แบบที่สาม : เสาเข็มแบบเจาะ
เป็นวิวัฒนาการล่าสุดของวงการเสาเข็ม (จริงๆ ก็หลายสิบปีแล้วเหมือนกัน แต่ก็ถือว่าใหม่ที่สุด...)
การลงเสาเข็มแบบนี้ เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาของเสาเข็มยาว เพราะจะใช้ปลอกเหล็กและเครื่องมือเจาะลงไปให้เป็นรูแล้วดูดเอาดินออกมาแทนการตอกเข็มลงไปในดินตรงๆ (และก็ทำให้หมดปัญหาเรื่องดินเบียดด้วยล่ะ J ) จากนั้นพอเจาะถึงชั้นหินที่ต้องการก็สอดเหล็กที่ผูกแล้วลงไปแล้วค่อยเทคอนกรีตลงไป กลายเป็นเสาเข็มแบบหล่อกับที่สมบูรณ์แบบ ทำให้เสาเข็มแบบนี้ค่อนข้างจะมั่นคงมากกว่า สามารถใช้ได้กับทั้งงานสร้างบ้านและงานต่อเติม แม้ว่าเสียงจะยังดังอยู่บ้างแต่เบากว่าเสาเข็มแบบตอกทุกชนิด มีการสั่นสะเทือนระหว่างทำงานน้อย แถมรับน้ำหนักได้ดีกว่าและใช้พื้นที่ในการทำงานก็ยังน้อยกว่าเสาเข็มยาว จึงเหมาะสำหรับงานต่อเติมเกือบทุกชนิด รวมทั้งการก่อสร้างบ้านใหม่ที่มีบ้านข้างเคียงอยู่ใกล้ๆ ด้วย ดังนั้น จึงเป็นเสาเข็มที่ค่อนข้างแนะนำเลยล่ะค่ะ
แต่เสาเข็มแบบนี้ก็มีข้อต้องระวังเหมือนกัน...คือต้องระวังเรื่องเหล็กที่สอดลงไป ดูว่ามันต้องไม่ขึ้นสนิมนะ ไม่อย่างนั้นไอ้ที่เราสู้อุตส่าห์การันตีว่ามันมั่นคง ก็คงจะถูกสนิมกร่อนให้แก่จนเปราะลงไปเรื่อยๆ แน่...อ้อ แล้วก็เสาเข็มแบบนี้ลงแล้วประหยัดเวลากว่าก็จริง...แต่งบประมาณไม่ได้ประหยัดตามนะคะ J
[PS. เผื่อใครอยากจะรู้ เสาเข็มแบบเจาะนี้จะราคาต้นละประมาณ 12,000 – 18,000 บาทค่ะ แต่รับประกันว่าคุ้มค่าราคาจริงๆ…ไม่ค่อยโฆษณาเลยเนอะ -3-]
ขอแทรกสักนิดนึง...เกี่ยวกับเรื่องราวของชั้นดินและชั้นหิน ซึ่งจะขออธิบายให้ฟังสั้นๆ นะคะ
ส่วนที่เราอยู่อาศัยบนเปลือกโลกนั้นส่วนใหญ่จะเป็นดิน (โดยเฉพาะในประเทศไทยของเรา) และลึกลงไปใต้ดิน อีกไม่มากไม่น้อย (ราวๆ 16-25 เมตร...ขึ้นอยู่กับพื้นที่) ก็คือชั้นหิน ตรงส่วนชั้นหินตรงนั้นจะแข็งแรงกว่าชั้นดินที่เราอยู่ ดังนั้นการเจาะหรือตอกลึกลงไปให้ถึงชั้นหินที่ต้องการก็จะทำให้เสาเข็มของเรามีพื้นที่มั่นคง...ถ้าเจาะไม่ถึงก็กลายเป็นเสาเข็มสั้น แต่ถ้าหากเจาะเกินลึกลงไปอีกก็อาจทำให้น้ำซึมขึ้นมาได้
...การตอกเสาเข็มลงไปก็เพื่อถ่ายน้ำหนักของโครงสร้างทั้งหมดลงบนตัวเข็ม ดังนั้นการถ่ายน้ำหนักทั้งหมดของเข็มลงบนชั้นหินอีกทีนึงก็จะทำให้ภาระของเสาเข็มมีไม่มาก อีกทั้งถ้ามีชั้นหินเป็นฐาน บ้านก็จะไม่ทรุดตัวลงตามดินค่ะ อ้อ...แล้วก็ในการเจาะเสาเข็มแต่ละครั้งเราควรปรึกษาวิศวกร หรือ สถาปนิกให้มาช่วยดูและตรวจสอบให้เพื่อความแม่นยำด้วยนะคะ ไม่งั้นถ้าเกิดให้ผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญทางด้านนี้คำนวณแล้วข้อมูลเกิดผิดพลาดขึ้นมา อย่ามาโทษกันนะคะ
ก็ประมาณนี้ค่ะ...ก็คงจะรู้คำตอบของคำถามด้านบน (นู้น) กันแล้วสินะคะ ไม่น่าเชื่อเลยจริงๆ ใช่มั๊ยล่ะคะว่าเสาเข็มเองก็ยังมีหลายแบบอีก วุ่นวายจริงจัง...แต่ช่างมัน เพราะยังไงหลังจากอ่านจบแล้วเชื่อว่าทุกคนคงจะมีเสาเข็มในใจ(?) กันแล้วล่ะ เพราะงั้นจะสร้างหรือต่อเติมบ้านครั้งต่อไปก็ตัดไปได้แล้วล่ะค่ะหนึ่งปัญหา
By J |