|
ปีใหม่นี้ได้มีโอกาสเจอเพื่อนชาวฟินแลนด์ที่ภูเก็ต พอดีกับได้รับมอบหมายให้เขียนเกี่ยวกับประวัติเฟอร์นิเจอร์ของชาวสแกนดิเนเวีย เลยคุยกับเขาด้วยความประหลาดใจว่า เป็นไปได้อย่างไร? ประเทศฟินแลนด์มีประชากรเพียงแค่ 5 ล้านคน แต่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อก้องโลกได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมือถือ Nokia โปรแกรมลีนุกซ์ หรือแม้กระทั่งงานเฟอร์นิเจอร์ ก็คว้ารางวัลดีไซน์ยอดเยี่ยมมาแล้วทั่วโลก
Jari เล่าให้ฟังอย่างสนุกและภูมิใจว่า ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย (เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์และสวีเดน) เคยเป็นประเทศที่เรียกได้ว่ายากจนมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งแพ้สงคราม หนาวจัด และเพาะปลูกไม่ได้ ชาวสแกนฯ จึงต้องดิ้นรนทุกวิถีทางที่จะมีชีวิตอยู่รอดให้ได้ และงานดีไซน์เฟอร์นิเจอร์ที่ดีๆ ก็เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น
Jari เล่าต่อว่า ก่อนสินค้ามือถือจะโด่งดัง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ถือว่าเด่นที่สุดสำหรับชาวสแกนฯ เชื่อหรือไม่ว่า? ถึงขนาดเป็นประเพณีที่ว่าชาวสแกนฯ ทุกคนหากมีฐานะที่ดีแล้ว จะต้องดิ้นรนหาซื้อบ้านพักฤดูร้อนที่ทำจากไม้ รวมทั้งตู้อบซาวน่าร์แบบไม้ด้วย
Issue นี้อาจจะดูเป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์สักนิดนะค่ะ แต่เชื่อว่าหากเราไม่รู้ถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาแล้วล่ะก็ เราก็จะไม่เห็นคุณค่าทางศิลปะและไม่ได้ลิ้มรสความงดงามของมันได้อย่างลึกซึ้งค่ะ
|
|
|
|
|
|
ลวดลายไม้เบิชที่เป็นที่นิยมชมชอบของชาวฟินแลนด์ |
|
|
อาคารบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์เครื่องใช้ของชาวสแกนฯ มักทำจากไม้แทบทั้งสิ้น แม้กระทั่งอาคารสถานทูตของชาวสแกนฯ ในกรุงเบอร์ลินยังใช้ไม้เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง และถือเป็นต้นแบบของงานสถาปัตยกรรมแบบ Contemporary ที่เลื่องชื่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ค่ะ
Tapio Wirkkala ดีไซน์เนอร์ชาวฟินแลนด์ สร้างชื่อเสียงให้รู้จักทั่วโลกจากประติมากรรมงานแก้ว แต่จริงๆ แล้ว Wirkkala ยังเชี่ยวชาญในงานที่ทำจากวัสดุหลากหลายชนิด โดยเฉพาะงานไม้อีกด้วย ชิ้นงานไม้ที่เป็นที่รู้จักของเขาคือ การนำแผ่นไม้บางๆ หลากเฉดสีมาประกอบกันเป็นเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัว ทำให้มองเห็นชั้นของไม้เป็น Layer ดูเป็นงานศิลปะที่งดงามมาก ซึ่งดีไซน์ลักษณะนี้เรายังคงพบเห็นอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน
|
