่างมะลิก็ไม่นิ่งดูดาย เตรียมหาที่เที่ยวเหมาะๆ กับอากาศแบบนี้ จะว่าไปตามกระแสที่กำลังฮิตติดลมบนอยู่ในขณะนี้คงไม่พ้นงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ที่จังหวัดเชียงใหม่กันคะ แต่ไม่ใช่ค่ะ มะลิไม่ได้มาชวนไปเชียงใหม่ แต่ชวนเลยขึ้นไปอีกนิดชวนไป จิบชาบนยอดดอยกันนะคะ ที่ “เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา” ใช่แล้วค่ะ วันนี้มะลิจะพาไปแอ่วเจียงฮายเจ้า...

เชียงราย เป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำสาย แม่น้ำคำ แม่น้ำกก แม่น้ำลาว และแม่น้ำปิง... จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าเมืองเชียงรายก่อตั้งโดย พญาเม็งราย หรือ พ่อขุนเม็งรายมหาราช ราวต้นๆ พุทธศตวรรษที่ 19

 

 
 
 
 

เริ่มแรกพญาเม็งรายได้ขึ้นครองราชย์ที่เมืองเดิมอยู่ในอาณาจักรโยนกเชียงแสน ต่อมาพ่อขุนเม็งรายยกทัพมาประทับที่เมืองกู่เต้า ช้างชัยมงคลของพระองค์เกิดหายไป พระองค์จึงทรงออกตามหาไปจนถึงดอยจอมทองบริเวณริมฝั่งแม่น้ำกก พระองค์ทรงเห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินแดนในแถบนี้ จึงได้สร้างเมืองขึ้น และทรงขนานนามว่า “เมืองเชียงราย” ใน พ.ศ. 1805 และอพยพผู้คนมาอยู่ที่เมืองใหม่แห่งนี้และมีการย้ายเมืองอีกครั้งในปี พ.ศ.2101 มาที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง หรือก็คือ เมืองเชียงใหม่ในปัจจุบันนั่นเอง ต่อมาตกอยู่ใต้อำนาจการปกครองของพม่า จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองเชียงใหม่ก็กลับมาอยู่ใต้การปกครองของสยามอีกครั้งหนึ่ง ส่วนเมืองเชียงรายต้องกลับกลายเป็นเมืองร้าง เพราะเมืองเชียงแสนถูกตีแตก โดย พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้น พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนออกจากพื้นที่ ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เชียงรายได้รับการบูรณะอีกครั้ง จนมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการปฏิรูปการปกครอง เชียงรายถูกจัดให้อยู่ในการปกครองของมณฑลพายัพ ต่อมาเปลี่ยนมาเป็น “จังหวัดเชียงราย” ในสมัยรัชกาลที่ 6 (ประวัติโดยย่อที่ค้นมาได้ค่ะ)

จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่ไม่ใหญ่มากแต่ด้วยความที่ว่าพื้นที่เกือบทั้งหมดเป็นภูเขาสูง การเดินทางจึงเป็นลักษณะขึ้นเขาลงเขาตลอด

 

แม่ฮ่องสอน
บรรยากาศริมทาง ขณะขับขึ้นดอยแม่สลอง (สายใหม่) จะเห็นไร่ชาและป่าสนเป็นกลุ่มๆ

 
 
 

ดังนั้นหากใครจะมาเที่ยวเชียงรายจะต้องมีการวางแผนดีดี มิฉะนั้นแล้วอาจต้องมีการเสียเที่ยวได้ง่ายง่ายจ้า.. อย่างเช่นวันนี้ที่มะลิจะพาไปเที่ยว คือ เที่ยวดอยแม่สลองนะจ๊ะ

 

 
 
 
แม่ฮ่องสอน
ภาพถ่ายจากบนพระธาตุบนดอยแม่สลอง
จะเห็นไร่ชาเป็นลวดลายต่างๆ ดูสวยงามมาก
 

