home head2
head3

 

     เก้าอี้คลาสสิก

    รูปลักษณ์และฟั้งก์ชั่น ที่ผันไปตามกาลเวลา

 

“คลาสสิก” หรือ “ไร้กาลเวลา” นั้นเป็นอีกหนึ่งคำที่เราคุ้นหูในหลายๆแง่มุม มาดูที่สิ่งใกล้ตัวกันบ้าง หากละสายตาจากจอคอมพิวเตอร์นี้และมองไปรอบๆ เชื่อว่าหลายท่านคงเห็นเก้าอี้ในออฟฟิศ ที่สาธารณะ ไปจนถึงพื้นที่ส่วนตัวในห้องๆ ต่างๆภายในบ้าน เก้าอี้ที่คุณกำลังนังอยู่นี้อาจได้รับอิทธิพลมาจากงานดีไซน์เก้าอี้ชิ้นคลาสสิกในช่วงทศวรรษหนึ่ง มาดูกันว่า ของใกล้ตัวชิ้นนี้ได้รับการริเริ่มและพัฒนาในเรื่องการออกแบบมาถึงปัจจุบันอย่างไรบ้าง

 

หากเล่ากลับไปถึงประวัติศาสตร์ชิ้นงานดีไซน์ จะพบว่ามีชิ้นงานที่คงอยู่มาถึงยุคโมเดิร์นเพียงไม่กี่ชิ้นที่เปลี่ยนผันไปตาม เทรนด์ความนิยมในงานออกแบบของแต่ละยุคสมัย การออกแบบเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ (ergonomics) และความเชื่อมโยงกับบริบทสังคมและวัฒนธรรม ทั้งหมดนี้อธิบายได้จากความคลาสสิกของงานดีไซน์ เก้าอี้

 

   ปี 1800


ย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงปี 1800 หรือศตวรรษที่ 19 Michael Thonet ช่างทำตู้ชาวเยอรมัน-ออสเตรีย ได้ริเริ่มทำเฟอร์นิเจอร์ ด้วยการนำเอาชิ้นไม้โค้งงอมาประกอบติดกาวเข้ากัน เกิดเป็นเก้าอี้ที่เรียกว่า Boppard Layerwood Chair ในปี 1836 เก้าอี้ ส่วนใหญ่ในช่วงศตวรรษที่ 19 ประกอบขึ้นด้วยมือ แต่อย่างไรก็ตามพวกนักอุตสาหกรรมก็พยายามคิดค้นเทคนิคการผลิตที่ทันสมัยเพื่อให้ได้ชิ้นเฟอร์นิเจอร์ที่มีคุณภาพและมีราคาถูกเมื่อผลิตจำนวนมาก ซึ่งงานของ Michael Thonet ประสบความ สำเร็จในศตวรรษนี้

 

 

1

 

 

 

 

 

 

Rocking Chair No.1 สร้างขึ้นในปี 1860
 โดย Michael Thonet

 

งานศิลปะและหัตถกรรมเป็นกระแสหลักในตอนนั้น ทำให้ พวกชนชั้นกลางไปจนถึงชนชั้นสูงสร้างสรรค์เก้าอี้โยกออกมาในแบบ Rustic Style หรืองานศิลป์ที่ใช้สำหรับตกแต่ง (decorative arts) พวกเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้หรือโลหะ สลักหรือประกอบขึ้นจากธรรมชาติ เช่น กิ่งไม้ ให้ความรู้สึกที่เรียบง่ายเข้ากับธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ ถ่ายทอดไว้ในผลงานของ Michael Thonet ชิ้นนี้ สร้างขึ้นจากไม้     ลามิเนตที่แข็งนำมาดัดให้โค้งงอที่นั่งและพนักเก้าอี้ทำจากไม้สาน

 

 

     ปี 1900 หรือศตวรรษที่ 20

 