|
|
|
|
|
|
การผสมผสานระหว่างใยฝ้ายกับใยไม้ถักทอ
เป็นผืนผ้าสำหรับหลากหลายผลิตภัณฑ์ของ Woodnote |
|
โต๊ะแบบของ Tapio Wirkkala เป็นต้นแบบที่ดี
ที่แสดงให้เห็นว่า ไม้ มีความงดงามในเชิงศิลปะมากแค่ไหน |
|
|
ไม้ถือเป็นวัสดุธรรมชาติที่มีความพิเศษ นอกจากจะสวยงามอย่างลอกเลียนแบบไม่ได้แล้ว ไม้ยังสามารถป้องกันความเย็นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย Ritva Puotila ดีไซน์เนอร์ชาวฟินแลนด์ เห็นความยากลำบากของเพื่อนบ้านในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีความยากจนจนไม่อาจซื้อผ้าฝ้ายราคาแพงมาช่วยประทังความหนาวเย็นได้ Puotila จึงได้มีแนวความคิดที่จะใช้ใยไม้ที่หาง่ายในท้องถิ่นมาถักทอเป็นเครื่องนุ่งห่มแทนใยฝ้ายที่หายาก Puotila ตั้งบริษัทที่ชื่อว่า Woodnote สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นทั้งชิ้นงานศิลปะที่แปลกตา และเป็นสินค้าทั่วไปที่ใช้ตามบ้านเรือนโดยมีวัสดุหลักคือใยไม้ สินค้าที่เป็นที่นิยม เช่น ผ้าห่ม ผ้าม่าน ผ้าหุ้มเบาะโซฟา ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำมาจากใยไม้ผสมกับใยฝ้ายทั้งสิ้น
ช่วงปีต่อๆ มา Alvar Aaoto ดีไซน์เนอร์ชาวฟินแลนด์ ได้นำวัสดุเหล็กที่เป็นที่นิยมในช่วงนั้น มาปรับใช้ให้เข้ากันกับไม้ ความต้องการของเขาคือดีไซน์ผลิตภัณฑ์ให้สามารถผลิตเป็นอุตสาหกรรมส่งออกได้และต้องเหมาะสมกับความชอบของชาวสแกนฯ ด้วย Aaoto จึงเกิดความท้าทายที่จะบิดไม้ชิ้นเดียวให้มีความโก่งงอทำเป็นที่นั่งบนโครงเหล็ก หลังจากทดลองมามากมาย Aaoto ได้พัฒนาเทคนิคใหม่ที่ใช้ไอน้ำและความร้อนโค้งและขึ้นรูปไม้ ซึ่งเทคนิคนี้เรายังคงใช้กันอยู่จนถึงทุกวันนี้
|
|
|
|
|
|
ดีไซน์เนอร์ชาวสวีเดน Bruno Mathsson มีความคิดเช่นเดียวกับ Aaoto แต่ค่อนข้างสลับซับซ้อนกว่ามาก เนื่องจาก Mathsson มีพื้นฐานมาจากช่างไม้และอุทิศตัวเองให้กับอาชีพนี้ตลอดมา จุดมุ่งหมายของเขาคือการสร้างเก้าอี้ที่ถูกต้องตามหลักมาตรฐาน ให้นั่งได้อย่างสบาย เหมาะสม และถูกหลักสรีระร่างกายของมนุษย์ (ปัจจุบันเราเรียกว่าหลัก Ergonomic) เฟอร์นิเจอร์ของ Mathsson จึงได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงนั้นและได้รับการบันทึกให้เป็นดีไซน์เนอร์ระดับแนวหน้าของโลกเลยทีเดียว
เมื่อความนิยมทั่วโลกหันมาใช้พลาสติกกันมากขึ้น แต่ประเทศแถบสแกนฯ ก็ยังคงสวนกระแสสร้างผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์จากไม้ โดยเฉพาะเดนมาร์ก ได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ Handmade เป็นเฟอร์นิเจอร์แต่งบ้านและอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวหลากชนิด เช่น ชามสลัด ถังใส่น้ำแข็ง ถาด ของเล่น ฯลฯ และได้รับความนิยมอย่างสูงจนเกิดดีไซน์เนอร์ระดับแนวหน้าขึ้นมาหลายคน เช่น Kaare Klint, Finn Juhl และ Hans Wegner โดยเฉพาะ Wegner เขาได้ดีไซน์เก้าอี้ Handmade มากกว่า 500 แบบ และหลายรูปแบบก็ยังคงเป็นที่นิยมและผลิตออกขายด้วยวิธีแบบโบราณในโรงงาน Workshop เล็กๆ แถบชายแดนเดนมาร์ก
