Contact us / Join us
ออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน Interior design Thailand |
www.bareo-isyss.com เป็น web magazine ที่ update รายเดือนเพื่อผู้อ่าน ทัศนะและความคิดเห็นใดๆ ของผู้ประพันธ์ หรือผู้สนับสนุน
|
“Mood ของห้องสามารถสร้างอารมณ์ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นพร้อมความประทับใจ ที่เกิดขึ้นได้ปัจจัยหนึ่งนั้นได้มาจาก ‘แสงสว่าง’ เข้ามาเป็นตัวช่วยเพราะแสงสว่างนั้นอาจจะทำให้อาหารมื้อค่ำที่แสนธรรมดากลายเป็นมื้ออาหารสุดโรแมนติก ก็เป็นไปได้”
แสงสว่างกับการตกแต่ง
จริงๆแล้วระบบการให้แสงไฟนั้นมีด้วยกันสองระบบ อย่างแรกก็คือ ระบบให้แสงไฟหลัก ซึ่งเราจะไม่พูดถึงเรื่องนี้มากนัก เพราะเป็นระบบไฟส่องสว่างที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับทุกบ้านอยู่แล้ว ทางด้านนี้นักออกแบบจะคำนวณดวงไฟและแสงสว่างจากกิจกรรมและฟังก์ชั่นของห้องนั้นๆเป็นหลัก แต่ระบบให้แสงไฟรอง จะประดับประดาเพื่อให้เกิดความสวยงาม สบายตา และสร้างอารมณ์ความรู้สึกของห้องนั้นเป็นไปในสิ่งที่เราต้องการ เช่น อยากให้ห้องนั้นอยู่แล้วเกิดความอบอุ่น หรืออยู่ห้องนั้นแล้วมีความกระตือรือร้นที่จะทำงาน เป็นต้น ซึ่งระบบให้แสงไฟรองจะแบ่งย่อยสำหรับการตกแต่งได้ออกเป็น 5 ประเภทครับ
|
1. แสงสว่างแบบส่องเน้น (Accent Lighting) เป็นการให้แสงแบบส่องเน้นที่วัตถุใดวัตถุหนึ่งเพื่อให้เกิดความสนใจ โดยทั่วไปแสงประเภทนี้ได้มากจากแสงสปอต
|
2. แสงสว่างแบบเอฟเฟค (Effect Lighting) แสงเพื่อสร้างบรรยากาศที่น่าสนใจ แต่ไม่ได้ส่องเน้นวัตถุ เพื่อเรียกร้องความสนใจ เช่น โคมที่ติดตั้งที่เพดานเพื่อสร้างรูปของแสงที่กำแพง เป็นต้น |
3. แสงสว่างตกแต่ง (Decorative Lighting) เป็นแสงที่ได้จากโคมหรือหลอดไฟที่สวยงามเพื่อสร้างจุด สนใจในการตกแต่งภายใน
|
4. แสงสว่างงานสถาปัตย์ (Architectural Lighting) แต่บางทีก็เรียกว่า Structural Lighting เป็นการให้แสงสว่างเพื่อให้สัมพันธ์กับงานทางด้านสถาปัตยกรรม เช่น การให้แสงไฟจากหลืบ การให้แสงจากบังตา หรือ จากการให้แสงจากที่ซ่อนหลอด
|
5. แสงสว่างตามอารมณ์ (Mood Lighting) แสงสว่างประเภทนี้ไม่ใช่เทคนิคการให้แสงพิเศษแต่อย่างใด แต่อาศัยการใช้สวิตซ์หรือตัวหรี่ไฟเพื่อสร้างบรรยากาศของแสงให้ได้ระดับความส่องสว่างตามการใช้งานที่ต้องการ
|
ดังนั้นเราจึงสามารถแยกแยะได้เลยว่าแสงใดหลักแสงใดรอง หรืออยากจะเพิ่มเติมการตกแต่งแสงสว่างจากจุดไหนเพิ่ม อย่างการที่ติดตั้งแสงไฟที่โต๊ะทำงานตามมาตรฐานต้องใช้แสงสว่าง 400-500 ลักซ์ เมื่อได้ความส่องสว่างที่โต๊ะทำงาน แล้วบริเวณที่เหลืออาจจะเป็นการตกแต่งเพิ่มเติม เช่น การส่องสว่างผ้าม่านเพื่อให้เกิดวงแสงหรือรูปแบบของแสงหรือการส่องสว่างเน้นที่ต้นไม้ที่ถูกในกระถางภายในห้อง ซึ่งไม่จำเป็นให้ความส่องสว่างมากหรือไม่จำเป็นต้องใช้จำนวนลักซ์ เท่ากับของการใช้งานบนโต๊ะทำงานครับ
**(( Lux เป็นหน่วยวัดความเข้มแสงหรือความสว่างต่อพื้นที ))**
ไฟซ่อน ไฟโชว์ สร้างการตกแต่งได้อารมณ์
