“เบน-เดย์ ดอทส์” (Ben-Day Dots) คืออะไร? หลายคนอาจยังไม่ค่อยคุ้นชื่อกับงานศิลปะแนวนี้ แต่เชื่อเถอะว่าคุณคงเคยเห็นมันผ่านตากันมาบ้างแล้วจากหนังสือการ์ตูนอเมริกันยุคเก่า รวมถึงภาพพิมพ์โฆษณาจำนวนมาก โดยภาพเหล่านี้จะมีจุดสีเล็กๆที่ถูกนำมาประกอบรวมกันจนกลายเป็นรูปภาพส่วนต่างๆของอาร์ตเวิร์ค เริ่มมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน

What is Ben Day Dots

BEN-DAY SCREENS
Credit : minniemuse .com
“Ben day dots” เป็นเทคโนโลยีการพิมพ์สีที่คิดค้นขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1879 โดยจุด Ben day dots เป็นจุดเล็กๆจากสีต่างๆ ที่ใช้ในเทคนิคงานพิมพ์เชิงพาณิชย์ เทคนิคนี้ถูกประดิษฐ์คิดค้นค้นขึ้นมาโดยนักเขียนการ์ตูนและเจ้าของสำนักพิมพ์ชื่อดังชาวอเมริกันนั่นก็คือ “เบนจามิน เฮนรี เดย์ จูเนียร์” ซึ่งเทคนิค Ben day dots ได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของเขานั่นเอง
การใช้เทคนิค Ben day dots คือ การทำจุดสีเล็กๆ เว้นระยะ หรือ นำมาทับซ้อนกัน ขึ้นอยู่กับเอฟเฟ็กต์สีที่ใช้ (สีโดยทั่วไปคือ ฟ้า ม่วง แดง เหลือง และดำ) ขึ้นอยู่กับภาพลวงตาที่ต้องการให้แสดงออกมา โดยในปัจจุบันเทคนิค Ben day dots ของ เบน-เดย์ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแวดวงศิลปะร่วมสมัย
Credit : tips.clip-studio .com
แม้ว่า Ben day dots มักจะถูกเปรียบเทียบกับเทคนิคการพิมพ์ภาพแบบฮาฟโทน (Halftone) และภาพวาดแบบโพสต์อิมเพรสชั่นนิสต์ก่อนหน้านี้ที่เรียกว่า “Pointillism” (เทคนิคงานภาพจิตรกรรมแบบลัทธิผสานจุดสี) แต่ Ben day dots จะแตกต่างออกไป เนื่องจากขนาดที่เท่ากันของจุด และการกระจายของจุดที่มีการจัดเรียง การกำหนดระยะ และความหนาแน่น ไว้อย่างแน่นอนแล้ว
A Sunday on La Grande Jatte, 1884 , GEORGES SEURAT
ภาพเขียนแนว Pointillism (เทคนิคงานภาพจิตรกรรมแบบลัทธิผสานจุดสี)
Credit : wikipedia
ภาพพิมพ์ Ben day dots ในปี ค.ศ.1879 โดยทั่วไปแล้วในระยะเวลานั้น กระบวนการผลิตภาพของ Ben day dots จะแสดงออกมาในรูปของจุด แต่ก็ยังคงมีรูปทรงอื่นๆรวมอยู่ในภาพด้วย เช่น เส้นขนาน เส้นตรง และ เส้นหยัก
Credit : nlegionofandy .com
เทคนิคของ เบน-เดย์ ถูกนำมาใช้ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์เป็นครั้งแรก ซึ่งก็ได้เป็นจุดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างภาพจุดกับวัฒนธรรมหนังสือพิมพ์และภาพการ์ตูน เทคนิค Ben day dots ถูกพบเห็นได้ทั่วไป เนื่องจากมีวิธีการพิมพ์ที่รวดเร็วและราคาถูก ดังนั้นจึงถูกเผยแพร่ออกสู่สายตาของผู้คนอย่างรวดเร็วเป็นจำนวนมาก
Credit : egionofandy .com
