interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน
interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน
interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน
interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior design&decoration ออกแบบ ตกแต่งภายใน
 

 

           จากที่เมื่อ issue 32 เดียร์ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนไปนั้น ได้รับความสนใจอย่างมาก issue นี้เดียร์ขอยกบทความที่เพิ่งอ่านเจอ จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อคุณๆ บ้าง เป็นเรื่องราวระหว่าน้ำอัดลม กับโรคกระดูกพรุน ที่มีการวิจัยและถกถียงกันมานานค่ะ


            หลายปีมานี้ บรรดานักวิจัยพยายามหาข้อสรุปว่าน้ำอัดลมทำให้กระดูกอ่อนแอลงจริงหรือไม่ แต่สิ่งที่พอจะสรุปได้สำหรับตอนนี้ คือ แม้ว่าน้ำอัดลมหลายชนิดจะไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ที่สำคัญกว่า คือ การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มในปริมาณที่เพียงพอทำให้กระดูกแข็งแรง


            ความกังวลเรื่องโรคกระดูกพรุน กำลังขยายวงกว้างขึ้น ล่าสุดสมาคมกุมารแพทย์สหรัฐ ระบุว่าเด็กๆ อายุ 8 ปีขึ้นไปในสหรัฐ ส่วนใหญ่ได้รับแคลเซียมในปริมาณไม่เพียงพอจนมีความเสี่ยงว่ากระดูกจะเปราะในช่วงที่กระดูกกำลังพัฒนาเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ขณะที่มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งชาติของสหรัฐ คาดการณ์ว่าประชากรสหรัฐประมาณ 55% ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป กำลังทุกข์ทรมานกับฌรคกระดูกพรุน


            งานวิจัยในสหรัฐหลายชิ้นยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคน้ำอัดลมซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุด กับการที่แร่ธาตุในกระดูกมีความหนาแน่นต่ำโดยผลการศึกษาใรวารสารสุขภาพวัยรุ่นเมื่อปี 2530 ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลของวัยรุ่น 127 คน ที่ตอบแบบสอบถามเรื่องความถี่ของอาหารที่รับประทานปละประวัติด้านการแพทย์ รวมทั้งผลการศึกษาในปี 2543 ในเอกสารเวชกรรมศาสตร์ที่รวบรวมข้อมูลจากเด็กนักเรียนมัธยม 460 คน พบความเชื่มโยงหลายประการของการบริโภคน้ำอัดลมและภาวะกระดูกพรุนในเด็กวัยรุ่นผู้หญิง โดยสรุปว่าเด็กสาวที่ดื่มน้ำอัดลมมีโอกาสกระดูกเปราะบางได้มากกว่าผ็ที่ไม่ดื่มถึง 5  เท่า


            นอกจากนี้ผลวิจัยของวารสารโภชนาการแพทย์สหรัฐปีที่แล้ว ยังจุดชนวนความสนใจของสาธารณชน เนื่องจากพบว่าการดื่มน้ำอัดลมเกี่ยวข้องกับความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกสันหลังและกรดูกสะโพก 3 แห่ง โดยผลการวิจัยชิ้นนี้ได้เก็บข้อมูลเรื่องการวัความหนาแน่นของกรดูกและพฤติกรรมการกินของนักศึกษาชายและหญิงจำนวน 2,538 คน ซึ่งลงทะเบียนเรียนระยะยาว พบว่า ความเกี่ยวข้องนี้ไม่มีผลกระทบสำหรับผู้ชาย แต่การค้นพบที่สำคัญ คือ ไม่พบหลักฐานใดๆ ที่บ่งชี้ว่า การดื่มน้ำอักลมบ้างเป็นครั้งคราวส่งผลร้ายต่อสุขภาพกระดูกแก่ผู้หญิง