ถ้าจะพูดถึงแสงไฟที่ถูกประดับโดยตั้งใจให้โชว์ หรือซ่อนหลอดไฟก็ต่างการตกแต่งต่างอารมณ์คนละโทน แต่ล้วน สร้างบรรยากาศรวมถึงอารมณ์ของผู้ใช้งานให้เป็นไปตามฟังก์ชั่น หรือวัตถุประสงค์ของห้องนั้นๆ ส่วนหนึ่งก็สามารถสร้างความสวยงามและประทับใจกับห้องนั้นได้ด้วย โดยแสงไฟโชว์ส่วนใหญ่จะได้มาจากทั้งโคมห้อยเพดาน โคมติดผนัง และโคมตั้งพื้น ประเภทนี้จะสามารถติดตั้งได้หลายจุด และออกแบบระบุตำแหน่งของดวงโคมนั้นได้เลย แต่ตัวโคมที่ตั้งใจจะติดตั้งฝังบนผนังก็ดี หรือบริเวณพื้นก็ดี จะต้องพูดคุยกับนั้นนักออกแบบก่อนการดำเนินงานก่อนสร้างเพื่อไม่ให้ผิด จากการตกแต่งที่ผู้อยู่ตั้งใจไว้ครับ เพราะเมื่อโครงสร้างเสร็จแล้วจะเป็นเรื่องยากที่จะทุบหรือรื้อเพื่อจะติดตั้งเพราะต้องอาศัยการเดินสายไฟตามพื้นและผนังอาคาร อาจจะทำให้เสียเวลาและเปลืองงบประมาณได้ ส่วนแสงไฟซ่อนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไฟหลืบ เป็นการให้แสงสว่างนิ่มนวล แต่การให้แสงสว่างแบบนี้ ไม่ประหยัดพลังงานเพราะแสงที่เล็ดลอดออกมาค่อนข้างน้อย หลืบควรมีช่องเปิดที่ไม่เล็กจนเกินไป ซึ่งช่องเปิดควรมีขนาดความสัมพันธ์กับขนาดเบ้าเพื่อทำให้ เพดานที่เบ้าสว่างทั่วกันทั้งหมดแทนที่จะเป็นขอบเบ้าเท่านั้น
**(( ช่องเปิดโดยทั่วไปควรมีขนาดอย่างน้อย 1/10 ของขนาดเบ้า ))**
การออกแบบการให้แสงสว่างจากไฟหลืบนั้น เพดานของหลืบต้องมีสีขาวหรือสีอ่อนมาก แสงในหลืบจึงสามารถ สะท้อนแสงออกมาให้ความสว่างกับห้องได้ ถ้าเพดานเป็นสีทึบ หรือสีน้ำเงินหรือสีโทนมืด จะทำให้เห็นแสงสว่างน้อยลง และยังทำให้สิ้นเปลืองพลังงนอีกด้วย โดยแสงสว่างจากไฟหลืบก็ต้องคิดเป็นแสงสว่างเพื่อการตกแต่งเท่านั้น การให้แสง สว่างหลักจึงเป็นต้องมาจากแหล่งอื่นแทนที่จะมาจากหลืบ
การเลือกประเภทของหลอดไฟให้ตรงกับสถานที่
การตกแต่งให้ตรงกับฟังก์ชั่นของห้องนั้นๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องถูกหลัก และถูกวัตถุประสงค์ของห้องนั้น เพื่อเป็นการใช้งานที่ราบลื่น ดังนั้นจึงยกตัวอย่างง่ายๆที่ใช้บ่อยๆ มา 3 ห้องครับ
|
การให้แสงสว่างในห้องน้ำ
|
|
|
การให้แสงสว่างในห้องครัว
การให้แสงสว่างในห้องครัวควรให้แสงสว่างมากพอเพื่อ สามารถปรุงอาหารได้ หาของที่อยู่ภายในตู้ต่างๆได้ และมี ความส่องสว่างมากพอบริเวณล้างจาน และเพื่อเป็นการ ประหยัดพลังงานแล้ว ก็ควรแยกส่วนกันอย่างชัดเจน โดย ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดคอมแพคท์ฟลูออเรส เซนต์กับห้องครัวส่วนประกอบอาหาร และการใช้หลอด วอร์มไวท์ในบริเวณห้องอุ่นอาหาร หรือในส่วน pantry เพราะมีพื้นที่ติดต่อในส่วนรับประทานอาหารที่มีความ สวยงามและทำให้อาหารดูน่ารับประทานอีกด้วย |
การให้แสงสว่างในห้องนอน
ควรให้แสงสว่างที่จำเป็นเท่านั้น โดยใช้เป็นจุดๆไป ตาม วัตถุประสงค์ของกิจกรรมนั้นๆ อย่างตู้เก็บเสื้อผ้าควรมี แสงส่องเข้าไปซึ่งอาจติดไฟข้างในตู้ หรือติดตั้งไฟฝัง ด้านนอกเพื่อสาดมายังตู้เพื่อเก็บของและค้นหาของได้ สะดวก บริเวณด้านหน้าหรือด้านข้างโทรทัศน์ควรมี ไฟส่องไม่ให้แสงบิเวณรอบโทรทัศน์มืดเกินไป นอกจากนั้น อาจติดตั้งไปส่องลงที่หน้าประตูหรือตามทางเดินเพื่อ สามารถเดินเหินได้สะดวก หรือการอ่านหนังสือใน ห้องนอนหรืออาจทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ใช้สายตาก็มักใช้ แสงจากไฟตั้งโต๊ะ กรณีที่มีการติดตั้งรูปภาพภายในห้อง หรือที่หัวเตียงอาจใช้ไฟส่องเพิ่มถ้าต้องการเน้นภาพนั้น |
|
Tips & Tricks
ก่อนที่เราจะทราบอัตราค่าไฟฟ้านั้น เราควรจะทราบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ใช้ไฟฟ้าหรือกินไฟเท่าไรเสียก่อน โดยสังเกต คู่มือการใช้งาน หรือแถบป้ายที่ติดอยู่กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เขียนไว้าว่า“กำลังไฟฟ้า” โดยมีหน่วยเป็นวัตต์ (watt) ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีจำนวนวัตต์มาก ก็จะกินไฟมากตามไปด้วย
