bareo-isyss
 
interior design ออกแบบ ตกแต่งภายใน
 

 

 

 

ลักษณะของหน้าตาอาคารประเภท Town House ในยุคต่อมา ซึ่งถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่ายังไม่มีที่จอดรถ เพราะในสมัยนั้น รถยนต์ยังไม่เกิด และรถม้าส่วนบุคคล ก็จะมีเฉพาะคหบดี
ผู้ร่ำรวยเท่านั้น ส่วนคนทั่วไปต้องอาศัยบริการรถม้าสาธารณะแทน

 

 

 

 

 

 

 

 



      เกิดเป็นคนไทยในประเทศนี้ คงหนีไม่พ้นต้องคุ้นเคยกับตึกแถวเรียงติดกันเป็นพรืด เต็มทุกท้องถนน ส่วนใหญ่ ก็หน้าตาคล้ายๆ กัน จนบรรดาสถาปนิกทั้งหลาย ก็พากันรังเกียจ ไม่อยากออกแบบตึกแถว ถึงกับตั้งกฎเกณฑ์ กฎหมายผังเมืองอะไรต่อมิอะไร เพื่อกีดกันบรรดาตึกแถวทั้งหลาย ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว ตึกแถว ก็มีประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพสำหรับบรรดา SME ทั้งน้อยใหญ่ในประเทศไทย จนหลายต่อหลายรายกลายเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐีกันไปตามๆ กัน


( ลักษณะของอาคารประเภท Town House ในยุโรปยุคแรกๆ
วาดโดย Du Cerceau, Pont Saint Michel, Paris )

ทีนี้ เรื่องการออกกฎหมายต่างๆ เราคงไม่เข้าไปวุ่นวาย ปล่อยให้บรรดาพวกท่านๆ ทั้งหลายทำหน้าที่กันไป ส่วนเราๆ หากมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในตึกแถวเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลทางธุรกิจหรือการสืบทอดมรดกหรือแม้กระทั่งเพื่อทำเลที่ตั้ง ที่แสนจะสุดยอดและใจกลางเมืองก็แล้วแต่ เราก็คงหนีไม่พ้นที่จะอยากเสกสรรสวรรค์บนดินเพื่อสร้างโลกส่วนตัวที่หลบซ่อนจากความวุ่นวายเบื้องล่าง

ภาพแสดง Town House อีกแบบหนึ่งใน Philadelphia ที่มีหน้าตาเป็น Modern ขึ้น
(เขียนโดย Steven Holl)

 

สำหรับบทความนี้ ผมได้รับมอบหมายให้ทำการสร้างกิเลสให้กับท่านที่มีนิวาสถานประเภทอาคารพาณิชย์, ตึกแถวหรือ Town House โดยเฉพาะ

อันว่าตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์นั้น มีต้นกำเนิดมาจากการที่คนเรามีลักษณะที่ชอบอยู่ร่วมกัน เป็นกลุ่ม เป็นชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในใจกลางเมือง หรือย่านธุรกิจ ซึ่งเมื่อมีชุมชนหนาแน่นขึ้น ก็หลีกหนีไม่พ้นการที่จะต้องสร้างบ้านให้ติดกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จนในที่สุดก็เกิดอาคารประเภทที่มีการใช้เสา, ผนังและฐานรากร่วมกัน ซึ่งกลายเป็นที่มาของบ้านแถว (Row House) ในสมัยก่อน จากนั้น เมื่อมีพัฒนาการทางด้านงานก่อสร้าง จากบ้านไม้กลายเป็นอาคารคอนกรีต ชื่อเรียกก็เลยเปลี่ยนไปเป็นตึกแถวแทน

บรรยากาศภายใน Town House ที่ได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี มีการใช้ประโยชน์จากช่องแสงที่มีอยู่จำกัด ให้กระจายไปอย่างทั่วถึง รวมทั้งมีการประดับตกแต่งผนังด้านทึบด้วยภาพเพื่อลดความทึบตัน ตลอดจนมีการเลือกใช้คู่สีในการตกแต่งได้อย่างน่าสนใจ

พอต่อมาอีก เจ้าของโครงการจัดสรรขายตึกแถว ก็ไม่อยากได้ชื่อนี้ ก็สรรหาคำใหม่ๆ มาเรียกกัน จนได้คำว่า “ อาคารพาณิชย์ ” ในปัจจุบัน ดังที่เราจะได้เห็นป้ายโฆษณาตามถนนเกิดใหม่ แถวชานเมืองว่า “ อาคารพาณิชย์ ทำเลทอง สำหรับผู้มองการไกล ” (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะไกลสักแค่ไหน จะสิบหรือยี่สิบปี บางทีกว่าผู้มองการไกลจะเห็นผล ผู้มองการใกล้ก็เข้ามาเซ้งหรือซื้อต่อไปทำภายหลังจากเจ้าของรายแรกขาดทุนย่อยยับ เพราะถนนช่วงแรกยังไม่บูม พอ)