            แพทย์และนักวิจัยหลายคน ตั้งสมมุติฐานว่ากาเฟอีน กรดฟอสฟอรัส น้ำตาลหรือแม้กระทั่งการเติมโซดาลงในน้ำอัลมหลายชนิด เป็นตัวการทำให้กระดูกเปราะ เพราะสารอาหารเหล่านี้ ขัดขวางร่างกายไม่ให้ดูดซึมแคลเซียม ทำให้กลไกในร่างกายต้งดึงแร่ธาตุที่จำเป็นต้องใช้ออกมาจากกระดูก

 

 

 
   
 
น้ำส้มคั้นสดแหล่งผลิตแคลเซียมตามคำแนะนำของนักโภชนาการที่ระบุว่า เด็กอายุระหว่าง 9-18 ปี ต้องการแคลเซียมวันละ 1,300 มิลลิกรัม
 
 

 



            อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่าน้ำอัดลมจะมีผลกระทบต่อผู้ที่ดื่มในปริมาณมาก ก็ต่อเมื่อคนเหล่านั้นไม่บริโภคอาหารที่อุดมแคลเซียม และดื่มนมอย่างเพียงพอ โดยผลการวิจัยในวารสารโภชนาการการแพทย์สหรัฐเมื่อปี 2544 ซึ่งวัดปริมาณการเผาผลาญแคลเซียมในผู้หญิงที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ 32 คน ตลอดระยะเวลา 1 เดือน พบว่า กาเฟอีนทำให้ปริมาณแคลเซียมในผู้หญิงขับถ่ายออกมาในรูปของเสียจากร่างกาย เพิ่มขึ้นเล็กน้อย พร้อมสรุปว่าเรื่องนี้แทบไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อสุขภาพกระดูกเลย


            โรเบิร์ต ฮีนีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและโภชนาการแคลเซียมของมหาวิทยาลัยเครทตันในเมืองโอมาฮา รัฐเนแบร สหรัฐระบุในรายวานว่า ผลกระทบหลักของน้ำอัดลม คือการที่เครื่องดื่มชนิดนี้เข้ามาทนที่เครื่องดื่มประเภทอื่นๆ ที่เป็ฯประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า โดยผลการวิจัยชินนี้ได้เงินทุนจากมหาวิทยาลัยเครทตันและแดรี เมเนจเมนท์ อิงค์ องค์การส่งเสริมความต้องการของผลิตภัณฑ์จากนม
ผลการศึกษาของดอกเตอร์ฮีนีย์ชิ้นนี้ระบุด้วยว่า กรดฟอสฟอรัสไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อสุขภาพกระดูก แต่นักวิทยาศาตร์หลายคน กลับเชื่อว่ากรดฟอสฟอรัส ขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม เพราะกรดตัวนี้ช่วยป้องกันอันตรายจากการดิ่มน้ำอัดลม ทำให้ปริมาณกรดในร่างกายเพิ่มขึ้น แต่ดอกเตอร์ฮีนีย์ ก็ระบุว่า กรดฟอสฟอรัสในน้ำอัดลม มีปริมาณน้อยกว่าในน้ำส้มคั้นผสมแคลเซียม นม เนื้อสัตว์ หรือเนย


            รายงานจากที่ประชุมศัลยแพทย์ทั่วไปว่าด้วยเรื่องสุขภาพกระดูกและโรคกระดูกพรุนของสหรัฐเมื่อปี 2547 มีมติตรงกันว่า ในขณะที่กาเฟอีนและฟอสฟอรัส รบกวนการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายแต่ผลกระทบเหล่านี้เป็นเรื่องเล็กน้อยที่แก้ไขได้ด้วยการจำกัดอาหารและบริโภคแคลเซียมให้เพียงพอ


            แคทเธอรีน ทัคเกอร์ นักระบาดวิทยาของศูนย์วิจัยโภชนาการด้านการเกษตรของสหรัฐ จากมหาวิทยาลัยทัฟส์และผู้เขียนรายงานเรื่องน้ำอัดลมตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้วเชื่อว่า จำเป็นต้องมีการทำวิจัยระยะยาวเรื่องผลกระทบของการดื่มน้ำอัดลมมากขึ้น พร้อมเสนอแนะว่า กรดฟอสฟอรัส กระตุ้นการสูญเสียความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูก ซึ่งแม้ผลกระทบจากการได้รับกรดมีเพียงเล็กน้อยแต่ก็สะสมในร่างกายได้ หากได้รับกรดเป็นเวลานานหลายปี


