home
about bareo
news & event
art of design
decor guide
the gallery
living young
talk to editor
links
back issue
 
   
 

 

 

            ในแสงอาทิตย์มีรังสีอยู่หลายชนิด ที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันดี คือ รังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) ซึ่งเมื่อผ่านชั้นผิวโลกลงมาจะเหลือแค่ UV-A และ UV-B เท่านั้น และเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดสารพันปัญหาผิวในระยะยาว โดย รังสี จาก UV-A จะทำให้ผิวแก่ก่อนวัย หน้าคล้ำ และเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ดังนั้นยามเราตากแดด หรือไปทะเล ทำให้ผิวคล้ำ เนื่องมาจากรังสี UV-A อันนี้นี่เองค่ะ ในขณะที่ รังสี จาก UV-B Burning คือผิวไหม้แดด เกรียม อย่งกรณีไปอาบแดด แล้วผิวไหม้ ผิวเกรียม เกิดจาก รังสี จาก UV-B ดังนั้นครีมกันแดดจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นอย่างมาก


อะไรที่ต้องดูเมื่อเลือกซื้อครีมกันแดด

            SPF (Sun Protecting Factor) เป็นตัวบอกว่าจะอยู่กลางแดดได้นานแค่ไหน โดยจะไม่ทำให้ผิวไหม้ หรือ แสบร้อน โดยวิธีการคำนวณคร่าวๆ ได้ว่าปกติเราสามารถอยู่กลางแดดได้ประมาณ 25 นาที ค่า SPF เท่าไรก็จะช่วยยืดระยะเวลาให้อยู่ได้นานออกไปเท่านั้นเท่า  ถ้าค่า SPF 15 ก็จะคูณ 15 จะเท่ากับเวลาเป็นนาทีที่อยู่ได้ค่ะ เช่น SPF 15 สามารถอยู่ถึง 375 นาที


            PA
คือ Protection Grade of UVA หรือ ระดับการป้องกันรังสี UV-A มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับคือ PA+, PA++, PA+++ โดยระดับ PA+ จะช่วยป้องกันทั่วๆ ไป ในขณะที่ PA++ ขึ้นไปเหมาะกับผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง


Physical Sunscreen และ Chemical Sunscreen (ประเภทของครีมกันแดด)

            สารกันแดดชนิดดูดแสง (Chemical Sunscreen)
เป็นครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมี ทำหน้าที่ปกป้องแสงแดด โดยการดูดซับรังสีแสงแดดเข้าไว้ในผิว ซึ่งหลังจากโดนแดดสักพัก สารเคมีเหล่านี้ก็เสื่อมสภาพ นั่นคือสาเหตุที่เราจึงต้องทาครีมกันแดดทุกๆ 2-3 ชั่วโมง การเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆ ซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมีปริมาณมาก อาจเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังโดยเฉพาะคนที่มีผิวแพ้ง่าย  แบบนี้จะทำให้แพ้ได้ง่ายกว่าแบบสารสะท้อนรังสีค่ะ


             สารสะท้อนแสงแดดออกจากผิว (Physical Sunscreen)
สารในกลุ่มนี้ได้แก่ Titanium Dioxide และ Zinc Oxide ซึ่ง Zinc Oxide จะดีกว่า Titanium Dioxide เพราะขาวน้อยกว่ามาก และสามารถสะท้อนแสงในช่วงคลื่น ทั้ง UVA , UVB และ Visible Light ได้ ควรมีอย่างน้อย 2% ขึ้นไป แต่ถ้าเป็นกันแดดสำหรับผิวแพ้ง่ายซึ่งจะมีเฉพาะสารสะท้อนรังสี ควรมีอย่างน้อย 8.5%ขึ้นไปค่ะ
เป็นครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสาร ที่สามารถสะท้อนรังสี UVA และ UVB ออกไปจากผิวหนัง ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะมีผลระคายเคืองต่อผิวหนัง น้อยกว่าสารในกลุ่มแรก แต่มีข้อด้อยคือ ครีมกันแดดประเภทนี้ไม่สามารถให้ SPF ที่สูงๆ ได้ และเมื่อทาบนผิวหนังแล้ว หน้าจะดูขาวมาก เนื่องจากสารจะเคลือบบนผิวหนังชั้นบน เพื่อรอแสงกระทบ จึงมีการดูดซึมสู่ผิวน้อย