เมื่อเอ่ยถึงดอยแม่สลองทุกคนที่ได้ยินกว่า 80% จะต้องนึกถึงดอยที่เต็มไปด้วยดอกซากุระบาน หรือดอกนางพญาเสือโคร่ง
ซากุระพันธ์ที่เล็กที่สุดสีชมพูอมขาวบานสะรั่งตลอดแนวทางขึ้นดอยแม่สลองใช่ไหมคะ  แต่วันนี้วันที่เราไปเยือน ดอกซากุระยังไม่ออกมาให้ยลโฉมเลยค่ะ เนื่องจากเราไปกันก่อนที่ลมหนาวจะมาเยือน(ต้นเดือนพฤศจิกายน) ถามว่าเสียเที่ยวไหม ตอบได้ทันที “ไม่ค่ะ” เพราะวันที่เดินทางไปอากาศเริ่มเย็นตอนเช้า(20-25 องศา) และ
กลางวันอากาศแจ่มใสมาก..ค่ะ  ได้อีกบรรยากาศ

แม้นไม่ได้ชมดอกซากุระ แต่วันนี้มะลิพาไปจิบชารสเลิศกันบนยอดดอย คุณ คุณลองทายสิค่ะว่าเป็นชาอะไร เพราะ "ดอยแม่สลอง" ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตชาชั้นดีของเมืองไทยแห่งหนึ่งเลยค่ะ หากยังนึกไม่ออกมะลิบอกใบ้อีกนิดว่าชาที่ที่นี่ปลูกกันรู้จักในนาม “ชาอู่หลง” ร้องอ๋อเลยใช่ไหมค่ะ

 
 
 
 

 

เพราะ "ชาอู่หลง"ที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นชาอู่หลงที่รสชาติดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สามารถส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ นำรายได้เข้าสู่ชุมชนแม่สลองเป็นเม็ดเงินจำนวนไม่น้อย  เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สร้างความภาคภูมิใจและสร้างชื่อเสียงให้กับที่นี่เป็นอย่างมาก

 

 
 
 


ชาวเขาที่มารับจ้างเก็บใบชาที่ไร่ชา 101 โดยที่ไร่นี้จะมีการสาธิตกระบวนการเก็บ และตากใบชาให้ชมด้วย

 

 
 
 

เราแวะเที่ยวไร่ชาที่ไร่ชา 101 เป็นไร่ชาที่มีขนาดใหญ่มาก เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมและยังมีบริการ ชงชาให้นักท่องเที่ยวชิมฟรีอีก การเก็บใบชาจะเริ่มเก็บกันตั้งแต่ 9 โมงเช้าจนถึงบ่าย 3 โมง การเก็บใบชาจะเลือกเก็บเฉพาะ ยอดชาที่มีใบอ่อน 2-3 ใบเท่านั้น  ถ้ายอดชามีใบมากกว่านี้  จะใช้ไม่ได้ถือว่าใบชาแก่ไป(เหมือนในโฆษณาเลยเนอะ)

 

 
 
 
แม่ฮ่องสอน
 

อ้อ!! เราได้ความรู้เพิ่มเติมว่ายอดชาใบที่ 1 หมายถึงความขม ยอดชาใบที่ 2 หมายถึงความ เฝื่อน ยอดชาใบที่ 3 หมายถึงความหอม การเก็บชาแต่ละครั้งจะต้องตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ย เพื่อบำรุง ต้นชาให้แตกยอดใหม่อีก ภายใน 1 ปี จะทำการเก็บยอด ใบชาได้ประมาณ 6 ครั้ง  และใบชาช่วงฤดูหนาวจะมีรสชาติดีที่สุด เพราะยอดชาจะออก ยอดน้อยและจะหอมมากกว่าในฤดูอื่น 

 

 
 
 

อดีตแม่ทัพของกองกำลังนายพลต้วน
ในชุดชาวเขา ที่คอยมาต้อนรับนักท่องเที่ยว
ที่ดอยแม่สลอง

