Tea : Photo by Isyss Tea : Photo by Isyss Tea : Photo by Isyss Tea : Photo by Isyss
Tea : Photo by Isyss Tea : Photo by Isyss Tea : Photo by Isyss Tea : Photo by Isyss
Tea : Photo by Isyss Tea : Photo by Isyss Tea : Photo by Isyss Tea : Photo by Isyss
Tea : Photo by Isyss Tea : Photo by Isyss Tea : Photo by Isyss Tea : Photo by Isyss
 
 

 

วิถีแห่งชา : ตามหาตำนานชา

“ซินเจียยู่อี่ ซินนี้เพ่งอัง”
แปลว่า  สวัสดีปีใหม่ ขอให้ปลอดภัยจากอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บค้า... เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศวันขึ้นปีใหม่จีน เข้าสมัยกันนิดวันนี้เดียร์มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ  "เต๊ " ( Tay ) ในภาษาจีน หรือ ที่เราๆ ท่านๆ รู้จักในนามว่า “ชา” หรือ “ชาจีน” ( tea )   ชา เป็นเรื่องราวที่มีมายาวนานมาก จนเกิดเป็นตำนาน หลายๆ ตำนาน เพราะ การดื่มชาจึงไม่ได้เป็นเพียงเครื่องดื่มเท่านั้น แต่ยังแฝงด้วยอะไร อะไรหลายๆ อย่างเป็นการแสดงให้เห็นถึงความละเมียดละไม ศิลปะ เป็นวัฒนธรรม เป็นรสชาติของชีวิต ที่ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมานาน.. วันนี้เดียร์จะพาไปตามหาตำนานของชากันนะคะ

การดื่มชานั้นได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,000 กว่าปี ก่อนคริสตกาล โห้..เดียร์นับไม่ถูกเลยค่ะว่าถึงปัจุบันนี่กี่ปีมาแล้ว ปีนี้ปี 2007 กว่า 2,000 ปี ก็เรียกได้ว่าตำนาชาเริ่มมากว่า 4,000 ปี จึงไม่ต้องแปลกใจหากมีตำนานชาหลายตำนาน

 

 
 
 
 

ตำนานแรก เริ่มขึ้นเมื่อ จักรพรรดิเสินหนงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชาโดยบังเอิญ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชา ขณะที่รอน้ำเดือด บังเอิญมีกิ่งชาหล่นลงในหม้อน้ำที่กำลังต้ม สักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมา เมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่ม จึงรู้สึกรสชาติดีและชอบ จึงแนะนำให้ดื่มกัน จากนั้นการดื่มชาก็มีกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้วพระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่าง ๆ กว่า 200 ชนิด ชาวจีนจึงได้นับถือว่าพระองค์เป็นบิดาแห่งแพทย์ศาสตร์

 

 
 
 

 

ตำนานที่สอง กล่าวกันว่านักบวชชี่อ ธรรม ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียได้เดินทางมาจาริกบุญเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจีน ในช่วงแผ่นดินของจักรพรรดิถูตี่ ในช่วงปี ค.ศ.519 จักรพรรดิถูตี่ทรงนิยมชมชอบนักบวชจึงได้นิมนต์ให้นักบวชไปพักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในเมืองนานกิง ขณะที่นักบวชได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ก็เกิดเผลอหลับไปทำให้ชาวจีนหัวเราะเยาะ เพื่อเป็นการลงโทษตนเอง มิให้กระทำความผิดเช่นนั้นอีก ท่านธรรมจึงได้ตัดหนังตาของตนทิ้งเสีย หนังตาเมื่อตกถึงพื้นก็เกิดงอกขึ้นเป็นต้นชา ซึ่งเป็นนิมิตที่แปลก ชาวจีนจึงพากันเก็บชามาชงในน้ำดื่มเพื่อรักษาโรค

 

 
 
 
 

 

ตำนานสาม เล่ากันว่าได้เกิดโรคอหิวาตกโรคระบาดในเมืองจีน ทำให้ผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมาก เกี้ยอุยซินแส เป็นผู้พบสาเหตุใหญ่ของการเกิดโรคเกิดจากการดื่มน้ำที่สกปรก ดังนั้นจึงแนะนำให้ชาวบ้านต้มน้ำดื่ม และหากให้ชาวบ้านต้มน้ำดื่มเฉยๆ ชาวบ้านอาจไม่ทำตามจึงมีการเสาะหาใบไม้มาอังไฟให้หอมเพื่อใส่ลงไปในน้ำต้ม ต่อมา เกี้ยอุยซินแส พบว่ามีพืชชนิดหนึ่งที่ให้กลิ่นหอมมาก มีรสฝาดเล็กน้อยและแก้อาการท้องร่วงได้ จึงเผยแพร่วิธีการนี้ให้ชาวบ้านได้ทำตาม ซึ่งพืชที่มีกลิ่นหอมก็คือต้นชานั่นเอง

นอกจากตำนานต่างๆ แล้ว ชายังถูกบันทึกไว้ในหนังสือจีนโบราณชื่อ เอ๋อหยา (Er Ya : On Tea) โดยขุนนางในจักรพรรดิ Zhou ว่า ชา คือสมุนไพรรสขมชนิดหนึ่ง จากบันทึกของมณฑลหัวหยาง (ปัจจุบันคือ มณฑลซิฉวน) ในช่วงการทำสงครามระหว่างกษัตริย์วู (Wu) ในราชวงศ์ Zhou กับจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ Shang (ในปี 1066 ก่อนคริสตกาล) ทหารจากมณฑลซู (Shu) ซึ่งมาร่วมรบได้นำชาและผึ้งมาเป็นเครื่องบรรณาการแก่กษัตริย์ด้วย