เทคนิค Ben-Day dots สามารถเจอได้ในผลงานของศิลปินหลายคนในศตวรรษที่ 20 ส่งผลให้เทคนิคแบบ Ben day dots มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมศิลปะชั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “รอย ลิกเตนสไตน์” ศิลปินป๊อป ( Pop art ) จากนิวยอร์ค ที่มีชื่อเสียงในด้านการใช้เทคนิค จุด Ben day เพื่อสร้างภาพศิลปะ หนังสือการ์ตูน และตัวละครต่างๆ ที่มีรูปลักษณ์อันโดดเด่น ผลงานของเขาส่วนมากถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือการ์ตูนและนิตยสารร่วมสมัยของเขาเอง
รอย ลิกเตนสไตน์ (Roy Lichtenstein)
Credit : nrc .nl
ในปี ค.ศ.1961 ลิกเตนสไตน์ได้วาดภาพแนวป๊อปอาร์ตชิ้นแรกของเขาขึ้นมา มีชื่อว่า “Look Mickey” ผลงานชิ้นนี้เป็นรูปตัวการ์ตูนและจงใจเลียนแบบกระบวนการพิมพ์เชิงพาณิชย์ของ Ben day dots ซึ่งภาพนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในอาชีพศิลปินของเขา และทำให้ได้รับชื่อเสียงโด่งดังในฐานะศิลปิน Pop Art
Look Mickey, 1961, Roy Lichtenstein
Credit : en.wikipedia
สำหรับชุดผลงานภาพวาดที่มีชื่อเสียงของลิกเตนสไตน์นั้น ถูกวาดขึ้นด้วยมือเกือบทั้งหมด เขาวาดภาพจุดแต่ละจุดด้วยสีอะครีลิก จึงทำให้สีหลังจากแห้งสนิทเกิดพื้นผิวเรียบ เนียน และมันเงา ซึ่งก็เพราะจงใจให้ภาพเหล่านั้นออกมาคล้ายการเลียนแบบกระบวนการพิมพ์นั่นเอง
Credit : smithsonianmag .com
นอกจากนี้ลิกเตนสไตน์ ยังได้วาดภาพเลียนแบบกรอบตัวหนังสือสีดำให้เหมือนมาจากหนังสือการ์ตูน ซึ่งภาพวาดของเขาหลายภาพถือว่าโดดเด่นและมีอิทธิพลมากๆ ในหน้าประวัติศาสตร์ศิลปะป็อป
Crying Girl, 1963, Roy Lichtenstein
Credit : artcloud .com
ภาพวาดของลิกเตนสไตน์ส่วนมากเป็นภาพโคลสอัพ (Close up) ที่แสดงภาพผู้คนโดยส่วนใหญ่ เป็นภาพบุคคล หรือโฟกัสไปที่ครึ่งบนของร่างกาย ซึ่งช่วยส่งอารมณ์ความรู้สึกดราม่าที่แสดงออกบนสีหน้า เขาเลือกที่จะใช้ภาพระยะใกล้เพื่อเป็นกลอุบายที่ดึงดูดให้คนเข้ามาดูภาพระยะประชิด เพื่อให้ผู้ชมมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครในภาพ ผลงานส่วนใหญ่ของเขาจะเป็นภาพผู้หญิงในลักษณะทั่วๆ ไป โดยส่วนมากมักจะเป็นสาวผมบลอนด์ที่มีดวงตาสีฟ้า ซึ่งเป็นพิมพ์นิยมความงามในอุดมคติของยุคนั้น
“I don’t care! I’d rather sink – than call Brad for help!, 1963, Roy Lichtenstein
Credit : npr .org
เทคนิค Ben day dots แทบจะกลายเป็นเครื่องหมายการค้าของลิกเตนสไตน์ และเขายังได้พิสูจน์ว่าหนังสือการ์ตูนไม่ได้มีไว้ให้สำหรับเด็กดูเท่านั้น แต่สามารถให้ความบันเทิงกับผู้ใหญ่และผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะได้ไม่แพ้กันอีกด้วย
นอกจากลิกเตนสไตน์ แล้วก็มีศิลปินป็อบอีกคน นั่นก็คือ แอนดี้ วอร์ฮอล ยังได้ใช้เทคนิค Ben-Day dots ในการสร้างสรรค์ผลงาน “ Most Wanted Men ซีรีส์ 1” จากช่วงต้นทศวรรษ 1960 ซึ่งเขาสร้างความแตกต่างระหว่างภาพการ์ตูนและภาพอาชญากร
