The Acoustic Design

ดีไซน์ห้องเก็บเสียง

“อะคูสติก” (Acoustics) คำนี้ผันมาจากภาษากรีก “akoustos” หมายถึง “การได้ยิน” อะคูสติก ถือเป็นศาสตร์หนึ่งของฟิสิกส์ที่มุ่งเน้นไปที่การศึกษาเสียง การผลิต ส่งผ่าน ควบคุม และรับเสียง ดังนั้นโดยรวม “อะคูสติก” จึงหมายถึงความรู้ทางด้านเสียง ซึ่งมีความหมายที่ค่อนข้างกว้างมากๆ ครอบคลุมไปถึงเรื่องอื่นๆอย่างเช่น งานศิลปะ จิตวิทยา งานทางด้านอาคารและสถาปัตยกรรม รวมถึงเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอีกด้วย
ภาพแผนภูมิที่แสดงความรู้เรื่องเสียง หรืออะคูสติก ในทั้งหมด
Credit : acoustics .byu.edu
ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรหาก “อะคูสติก” ได้แทรกซึมเข้ามาในชีวิตประจำวันของเราทุกคนเนิ่นนานมาแล้วและถูกใช้งานในเกือบทุกด้านของชีวิตเรา โดยผู้เขียนจะขอสลับโหมดเข้ามาพูดถึงเรื่องของงานออกแบบ “Acoustic Design” ที่เข้ามามีบทบาทต่อการออกแบบที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด นั่นก็คือ “ออกแบบตกแต่งภายใน”
Credit : Radio City Music Hall
Credit : historictheatrephotos
การออกแบบห้องอะคูสติกในงานออกแบบตกแต่ง ถูกเน้นการพัฒนาองค์ประกอบของเสียงให้ออกมาดีที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการและหน้าที่ของห้องนั้นๆ เช่น การออกแบบเสียงก้องกังวานที่เหมาะสม เพิ่มการสะท้อนของเสียงที่ต้องการ และเก็บรักษา หรือควบคุมระดับเสียงทั่วทั้งห้อง
Credit : realtraps
ซึ่งการออกแบบเหล่านี้จะถูกจัดสรรดีไซน์ที่เริ่มตั้งแต่การคำนวณขนาดรูปทรงของห้อง ไปจนถึงการเลือกและการจัดวางวัสดุตกแต่งสำหรับผนัง พื้นห้อง เพดาน และระบบกลไกที่เหมาะสม โดยสถาปนิกผู้ออกแบบจะคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้เป็นหลัก เพื่อกระจายและควบคุมเสียงให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ
The New Auditorium CKK Jordanki in Torun, Poland
Credit : Flickr
ที่น่าสนใจก็คือ การวิจัยพบว่าจริงๆ แล้วรูปทรง และ ขนาดของห้องที่เหมาะสมเพื่อให้ได้เสียงที่ออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด จะเป็นห้องรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและสร้างขึ้นโดยใช้ “อัตราส่วนสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำ” (Golden Ratio) ซึ่งจะมีขนาดสูง 2.4 m กว้าง 3.9 m และยาว 5.7 m
Credit : nngroup .com

Acoustic Materials

“วัสดุอะคูสติก” (Acoustic Materials) มีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างอาคารต่างๆ ไม่ว่าจะในสตูดิโอ ห้องเรียน ห้องสมุด โรงภาพยนตร์ เพราะผู้ใช้สถานที่จะต้องใช้สมาธิในการฟัง จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการควบคุมเสียงจากภายนอกและภายในของอาคาร ให้ปราศจากเสียงรบกวน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องทำให้พื้นที่หรือห้องๆ นั้นกันเสียงจากภายนอก โดยใช้วัสดุที่เหมาะสมที่เรียกว่า “วัสดุอะคูสติก” ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นเดซิเบล (db) โดยประเภทของวัสดุเก็บเสียงที่นิยมใช้กันมากที่สุดมีดังนี้

โฟมอะคูสติก (Acoustics Foam)

Credit : soundproofliving
วัสดุนี้เรียกกันทั่วไปว่า Studio Foam มีรูปทรงลิ่มหรือทรงพีระมิดที่แลดูโดดเด่น มีประสิทธิภาพสูงในการดูดซับเสียง โดยจะยึดติดกับผนังเป็นแผง แขวนจากเพดานเป็นแผ่นกั้นหรือนำติดเข้ามุม เมื่อเสียงเดินทางมาก็จะถูกดูดซับเอาไว้ได้จากทุกมุมแม้จะถูกสะท้อนก็จะมีอีกด้านของพีระมิดดักไว้ ทำให้โฟมอะคูสติกนี้เป็นวัสดุเก็บเสียงที่นิยมสำหรับห้องดนตรีหรือสตูดิโอ

ฉนวนกันเสียง (Sound Insulation)

Credit : acousticfoams
ฉนวนกันเสียงเป็นวัสดุที่ทำมาจากแร่หิน และ ไฟเบอร์กลาส ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้พอดีกับระหว่างกระดุมของผนังป้องกันคลื่นเสียงไม่ให้ซึมผ่าน สามารถเก็บเสียงได้ดีและมีอายุการใช้งานนานกว่า Acoustic Foam แต่ราคาก็จะสูงกว่าเช่นกัน ทำให้ไม่นิยมใช้ในห้องเก็บเสียงในบ้านพักอาศัย

