ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักวงจรสีกันก่อน วงจรสีหรือวงล้อสี เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการออกแบบสีและเพื่อเป็นการง่ายกับการเลือกใช้สี โดยมีการจัดวางแม่สีในวงล้อนี้ แม่สีมี 3 สีหลัก คือ สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน


               
Monochrome หรือสีเอกรงค์ คือ มีเนื้อสีเดียวกัน แต่ให้ความแตกต่างกันด้วยน้ำหนักของสี ด้วยการเติมส่วนของดำเพื่อเข้มขึ้น หรือเติมขาวเพื่อให้สีอ่อนลงหรือดูสว่างขึ้น (ตามที่แนะนำกันไปเมื่อ issue ที่แล้ว)


               
Analogous หรือสีข้างเคียง คือสีที่อยู่ติดกัน อยู่ข้างเคียงกันในวงจรสี จะเป็นทีละ 2 หรือ 3 สี บางทีอาจจะใช้ถึง 4 สี แต่จะไม่มากกว่านี้เพราะสีอาจหลุดจากความเป็นสีข้างเคียงได้


               Dyads หรือ Complementary color คือ สีคู่ตรงข้ามหรือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี การเลือกใช้เพื่อเน้น หรือ สร้างความสะดุดตาเฉพาะจุด


               
Triads หรือสี 3 สี (อันนี้ขอเก็บไว้ก่อน จะกล่าวถึงในครั้งหน้านะคะ)

 

 

 
 
 
 

 


               โทนสี เป็นอีกเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันก่อน เพราะโทนสีต่างกันให้อารมณ์ที่ต่างกันอย่างมากมาย เราแบ่งโทนสีออกเป็น
2 โทนกว้างๆ คือ สีโทนเย็น (Cool) และสีโทนร้อน (Warm) ทั้ง 2 โทนต่างกันอย่างไร สีโทนเย็น (Cool) คือ กลุ่มสีที่ให้ความรู้สึกสงบเย็น นิ่ง ผ่อนคลาย อิสระ เสรี และดูสบายตา เช่น ขาวอมฟ้า เขียว ม่วง น้ำเงิน สีโทนร้อนหรืออุ่น (Warm) ให้ความรู้สึกกระตือรือร้นสดใส สบาย รู้สึกกระฉับกระเฉง อบอุ่น ใกล้ชิด มีชีวิตชีวา เช่น ขาวอมเหลือง ส้ม แดง



                เรื่องหลักๆ ของสีเราก็เข้าใจกันคร่าวๆ แล้วนะคะ คราวนี้เรามาเข้าเรื่องของ
issue นี้กันว่า เราจะคุยกันถึงการแต่งห้องด้วยการใช้สี 2 สี  กันดีกว่า...



                การใช้สี
2 สี เราสามารถเลือกได้ว่าเราจะใช้สีแบบ Analogous หรือ สีข้างเคียง หรือ สีแบบ Dyads หรือ Complementary color คือ สีคู่ตรงข้ามหรือสีที่อฟยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี อันนี้ต้องดูกันตั้งแต่เริ่มแรกเลยว่าห้องที่จะแต่งเราต้องการให้เป็นห้องอะไร จากนั้นก็ตั้งคำถามกับตัวเองว่าห้องนี้อยากให้ look ที่ออกมาเป็นแบบไหน เช่น...

 


               ห้องพักผ่อนหรือห้องนอน อยากให้เป็นห้องที่อยู่แล้วสบาย มีความรู้สึกได้พักผ่อนจริงๆ ก็ต้องเลือกใช้สีแบบ
Analogous หรือ สีข้างเคียง



                หรือห้อง
Home Theater หรือ Game room เป็นห้องที่ต้องการกระตุ้นความตื่นตัวตลอดเวลา ต้องการความสนุกสนาน ก็ต้องเลือกสีแบบ Dyads หรือ Complementary color คือ สีคู่ตรงข้ามหรือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี เป็นต้น


 

 
   
 

 


               ขั้นต่อไปก็เป็นการเลือกสีหลักที่จะใช้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของห้อง เช่น ผนัง พื้น เพดาน โดยดูจากโทนสีที่เหมาะสม และจุดประสงค์ที่ต้องการใช้สีนั้น หลังจากนั้นเลือกสีรอง คือสีที่เข้ากับสีหลัก สีนี้จะเลือกสีโทนเดียวกับสีหลักหรือสีตัดกันก็ได้แต่ต้องไม่ลืมความตั้งใจแรกเริมเดิมทีว่าต้องการให้ห้องออกมาเป็นแบบไหนนะคะ (เรื่องสีหลัก สีรอง ต้องย้อนกลับไปอ่าน อารมณ์สี และความรู้สึก (ตอนที่
1) ใน issue ที่แล้วนะคะ)



                มีห้องตัวอย่างมาฝาก ห้องแรกเป็นห้องครัว โจทย์ คือ เจ้าของห้องเป็นคนที่ชอบทำครัว ชอบคิดอะไรใหม่ๆ มีความสุขกับการได้ลองเมนูแปลก เพราะฉะนั้นจึงอาจจะใช้เวลาในห้องนี้นานกว่าคนทั่วไปนิดหน่อย เพื่อได้มีเวลาคิด ทำ และลองเมนูอาหารใหม่ๆ แปลกๆ ขอแนะนำให้ใช้ สีน้ำเงิน เป็นสีหลัก