ในช่วงต้นๆนั้นเต็มไปด้วยไอเดียใหม่ๆในการทดลองงานออกแบบเก้าอี้โดยฝีมือของดีไซน์เนอร์และสถาปนิกผู้มีความคิดสร้างสรรค์ เช่น Charles Rennie Mackintosh ผู้คร่ำหวอดในงานออกแบบหลายแง่มุม และJosef Hoffmann โดยเอกลักษณ์ของ การเก้าอี้ในยุคนี้คือดีไซน์ที่เป็นเหลี่ยมมุม และการใช้สีโมโนโครมเป็นกระแสงานออกแบบสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมและมี อิทธิพลต่อเฟอร์นิเจอร์และของใช้ในบ้าน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Cabaret Fledermaus Chair สร้างขึ้นในปี 1905-1906 โดย Josef Hoffmann Josef Hoffmann

 

สถาปนิกและดีไซเนอร์ชาวออสเตรียได้รับอิทธิพลจาก Charles Rennie Mackintosh สถาปนิกชาวสก็อตแลนด์มา ใช้ในเรื่องของความเฉียบคมและเหลี่ยมมุมรูปทรงของเก้าอี้ตัวนี้จึงมีความเกลี้ยงเกลา

2

 

   

      ปี 1920s


ช่วงทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นช่วงที่ดีไซเนอร์สนุกกับการหาวัสดุใหม่ๆที่มนุษย์สามารถทำขึ้นได้ร่วมไปถึงเทคนิคการผลิตที่แตกต่างออกไปจากเดิมเพื่อสร้างสรรค์ชิ้นเฟอร์นิเจอร์สำหรับยุคที่เรียกว่า “Machine Age” หรือยุคเครื่องจักร ผลลัพธ์คืองานชิ้นเด่นที่เรียกว่า “เก้าอี้แคนทีลีเวอร์” (Cantilever Chair) หรือ “เก้าอี้ยื่น” เป็นเก้าอี้ที่มีลักษณะ เฉพาะตัวคือไม่มีขาหลังโครงสร้างของเก้าอี้รองรับด้วยขาหน้าที่งอเข้าเป็นฐานออกแบบโดยดีไซเนอร์คนสำคัญ เช่น Marcel Breuer รวมไปถึง Miles Van Der Roche และ Le Corbusier

 

 

3

 

 

 

 

 

 

B3 (Wassily) Chair สร้างขึ้นในปี 19                                  โดย Marcel Breuer

 

Breuerสถาปนิกและเฟอร์นิเจอร์ดีไซเนอร์ชาวฮังกาเรี่ยนในกลุ่มโมเดิร์นนิสต์ ฝากผลงานชิ้นเด่นไว้สองชิ้นในฐานะที่เป็นผู้นำในงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์สไตล์เบาเฮ้าส์ (Bauhaus) อย่างเช่น B3 (Wassily) Chair ชิ้นนี้เป็นตัวอย่างของงานออกแบบเก้าอี้แคนทีลีเวอร์ ส่วนชื่อของชิ้นงานมาจากเพื่อนศิลปินที่ชื่อว่า Wassily Kadinsky ผู้ให้กำเนิดศิลปะแนวนามธรรม (abstract expressionism) จัดอยู่ในกลุ่มงานศิลป์สมัยใหม่

 

     ปี 1930s


ถึงแม้จะเป็นช่วงยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำและก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุคนี้ยังคงฟูเฟื่องด้วยงานดีไซน์เก้าอี้ที่ล้ำสมัย ต่างจากทศวรรษ 1920 ที่นิยมใช้วัสดุประเภทเหล็กแต่ดีไซเนอร์ยุคนี้ เช่น Alvar Aalto จากประเทศฟินแลนด์ต่างหลงใหลในวัสดุไม้

 

 

 

 

 

Stacking Stools Model No.60 สร้างขึ้นในปี 1932
โดย Alvar Aalto

 