|
|
|
|
|
ในช่วงปี 1950 เดนมาร์กผลิตสินค้า Handmade คุณภาพสูงจากไม้สักมากมาย ในรูปเป็นถังไม้ใส่น้ำแข็งดีไซน์โดย Finn Juhl |
|
|
งานของ Ritva Puotila
ยังคงพบเห็นได้ทั่วไปในแถบสแกนดิเนเวีย |
|
|
|
|
Arne Jacobsen สถาปนิกและดีไซน์เนอร์หัวก้าวหน้าชาวเดนมาร์ก ได้ใช้เทคนิคทางวิศวกรรมการบินของอเมริกามาปรับใช้กับการดีไซน์ของเขา เก้าอี้มดของ Jacobsen มีดีไซน์เฉพาะตัวไม้ชิ้นเดียวมีเอวคอดเหมือนมดบนโครงเหล็กวาววับถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในยุคนั้น Jacobsen ยังได้ชักชวน Fritz Hansen มาเป็นนายทุนเปิดโรงงานให้กับเขา ลงทุนสั่งเครื่องจักรใหม่และต้นแบบเก้าอี้หลากดีไซน์จากทั่วโลก เขาทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจในการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่เป็นเอกลักษณ์อยู่นาน จนกระทั่งเก้าอี้ Series 7 ของ Jacobsen ได้เผยโฉมปรากฎสู่สาธารณะชน และก็ไม่ทำให้คนทั่วโลกต้องผิดหวัง งานของเขายังคงความงดงามที่ไม่เหมือนใคร เก้าอี้ไม้ที่มีผนักพิงกว้าง ดูทันสมัย สะดวกสบายและคงทน งานชิ้นนี้ถือเป็นต้นแบบเก้าอี้สำหรับดีไซน์เนอร์ในยุคต่อๆ มาเลยทีเดียว
|
|
|
|
|
เก้าอี้ Series 7 ดีไซน์ของ Arne Jacobsen น่าตื่นตาตื่นใจและเป็นที่จดจำของคนทั่วโลกมาจนถึงปัจจุบัน |
|
|
เก้าอี้ Wishbone หรือที่รู้จักกันดีว่า Y chair ของ Hans Wegner เป็นสินค้าที่ขายดีที่สุดในยุคนั้น และยังคงผลิตแบบ Handmade ขายอยู่จนถึงทุกวันนี้ |
|
|
|
|
ช่วงปีต่อมา อุตสาหกรรมของชาวสแกนฯ ดูเหมือนจะแข่งกับกระแสต่างชาติและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มาแรงอย่างอิตาลีไม่ไหว โรงงานหลายแห่งจึงเริ่มปิดตัวลง จนในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ชาวสแกนฯ เริ่มกลับมายืนบนแผนที่โลกได้อีกครั้งหนึ่งจากความโด่งดังของดีไซน์เนอร์ยุคใหม่ เช่น Thomas Eriksson, Pia Wallen, Bjorn Dahlstrom และ Thomas Sandell
แต่กระนั้นก็ตาม เราจะพบได้ว่าดีไซน์แบบสแกนดิเนเวีย ไม่เคยห่างหายไปจากความสนใจจากทั่วโลกเลย โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบสไตล์แบบคลาสสิค และ Contemporary ก็ยังยึดถือดีไซน์ของสแกนฯ เป็นต้นแบบในใจเสมอมา
ขอบคุณ : PAGEONE : scandinavia modern
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|