ลินดา ตั้งจิตธนกุล
 
interior design ออกแบบ ตกแต่งภายใน
 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 





โดย Crouching Tiger

      Space

เป็นที่ยอมรับกันอยู่แล้ว ว่าปัญหาที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งของบ้านแบบทาวน์เฮาส์ คือเรื่องของ Space ที่เป็นกล่องๆ และหน้าต่างช่องแสงที่มีอยู่จำกัด (เฉพาะด้านหน้าและหลัง ยกเว้นห้องหัวมุมเท่านั้นนะครับ) ทีนี้ การที่เรามีบ้านที่เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมก็ใช่ว่าจะจัดออกมาไม่สวยนะครับ ไม่เชื่อก็ลองตามขึ้นบันไดมาดูเลยครับ

•  Tribeca Town House, New york 1997. Dean / Wolf Architect แสดงการแบ่งพื้นที่บันไดทางขึ้นดาดฟ้า แยกออกจากส่วนพื้นที่ใช้สอยภายในห้อง ทำให้พื้นที่ภายในดูมี “ อะไร ” มากขึ้น รวมถึงการเปิดช่องด้านบนทะลุจากฝ้าเพดานลงมา ตลอดจนการสร้างกล่องไม้เก็บของที่ดูเหมือนเชื่อมต่อกับชานพักบันไดด้านนอก ทำให้ Space ดูซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ การเลือกใช้เส้นสายที่ได้เหลี่ยม ได้มุมฉากต่างๆ สลับกับการเลือกใช้วัสดุ ทำให้พื้นที่นี้ดูเรียบง่าย ลงตัว และทันสมัย

•  Watrous Weatherman House, New york 1998. Leslie Gill & Bryce Sanders ภาพโถงบันได เมื่อมองย้อนขึ้น จะเห็นเส้นสายในแนวตั้ง ซึ่งปกติ เราคงไม่ได้เห็นภาพนี้ในบ้านทาวน์เฮาส์ของเรา เนื่องเพราะเรามักไม่ให้มีพื้นที่เหลือในโถงบันไดสักเท่าไร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การเว้นพื้นที่ด้านข้างบันได ให้เป็นพื้นที่โล่งทะลุกันตลอด จะทำให้เกิดการเชื่อมต่อของ Space เข้าหากันทุกชั้น และทำให้บ้านดูโอ่โถงขึ้น และมีการระบายอากาศที่ดีขึ้นด้วยครับ

•  พื้นที่โถงชั้นบนของบ้านหลังเดียวกัน ที่มีการจัดวางเก้าอี้นั่งเล่น กับชั้นโชว์ เราจะพบว่ายังคงมีข้อจำกัดของ Townhouse ในเรื่องผนังทึบที่ด้านข้าง แต่การที่มีโถงบันไดที่โล่งเปิดถึงกันตลอด จะช่วยแก้ไขบรรยากาศให้ลดความอึดอัดลงได้อย่างมากทีเดียว

•  แสดงการตกแต่งส่วนห้องครัว ที่มีการกั้นพื้นที่ทางเดินของโถงบันไดไว้ต่างหาก ทำให้การใช้สอยดูลงตัวและไม่สับสน แน่นอนว่าการออกแบบเช่นนี้ จำเป็นต้องใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก และคุณอาจต้องซื้อทาวน์เฮาส์ที่มีหน้ากว้างอย่างน้อย 5-6 เมตร หรืออาคารอย่างน้อยสองห้อง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบ้านทาวน์เฮาส์ขนาดเล็กจะคิด Space สวยๆ ไม่ได้

•  Private Town House, New York 1998. Kiss + Zwigard แสดงการตกแต่งในส่วนโถงทางเดินอีกแบบหนึ่ง ที่มีการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบเตี้ย ในการกั้นพื้นที่ ซึ่งเหมาะสมกับบ้านที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เพราะเป็นการแบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน แต่ก็ยังไม่สูญเสียความโล่งของพื้นที่ภายใน นอกจากนี้ การเลือกใช้ประตูบานเลื่อนเพื่อเปิดหรือปิดกั้นพื้นที่ตามต้องการ ก็จัดว่าเป็นไอเดียที่สุดบรรเจิดเช่นเดียวกัน

•  เส้นสายที่โค้งละมุมของราวบันไดเวียนสเตนเลส ก็ช่วยให้เกิดความลื่นไหลของ Space ได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะทำให้งานออกแบบดูน่าสนใจมากขึ้นแล้ว บันไดเวียนยังต้องการพื้นที่โล่งด้านบน ซึ่งในที่นี้ น่าจะเป็นพื้นที่เหมือนกันชั้นลอยบ้านเรา ทำให้เกิดความรู้สึกถึงการเชื่อมต่อของ Space ระหว่างชั้นล่างกับชั้นบนได้เป็นอย่างดี ทีนี้ หากคุณต้องการติดตั้งบันไดเวียนให้กับชั้นลอยในบ้านของคุณ ผมขอแนะนำให้คงบันไดปกติไว้ด้วย เพราะจะสะดวกกว่าและปลอดภัยกว่า สำหรับการใช้สอยอื่นๆ เช่นการยกของขึ้นลง หรือการใช้สอยสำหรับเด็ก เป็นต้น