            นอกจากนี้ทัคเกอร์ยังแนะนำว่า การวิจัยในอนาคตจำเป็นต้องกำหนดปริมาณการบริโภคกรดฟอสฟอรัสกับแคลเซียม ตัวอย่างเชช่น น้ำอัดลมหนึ่งขวดและเนยหนึ่งชิ้นจะก่อผลเสียน้อยลงต่อความหนาแน่นของธาตุในกระดูกหรือไม่



 
   
 

 



            ขณะที่สามาคมเครื่องดื่มสหรัฐ ( เอบีเอ ) ออกมาวิจารณ์ผลวิจัยหลายชิ้น ที่เชื่อมโยงการบริโภคน้ำอัดลมกับความหนาแน่นของกระดูก โดยนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งและกลุ่มบริษัทในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่ตีพิมพ์ในจดหมายเหตุ เวชกรรมวัยรุ่นและกุมารเวชศาสตร์ออกมาโต้แย้งว่าผลการศึกษาเมื่อปี 2543 ไม่ได้บ่งชี้ว่าเด็กสาวเหล่านั้นดื่มน้ำอัดลมก่อนที่กรูกของพวกเธอจะเปราะ



            เอบีเอ โต้แย้งรายงานของดอกเตอร์ทัคเกอร์ด้วยว่าไม่มีงานวิจัยชิ้นใดบงชี้ได้ว่ากาเฟอีนและฟอสฟอรัสเป็นอันตรายต่อสุขภาพกระดูก


            ด้านนายโรแบร์โต ปาซิฟิซิ ผู้ชี่ยวชาญโรคกระดูกพรุนของมหาวิทยาลัยอีโมรี ระบุว่าการใช้ยาสเตียรอยด์ประวัติครอบครัว การสูบบุหรี่และปัจจัยอื่นๆ มีส่วนก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนมากกว่าการดื่มน้ำอัดลม แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า ชาวสหรัฐส่วนใหญ่ยังต้องการแคลเซียมปริมาณมากขึ้น เพื่อรักษาสุขภาพของกระดูก


            รายงานทางการแพทย์ทั่วไประบุว่า วิตามินดี และโปรตีน รวมทั้งการจำกัดปริมาณอาหารให้สมดุลประกอบกับการออกกำลังกาย ก็มีความสำคัญเช่นกัน พร้อมแนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคเกลือในปริมาณมาก


            ทั้งนี้เด็กอายุระหว่าง 9-18 ปี ต้องการแคลเซียมวันละ 1,300 มิลลิกรัม ขณะที่ผู้ใหญ่อายุต่ำกว่า 50 ปี ต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนผู้ใหญ่อายุมากกว่า 50 ปี ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,200 มิลลิกรัม ขณะที่นักโภชนาการ แนะว่าอาหารที่เป็นแหล่งแคลเซียม ได้แก่ บร็อกโคลี กะหล่ำปลี น้ำส้มคั้น และเนยแข็ง


            อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสุขภาพกระดูกหลายคน เตือนบรรดาผู้ป่วยให้จำกัดการบริโภคน้ำอัดลม ด้วยเหตุผลทางสุขภาพทั่วไป รวมถึงสุขภาพกระดูก ขณะที่เฟลิเซีย คอสแมน ผู้อำนวยการด้านคลีนิกของมูลนิธิกระดูกพรุนแห่งชาติ แนะนำว่า ผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำอัดลมได้อย่างมากที่สุด 4 กระป๋องต่อสัปดาห์ และควรเลืกดื่มอน้ำอัดลมประเภทไดเอท

 

ขอขอบคุณ บทความดีดี จาก นสพ. กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 22 ตุลาคม 2550 ค่ะ

 

 
           
           
 

 

-- เดียร์ --

 

 

       
 
 
Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links
 
บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 Tel. 66 2881 8536-7 Fax. 66 2881 8538