               
สีน้ำเงิน
ให้ความรู้สึกที่ร่าเริงและสบายตา ให้ความรู้สึกโล่งกว้างและมีชีวิตชีวา ใส่ความคิดสร้างสรรค์ ความกระตือรือร้นด้วยสีเหลือง



                สีเหลือง
เป็นสีของความฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ ความกระตือรือร้น

 

 

 
   
 

 

               การเลือกคู่สีแบบนี้เป็นการเลือกใช้คู่สีแบบ Dyads หรือ Complementary color สีน้ำเงินและสีเหลืองเป็นสีคู่ตรงข้ามกัน การเลือกใช้คู่สีนี้ เพื่อให้ตอบโจทย์ของเจ้าของห้อง รวมถึงเป็นการใช้สีเหลืองเพื่อเป็นการกระตุ้น การตื่นตัวในการอยากที่จะทำครัวตลอดเวลา อีกด้วย มีการใช้สีขาวในบางจุดเพื่อเป็นการเบรกสีทั้งสองรวมทั้งช่วยให้สีทั้งสองสามารถอยู่ด้วยกันได้อยากลงตัว


               ห้องต่อมา เป็นห้องนอน คู่สีที่เลือกใช้คือ สีแดง และสีเหลือง


               สีแดง
เป็นสีที่ เต็มไปด้วยพลังงาน มีความกระฉับกระเฉง มีเสน่ห์


               สีเหลือง
เป็นสีของความฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ ความกระตือรือร้น

 

 
   
 

 

               สีแดง หลายคนคงงงว่าทำไมใช้สีแดงเป็นสีในห้องนอน เพราะสีแดงเป็นสีโซนร้อน เป็นสีที่เต็มไปด้วยพลัง และให้ความรู้สึกกระตุ้น เลือกใช้ได้เหมือนกันค่ะ แต่ควรจะใช้พอประมาณ ไม่ได้ใช้มากจนเกินไป ห้องนอนนี้เป็นห้องในรีสอร์ต ดังนั้นจึงเน้นถึงความสนุกสนานเป็นพิเศษ จึงเลือกใช้สีแดงเฉพาะจุดเพื่อเน้น คือ ส่วนที่เป็น armchair เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศของการสังสรรค์ เฮฮาสนุกสนาน คู่สีที่เลือกใช้เป็นสีที่อยู่ในโซนเดียว คือ โซนร้อนเหมือนกันคือ สีเหลือง เป็นสีแห่งความกระตือรือร้น ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เป็นการเลือกใช้สีแบบ Analogous หรือสีข้างเคียง คือสีที่อยู่ติดกัน อยู่ข้างเคียงกันในวงจรสี เพื่อให้ห้องอยู่ในแนวทางเดียวกันไม่ขัดแย้งกัน


                ห้องสุดท้าย เป็นห้องนอนที่มีส่วนของการทำงานอยู่ด้วยกัน ห้องนี้เป็นการเลือกใช้คู่สีที่ตรงข้ามกันแต่ทั้งสองสีมีส่วนผสมของสีขาวเพื่อให้ความเป็นสีต้นแบบเจือจางลง ให้ความรู้สึกหวาน และทันสมัยขึ้นมาทีเดียว คือ สีเขียวและสีชมพู

 

 
   
 

 


               
สีเขียว ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ เป็นสัญลักษณ์ของชีวิต ต้นไม้ใบหญ้าให้ความผ่อนคลายทางสายตาและจิตใจ จึงเหมาะที่จะใช้ตกแต่งห้องนอน


               
สีชมพู ให้พลังที่แจ่มใส เต็มไปด้วยความรัก อารมณ์ขัน และโรแมนติก


               
ห้องนอนสาวยุคใหม่ เน้นที่สีขาวของผนังและฝ้าเพดานทำให้ห้องดูโล่งและสะอาดตา แต่ใส่ลูกเล่นในส่วนของเฟอร์นิเจอร์หลักๆ ของห้อง โต๊ะทำงาน หรือชุดโซฟา เป็นสีเขียวตองสด ทำให้ห้องดูสดใส มีชีวิตชีวา แต่เติมความหวานด้วยสีชมพูม่วง เป็นการใส่ลูกเล่นเล็กๆ สลับกันไปทำให้กับห้องทำให้ห้องดู modern ขึ้น


                เห็นไหมค่ะ หลากหลายสี นอกจากหลากหลายไอเดียแล้วยังแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย...


                วันนี้แถมท้ายอีกนิดด้วยว่า นอกเหนือจากสีอื่นใดแล้ว แสงขาวหรือที่รู้จักกันว่าแสงออร่า หรือแสงแดดสีขาวละมุนในตอนเช้า เป็นเครื่องบอกวัดของความมีชีวิตใหม่ หรือเรื่องราวใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น ดำเนินต่อไป และบอกถึงการเข้าสู่วันใหม่ จึงมีการหยิบมาใช้เป็นส่วนประกอบหลักๆ ในการตกแต่งภายใน...

 

 
 

ขอบคุณ :    New Hotel 2 : Anja Llorella

 
 

 

-- Hana --

 

 

 


บริษัท บาริโอ จำกัด

50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700   Tel. 66 2881 8536-7   Fax. 66 2881 8538