•  แสดงบรรยากาศของโถงบันไดที่เป็นแบบ Double Volume ซึ่งคุณจะเห็นได้ว่า บันไดเวียนนั้นมีอานุภาพในการเชื่อมต่อพื้นที่ระหว่างชั้นมากเพียงใด

•  Hilpert House , New York 1998. Ogawa / Depardon. แสดงการกั้นพื้นที่ใช้สอยของส่วนบันได และส่วนพื้นที่ใช้สอยออกจากกัน แม้ว่าเราจะไม่สามารถแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของ Space แต่เราก็จะสามารถเลือกใช้วัสดุประเภทกระจกฝ้ามาใช้ได้ โดยข้อดีของกระจกฝ้าคือการที่ยอมให้แสงผ่านเข้ามาได้ เพียงเท่านี้ โถงบันไดของคุณก็จะไม่กลายเป็นที่อับอากาศอีกต่อไป

•  แสดงการเชื่อมต่อของโถงบันได กับพื้นที่ใช้สอย ซึ่งหากคุณเลือกที่จะตกแต่งโดยให้โถงบันไดเป็นตัวเชื่อมต่อกับพื้นที่ในส่วนต่างๆ คุณจะพบกับความมหัศจรรย์ของ Space ที่คุณจะคาดไม่ถึง ด้วยเทคนิคง่ายๆ เพียงเท่านี้เอง

•  Laz House, Boston 1997. Christopher W.Robinson. ภาพนี้เป็นตัวอย่างที่ดี ที่น่าจะใกล้เคียงกับขนาดของทาวน์เฮาส์และตึกแถวในบ้านเรามากที่สุด โดยทาง Architect ได้จัดสรรพื้นที่อย่างชาญฉลาด และแบ่งพื้นที่ในแต่ละชั้นออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนหน้า-โถงบันได-ส่วนหลัง โดยพื้นที่ส่วนหน้ากับส่วนหลังเป็นพื้นที่ใช้สอยจริง ส่วนโถงบันได ก็จะเป็นการเชื่อมต่อ Space โดยยอมลดพื้นที่ลงบ้าง เพื่อเปิดให้มีการเชื่อมต่อกับ Space ด้วยการใช้บันได และช่องโล่ง สุดท้าย ภาพรวมที่ออกมาจึงลวงตาทำให้บ้านดูมีขนาดและพื้นที่ใช้สอยที่มากกว่าความเป็นจริง

•  Stairway to Heaven, Seaside 1994. Alexander Gorlin. บ้านหลังงามหลังนี้ ได้เคยลงรูปด้านไว้ครั้งหนึ่งแล้ว ในตอนที่แล้ว ภายในมีการจัดพื้นที่ที่เปิดโล่งอันเนื่องมาจากข้อได้เปรียบของงานสถาปัตยกรรมที่นำเสนอหน้าต่างขนาดใหญ่แบบ Double Volume และยกเอาบันไดไปไว้ภายนอกอาคาร ดังนั้นมุมมองภายในอาคารจึงดูโล่งกว้าง และอลังการ เสมือนนั่งอยู่ในห้องโถงขนาดใหญ่เลยทีเดียว

•  ภาพเมื่อมองจากห้องโถงด้านหน้า กลับเข้าไปภายใน จะเห็นจุดเด่นของสถาปัตยกรรมที่บันไดเวียนโค้ง แบบดอกสว่านที่น่าประทับใจ (แต่อาจจะไม่ถูกต้องกับหลักฮวงจุ้ย) นอกจากนี้ การเลือกใช้ไม้สนย้อมสีธรรมชาติกับสีขาว ก็สร้างบรรยากาศแบบ Scandinavian Modern ได้เป็นอย่างดี

•  Chicago Town House, Chicago 1997. Lohan Associates. (ภาพที่ 13-15) พื้นที่ภายในของบ้านหลังนี้ถูกเชื่อมต่อกับอย่างลงตัวด้วยเส้นสายทางงานสถาปัตยกรรม เฉกเช่นงานศิลปะที่ประดับภายในอาคาร งานออกแบบตัวบันไดที่ได้คำนึงถึงผลลัพธ์ในการออกแบบไว้ล่วงหน้า ทำให้เกิดเส้นนำสายตาขึ้นไปสู่ชั้นบนของอาคาร รวมทั้งการเลือกใช้วัสดุประเภทกระจกใส เพื่อให้เปิดเผยเส้นสายความงามของขั้นบันได ทำให้อาคารหลังนี้ ดูเป็น Gallery มากกว่าที่จะใช้เป็นที่พักอาศัย

•  ลักษณะของการตกแต่งในส่วนรับแขก ซึ่งจะยังคงเห็นเส้นสายของบันไดที่ชัดเจนและงดงาม ประดับเสมือนเป็นฉากหลังให้กับห้องรับแขก

