วิถีแห่งชา กว่าจะมาเป็นน้ำชา


        อะแฮ่ม!!! สวัสดีค่ะ รอกันนานนิดหนึ่งนะค่ะ กว่า จะมาพบกันคราวนี้ จากเมื่อ issue 24 เดียร์ได้พาคุณ ไปรู้จักกับตำนานแห่งชาแล้วนะค่ะ คราวนี้เรามาทำ ความรู้จักชากับการศึกษาตามข้อมูลหลักทาง วิทยาศาสตร์กันนะคะ

 

 

 

 

   
 
 

        “ชา” มีต้นกำเนินมาจากพืชตระกูลคาเมเลีย ไซเนนซิส (Camellia sinensis) โดยพืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนินอยู่ทางแถบ เอเชีย คือในจีน และอินเดีย ต้นมีลักษณะเป็นพุ่ม ใบมีสีเขียว ดอกสีขาวมีกลิ่นหอม และเมื่อดอกชาโตเต็มที่ จะให้ผลชาและในผลชานี้เองมีเมล็ดสำหรับแพร่พันธุ์หนึ่งถึงสามเมล็ด
ด้วยกัน

 

 
 
   
 
 

 

        “ชา” เป็นผลผลิตที่มาจากพืชชนิดเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นชาจีน ชาอินเดีย ชาศรีลังกา ชาญี่ปุ่น ชาอังกฤษ แต่จากหลากหลายวัฒนธรรม การผลิตใบชา เป็นขั้นตอนที่สะสมทั้งความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญที่สะสมผ่านกาลเวลา การถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง รุ่นแล้วรุ่นเล่า ผ่านปู่ถึงพ่อและลูกหลานเคล็ดลับของแต่ละตระกูล ล้วนเป็นความลับของครอบครัวที่ไม่ถ่ายทอดข้ามสายเลือด ใบชาที่ผลิตออกมาแต่ละไร่จึงมีรสชาติและคุณภาพที่แตกต่างกัน รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นก็มีส่วนที่ทำให้ได้ใบชาที่แตกต่างกันออกไป


        เราใช้ส่วนบนสุดของต้น หรือที่เราเรียกกันว่ายอดอ่อนของใบชา ส่วนของต้นชาที่นำมาเป็นเครื่องดื่มจะอยู่ส่วนบนสุดของต้น อันเป็นตำแหน่งของการผลิใบอ่อน และการแตกหน่อ ซึ่งเป็นส่วนที่มีคุณภาพดีที่สุดนั่นก็คือ ชาที่มีคุณภาพดีที่สุด คือ ชาที่ผลิตจากใบชาอ่อนและตานั่นเอง 

 

 
 
   
 
 

 

        การใส่รายละเอียดในทุกขั้นตอนของการทำชาเป็นเรื่องจำเป็น เพราะชาที่มีคุณภาพดีเลิศนั้นทุกขั้นตอนการผลิตกมีความสำคัญยิ่ง ถ้าหากเกิดข้อบกพร่องเพียงนิดเดียวก็จะสามารถทำให้ กลิ่นและคุณภาพของชาเปลี่ยนไปด้วย การทำชา เริ่มตั้งแต่ การเก็บชาที่ต้องทำกันแต่เช้า เพื่อให้ได้ยอดชาที่ใหม่ สด เครื่องมือในการเก็บใบชาที่ดีที่สุดก็คือ มือของมนุษย์ ซึ่งปฏิบัติต่อกันมาอย่างนี้เป็นเวลานับหลายพันปี นำใบชาที่เก็บได้มาผึ่ง เพื่อลดความชื้นในใบชา ทิ้งไว้ประมาณ 12-15 ชม. จากนั้นนำมานวดโดยการใส่ไว้ในถุง จากนั้นถึงนำบาที่ได้มาหมัก อันนี้เดียร์ว่าน่าจะเป็นการปรับอุณหภูมิให้กับใบชามากกว่า

 

 
 
   
 

 

 

