โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกโปร่งบาง โรคกระดูกผุ คือ โรคเดียวกันนั่นเอง คือ ภาวะความหนาแน่นของกระดูกลดน้อยลง คนทั่วไปเข้าใจว่ากระดูกพรุนเป็นโรคคนแก่ คนสูงอายุ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดๆ เพราะในความเป็นจริง กระดูกเป็นสิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้น และเป็นคลังสะสมของแต่ละคนตั้งแต่เด็กที่จะถูกนำมาใช้เรื่อย และจะเติบโตเต็มที่เมื่อายุ 20-30 ปี ถ้าไม่เติมเข้าไปมันก็จะร่อยหรอ และสึกกร่อนได้


การสร้างและสลายของกระดูก
        ช่วงอายุการเจริญเติบโตของกระดูกสามารถแบ่งออกได้ 5 ช่วงอายุด้วยกันค่ะ

 

 
 
ช่วงอายุ การสร้างกระดูกและการสลายกระดูก หมายเหตุ
วัยเด็ก
ร่างกายสร้งกระดูก
มากกว่า
การสลายกระดูก

  ช่วงนี้หากร่างกายได้รับแคลเซียมเพียงพอ
  ความหนาแน่นของกระดูกก็จะมากตามไปด้วย

20-30 ปี


ร่างกายสร้งกระดูก
เท่ากับ
การสลายกระดูก

  

  ช่วงนี้ร่างกายเติบโตเต็มที่ เนื้อกระดูกมี
  ความหนาแน่นากที่สุดด้วย

30 ปีขึ้นไป


ร่างกายสร้งกระดูก
น้อยกว่าหรือเท่ากับ
การสลายกระดูก

  การสร้างกระดูกเริมลดน้อยลง ในขณะที่
  การสลายกระดูกยังดำเนินอย่างต่อเนื่อง
50 ปีขึ้นไป
ร่างกายสร้งกระดูก
น้อยกว่า

การสลายกระดูก

  สำหรับผู้หญิงที่หมดประจำเดือน เป็นช่วงที่
  การสลายกระดูกจะเพิ่มมากกว่าปกติ ปีละ 3-5 %   
  หรือเรียกได้ว่าการสร้างกระดูกไม่มีเพิ่มในขะที่
  การสลายกระดูกมีมากขึ้นเรื่อยๆ

60 ปีขึ้นไป


ร่างกายสร้งกระดูก
น้อยกว่า
การสลายกระดูก

  เป็นช่วงของการเสื่อมสลายกระดูก เนื่องจาก
  คลังความหนาแน่นของกระดูกที่สะสมมา จะ
   ถูกนำมาใช้ และหากลดน้อยกว่า 70 % ก็จะ
   ทำให้กระดูกทรุดตัวและแตกได้ง่าย

 
 

 

อาการของโรคกระดูกพรุน


        อาการโดยทั่วไป คือ อาการปวดกระดูก จะเป็นๆ หายๆ หรือ เป็นเองหายเอง โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง จะเริ่มปวดก่อน จากนั้นกระดูกสันหลังจะเริ่มคดและโค้งงอมากขึ้น พร้อมๆ กับส่วรสูงที่ลดลง หรือเตี้ยลงทุกปี นอกจากนี้ กระดูกจะเปราะและหักง่ายขึ้น

ขนาดความต้องการแคลเซียม

                เด็กเล็ก                                           600                        มิลลิกรัม ต่อ วัน
                เด็ก                                                800                        มิลลิกรัม ต่อ วัน
                วัยรุ่น                                           1,200                        มิลลิกรัม ต่อ วัน
                ผู้ใหญ่ (25-50)                              1,000                        มิลลิกรัม ต่อ วัน
                หญิงหลังหมดประจำเดือน                 1,500 – 2,000            มิลลิกรัม ต่อ วัน
                คนแก่                                          1,000                        มิลลิกรัม ต่อ วัน


 
           
 