13 Most Wanted Men, 1964, Andy Warhol
Credit : archiveofdestruction .com
เทคนิค Ben day dots ช่วงหนึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก จนถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์และประสบความสำเร็จอย่างสูง นั่นก็คือ หนังสือการ์ตูน (Comics) กระแสหลักของอเมริกาหลากหลายเล่มในยุคแรกๆนั้น ถือเป็นยุคทองของหนังสือการ์ตูน หรือที่เรียกว่า The Great Comic Book Heroes ซึ่งถูกตีพิมพ์โดย Marvel, DC, Archie และจากบริษัทอื่นๆ ซึ่งส่วนมากผลิตด้วยวิธีที่เป็นมาตรฐานและพิมพ์บนกระดาษหนังสือพิมพ์ หากเราลองก้มมองดูดีๆก็จะเห็นได้ว่า รูปภาพการ์ตูนเหล่านี้จะเกิดจากจุดสีที่นำมาเรียงกัน ซึ่งเป็นเทคนิคการพิมพ์แบบ Ben day dots นั่นเอง
Captain America Comics no. 1 (cover dated March 1941)
Credit : legionofandy .com
ปัจจุบันหนังสือการ์ตูนที่ถูกผลิตออกมาในยุคนั้น กลายเป็นของสะสมราคาแพง มีการประมูลซื้อขาย โดยดูจากปีที่ถูกตีพิมพ์และสภาพของหนังสือ และต่อมามีการนำการ์ตูนเหล่านี้มาสร้างเป็นภาพยนตร์จนประสบความสำเร็จ และได้รับความนิยมจากแฟนๆ จึงไม่แปลกที่การ์ตูนเก่าๆบางเล่มที่ถูกพิมพ์ด้วยเทคนิค Ben day dots กลายเป็นของสะสมในฝันของใครหลายๆ คน
Wonder Woman, 1947, DC Comics
Credit : legionofandy .com
อิทธิพลจากงานศิลปะของ รอย ลิกเตนสไตน์ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ผลงานของเขาทุกชิ้นยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินรุ่นใหม่ต่อไป การมีส่วนร่วมของ ลิกเตนสไตน์ ต่อโลกศิลปะสะท้อนให้เห็นได้จากผลงานภาพวาดของเขาที่กระจายอยู่ตามพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ที่มีชื่อเสียงทั่วโลก ดังนั้นแล้ว Ben day dots จึงไม่ใช่แค่จุดธรรมดา เพราะเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินจากรุ่น สู่รุ่น จึงถูกพัฒนาเทคนิคและกลายเป็นชิ้นงานศิลปะที่ประเมินค่าไม่ได้
สามารถติดตามผลงานต่าง ๆ ของทาง Bareo ได้ที่ช่องทางเว็บไซต์ของ Bareo หรือทาง Facebook : Design by Bareo ที่จะคอยอัพเดทข่าวสาร งานดีไซน์ และผลงานการออกแบบตกแต่งภายในมากมาย ให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้ และความสนุกตลอดทั้งปี
หรือหากสนใจจะออกแบบตกแต่งภายในกับทาง Bareo ทางเราก็มีบริการออกแบบภายในครบวงจร โดยสามารถอ่านรายละเอียดการให้บริการของเราได้ที่นี่ คลิ๊ก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
hmong .in.th
npr .org
dropintotheartwork .wordpress.com
minniemuse .com
legionofandy .com
Wikipedia
Google Art

CONTENT RELATED

NEW CONTENT

PORTFOLIO