ดีไซเนอร์ชาวฟินแลนด์คนนี้ได้อิทธิพลการออกแบบเก้าอี้ทรงกลมตัวนี้จากการได้เห็นงานของดีไซเนอร์ระดับสากล เมื่อครั้งที่เดินทางไปเยือนประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนีและได้นำมาตีความอีกครั้ง กลายเป็นชิ้นงานที่มีเอกลักษณ์ในแบบของเขาเองคือการใช้ไม้แบบฟินแลนด์ชิ้นนี้ออกแบบให้กับห้องสมุด Viipuri และด้วยประโยชน์ใช้สอนที่สามารถเก็บซ้อนทับกันได้ จึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่สาธารณะ เช่น ห้องสมุดและโรงเรียน เป็นงานคลาสสิกอีกชิ้นหนึ่งที่พบเห็นได้บ่อยๆในปัจจุบัน

 

       

 

4

 

   

 ปี 1940s


แม้ว่าโลกอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และขาดแคลนวัสดุในการทำแต่การดีไซน์เก้าอี้ยังคงเดินหน้าต่อไป แตกต่างจากทศวรรษที่ผ่านๆมาคือมีการร่วมมือกันระหว่างดีไซเนอร์และผู้ผลิตจับมือร่วมกันหาวัสดุและพัฒนาขั้นตอนการการผลิตยุคนี้ จะเป็นงานของดีไซเนอร์ชาวอเมริกันร่วมกับผู้ผลิตอย่างเช่น บริษัท Knoll และ Hermann Miller

 

 

 

 

 

5

 

 

 

La Chaise สร้างขึ้นในปี 1948                                              โดย Charles และ Ray Eames

 

เก้าอี้ที่ทำจากเหล็ก ไม้ และไฟเบอร์กลาสตัวนี้เป็นผลพวงจากการแข่งขันประกวดงานดีไซน์ต้นทุนน้อย (International Competition for Low-Cost Design)จัดขึ้นโดยพิพิธภัณฑ์งานศิลปะสมัยใหม่ในนิวยอร์ค (MOMA) เพื่อตอบรับความต้องการของรัฐบาลที่ต้องการกระตุ้นผู้ผลิตภายในประเทศให้สร้างสรรค์เฟอร์นิเจอร์และของใช้ภายในบ้านใหม่ๆเพื่อตอบรับการเพิ่มจำนวนของประชากรหลังสงครามโลกCharles และ Ray Eames ดีไซเนอร์ดูโอชาวอเมริกันจึงส่งผลงานหลายชิ้นเข้า ประกวดรวมถึงชิ้นนี้ด้วย โดยเบื้องหลังของไอเดียการออกแบบงานชิ้นนี้คือหยิบเคลื่อนที่ได้ง่าย ทำความสะอาดง่ายและนั่งได้หลายคนและเนื่องจากจุดประสงค์เหล่านี้ที่ค่อนข้างซับซ้อนในเวลานั้นทั้งสองจึงไปร่วมมือกับบริษัท Vitra ของสวิตเซอร์แลนด์ให้ผลิตงานให้

  

 

     ปี 1950s


หลังจากความน่ากลัวของสงครามได้ผ่านพ้นไปผู้คนต่างเสาะหาสุนทรีย์ที่ให้ความอบอุ่นเป็นธรรมชาติ เช่น งานจากวัสดุ ไม้ในสีเอิร์ธโทน เหล่าดีไซเนอร์ยังคงไม่ละทิ้งความพยายามในการพัฒนางานเฟอร์นิเจอร์ใหม่ๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของประชากรหลังสงครามโลก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Series 7, Model No. 3017 สร้างขึ้นในปี 1955                          โดย Arne Jacobsen

 

เก้าอี้ที่สร้างสรรค์จากไม้อัด (plywood) และท่อเหล็กนี้เป็นผลงานของ Arne Jacobsen สถาปนิกชาวเดนมาร์ก ผลงานมีชื่อเสียงในเรื่องการนำแนวคิดที่เป็นเหตุเป็นผลของงานสมัยใหม่มาเชื่อมโยงกับรูปทรงอิสระในสไตล์ นอร์ดิก เก้าอี้ตัวนี้เขาได้รับแรงบันดาลใจจากงานไม้อัดของดีไซเนอร์ดูโอ Charles และ Ray Eames