           แค่ฟังก็เหนื่อยแล้วใช่ไหมค่ะ ใกล้เสร็จแล้วค่ะเพราะจากนั้นนำไปทำให้แห้ง คัดเกรด ทำความสะอาดและบรรจุหีบห่อ แล้วก็มาถึงมือเรางัยค่ะ จะเห็นได้ว่าขั้นตอนกว่าจะมาเป็นชาที่ใช้บริโภคกันทุกวันนี้ก็ยากเต็มที แล้วทำไมถึงมีคนสรรหามาดื่มกันอย่างแพร่หลาย ด้วยความที่อยากรู้เหมือนกันเดียร์ จึงไปหามาฝากค่ะ

          1. มีธาตุอาหารหลายชนิดเป็นองค์ประกอบ เช่น วิตามินซี โปรตีน น้ำตาล บำรุงร่างกาย ทำให้มีสุขภาพดี

          2. มีคาเฟอีนเป็นองค์ประกอบจึง ช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนของโลหิต, ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยป้องกันโรคหัวใจตีบตัน, ่วยรักษาอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, ช่วยรักษาอาการเจ็บหน้าอก ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ช่วยรักษาโรคหวัด, ช่วยรักษาโรคปวดหัว มีสิทธิพลต่อระบบเมตาโบลิซึ่มของเซลล์ร่างกาย

           3. มีสารโพลีฟีนอลช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุของโรคไทฟอยด์ อหิวาตกโรค

           4. มีสารไดเมธิลแซนธีน ช่วยระบบขับถ่ายให้ดีขึ้น

   
 
 

      5. ช่วยแก้กระหาย ดื่มแล้วชุ่มคอ ชื่นใจ และช่วยย่อยอาหาร แก้ร้อนใน และลดไขมัน

      6. ช่วยลดอาการอักเสบ สมานแผล

      7. ช่วยชะล้างสารพิษออกจากร่างกาย

      8. ใช้เป็นส่วนประกอบของยา

      9. ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น

     10. ชาผงใช้ในการแต่งกลิ่นในอาหาร

     11. ใช้ระงับกลิ่น เช่น กากใบชาที่เหลือจากการชงชาแล้ว ผึ่งไว้แห้งบรรจุภาชนะต่างๆ เช่น ถุงผ้า ฯลฯ สามารถดับกลิ่นในตู้เสื้อผ้า ดับกลิ่นในตู้เย็น ดับกลิ่นในตู้ไมโครเวฟ ดับกลิ่นในตู้ที่อับชื้น ดับกลิ่นในตู้ที่อับชื้น ดับกลิ่นในรถยนต์ ดับกลิ่นในห้องน้ำ ดับกลิ่นในห้องครัว ฯลฯ

      12. ขยายหลอดลม

      13. ป้องกันมะเร็ง ปอด ผิดหนัง กระเพาะอาหาร ตับ ลำไส้เล็ก

      14. ลดโคเสลเตอรอลในเลือด

      15. ลดน้ำตาลในเลือด

      16. ลดอัตราการแบ่งตัวของไวรัส

      17. หมอนที่มีกากใบชาแทนนุ่นช่วยคลายเครียดทำให้นอนหลับสบาย

        นอกจากนี้ชาที่มีกลิ่นหอมจะมีคุณสมบัติในการแยกองค์ประกอบของเนื้อและไขมัน ดังนั้นจึงมีส่วนช่วยเรื่องการย่อยอาหาร จึงเป็นที่มาของการนิยมจิบชาหลังรับประทานอาหาร จนมีคำกล่าวในสำนวนจีนที่พูดกันติดปากว่า "ขาดเกลือสามวันยังดีกว่าขาดชาหนึ่งวัน"

 
 

 

 

  ความคิดเห็นที่  
   
  โดย  

 
Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links
 
บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 Tel. 66 2881 8536-7 Fax. 66 2881 8538
house servic, decoration design home architect architecture interior design designer homeplan residential furniture family decorat building build planning cost news information structure arch drawing apartment idea bangkok develop foreman เฟอร์นิเจอร์ การซ่อมแซมบ้าน วัสดุแต่งบ้าน ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องอาหาร ออกแบบ ตกแต่งภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ บ้านสวย มัณฑนากร สถาปัตย์ ตกแต่ง บารีโอ บริการ ปรึกษา รับสั่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามแบบ รับเหมาตกแต่ภายใน วรวุฒิ ธรรมกุลางกูร มยุรี ธรรมกุลางกูร