 

 
 
   
 
 

 

สำหรับ ตำรา “ชา” เล่มแรกของโลก คือ "ชาชิง" เป็นตำราที่ให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับชาถึง 10 บท เขียนโดยหลูอยู่ ประมาณ ค.ศ. 780 เนื้อหาในหนังสือจะเริ่มตั้งแต่เรื่องต้นกำเนิดของการดื่มชา เครื่องมือ การผลิตชา อุปกรณ์การชงชา การชงชาที่ถูกวิธี วิธีการดื่มชา ประวัติเรื่องราวเกี่ยวกับชา แหล่งกำเนิดของชา การแบ่งคุณภาพของชา และธรรมเนียมการชงชา
จากประเทศจีน ชาได้ถูกเผยแพร่นำไปปลูกในประเทศต่างๆ ในเอเซีย เช่น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใกล้กับจีน โดยเริ่มรู้จักและมีการนำชาเข้าญี่ปุ่นโดยพระชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งที่เดินทางมาประเทศจีนกับเรือคณะทูต เพื่อมาศึกษาคำสอนทางพุทธศาสนา และได้นำเมล็ดชากลับไปปลูกที่ Shingaken ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จได้ผลดี ปัจุบันเห็นได้จาก พิธีชงชา หรือ ชาโนยุ (Chanoyu) แต่เดิมเป็นพิธีทางศาสนาของนิกายเซน ปัจจุบันมีการฝึกหัดชงชา เพื่อรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมของคนญี่ปุ่น

 

 
 
 
 

สำหรับประเทศไทย ชาเข้ามาตั้งแต่สมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน ที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนคือจาก จดหมายเหตุ ลาลูแบร์ราชฑูตฝรั่งเศส ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พูดถึงการดื่มชาในสยามว่าดื่มเฉพาะในกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น ถือเป็นมารยาทผู้ดีอันจำเป็นต้องนำน้ำชามาเลี้ยงผู้มาเยี่ยม การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล นอกจากนี้มีปรากฎเป็นหลักฐานว่า มีหมายรับสั่งของรัชกาลที่ 1 ในพิธีสงฆ์งานหลวงว่า "ให้แต่งน้ำชาถวายสงฆ์ทั้ง 4 เวลา…ให้หัวป่าก์พ่อครัวรับ เครื่องชา ต่อวิเสทหมากพลู ต้มถวายพระสงฆ์ให้พอ 8 คืน"

ในปัจจุบัน ความเชื่อที่ยังหลงเหลือ และยังมีปฏิบัติคือ คนไทยและจีนใส่ใบชาลงในโลงศพเพื่อใช้ประกอบพิธี บ้างว่าช่วยการดูดกลิ่น บ้างว่าไม่ให้มีน้ำเหลืองไหลออกมา ในพิธีไหว้บรรพบุรุษของจีน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ

 
 
 
 

 

น้ำชาและเหล้าเวลาทำความสะอาดหลุมศพ(เช็งเม้ง) จะต้องไหว้น้ำชาทั้งที่สุสานและที่บ้าน วันสารทจีนก็ไหว้น้ำชา แม้พิธีแต่งงานชาวจีนพิธียกน้ำชาก็มีบทบาท ใช้เคารพผู้ใหญ่ให้เมตตาคู่บ่าวสาว เพื่อการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่สมบูรณ์

หรือแม้กระทั่งเวลามีแขกมาเยื่อนถึงบ้านจะต้องยกน้ำชาออกมาต้อนรับ ถ้าไม่รักกันจริงจะไม่
ยกน้ำชามานั่งดื่ม เพราะจะได้คุยให้เสร็จๆ (แล้วรีบออกไปจากบ้านซะ) แหม.. อันหลังสุดนี่ เดียร์ว่าคล้ายๆ กับธรรมเนียมปฏิบัติเรียกได้ว่าสากลก็ว่าได้แต่อย่างบ้านเราก็จะเสริฟ น้ำ ชา หรือ กาแฟ ตามแต่สะดวกค่ะ

ตามหาตำนานชากันมาแล้ว ครั้งหน้าเดียร์จะพาไปรู้จักกับวิถีแห่งชาเรื่องอื่นๆ กันนะคะ แต่จะเป็นเรื่องอะไรขออุบไว้ก่อนค้า…

“ซินเจียยู่อี่ ซินนี้เพ่งอัง”

เดียร์

 
 

 

 

  ความคิดเห็นที่  
   
  โดย  

แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
ลงชื่อ:
ข้อความ :
 
Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links
 
บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 Tel. 66 2881 8536-7 Fax. 66 2881 8538
house servic, decoration design home architect architecture interior design designer homeplan residential furniture family decorat building build planning cost news information structure arch drawing apartment idea bangkok develop foreman เฟอร์นิเจอร์ การซ่อมแซมบ้าน วัสดุแต่งบ้าน ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องอาหาร ออกแบบ ตกแต่งภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ บ้านสวย มัณฑนากร สถาปัตย์ ตกแต่ง บารีโอ บริการ ปรึกษา รับสั่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามแบบ รับเหมาตกแต่ภายใน วรวุฒิ ธรรมกุลางกูร มยุรี ธรรมกุลางกูร