about bareo
news & events
art of design
decor guide
the gallery
living young
talk to editor
links

I-service

back issue
 

 

โดย Crouching Tiger


หน้าตาอาคาร ( facade)


           อันนี้ถือว่าเป็นหัวข้อแรกสุดของบรรดาเจ้าของอาคารประเภทตึกแถวทั้งหลาย ที่อยากให้อาคารของตนสวยเด่นเป็นที่เชิดหน้าชูตา ซึ่งการออกแบบหน้าตาของอาคารประเภทนี้นั้น ทำได้ไม่ยาก แต่ไม่ค่อยเห็นที่บ้านเรานั้น คงเป็นเพราะปัจจัยหลายๆ อย่าง ผมเลยขอนำเอาตัวอย่างภาพของหน้าตาอาคารประเภท Town House และ Shop House ที่สวยๆ มาฝากท่านผู้อ่านทุกท่านนะครับ

 

 

 
 

 

ภาพที่ 1 Hilpert House, New York 1998
By Ogawa / Depardon

           อาคารหลังนี้ เป็นอาคารทาวน์เฮาส์ที่ได้รับการ Renovate เสียใหม่
จนมีรูปโฉมไฉไล ขัดแย้งกับอาคารเก่าที่อยู่ข้างๆ อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่
ไม่ได้มีอะไรวิจิตรพิสดารมากมาย เพียงแต่เจาะช่องเปิดสี่เหลี่ยม
ขนาดใหญ่เต็มทั้งอาคาร จากพื้นจรดเพดาน สลับกับอวดโครงสร้าง
เหล็กสีเทา ซึ่งงานนี้ ทางสถาปนิกได้เครดิตไปเต็มๆ เพราะสามารถ
เนรมิตอาคารเก่า น่าเบื่อ ให้กลายเป็นบ้านแบบทันสมัยได้อย่างลงตัว

           นอกจากนี้ กิจกรรมต่างๆ ที่มีอยู่ภายในบ้าน ยังเป็นการสร้าง
ความน่าสนใจให้กับคนที่เดินผ่านไปมาแถวนั้นได้อีกด้วยนะครับ (อาจจะ
ไม่เหมาะกับพวกที่ต้องการความเป็นส่วนตัว)

 

 

 
 

   

 

ภาพที่ 2 City Town House, New York 1997
By Tod Williams & Billie Tsien

          นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงความขัดแย้งระหว่างอาคารใหม่กับอาคารเก่า ซึ่งมีการใช้กระจกและโครงเหล็กซึ่งเป็นวัตถุดิบยอดนิยมของชาวโมเดอนิสต์ ซึ่งให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกับอาคารก่ออิฐ และปูนปั้นได้เป็นอย่างดี

          การนำเอาผนังปูนเปลือยมาบังด้านหน้าอาคาร ก็เป็นลูกเล่นแบบ Graphic อีกอย่างที่สถาปนิกตั้งใจนำเสนอ โดยมีประโยชน์ใช้สอยในการเพิ่มผนังทึบภายในเพื่อความเป็นส่วนตัวอีก รวมทั้งยังบันดาลให้อาคารหลังนี้ดูมีเสน่ห์, แปลกแยกแตกต่างและน่าสนใจขึ้นอย่างประหลาด

 
 

ภาพที่ 3 Ruskin Place Houses, Seaside 1990-1993
By Walter Chatham


          เจ้าทาวน์เฮาส์ชุดนี้ มีด้วยกันสองหลัง หน้าตาไม่เหมือนกัน แต่เป็น
อาคารแฝดติดกัน สร้างพร้อมๆ กัน แต่ที่ผมนำมาใ้ห้ชมจะมีเพียงหลังเดียว
เพราะหน้าตาประหลาดดี มีหลังคาโค้ง ตามสมัยนิยมในยุคนั้น
(คงยังจำกันได้กับบ้านหลังคาโค้ง ที่ฮิตกันอยู่พักหนึ่ง) ซึ่งบ้านหลังนี้
เป็นของสถาปนิกผู้ออกแบบอีกด้วย (ส่วนอีกหลังหนึ่งเป็นของเพื่อนบ้าน)

   
 

 

ภาพที่ 4 Stairway to Heaven, Seaside 1994
By Alexander Gorlin

          หลังนี้ ก็เป็นตัวอย่างของทาวน์เฮาส์ริมชาดหาดอีกเหมือนกันครับ แต่เป็นอาคารเก่าที่ทำการปรับปรุงใหม่ ในสไตล์ Modern และมีการแยกเอาส่วนบันไดมาไว้ภายนอกอาคาร ขึ้นตรงไปยังห้องรับแขกได้เลย ส่วนด้านบนดาดฟ้า ก็มีการนำเอาบันไดเวียนมาปักไว้เพื่อให้ขึ้นไปดูดาวได้ และกลายเป็นจุดเด่นของอาคารนี้ไป

