House in Rainy Season
แก้ปัญหาของบ้านในหน้าฝน
หน้าฝน… หลายคนอาจรู้สึกชื่นชอบหน้านี้ เพราะมีอากาศเย็นสบาย ในขณะที่บางคนอาจไม่ชอบความรู้สึกชื้นแฉะที่นำมาซึ่งปัญหาหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง… ในบ้านของเรา… ปัญหาของบ้านในหน้าฝนไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่ทุกท่านอย่าเพิ่งกังวลกันไปค่ะว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ เพราะในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปแนะนำ 3 ปัญหาและวิธีแก้ปัญหาของบ้านในหน้าฝนกันค่ะ
Case No.1 : อากาศชื้น…ภายในบ้าน
ไม่ว่าจะเปิดหน้าต่าง หรือ เปิดแอร์ แต่เมื่อฝนตกแล้วก็จะต้องเผชิญกับอากาศที่ชื้นขึ้นจนทำให้เรารู้สึกเหนอะหนะ ไม่สบายตัว ดังนั้นเราอาจจะต้องมีตัวช่วยดูดความความชื้นให้หายไปจากภายในบ้าน โดยในวันนี้เราอยากจะแนะนำวัสดุธรรมชาติ 2 อย่างที่สามารถช่วยกำจัดความไม่สบายเนื้อตัวของเราออกไปได้ค่ะ
อย่างแรก… ก้อนถ่าน (ก้อนดำๆ นะคะ ไม่ใช่ ถ่านไฟฉาย)
Credit : Wander Fleur on Unsplash
ก้อนถ่าน มีคุณสมบัติในการดูดกลิ่นและดูดความชื้น การนำก้อนถ่ายใส่ภาชนะไปวางตามมุมต่างๆ ของห้องจะช่วยให้ความชื้นลดลง ทั้งยังทำให้อากาศสดชื่น ลดกลิ่นอับได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ปริมาณที่นำมาวางต้องคำนึงถึงขนาดห้อง และ คุณภาพของถ่านด้วยนะคะ ยิ่งถ่านมีรูพรุนมากก็จะสามารถดูดความชื้นในอากาศได้มากขึ้น และวันไหนหากมีแดดดีๆ โผล่มาในช่วงหน้าฝน เราก็เอาเจ้าก้อนถ่านไปตากแดดให้แห้งสักหน่อย ก็จะสามารถยืดอายุการใช้งานของก้อนถ่านเหล่านี้ได้ค่ะ
อย่างที่สอง… เกลือ
Credit : Philipp Kleindienst on Pixabay
เกลือ ที่เรานำมาปรุงอาหารนี่ล่ะค่ะเป็นตัวดูดความชื้นชั้นดีเลยทีเดียว หากลองสังเกตุดูในห้องครัวของเราเอง บางครั้งเกลือในโหลของเรา… ทั้งๆ ที่ปิดไว้ดีแล้ว แต่พอเวลาผ่านไปกลับชื้นขึ้นมา หรือ กรณีหนักๆ ก็มีรอยน้ำแฉะๆ อยู่ด้านล่างของขวดโหลด้วยซะอย่างนั้น ?! นั่นเป็นเพราะเกลือเป็นวัสดุธรรมชาติที่มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นสูง ยิ่งเกลือเม็ดหยาบเท่าไหร่ ก็ยิ่งดูดความชื้นได้สูงขึ้นเท่านั้น ดังนั้นหากเรานำเกลือไปใส่ภาชนะ และ นำไปตั้งไปตามมุมห้องก็จะสามารถช่วยลดความชื้นภายในห้องนั้นๆ ได้เช่นกัน และ หากเกลือของเราเริ่มมีความชื้นแล้วก็สามารถนำไปคั่ว หรือ อบให้แห้ง ก็สามารถนำกลับมาใช้งานต่อได้อย่างยาวนาน
Case No.2 : กลิ่นอับ…ของเฟอร์นิเจอร์ผ้า
Credit : Angelo Pantazis on Unsplash
นอกจากอากาศที่ชื้นแฉะแล้ว หากไม่ดูแลระบายอากาศภายในบ้านให้ดี ‘เฟอร์นิเจอร์’ ของเราอาจเกิดกลิ่นอับขึ้นได้ง่ายๆ โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ผ้า… ไม่ว่าจะจากความชื้นในอากาศ หรือ จากผู้ใช้งานที่อาจกลับมาจากนอกบ้านในวันฝนตก ตัวเปียกหมาดๆ และ นั่งพักผ่อนบนเก้าอี้หรือโซฟาที่หุ้มด้วยผ้าทำให้เกิดความชื้นก็ตามแต่ แสงแดดก็ส่องไม่ถึงตำแหน่งที่เราวางเฟอร์นิเจอร์ตัวสวย อีกทั้งช่วงหน้าฝนลมยังไม่โกรกดี ทำให้ต่อให้เปิดหน้าต่างไปก็ไม่ช่วยให้ความชื้นที่ฝังตัวในเฟอร์นิเจอร์เราหายไปง่ายๆ ซึ่งเมื่อถูกทิ้งไว้นานๆ โดยไม่จัดการ สุดท้ายก็จะเกิดการหมักหมมจนกลายเป็นกลิ่นอับไม่พึงประสงค์
