ภาพมุมดอกไม้ ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior Design Thailand โลโก้ ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior Design Thailand
หมวดบทความ ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior Design Thailand
 
หน้าแรก ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior Design Thailand
เกี่ยวกับ บาริโอ ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior Design Thailand
ข่าวสาร ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior Design Thailand
art of design ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior Design Thailand
Decor Guide ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior Design Thailand
Gallery ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior Design Thailand
Living Young ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior Design Thailand
บทบรรณาธิการ ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior Design Thailand
แลกลิงค์ ออกแบบ ตกแต่งภายใน interior Design Thailand
Back ISSUE อกแบบ ตกแต่งภายใน interior Design Thailand

รู้ทันบิลค่าไฟอย่างง่ายๆ กันเถอะ

ในยุคสมัยที่หลายๆ คนต้องพากันรัดเข็มขัด อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุหลากปัจจัย ทั้งภัยธรรมชาติ เศรษฐกิจ การเมือง และอื่นๆ อีกมากมาย จนทำให้ค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้นกว่าดอกเบี้ยเงินฝากเสียอีก ยิ่งฝนฟ้าอากาศไม่เป็นใจ เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวฝนตก เรียกได้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมีอยู่เท่าไรก็ขนมาใช้กันอย่างเต็มที่

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บิลค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนดูไม่เป็นมิตรกับกระเป๋าสตางค์เอาเสียเลย ไม่ได้การล่ะเห็นทีต้องหันมาสำรวจและควบคุมค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้ากันบ้างแล้ว จะได้ตรวจสอบ ควบคุมค่าใช้จ่าย และประเมินได้ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดที่เราใช้งานนั้นใช้พลังงานไฟฟ้าไปมากน้อยเพียงใด และคิดเป็นมูลค่าไฟฟ้าเท่าไร อีกทั้งยังสามารถหาแนวทางการประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถเช็คบิลค่าไฟฟ้า และอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าเบื้องต้นด้วยตนเองได้แล้ว สิ้นเดือนนี้จะได้มีเงินเหลือเอาไปช้อปปิ้งบ้างอะไรบ้าง

ออกสตาร์ทปฏิบัติการลดค่าไฟฟ้า

ก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ของเรากันเสียก่อนว่าใช้ไฟฟ้าหรือกินไฟเท่าไร โดยสามารถดูได้จากคู่มือการใช้งานหรือป้ายที่เขียนบอกไว้ว่ากำลังไฟฟ้ามีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) ถ้ามีจำนวนวัตต์มากก็กินไฟมากตามไปด้วย

อุปกรณ์ อัตราสิ้นเปลือง หมายเหตุ
หลอดนีออน(40 วัตต์) 0.11 บาท/ชม. -
เครื่องซักผ้า 5 กก. 0.77 บาท/ชม. * ซักผ้าตามความจุของเครื่อง หลีกเลี่ยงการซักผ้าที่อัดแน่นจนเกินไป ควรกะปริมาณน้ำและผงซักฟอกให้เหมาะสม
เครื่องสูบน้ำ 1/5-1/2 แรงม้า 0.59-1.48 บาท/ชม. *อย่าเปิดก๊อกน้ำไปที่ระดับแรงสุด เพราะปั้มจะทำงานหนัก และสิ้นเปลืองไฟฟ้ามากขึ้น
เครื่องปรับอากาศ ตั้งพื้น 3.69–7.52 บาท/ชม.
ติดฝาผนัง 1.88–3.13
บาท/ชม.

ตั้งพื้น (12,000-24,000 BTU)
ติดฝาผนัง (9,000-12,000 BTU)
ล้างเครื่องปรับอากาศปีละครั้ง ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ 10 - 15%