            Chemical-Physical Sunscreen เป็นการเสริมข้อดี ลดข้อด้อยในแต่ละส่วน นั่นคือ ลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง จากสารประเภทสารเคมี และลดความขาวเมื่อทาครีม และเสริมประสิทธิภาพ ในการป้องกันแสงแดดร่วมกัน


Water Resistant ไม่ใช่ Waterproof


            โดยมากข้างขวดจะพิมพ์ไว้ว่า Water Resistant เท่านั้นไม่ใช่ Waterproof เพราะยังไม่มีครีมกันแดดตัวใดที่สามารถกันน้ำ (Waterproof) ได้จริงดั่งฉลากที่แปะไว้ คุณจึงต้องทาซ้ำถ้าเหงื่อออก หรือหลังเล่นน้ำ ส่วนครีมกันแดดสูตร Water Resistant จะใช้ส่วนผสมจากพลาสติกสร้างแผ่นฟิล์มเคลือบกันแดดให ้ติดแน่น แม้จะเปียกน้ำ ดังนั้นเมื่อทาครีมนี้แล้วลงน้ำนาน 40 นาที ค่า SPF ยังคงที่ ส่วนสูตร Very Water Resistant จะทนน้ำได้นาน 80 นาที แต่สูตรนี้จะทำให้รู้สึกเหนียวเหนอะหนะ จึงไม่แนะนำค่ะ

 


 
   
 


 

ค่า SPF เท่าไรจึงจะดี

  • ถ้าเป็นสาวออฟฟิค จะโดนแดดเฉพาะตอนกลางวัน ควรใช้กันแดดที่มีค่า SPF 15
  • สำหรับผู้ที่ต้องอยู่กลางแจ้ง หรือออกแดดบ่อยๆ ควรใช้กันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป
  • หากไปทะเล ควรใช้กันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป ควรทาก่อนลงน้ำ 30-60 นาที และควรทาซ้ำทุกๆ 1 ชม.
  • สำหรับนักกีฬากลางแจ้ง หรือ นักกอล์ฟ ก็เช่นกันค่ะ ควรใช้กันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป ควรทาก่อนออกแดด 30-60 นาที และควรทาซ้ำทุกๆ 1 ชม.
  • ถ้าหากเป็นคนผิวขาวจะต้องใช้ SPF มากกว่าปกติอีกนิดหนึ่ง เพราะผิวขาวจะไวต่อแสงมากกว่าผิวสีอื่นๆ

วิธีทดสอบการแพ้ครีมกันแดด

            การทดสอบว่าแพ้ครีมกันแดดชนิดนี้หรือไม่นั้นทำได้ง่ายๆ โดยให้ทาครีมกันแดดบริเวณใต้ท้องแขนทิ้งไว้ 15 นาที แล้วสังเกตว่ามีอาการบวม แดง หรือไม่ ถ้าเป็นแสดงว่าแพ้สารใดสักตัวในส่วนผสมของครีมกันแดดชนิดนี้ หรือถ้าบางคนไม่ค่อยแพ้อาจ test ทิ้งไว้นานหน่อยประมาณ 24 ชม. ก็ได้ค่ะ และหาก SPF ยิ่งสูง ก็จะยิ่งทำให้แพ้ได้ง่ายมากขึ้นค่ะ

            อากาศบ้านเราตอนนี้ เรียกได้ว่ามี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูร้อนที่สุด บางครั้งเราหลบร้อนด้วยการอยู่ในอาคารสำนักงานเท่านั้น ทำให้บางคิดคิดว่าการอยู่แต่ในห้องแอร์ไม่ต้องใช้ครีมกันแดด เป็นความคิดที่ผิด เพราะ เราได้รับรังสี UVA ได้จาก เครื่องใช้สำนักงานทั่วๆ ไป ตั้งแต่แสงจากหลอดไฟ รังสีจากเครื่องถ่ายเอกสาร รังสีจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดกระ-ฝ้าที่เราคาดไม่ถึง เราจึงควรป้องกันตัวเองและใช้งานเครื่องใช้เหล่านี้อย่างระมัดระวังค่ะ

 

 

 
  -- เดียร์ --        
 

 

 

       
           

 


บริษัท บาริโอ จำกัด

50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700   Tel. 66 2881 8536-7   Fax. 66 2881 8538