แหล่งอาหารที่มีแคลเซียมสูง

  1. อาหารประเภทที่มีแคลเซียมสูง และร่างกายสามารถนำไป ใช้ประโยชน์ได้ดี ได้แก่ น้ำนมและผลิตภัณฑ์จากนม น้ำนมเป็นอาหารที่มีแคลเซียมสูง และเป็นแคลเซียมที่ร่างกายสามารถใช้ประโยชน์ได้ดีที่สุด เนื่องจากนมมีโปรตีน หรือกรดอะมิโนบางตัวกับน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่มีอยู่เฉพาะในน้ำนมเท่านั้น เป็นตัวช่วยส่งเสริมการดูดซึมของแคลเซียม เป็นตัวช่วยส่งเสริมการดูดซึมของแคลเซียม นมเป็นอาหารที่หาดื่มได้ง่าย แม้ว่าปัจจุบันยังมีการบริโภคกันน้อยในหมู่คนไทย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
    สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเพิ่มน้ำหนักให้ตัวเองก็เลือกดื่มนมพร่องไขมัน แต่สำหรับคนที่ร่างกายผอมจนเกินไป ก็ควรดื่มนมที่มีไขมัน ซึ่งมีให้เลือกมากมาย โดยสังเกตได้ที่ข้างกล่องว่าเป็นนมชนิดไหน แต่นมทุกชนิดล้วนเป็นแหล่งอาหารที่มีแคลเซียม ซึ่งมีคุณค่าอาหารสูงมาก เพราะมีวิตามินนานาชนิด และมีแร่ธาตุมากมาย นอกจากนี้ยังมีโปรตีนอีกด้วย
  1. ไข่แดงและอาหารทะเล เช่น ปลาเล็กปลาน้อย ปลาบ่น กะปิ
  1. ผักต่าง ๆ เช่น ตำลึง ดอกกะหล่ำ เห็ด ฯลฯ อาหารพวกนี้มี ปริมาณแคลเซียมสูง และมีอยู่อุดมสมบูรณ์ในประเทศไทย รวมถึงงาดำ


        เหล่านี้ล้วนเป็นชีวแคลเซียม ที่ร่างกายสามารถดูดซึมผ่านลำไส้ได้ง่าย และร่างกายสามารถเอามาใช้งานได้เลย สำหรับแคลเซียมเม็ด แคลเซียมฟู ถือว่าเป็นแคลเซียมอิสระ จะให้ปริมาณแคลเซียมสูงที่สุดเมื่อเรารับประทานระหว่างอาหาร เนื่องจากเป็นช่วงที่มีน้ำกรดในกระเพาะอาหารมากที่สุด ซึ่งแคลเซียมก็จะละลายได้ดีที่สุดด้วย

ข้อควรรู้

  1. นมเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุด นม 1 มล.จะมีชีวแคลเซียม 1 มก. ใน 1 วันสามารถดื่มนมได้ 500 มล. เป็นขนาดที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย

  2. การใช้ยาถ่าย ( Laxatives ) มากเกินไป และเป็นประจำ จะมีผลต่อการดูดซึมแคลเซียม

  3. แคลเซียมฟู เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากกระเพาะหลั่งน้ำกรดได้น้อยลง กว่าหนุ่มสาว ทำให้ลดปัญหาท้องอืด และท้องผูก

  4. การรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ ตั้งแต่เด็ก ทำให้สามารถเลี่ยงโรคกระดูกบางได้

  5. การออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน เต้นอารบิค สามารถกระตุ้นให้กระดูกแข็งแรงได้ และการออกกำลังกายประเภทยกน้ำหนัก หรือใช้อุปกรณ์ ยังสามารถช่วยสร้างกล้ามเนื้อและทำให้กระดูกแข็งแรงอีกด้วย

  6. ถ้าระดับฮอร์โมนเพศต่ำ หรือเป็นโรคที่ทำให้กระดูกโปร่งบาง จำเป็นที่ต้องรับประทานแคลเซียมเพิ่ม ให้เพียงพอ ต่อการสูญเสียแคเซียม เพื่อเลี่ยงการเป็นโรคกระดูกพรุน


 
           
  -- เดียร์--        
           
           

 

 

 
Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links
 
บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 Tel. 66 2881 8536-7 Fax. 66 2881 8538
house servic, decoration design home architect architecture interior design designer homeplan residential furniture family decorat building build planning bareo cost news information structure arch drawing apartment idea bangkok develop foreman เฟอร์นิเจอร์ การซ่อมแซมบ้าน วัสดุแต่งบ้าน ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องอาหาร ออกแบบ ตกแต่งภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ บ้านสวย มัณฑนากร สถาปัตย์ ตกแต่ง บาริโอ บารีโอ บริการ ปรึกษา รับสั่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามแบบ รับเหมาตกแต่ภายใน วรวุฒิ ธรรมกุลางกูร มยุรี ธรรมกุลางกูร