เตาไมโครเวฟ(960-15000 วัตต์) 2.66–4.16 บาท/ชม. * เลิกวางเตาไมโครเวฟใกล้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น โทรศัพท์ หรือ วิทยุ เพราะรบกวนระบบการทำงาน ของเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น ควรวางให้ห่างจากฝาผนัง หรือกำแพงอย่างน้อย 7.5 ซม.
ตู้เย็น(2.4-12 ลบ.ฟุต) 0.18–0.45 บาท/ชม. * ละลายน้ำแข็งในตู้เย็นเป็นประจำ และตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนัง 15 ซม.จะช่วยให้ตู้เย็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เครื่องเป่าผม(300-1300 วัตต์) 0.83 – 3.61 บาท / ชม. * เช็ดผมให้แห้งหมาดๆ ก่อนใช้เครื่องเป่าผม
เตาหุงต้มไฟฟ้า(400-1500 วัตต์) 1.11 – 4.16 บาท / ชม. -
กาต้มน้ำไฟฟ้า(500-2000 วัตต์) 1.38 – 5.55 บาท / ชม. -
เครื่องปิ้งขนมปัง(700-1000 วัตต์) 1.94 – 2.77 บาท / ชม. -
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า(1-2.8 ลิตร) 1.38 – 2.77 บาท / ชม. -
กระติกน้ำร้อน(2.4 ลิตร) 1.66 บาท / ชม. (ต้ม 30 นาทีและอุ่นทั้งวัน)
หลอดคอมแพ็ค(11 วัตต์) 0.03 บาท / ชม. -
วิทยุ(15 วัตต์) 0.04 บาท / ชม. -
เตารีดไฟฟ้า(750-1000 วัตต์) 2.08 – 2 .77 บาท / ชม. -
เครื่องเสียง(40-100 วัตต์) 0.11 – 0.27 บาท / ชม. -
พัดลม(45-104 วัตต์) 0.12 – 0.28 บาท / ชม. * หมั่นทำความสาดฝาครอบมอเตอร์ของพัดลม ซึ่งเป็นช่องระบายความร้อนของมอเตอร์ เพราะทำให้มอเตอร์ทำงานได้ดี ไม่สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
เครื่องทำน้ำร้อน(2000-10000 วัตต์) 5.55 – 27.7 บาท / ชม. *เลือกใช้หัวฝักบัวชนิดประหยัดน้ำ จะประหยัดน้ำกว่าหัวฝักบัวธรรมดาร้อยละ 25-75 และควรตั้งระดับความร้อนของน้ำไว้ที่ระดับปานกลาง
กระทะไฟฟ้า(850-1050 วัตต์) 2.36 – 2.91 บาท / ชม. * ไม่ควรใช้กระทะไฟฟ้าในห้องที่มีการปรับอากาศ เพราะไอร้อน จะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก สิ้นเปลืองค่าไฟ
โทรทัศน์สี(14-26 นิ้ว) 0.13 – 0.26 บาท / ชม. * ปิดสวิทช์ที่เครื่องและถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อไม่มีคนดู เนื่องจากยังคงมี กระแสไฟฟ้าส่วนหนึ่ง มาเลี้ยงที่ระบบเครื่องอยู่ตลอดเวลา
หลอดไฟชนิดไส้(100 วัตต์) 0.27 บาท / ชม. -
เครื่องดูดฝุ่น(2-5 ลิตร) 1.73 – 2.77 บาท / ชม. *เมื่อใช้แล้วควรเทฝุ่นผงในถุงทิ้งทุกครั้ง เพื่อเครื่องจะได้มีแรงดูดดีและไม่สิ้นเปลืองพลังงาน

สูตรไม่ลับสำหรับนับค่าไฟ

สำหรับการใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิต คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ที่ใช้งานใน 1 ชั่วโมง หรือใช้สูตรการคำนวณดังนี้

กำลังไฟฟ้า (วัตต์ชนิดนั้นๆ x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷1000 x จำนวน  ชั่วโมงที่ใช้งานใน 1 วัน = จำนวนหน่วยหรือยูนิต
มาศึกษาตัวอย่างการคำนวณค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัยทั่วไป จากจำนวนวัตต์จากป้ายที่ติดหรือคู่มือของเครื่องใช้ไฟฟ้า

หลอดไฟฟ้า ขนาด 40 วัตต์ (รวมบัลลาสต์อีก 10 วัตต์ เป็น 50 วัตต์) จำนวน 10 ดวง เปิดใช้ประมาณวันละ 6 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 50x10÷1,000x6 = 3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x3) = 90 หน่วย
หม้อหุงข้าว ขนาด 600 วัตต์ จำนวน 1 ใบ เปิดใช้ประมาณวันละ 30 นาที จะใช้ไฟฟ้าวันละ 600x1÷1000x0.5=0.3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.3) = 9 หน่วย
ตู้เย็น ขนาด 125 วัตต์ จำนวน 1 ตู้ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงาน 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 125x1÷1000x8= 1 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x1) = 30 หน่วย
เครื่องปรับอากาศ ขนาด 2,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 12 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 2,000x1÷1000x8= 16 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x16) = 480 หน่วย
เครื่องปรับอากาศ ขนาด 1,300 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง สมมุติคอมเรสเซอร์ทำงานวันละ 5 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 1,300x1÷1,000x5= 6.5 หน่วย หรือประมาณวันละ (30x6.5) = 195 หน่วย
เตารีดไฟฟ้า ขนาด 800 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 1 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 800x1÷1000x1 = 0.8 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.8) = 24 หน่วย
ทีวีสีขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 3 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 100x1 ÷x3 = 0.3 หรือประมาณเดือนละ (30x0.3) = 9 หน่วย
เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 4,500 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 1 ชั่วโมงจะใช้ไฟฟ้าวันละ 4,500x1÷1000x1=4.5 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x4.5) = 135 หน่วย
เตาไมโครเวฟ ขนาด 1,200 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 30 นาที จะใช้งานวันละ 1,200x1 ÷1000x0.5 = 0.6 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.6) = 18 หน่วย

ทั้งนี้ตัวอย่างการคำนวณข้างต้น เป็นการคำนวณประมาณการเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์และสภาพแวดล้อม รวมถึงการตั้งอุณหภูมิด้วย

อะไรอยู่ในค่าไฟฟ้า ?

ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ และปรากฏในใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) + ค่าบริการ + ภาษีมูลค่าเพิ่ม

อัตราค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ซึ่งมีผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
ประเภท1.1 การใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน

  • 5 หน่วย (หน่วยที่ 1-5) เป็นเงิน 0.00 บาท
  • 10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 6-15) หน่วยละ 1.3576 บาท
  • 10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่16-25) หน่วยละ 1.5445 บาท
  • 10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26-35) หน่วยละ 1.7968 บาท
  • 65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36-100) หน่วยละ 2.1800 บาท
  • 50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101-150) หน่วยละ 2.2734 บาท
  • 250 หน่วยต่อไป(หน่วยที่ 151-400) หน่วยละ 2.7781 บาท
  • เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) หน่วยละ 2.9780 บาท
  • ค่าบริการรายเดือน เดือนละ 8.19 บาท

ประเภท 1.2 การใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน

  • 150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-150) หน่วยละ 1.8047 บาท
  • 250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151-400) หน่วยละ 2.7781 บาท
  • เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) หน่วยละ 2.9780 บาท
  • ค่าบริการรายเดือน เดือนละ 40.90 บาท 

วิธีคิดค่าไฟฟ้า
สมมุติว่าใช้ไฟฟ้าไป 494 หน่วยตามตัวอย่าง ซึ่งจัดให้เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.2

150 หน่วยแรก (150 x 1.8047 บาท) = 270.71 บาท
250 หน่วยต่อไป (250 x 2.7781 บาท) = 694.53 บาท
ส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย (494-400 = 94 หน่วย x 2.9780 บาท) = 279.93 บาท
ค่าบริการรายเดือน = 40.90 บาท
รวมเป็นเงิน = 1,286.07 บาท

คิดค่า FT (Energy Adjustment Charge) หรือค่าไฟฟ้าผันแปร ในแต่ละเดือน โดยดูได้จากใบเสร็จรับเงิน หรือสอบถามการไฟฟ้านครหลวง
การคิดค่า Ft คิดได้โดยการนำเอาค่า Ft ในแต่ละเดือน x จำนวนหน่วยที่ใช้
ค่า Ft เดือน พฤษภาคม 2544 = 24.44 สตางค์ ต่อหน่วย
คิดค่า Ft 494 x 24.44 สตางค์ = 120.73 บาท
รวมเป็นเงิน (1,286.07 + 120.73) = 1,406.80 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = 98.48 บาท
รวมเป็นเงินค่าไฟฟ้าที่ต้องชำระทั้งสิ้น = 1,505.25 บาท

ในกรณีที่คำนวณค่าไฟฟ้าแล้วเศษสตางค์มีค่าต่ำกว่า 12.50 สตางค์ จะทำการปัดเศษลงให้เต็มจำนวนทุกๆ 25 สตางค์ และถ้าเศษสตางค์มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 12.50 สตางค์ จะทำการปรับเศษขึ้นให้เต็มจำนวนทุกๆ 25 สตางค์

“ค่า Ft คืออะไร?”

Ft ย่อมาจากคำว่า Fuel Adjustment Charge (at the given time) ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น Energy Adjustment Cost คือค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือค่าไฟฟ้าผันแปร หรือที่เรียกกันสั้นๆว่าค่า Ft เป็นค่าไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของการไฟฟ้า จะคิดกับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทในอัตราเท่ากันทุกหน่วย ค่า Ft โดยปกติจะมีการเปลี่ยนแปลงทุก 4 เดือนเพื่อไม่ให้ค่าไฟฟ้าผันผวนมากเกินไป (ที่มาจาก http://www.eppo.go.th/power/ft.html)

เอื้อเฟื้อข้อมูล : สำนักวิชาการพลังงานภาค 10
11GreenNetwork March 2011
www.mea.or.th

By April

Home  |  About Bareo  |  News & Events  |  Art of Design  |  Decor Guide  |  The Gallery  |  Living Young  |  Talk to Editor  |  Links

บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700   Tel. 66 2881 8536-7   Fax. 66 2881 8538