 

ภาพแสดงบรรยากาศภายใน Town House ที่มีขนาดเล็ก จึงรวม Space ของส่วนบันไดเข้าไปไว้ในห้องนอนด้วย และแยกห้องน้ำไปไว้ที่ด้านหลัง เพื่อให้ได้พื้นที่ใช้สอยที่มากขึ้น และไม่อึดอัด

 

สำหรับฝรั่งนั้นเอง ก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปบ้างเหมือนกัน คือ Row House, Town House หรือบางที Shop House ก็เรียก (คำว่า Shop House ค่อนข้างจะตรงกับตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์ของบ้านเรามากที่สุด คือเป็นทั้งร้านค้า และบ้านในตัวเดียวกัน ในขณะที่ Town House มักจะหมายถึงอาคารแถวที่เป็นบ้านโดยเฉพาะมากกว่า ซึ่งอาจจะมีที่จอดรถในบ้าน หรือไม่มีก็ได้) แต่โดยรวมความแล้ว เราสามารถใช้คำว่า Town House แทนอาคารประเภทนี้ทั้งหมดก็ได้

 

รูปด้านหน้าของอาคาร Town House แห่งหนึ่งใน New York ที่มีการใช้เส้นสายที่เรียบง่าย และการเจาะช่องแสงที่เป็นจังหวะ เรียกร้องความสนใจของบุคคลภายนอกที่มีต่อกิจกรรมภายในอาคารได้เป็นอย่างดี

 

ลักษณะโดยทั่วไปของ Town House จะเป็นอาคารหน้าตาเหมือนๆ กันเรียงต่อกัน จนเป็นอาคารขนาดใหญ่ แต่แบ่งซอยตามแนวตั้ง เพื่อแยกความเป็นเจ้าของ ดังนั้น อาคารประเภทนี้จึงมีข้อจำกัดอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ไม่มีช่องแสงโดยรอบอาคาร (โดยมากมักจะมีช่องแสงเฉพาะด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น ยกเว้นห้องหัวมุม ที่อาจมีด้านข้าง ข้างใดข้างหนึ่งเพิ่มขึ้นมา) รวมถึงลักษณะของการวางผัง ที่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมเป็นหลัก และหน้าตาอาคารที่ต้องจำกัดความสวยงาม (สวยเกิน เดี๋ยวคนแย่งกันซื้อ) ตลอดจนผนังและเสาที่ต้องใช้ร่วมกันกับข้างบ้าน (ถ้าไม่มีข้อนี้ แสดงว่าคุณต้องไม่ได้อยู่ตึกแถว หรือ Townhouse แน่ๆ เลย)

 

ภาพแสดงบรรยากาศภายใน Town House อีกภาพหนึ่ง ที่ใช้ Double Volume Space ในการสร้างความโอ่โถงของบ้าน และออกแบบรูปทรงของบันไดให้กลายเป็นจุดสนใจของห้อง ในขณะที่มีการเจาะช่องแสงขนาดใหญ่เพื่อคลายความอึดอัดของบ้าน ทำให้เป็นบ้านที่น่าอยู่มาก

 

เมื่อมีข้อจำกัดกันมากขนาดนี้ หลายต่อหลายท่านอาจจะถามในใจว่า เอ๊ะ ! แล้วจะทำอย่างไรให้ตึำกแถวมันกลายเป็นสวรรค์บนดินได้ล่ะ เอาละครับ จากนี้ไป เราจะมาว่ากันด้วยการปรุงตึกแถวของเราให้สวยเริ่ดกันดีกว่า ซึ่งจากนี้ไป คงต้องเริ่มกันทีละส่วน ตั้งแต่ด้านหน้าอาคารก่อนนะครับ

เนื้อหา : มาจากหนังสือ The new American townhouse
แต่งโดย.... ALEXANDER GORLIN foreword by PAUL GOLDBERGER

 

(โปรดติดตาม ตอนต่อไปในฉบันหน้า)

 
 
 
Brochure
Services
New Project
Back Issue
 

 

Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links

บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 Tel. 66 2881 8536-7 Fax. 66 2881 8538

house servic, decoration design home architect architecture interior design designer homeplan residential furniture family decorat building build planning cost news information structure arch drawing apartment idea bangkok develop foreman เฟอร์นิเจอร์ การซ่อมแซมบ้าน วัสดุแต่งบ้าน ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องอาหาร ออกแบบ ตกแต่งภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ บ้านสวย มัณฑนากร สถาปัตย์ ตกแต่ง บารีโอ บริการ ปรึกษา รับสั่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามแบบ รับเหมาตกแต่ภายใน วรวุฒิ ธรรมกุลางกูร มยุรี ธรรมกุลางกูร