Colorful Architecture
สถาปัตยกรรมหลากสีสัน
สถาปัตยกรรมที่จะกลายเป็นที่จดจำระดับโลกในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงรูปทรงที่มีเอกลักษณ์เท่านั้น แต่สีสันก็ยังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้รูปแบบของงานดีไซน์ดูโดดเด่นขึ้นมาอย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว อีกทั้งยังสร้างภาพลักษณ์ที่แปลกใหม่ให้เกิดการจดจำ และ การกล่าวถึงอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันงานดีไซน์ด้านสีสัน (Colorful Architecture) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างสรรค์ผลงาน บ้างผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมอย่างลงตัว บ้างเกิดเป็นสถานที่สำคัญด้านการท่องเที่ยวอีกด้วย
[ House of Tan Teng Niah, Singapore ]
Cr. locationscout
House of Tan Teng Niah ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ในย่านที่มีชื่อว่า Little India สถานที่แห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในปี 1900 โดยนักธุรกิจท้องถิ่นชื่อ Tan Teng Niah ซึ่งในขณะนั้นบริเวณใกล้เคียงเป็นเขตอุตสาหกรรม มีทั้งโรงงานขนม และ ยางของ Tan ตั้งอยู่ใกล้ๆ รวมไปถึงนักธุรกิจเชื้อสายจีนของสิงคโปร์อีกหลายคนก็ได้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่คล้ายคลึงกัน ท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของสิงคโปร์ และ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในช่วงศตวรรษที่ 20 ย่านนี้จึงได้พัฒนาจนเป็นที่รู้จักในชื่อ Little India จนถึงทุกวันนี้
อาคารส่วนใหญ่ถูกรื้อถอนเพื่อสร้างอาคารพาณิชย์สมัยใหม่ รวมไปถึงตึกระฟ้าที่ทันสมัย แต่ยังคงมีบ้านของ Tan Teng Niah ที่ยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิม และ ในช่วงปี 1980 ที่แห่งนี้ก็ได้รับการบูรณะ จนกลายเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวที่ต้องแวะมาเยี่ยมชม และ ได้รับการอนุรักษ์ไว้ภายใต้สถานะสถานที่สำคัญจากคณะกรรมการมรดกแห่งชาติ
Cr. locationscout
แม้ว่าภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของบ้านจะน่าสนใจ แต่กุญแจสู่ความนิยมในหมู่ชาวบ้าน และ ผู้มาเยือนก็คือรูปลักษณ์ในปัจจุบัน โครงสร้างภายนอกของบ้านหลังนี้ถูกทาด้วยสีรุ้งสดใส โดยแต่ละองค์ประกอบถูกทาด้วยสีที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงเอกลักษณ์ของการตกแต่งตัวบ้าน ที่มีกลิ่นอายของสไตล์จีนผสมสานอยู่ จนทำให้ที่นี่กลายเป็นสถานที่ที่พิเศษแห่งหนึ่งในสิงคโปร์
[ Berlin friedrichshain, Germany ]
Cr. emotionrit
เขต Friedrichshain ในกรุงเบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมัน เป็นเขตปกครองที่มีบรรยากาศของดนตรีพังก์ และ อัลเทอร์เนทีฟปะปนอยู่ในวัฒนธรรม รวมถึงเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถาน East Side Gallery ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงเบอร์ลินที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ โดยจะมีภาพศิลปะแนวการเมืองให้ได้ชมบนสองฝั่งของถนน Karl-Marx-Allee เรียกได้ว่าเป็นย่านของศิลปินเลยก็ว่าได้
Cr. thatbackpacker
ตึกแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในสไตล์โซเวียตแบบเก่า มีลักษณะยาวและกว้าง ปัจจุบันเป็นที่พักอาศัยของผู้คนในย่านนั้น และ ที่ทำให้โดดเด่นไม่เหมือนใครเพราะได้ถูกเพ้นท์ด้วยลวดลายกราฟฟิก พร้อมกับสีสันสดใสจนกลายเป็นที่สะดุดตา ด้วยความที่ย่านนี้มีศิลปินอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และ นิยมที่จะสร้างสรรค์ผลงานศิลปะกันอย่างแพร่หลายจึงทำให้อาคารแห่งนี้กลายเป็นหนึ่งในผลงานศิลปะของพวกเขา