หนึ่งในตัวช่วยสุดคลาสสิก… ที่สามารถช่วยเราในกรณีนี้ได้ก็คือ ‘น้ำส้มสายชู’ ฮีโร่ที่ช่วยจัดการเรื่องกลิ่นอับมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งการใช้งานก็ไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่เทน้ำส้มสายชูใส่ภาชนะ และ เจือจางด้วยน้ำเปล่าเพื่อสดกลิ่นและความเป็นกรด ในอัตราส่วนน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำเปล่า 1 ถ้วย ตั้งเอาไว้ใกล้ๆ เฟอร์นิเจอร์ของเรา ก็จะสามารถช่วยลดกลิ่นอับได้เป็นอย่างดี หรือว่าหากวันไหนอากาศดีๆ มีลมพัดปลอดโปร่ง ก็สามารถนำน้ำส้มสายชูผสมน้ำสูตรนี้ไปใส่สเปรย์ฟอกกี้ ฉีดลงบนเฟอร์นิเจอร์ผ้าของเราได้โดยตรง โดยเฉพาะตามซอกมุมที่เป็นจุดสะสมกลิ่นไม่พึงประสงค์เอาไว้มากที่สุด
Case No.3 : เชื้อราจอมวายร้าย…ในบ้านและในห้องน้ำ
หนึ่งในปัญหาที่ไม่ว่าจะแก้กันมานานเท่าไหร่ก็ยังมี… ก็คือเจ้า ‘เชื้อรา’ ตัวร้าย ที่มักจะคอยหาโอกาสที่เราเผลอ ขึ้นรอยดำตามพื้นผนังของเรา ทั้งยังลามได้รวดเร็วจนน่าตกใจ ซึ่งเราเคยเขียนถึงเรื่องนี้ไปในบทความ วิธีป้องกันและกำจัดเชื้อราในห้องน้ำ เมื่อหลายปีก่อน แต่ในวันนี้เราจะมาอัพเดทเพิ่มเติม ว่าด้วยวิธีจัดการโดยไม่พึ่งพาสารเคมีกันค่ะ
[อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างประเทศต่อไปนี้ : maids.com, zumper.com, countryliving.com]
1. น้ำส้มสายชู
Credit : Gavin Biesheuvel on Unsplash
น้ำส้มสายชู ยังคงเป็นทางออกแรกสำหรับการกำจัดเชื้อราตัวร้าย โดยการใช้น้ำส้มสายชูกำจัดเชื้อรานั้นไม่จำเป็นต้องผสมน้ำเปล่าค่ะ สามารถใช้น้ำส้มสายชูเพียวๆ ใส่สเปรย์ฟอกกี้ ฉีดบริเวณที่มีเชื้อราขึ้นเกาะให้เปียกชุ่ม และ ทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของน้ำส้มสายชูว่ามีฤทธิ์กรดอยู่เท่าไหร่ โดยปกติจะอยู่ที่ประมาณ 5 – 20% ยิ่งฤทธิ์กรดมาก ก็จะยิ่งใช้เวลาน้อยลง) จากนั้นก็เช็ดออกด้วยผ้าเนื้อหยาบ, แปรงขัด หรือ ฟองน้ำด้านหยาบ
แต่ถ้าหากพื้นผิวที่มีเชื้อราขึ้นไม่สมควรสัมผัสกับกรดโดยตรง สามารถผสมน้ำส้มสายชูเข้ากับน้ำเปล่าเพื่อเจือจางความเป็นกรดลง และใช้วิธีเดียวกับที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ได้เลยค่ะ
มีการวิจัยว่าในบรรดาสายพันธุ์เชื้อราทั้งหมด น้ำส้มสายชูสามารถกำจัดเชื้อราได้ถึง 82% ซึ่งเชื้อราในบ้านส่วนใหญ่ก็รวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วยค่ะ
2. เบคกิ้งโซดา
Credit : Gavin Biesheuvel on Unsplash
เราสามารถใช้เบคกิ้งโซดาในการกำจัดเชื้อราได้โดยจะมีด้วยกัน 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนแรก… ผสมน้ำและเบคกิ้งโซดาในอัตราส่วน 1 : 1 และใช้แปรงเล็กๆ จุ่มลงในส่วนผสมนำไปขัดตามจุดที่มีเชื้อรา และ เมื่อขัดจนไม่เหลือจุดที่มองเห็นด้วยตาแล้วแล้วก็ล้างออกด้วยน้ำสะอาด
ขั้นตอนที่สอง… ผสมน้ำและเบคกิ้งโซดาในอัตราส่วน น้ำ 1 ถ้วยต่อเบคกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ขวดสเปรย์ฟอกกี้ เขย่าให้เข้ากันอีกครั้งก่อนจะฉีดในบริเวณที่มีเชื้อราให้ชุ่ม ทิ้งเอาไว้ให้แห้งโดย ไม่ต้องเช็ดออก เพราะในขั้นนี้ จะเป็นการกำจัดเชื้อราที่หลงเหลืออยู่และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทั้งยังเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราขึ้นในอนาคตอีกด้วย
3. เลม่อน
Credit : Gavin Biesheuvel on Unsplash