แผ่นอะคูสติกดูดซับเสียง (Micro Perforated Acoustics Panels)

Credit : idealdecor
ฉนวนกันเสียงและโฟมดูดซับเสียงอาจมีคุณสมบัติในการดูดซับเสียง แต่ก็มีข้อจำกัดของงานดีไซน์ ดังนั้นหากต้องการติดวัสดุดูดซับเสียงให้เข้ากับงานออกแบบโดยรอบ Micro Perforateed Acoustic Panel ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะสามารถใช้วัสดุปิดผิวทำให้มองดูแล้วมีบรรยากาศกลมกลืนไปกับงานออกแบบโดยรอบได้นั่นเอง

ผ้าอะคูสติก (Acoustics Fabrics)

Credit : perfect-acoustic
ผ้าเก็บเสียงมีความหนา และน้ำหนักมากกว่าผ้าชนิดอื่นๆ นิยมใช้สำหรับม่านโรงละคร ม่านทึบแสง และผ้าคลุมในสตูดิโอ ช่วยลดเสียงที่สามารถลอดผ่านออกไปได้ การใช้ผ้าเก็บเสียงนั้นจะช่วยให้งานดีไซน์ดูหรูหรามากขึ้น ทว่าในระยะยาวอาจเป็นวัสดุเก็บฝุ่น ดังนั้นภายหลังที่มีวัสดุทดแทนแล้วจึงไม่นิยมเท่าไหร่นัก

วัสดุเคลือบกันเสียง (Acoustics Coatings)

Credit : aquietrefuge
เป็นวัสดุคล้ายยางที่มีความหนาแน่นสูง ซึ่งใช้ในสถานที่ต่างๆ มากมาย เช่น ฉนวนกันเสียงในรถยนต์ เครื่องจักร และใช้เป็นวัสดุรองพื้น โดยมวลความหนาแน่นของวัสดุชนิดนี้จะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเสียงได้เป็นอย่างดี

พื้นฉนวนป้องกันเสียง (Floor Underlayment)

Credit : zothexflooring
ช่วยป้องกันเสียงรบกวนสำหรับพื้นไม้เนื้อแข็งหรือพื้นกระเบื้อง วัสดุจะเป็นม้วนไม้คอร์กสักหลาด และโพลีเมอร์ ทำให้เวลาเดินบนพื้นไม้เกิดเป็นเสียงทึบแทนที่จะเป็นเสียงก้อง นอกจากนี้ยังช่วยให้เวลาเดินรู้สึกนุ่มเท้ากว่าปูบนพื้นปูนหรือไม้อัดรองพื้นอีกด้วย
ประเภทของวัสดุอะคูสติกนั้นมีหลากหลายชนิด ดังนั้นวัสดุอะคูสติกจึงมีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างอาคารต่างๆเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นห้องศิลปะการแสดง ห้องสวดมนต์ หรือห้องสำหรับการเรียนรู้ทางวิชาการ ไปตลอดจนพิพิธภัณฑ์ หรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ จะต้องเริ่มต้นด้วยการจัดเตรียมแนวคิดการออกแบบอะคูสติกที่ได้ข้อมูลมาจากทีมออกแบบและดีไซน์เนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณภาพเสียงจะตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานในห้องๆ นั้นมากที่สุดนั่นเอง
Credit : pinterest
ไม่ว่าคุณจะออกแบบหอประชุม ห้องโฮมเธียเตอร์ หรือห้องแสดงดนตรี สิ่งสำคัญคือจะต้องเข้าใจคุณภาพของเสียง วิธีการส่งเสียง และเทคนิคที่สามารถใช้ควบคุมการส่งสัญญาณเสียงเหล่านั้นได้ ดังนั้นอคูสติกในงานออกแบบจึงถือเป็นเรื่องท้าทายไม่น้อย เพราะต้องอาศัยทักษะการศึกษา การคำนวณตัวเลข และเรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุต่างๆอย่างแม่นยำ เพื่อให้ได้ห้องที่สามารถควบคุมเสียงได้อย่างดีที่สุด
สามารถติดตามผลงานต่าง ๆ ของทาง Bareo ได้ที่ช่องทางเว็บไซต์ของ Bareo หรือทาง Facebook : Design by Bareo ที่จะคอยอัพเดทข่าวสาร งานดีไซน์ และผลงานการออกแบบตกแต่งภายในมากมาย ให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้ และความสนุกตลอดทั้งปี
หรือหากสนใจจะออกแบบตกแต่งภายในกับทาง Bareo ทางเราก็มีบริการออกแบบภายในครบวงจร โดยสามารถอ่านรายละเอียดการให้บริการของเราได้ที่นี่ คลิ๊ก
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก
bigrentz .com
omnicalculator .com
inchcalculator .com

CONTENT RELATED

NEW CONTENT

PORTFOLIO