          อันที่จริง เนื่องจากอาคารหลังนี้ เป็นอาคารเก่า่และตั้งอยู่ริมหาด จึงมีกฎหมายบังคับค่อนข้างเยอะ ตั้งแต่การจำกัดความสูง การบังคับให้มีระเบียง และอื่นๆ อีกเบ็ดเตล็ด แต่สถาปนิกก็สามารถสรรหาวิธีที่จะนำเสนอรูปแบบใหม่ของอาคารขึ้นมาได้สำเร็จ ดูเรียบง่า่ย แต่มีพลัง และกลายเป็นที่กล่าวถึงอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

 
 

ภาพที่ 5 Kettner Row Town Houses, San Diego 1998
By Jonathan Segal


          อาคารทาวน์เฮาส์ชุดนี้ มีทั้งหมด 16 หลัง สร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการด้านที่อยู่อาศัยที่หลากหลายในย่านนี้ ดังนั้น อาคารจึงถูกออกแบบให้รองรับ Lifestyle ได้ถึง 4 แบบ ตั้งแต่ ทาวน์เฮาส์เดี่ยว, ทาวน์เฮาส์ที่ปรับเปลี่ยนการใช้สอยได้, Apartment ที่อยู่บนที่จอดรถ และห้องชุดพักอาศัยแบบสามชั้น

          ดังนั้น หน้าตาอาคารจึงแตกต่างกันออกไปตามประโยชน์ใช้สอย ซึ่งทำให้เกิดจังหวะ และสีสันให้กับชุมชนในย่านนี้ แถมสถาปนิกได้ใส่ความรู้สึกแบบบ้านชายหาดยุค 70 แถบไมอามีปนลงไปได้อย่างกลมกลืน

   
 

 

ภาพที่ 6 Vermont Village Plaza, Los Angeles 1998
By Dan Solomon

          อาคารทาวน์เฮาส์แบบ Art Deco สีครีมนี้ คงจะทำให้คุณรู้สึกย้อนกลับไปสมัยเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเสน่ห์ของสไตล์นี้ ได้ทำให้โครงการชนะการประกวดของ First Interstate Bank ที่ต้องการที่จะพัฒนาที่ดินที่ถูกทิ้งร้างแห่งนี้ขึ้นมาใหม่
โดยโครงการนี้ จะประกอบไปด้วยบ้านเดี่ยว 36 หลังและทาวน์เฮาส์ โดยทาวน์เฮาส์แต่ละหลังจะมีทางเข้า, สวนหรือระเบียงขนาดใหญ่ ตลอดจนที่จอดรถเป็นของตนเอง หรือใช้ร่วมกับบ้า่นข้างเคียงได้
และึถึงแม้ว่าภายนอกอาคารจะมีหน้าตาเหมือนกัน แต่ภายในกลับมีการจัดแบ่งพื้นที่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างหลากหลายและน่าสนใจมาก

 
 
 

 

ภาพที่ 7 Haight Street Town House, San Francisco 1994
By Tanner Leddy Maytum Stacy


          อาคารชุดนี้เป็นอาคารที่สร้างขึ้นจากอู่ซ่อมรถที่ถูกทิ้งร้าง ท่ามกลางทาวน์เฮาส์เก่าในสไตล์ Victorian โดยมีการนำเอาโครงสร้างเหล็กมาตกแต่งภายนอกให้ดูโดดเด่นสะดุดตา มีการนำเส้นแนวทแยงมาใช้ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ บริเวณด้านหน้าอาคารชั้นล่าง ยังมีการ Paint ผนังให้เป็น Sidewalk Art สีสันสดใส ช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้แก่ผู้ที่เดินผ่านไปมาอีกด้วย

 

 
 





          เป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับรูปร่างหน้าตาของทาวน์เฮาส์ในแต่ละแบบ ที่ได้บรรจงคัดมานำเสนอ ซึ่งผมคาดหวังว่าน่าจะเป็นจุดประกายความคิดเล็กๆ เพื่อให้บรรดาท่านๆ ได้บันเทิงใจ หรือนำไปประยุกต์ใช้ได้บ้างนะครับ

          สำหรับตัวผมแล้ว อยากจะได้เห็นและได้ยินข่าวคราวของทาวน์เฮาส์หน้าตาสวยสดใสในบ้านเมืองของเราบ้าง และหากท่านผู้อ่านท่านใดมีความประสงค์ที่จะสอบถามหรือขอข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อได้ที่ Forum หรือ บ.ก.นะครับ editor@bareo-isyss.com

          ตอนต่อไป จะเป็น Space ภายในทาวน์เฮาส์แบบต่างๆ ที่จะมากระตุ้นต่อมกิเลสของคุณให้เกิดความอยากปรับปรุงทาวน์เฮาส์ของคุณเสียใหม่..พบกันใหม่ เดือนหน้าครับ..


 
  เนื้อหา : มาจากหนังสือ The new American townhouse
แต่งโดย.... ALEXANDER GORLIN foreword by PAUL GOLDBERGER
 
     
 

 

       
       
       

 

 

 
Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links
 
บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 Tel. 66 2881 8536-7 Fax. 66 2881 8538