สำหรับการคำนวณ อัตราค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ซึ่งมีผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. ประเภทมีการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน
สำหรับการใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิต คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ ที่ใช้งานใน 1 ชั่วโมง หรือใช้สูตร การคำนวณ ดังนี้
กำลังไฟฟ้า (วัตต์) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้นๆ x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า / 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานใน 1 วัน = จำนวนหน่วยหรือยูนิต
ตัวอย่าง จากการที่บ้านได้ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 9 อย่าง ดังนั้นเรามาคำนวณกันครับ
1. มีหลอดไฟฟ้าขนาด 40 วัตต์ (รวมบัลลาสต์อีก 10 วัตต์ เป็น 50 วัตต์) จำนวน 10 ดวง เปิดใช้ประมาณวันละ 6 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 50x10÷1,000x6 = 3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x3)=90 หน่วย
2. หม้อหุงข้าว ขนาด 600 วัตต์ จำนวน 1 ใบ เปิดใช้ประมาณวันละ 30 นาที จะใช้ไฟฟ้าวันละ 600x1÷1000x0.5=0.3 หน่วย หรือ ประมาณเดือนละ (30x0.3)=9 หน่วย
3. ตู้เย็น ขนาด 125 วัตต์ จำนวน 1 ตู้ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงาน 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 125x1÷1000x8= 1 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x1)= 30 หน่วย
4. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 2,000 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 12 ชั่วโมง สมมุติคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 2,000x1÷1000x8= 16 หน่วย หรือประมาณดือนละ (30x16)= 480 หน่วย
5. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 1,300 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง สมมุติคอมเรสเซอร์ทำงานวันละ 5 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวัน ละ 1,300x1÷1,000x5= 6.5 หน่วย หรือประมาณวันละ (30x6.5) = 195 หน่วย
6. เตารีดไฟฟ้า ขนาด 800 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดวันละ 1 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 800x1÷1000x1 = 0.8 หน่วย หรือประมาณ เดือนละ (30x0.8)= 24 หน่วย
7. ทีวีสีขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 3 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าวันละ 100x1 ÷x3 = 0.3 หรือประมาณเดือนละ (30x0.3) = 9 หน่วย
8. เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 4,500 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 1 ชั่วโมงจะใช้ไฟฟ้าวันละ 4,500x1÷1000x1=4.5 หน่วยหรือประมาณเดือนละ (30x4.5) = 135 หน่วย
9. เตาไมโครเวฟ ขนาด 1,200 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 30 นาที จะใช้งานวันละ 1,200x1 ÷1000x0.5 =0.6 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x0.6) = 18 หน่วย
ดังนั้นในแต่ละเดือนบ้านของท่านใช้ไฟฟ้าไปทั้งหมดประมาณ 990 หน่วย จากนั้นท่านก็สามารถคำนวณค่าไฟฟ้าของท่านได้ตามอัตราค่าไฟฟ้า ซึ่งตรงกับประเภทที่ 2 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือนครับ
|