 

 

 

 

 

 

 

6

 

     ปี 1960s


ยุคนี้ก่อกำเนิดวัสดุที่เราคุ้นเคยกันดีในปัจจุบันคือพลาสติก ผลพวงจากการที่ดีไซเนอร์ในยุคนั้น ปฏิเสธวัสดุธรรมชาติจากยุคก่อน ส่วนเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของงานดีไซน์คือการใช้สีสดและรูปทรงที่ราวกับจะลื่นไหลได้

 

7

 

 

 

 

 

 

 

Polyprop สร้างขึ้นในปี 1962-1963 โดย Robin Day

 

เก้าอี้ในรูปนี้เป็นงานดีไซน์อีกหนึ่งชิ้นที่เห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน ออกแบบโดย Robin Day ให้กับบริษัทผู้ผลิตที่ ชื่อว่า Hille International ในช่วงต้นยุค 60 เขาต้องการสร้างงานที่มีต้นทุนถูกกว่างานเก้าอี้ไฟเบอร์กลาสขอ Charles และ Ray Eames จึงนำเทคโนโลยีการฉีดขึ้นรูปวัสดุโพลิโพรพิลีนหรือพลาสติก ทำให้บริษัท Hille สามารถผลิตเก้าอี้ได้ถึง 4,000 ตัวในหนึ่งสัปดาห์

 

   

      ปี 1970s


หลังจากยุคบุปผาชนสิ้นสุดลง โลกก็เข้าสู่ความมืดมนของสงครามเวียดนามและความรุนแรงในไอร์แลนด์เหนือเกิดผลกระทบในด้านลบต่อสังคมมากมาย ศิลปะจึงกลายเป็นสิ่งเดี่ยวที่พาไปสู่อีกโลกหนึ่ง งานออกแบบในยุคนี้จึงเป็นแบบ อวองการ์ด (avant garde) ที่ดูเกินจริง

 

 

 

 

 

 

 

 

Wiggle Side Chair สร้างขึ้นในปี 1972
โดย Frank O. Gehry Frank Gehry

 

เป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงระดับโลกมีผลงานชิ้นสำคัญมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์ Guggenheim เป็นต้น นอกจากนี้เขายังมีคนสนใจทดลองออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ใหม่ๆอย่างเช่นเก้าอี้ Wiggle ตัวนี้สร้างขึ้นจากแผ่น บอร์ดลูกฟูก 60 ชั้นเชื่อมเข้าด้วยกัน ความน่าสนใจของงานชิ้นนี้คือการนำของใช้ประจำวันที่เขาใช้สร้างโมเดลในงานสถาปัตยกรรมมาประกอบกันขึ้นเป็นงานประติมากรรมที่คงรูป ผลงานนี้เกิดจากการเริ่มเล่นสนุก โดยใช้กาวมาติดเชื่อมกัน ตัดเป็นรูปทรงโดยใช้เลื่อยและมีดพกขนาดย่อม

 

8

 

     ปี 1980s


งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ในยุคนี้ได้รับอิทธิพลจาก 2 กระแส อย่างแรกคือแนวคิด “Do-It-Yourself” หรือ DIY ของพวกพั้งก์ในยุค 70s มีดีไซเนอร์คนสำคัญจากอังกฤษ เช่น Tom Dixon และอีกหนึ่งแนวคิดคือ ‘Post Modernism” หรือการนอกกรอบการมองในหลายๆมุมมองผสมผสานกัน

 

9

 

Dr.Glob สร้างขึ้นในปี 1988 โดย Philippe Starck

Philippe Starck เป็นดีไซเนอร์งานเฟอร์นิเจอร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของยุค 80s โดดเด่นในเรื่องการนำของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เก้าอี้ มาเนรมิตให้มีรูปทรงที่แข็งแกร่งแต่ก็ดูเพ้อฝันประหลาดในแบบการ์ตูน อย่างเช่น เก้าอี้ Dr.Glob ตัวนี้