•  แสดงการเล่นเส้นสายที่ตรง และซับซ้อน ทำให้เกิดมิติและเงาที่สวยงาม รวมถึงการจัดวางกล้องดูดาว นอกจากจะมีประโยชน์ใช้สอยแล้ว ยังสามารถแทนค่าตัวประติมากรรมประดับในอาคารได้อีกด้วย

ดังตัวอย่างทั้งหมดที่ผมยกมาให้ชมนี้ ผมพยายามจะเน้นในเรื่องของการจัด Space ที่ดี และเหมาะสมกับการอยู่อาศัยของเรา ซึ่งในบ้านแบบทาวน์เฮาส์หรือตึกแถวนี้ “ บันได ” น่าจะเป็นจุดเชื่อมต่อของ Space ที่สำคัญและมีผลต่องานออกแบบได้ชัดเจนที่สุด นอกจากนี้ การเลือกใช้วัสดุต่างๆ เพื่อนำมาแบ่ง Space เพื่อการใช้สอย ก็เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่ง

และจะเห็นได้ชัดเจนว่า งานสถาปัตยกรรมที่ดีนั้น ไม่จำเป็นต้องมีขนาดที่ใหญ่ หรือมีลักษณะที่หลุดโลกแต่อย่างใด แม้แต่อาคารตึกแถวหรือทาวน์เฮาส์นั้น หากมีการ “ คิด ” ที่ดีและเหมาะสม ก็จะให้ผลสะท้อนที่น่าประทับใจ สิ่งที่ผมพยายามนำเสนอในหัวข้อ “ ฝันอยากมีทาวน์เฮาส์ ” ทั้งสามตอนนั้น มีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้สถาปนิกให้ความสำคัญกับการ “ คิด ” มากขึ้น และมีบทบาทในการพัฒนารูปแบบอาคาร เพื่อตอบสนองต่อความเป็นอยู่ที่แท้จริง และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการจัดสรรต่างๆ หันมาคำนึงถึงผู้บริโภคอย่างจริงจัง รวมถึงกระตุ้นให้ผู้บริโภคทั้งหลายได้มีความตื่นตัว ในการที่จะเลือกซื้อสินค้าที่ดีและมีคุณภาพ ตลอดจนไม่ยอมรับต่อชะตากรรมที่เกิดจากการกำหนดผลกำไรล่วงหน้าของฝ่ายผู้ประกอบการแต่เพียงฝ่ายเดียว

ที่สุดแล้ว ผมเชื่อว่ารูปแบบการอยู่อาศัยของมนุษย์ เป็นรูปแบบที่มนุษย์ควรจะเป็นผู้เลือก มิใช่เป็นผู้ถูกเลือก และมนุษย์ควรจะมีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม มิใช่เกิดจากข้อจำกัดทางการค้า ตลอดจนผมยังเชื่อว่า เราสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเมืองได้ หากทุกฝ่ายต่างทำหน้าที่กันอย่างจริงจัง..สถาปนิก คิดและออกแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต..ผู้ประกอบการ สร้างและขายในราคาที่เหมาะสม..และผู้บริโภค รู้จักเลือกเฉพาะในสิ่งที่ดี และไม่ยอมรับสินค้าที่คุณภาพด้อย เพียงเพราะว่าไม่มีสินค้าอื่นในท้องตลาดให้เลือกซื้อ..หากทำได้เช่นนี้ ผมเชื่อว่าเราจะได้เห็นการพัฒนาสังคม ที่ดีขึ้นในเร็ววันนี้ครับ

หากจะมีความดีใดๆ ในบทความของผมทั้งสามตอนนี้ ผมขอยกให้กับหนังสือ “The new American Town house” เขียนโดย Alexander Gorlin และ Paul Goldberger ซึ่งหนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Rizzoli และจำหน่ายในประเทศโดย B2S ครับผม..

 

เนื้อหา : มาจากหนังสือ The new American townhouse
แต่งโดย.... ALEXANDER GORLIN foreword by PAUL GOLDBERGER

 

 
 
 
Brochure
Services
New Project
Back Issue
 
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
ลงชื่อ:
ข้อความ :

 

Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links

บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 Tel. 66 2881 8536-7 Fax. 66 2881 8538

house servic, decoration design home architect architecture interior design designer homeplan residential furniture family decorat building build planning cost news information structure arch drawing apartment idea bangkok develop foreman เฟอร์นิเจอร์ การซ่อมแซมบ้าน วัสดุแต่งบ้าน ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องอาหาร ออกแบบ ตกแต่งภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ บ้านสวย มัณฑนากร สถาปัตย์ ตกแต่ง บารีโอ บริการ ปรึกษา รับสั่งผลิตเฟอร์นิเจอร์ตามแบบ รับเหมาตกแต่ภายใน วรวุฒิ ธรรมกุลางกูร มยุรี ธรรมกุลางกูร