[ Kuggen Building, Sweden ]
Cr. mabrycampbell.files.wordpress
Kuggen เป็นทรัพสินของ Chalmersfastigheter บริษัทอสังหาริมทรัพย์ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการประชุมอย่างเป็นทางการ และ ไม่เป็นทางการ ออกแบบโดย Wingårdh arkitektkontor เป็นบริษัทสถาปัตยกรรมที่ตั้งอยู่ในประเทศสวีเดน
Kuggen ได้แรงบัลดาลใจมาจากรูปทรงของฟันเฟือง ตัวอาคารจึงมีลักษณะกลม และ ประกอบด้วยระดับที่ทับซ้อนกัน มีการลดหลั่นกันเพื่อที่ต้องการให้เกิดเป็นรอยหยักคล้ายฟันเฟือง โดยแต่ละชั้นอยู่ห่างจากแกนกลางของอาคารเล็กน้อย เพื่อให้ป้องกันแสงแดดที่มากเกินไปให้กับแต่ละชั้น ผลลัพธ์ที่ได้คือรูปแบบอาคารที่ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวนั่นเอง
Cr. designboom
อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้อาคารแห่งนี้เป็นที่ดึงดูดสายตาผู้คน คงเป็นเพราะสีสันที่เลือกใช้ ตัวอาคารถูกทาด้วยสีโทนร้อนไล่สลับกันกับสีเขียวไปทั่วอาคาร ตัดกันด้วยหน้าต่างรูปสามเหลี่ยมช่วยเพิ่มแสงแดดให้ถึงแกนกลางของตัวอาคาร และ ยังเข้ามาทำให้ตัวอาคารดูโปร่งโล่งมากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณนี้ดูสนุกสนาน และ เสมือนว่าเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
[ Pixel building, Melbourne ]
Cr. inhabitat
Pixel สำนักงานที่ตั้งอยู่ที่เมือง เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ที่นี่คือสำนักงานแห่งอนาคต เป็นต้นแบบสำหรับอาคารพาณิชย์ที่ผลิตพลังงานของตัวเอง หรือ เรียกได้ว่าเป็นบ้านของนักพัฒนาและกลุ่มก่อสร้าง ถูกติดต่อให้ออกแบบโดยบริษัท Grocon เพื่อให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ การออกแบบตัวอาคารให้มีการระบายอากาศได้ตามธรรมชาติ เป็นการช่วยลดความจำเป็นในการใช้พลังงาน ในขณะเดียวกันอาคารแห่งนี้ยังมีแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cells) และกังหันลมแกนตั้ง (Vertical Wind Turbine) บนหลังคาที่จะคอยสร้างพลังงานเพียงพอที่จะชดเชยการใช้ไฟฟ้า
Cr. prc-magazine
การออกแบบที่ประหยัดพลังงานนี้เอง ที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อาคารแห่งนี้มีสีสันที่ได้ขนาดนี้ เพราะ มีการใช้ส่วนหน้าของม่านบังตาที่มีรูปแบบเป็นเหมือนพิกเซลสีสันสดใส รวมไปถึงหน้าต่างกระจกสองชั้นทำให้กลายเป็นที่บังแสงในเวลากลางวันได้เป็นอย่างดี ถูกออกแบบตกแต่งตัวหน้าอาคารได้อย่างมีชีวิตชีวา ทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และ แตกต่างจากโครงสร้างที่อยู่ใกล้เคียง และ กลยุทธ์ที่ยั่งยืนนี้เองที่ทำให้อาคารแห่งนี้อยู่เหนืออาคารส่วนใหญ่ในโลก
[ Santa Monica car park, California ]
Cr. archello
Santa Monica Center อาคารจอดถดที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED® แห่งแรกในสหรัฐอเมริกา ถูกออกแบบให้มีเอกลักษณ์ เพื่อที่จะดึงดูดให้ผู้คนมาใช้บริการ ออกแบบโดยสถาปนิกที่ชื่อว่า Moore Ruble Yudell มีจุดประสงค์ที่จะออกแบบอาคารแห่งนี้ ให้เป็นอาคารที่เป็นมิตรกับธรรมชาติด้วยเช่นกัน ในขณะที่การออกแบบใช้องค์ประกอบต่าง ๆ เช่น หลังคาและแผงโซลาร์เซลล์เพื่อให้บังแสงได้เอง และ เพื่อลดการเกาะของความร้อนและยังมีการใช้วัสดุที่มีปริมาณการรีไซเคิลสูงอีกด้วย
Cr. lamberts