 

 

 

 

10

 

 

 

S Chair สร้างขึ้นในปี 1988 โดย Tom Dixon

Tom Dixon เรียนรู้วิธีการเชื่อมต่อด้วยตนเองหลังจากตัดสินใจออกจากโรงเรียน เขาได้ลองสร้างต้นแบบ เก้าอี้ตัวนี้ไว้ถึง 50 แบบจากวัสดุที่ต่างกัน เป็นอีกหนึ่งชิ้นงานที่สะท้อนให้เห็นถึงแวคิดแบบ DIY ของ Tom Dixon ในยุค 80s ได้อย่างดี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     ปี 1990s

 

ยุคนี้นิยมงานดีไซน์ที่มีความหมายล้ำลึกเป็นการกลับไปสู่ต้นกำเนิดแห่งโมเดิร์นนิสต์ผ่านการใช้รูปทรงที่เรียบง่ายแต่แฝงไว้ด้วยความคิดที่ลึกซึ้ง

 

 

11

 

W.W. Stool สร้างขึ้นในปี 1990 โดย Philippe Starck

 

ผลงานเก้าอี้ W.W. Stool ตัวนี้ Philippe Starck สร้างขึ้นสำหรับวางไว้ในพื้นที่ทำงานสุดแฟนซีของ Wim Wenders ผู้กำกับชาวเยอรมันที่มาของชื่อเก้าอี้ตัวนี้ และเป็นผลงาน ที่แสดงให้เห็นถึงงานสไตล์ conceptual ของดีไซเนอร์ คนนี้ได้อย่างชัดเจน โดยผลงานชิ้นนี้ เขากล่าวว่า “surrealist or Dada objects” หรืองานแบบเซอร์เรียลลิสต์และกระแสดาด้า เป็นการปลดปล่อยผู้ใช้จากเก้าอี้เดิมๆที่พบ เห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน

 

 

12

 

Jack Light สร้างขึ้นในปี 1996 โดย Tom Dixon

 

ผลงานของ Tom Dixon ชิ้นนี้มี 2 ฟั้งก์ชั่นคือเป็นทั้งเก้าอี้และโคมไฟชิ้นนี้สร้างขึ้นโดยบริษัทผลิตที่ชื่อว่า Eurolounge ของเขา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทั้งหมดนี้เป็นงานสร้างสรรค์เก้าอี้ชิ้นคลาสสิกจากศตวรรษที่ 19 ถึงศตวรรษที่ 20 ซึ่งรูปทรงของเก้าอี้ในบางชิ้นงานยังคงปรากฏให้เห็นทั่วไปในชีวิตประจำวันของเราในช่วงศตวรรษที่ 21 และด้วยความคิดสร้างสรรค์อันเป็นเลิศของมนุษย์และเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดนิ่ง เราอาจจะเห็นชิ้นงานระดับไอคอนเหล่านี้ถูกหยิบมาพัฒนาอีกครั้งจะเห็นได้ว่า คำว่า “วินเทจ” หรือ “คลาสสิก” นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแต่ “ความเก่า” ด้วยกาลเวลา แต่เป็น “ความเก๋” ที่ไร้กาลเวลารอการนำมาประยุกต์เข้ากับยุคสมัยได้ทุกเมื่อนั่นเอง

 

 

 

 

 

 Contact us / Join us

ออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน Interior design Thailand

www.bareo-isyss.com เป็น web magazine ที่ update รายเดือนเพื่อผู้อ่าน ทัศนะและความคิดเห็นใดๆ ของผู้ประพันธ์ หรือผู้สนับสนุน
ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง หรือไม่แน่ชัดใน www.bareo-isyss.com มิได้มาจาก บริษัท บาริโอ จำกัด และบริษัทในเครือแต่อย่างใด
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน Interior design Thailand