 

 

 

วันรุ่งขึ้น ขึ้นไปที่ หมู่บ้านชาวอาข่า หรือ บ้านหล่อชา เป็นหมู่บ้านในโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยวเชงวัฒนธรรม โดยชุมชนมีส่วนร่วม บ้านหล่อชาตั้งอยู่ริมถนนสายท่าตอน-ม่จัน “อาข่า” เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าหนึ่งที่อพยพมาจากตอนใต้ของประเทศจีนลงมาอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของไทยมากว่า 100 ปีมาแล้ว เรียกตัวเองว่า อาข่า ในขณะที่เราจะรู้จักกันในนาม อีก้อ (แต่พวกเขาจะไม่ค่อยชอบให้เรียกว่าอีก้อ)

ที่หน้าประตูของหมู่บ้านจะเห็นประตูทางเข้าหมู่บ้านเรียกว่า “ประตูผี” เป็นความเชื่อของชาวอาข่าว่าเป็นการแบ่งเขตแดนระหว่างผีกับคน เชื่อกันว่าเมื่อเดินผ่านประตูนี้จะเป็นการล้างมลทินภูติผีที่ติดตัวมาจากข้างนอก ขอเตือนว่าอย่าไปแตะต้องของที่อยู่บริเวณนี้เป็นอันขาด

 

 


ตลาดเช้าในเมืองแม่สลอง จะเห็นชาวเขานำผลผลิตที่ได้จากไร่มาขาย

 

 
 

สุภาวี น้องน้อยที่สวมหมวกชาวเขาตลอดเวลา มาคอยขายของให้นักท่องเที่ยวอยู่แถวๆ ตลาดและคุ้มนายพล

ชาวเขาแต่งตัวเต็มยศ นั่งขายเครื่องประดับอยู่หน้าคุ้มนายพลรีสอร์ท
 
 
 

 

ปล. แอบไปเช็คข้อมูลมาให้พิ่มนะคะว่า ในช่วงปลายปีของทุกปีจะมีเทศกาลชิมชา ปีนี้ก็เช่นกันหากใครว่างยังไม่มีโปรแกรมไปไหนลองมาที่งานนี้กันนะค่ะ “มหัศจรรย์ชา ซากุระบาน อาหารชนเผ่า ดอยแม่สลอง”  แหม.. แค่ชื่องานก็กินขาดแล้วค้า ในงานมีกิจกรรมน่าสนใจหลายอย่าง เช่น การแสดงวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ การออกร้านการประกวดธิดาชา ชมดอกซากุระ อื่นๆ อีกมากมาย ได้ยินแล้วอยากค่ะ อยากไปจัง เกือบลืมค่ะงานจะมีวันที่ 28 ธันวาคมนี้ ถึง วันที่ 1 มกราคม 2550 เรียกได้ว่ามา เคาน์ดาวน์ท่ามกลางอากาศที่โรแมนติกสุดค่ะ ใครมีโอกาสมาอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังนะคะ (แบบว่าอิจฉาค่ะ) หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อบต.นอก  Tel. 053 765 129

 

 
 

 

 

  ความคิดเห็นที่  
   
  โดย  

แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
ลงชื่อ:
ข้อความ :
 
Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links
 
บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 Tel. 66 2881 8536-7 Fax. 66 2881 8538
house servic, decoration design home architect architecture interior design designer homeplan residential furniture family decorat building build planning cost news information structure arch drawing apartment idea bangkok develop foreman เฟอร์นิเจอร์ การซ่อมแซมบ้าน วัสดุแต่งบ้าน ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องอาหาร ออกแบบ ตกแต่งภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ บ้านสวย มัณฑนากร สถาปัตย์ ตกแต่ง บารีโอ บริการ ปรึกษา รับสั่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามแบบ รับเหมาตกแต่ภายใน วรวุฒิ ธรรมกุลางกูร มยุรี ธรรมกุลางกูร