Luxury Item : เครื่องราชย์แห่งราชวงศ์
อังกฤษ (United Kingdom) ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และความหรูหรา นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว “เครื่องราชย์” แห่งราชวงศ์อังกฤษก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจเลยทีเดียว ทั้งหรูหรา ทรงคุณค่า และยังแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของราชวงศ์อังกฤษอีกด้วย โดยเครื่องราชแต่ละชิ้นก็มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจอีกด้วย จะมีเครื่องราชชิ้นไหนบ้าง วันนี้เราจะหยิบยกใสให้ผู้อ่านได้เพลินเพลินกันนะครับ
– The St. Edward’s Crown –
Cr. www.hrp.org.uk
The St. Edward’s Crown มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดนับเป็นมงกุฎที่สำคัญ และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแห่งสหราชอาณาจักร ใช้เป็นมงกุฎราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัติองค์ใหม่แห่งสหราชอาณาจักร มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1661 เพื่อใช้ในพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แทนมงกุฎเดิมที่ถูกทำลายในช่วงสงครามกลางเมือง ซึ่งส่งผลให้สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ผู้เป็นบิดาของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ถูกลอบปลงพระชนม์
Cr. www.rct.uk
ตัวมงกุฎประดับตกแต่งด้วยอัญมณีทั้งสิ้น 444 ชิ้น ประกอบด้วย อะความารีน 345 เม็ด , โทปาซ 37 เม็ด , ทัวร์มาลีน 27 เม็ด , ทับทิม 12 เม็ด , แอเมทิสต์ 7 เม็ด , ไพริน 6 เม็ด , เพทาย 2 เม็ด , โกเมน 1 เม็ด , ทับทิมสปิเนล 1 เม็ด และ คาร์บันเคิล 1 เม็ด ฐานของมงกุฎทำด้วยทองคำและเงิน ประกอบด้วยกางเขนแพตตี้ (cross pattée) จำนวนสี่อัน สลับกับสัญลักษณ์ของดอกลิลลี่สี่ดอก โดยมีความหมายถึง สถาบันกษัตริย์ เหนือขึ้นมาจะมีซุ้มโค้งสองซุ้มตัดกัน ด้านบนประดับตกแต่งด้วยลูกกลม (หรือลูกโลก) และปิดยอดบนสุดด้วยกางเขน ความหมายโดยรวมของมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดจึงถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร
Cr. www.mirror.co.uk
ปัจจุบันมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดถูกเก็บรักษาเป็นอย่างดี อยู่ที่หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London) ประเทศอังกฤษ โดยอยู่ในส่วนของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งอังกฤษ และเปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าไปรับชมความงามของมงกุฏเซนต์เอ็ดเวิร์ดได้อีกด้วย
– The Imperial State Crown –
Cr. www.hrp.org.uk
The Imperial State Crown มงกุฎแห่งรัฐอิมพีเรียล เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร โดยมีความหมายว่าเป็นตัวแทนของกษัตริย์ มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานและเก่าแก่ที่สุดในบรรดาเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหาราชอาณาจักร โดยมงกุฎแห่งรัฐอิมพีเรียลจะถูกสวมให้แก่กษัตริย์ในขั้นตอนสิ้นสุดของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และจะเสด็จออกจากโบสถ์แอบบีเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งโดยปกติแล้วมงกุฎแห่งรัฐอิมพีเรียลจะไม่ถูกสวมระหว่างพิธีบรมราชาภิเษกเด็ดขาด แต่มีข้อยกเว้นในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 เนื่องจากน้ำหนักของมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดที่มีมากว่า 2 กิโลกรัมนั่นเอง แต่มงกุฎแห่งรัฐอิมพีเรียลมีน้ำหนักเพียง 1.06 กิโลกรัม
Cr : RoyalFamily
โดยมงกุฎแห่งรัฐอิมพีเรียลประกอบด้วยเพชร 2,868 เม็ด, ไข่มุก 273 เม็ด, แซฟไฟร์ 17 เม็ด, มรกต 11 เม็ด, และทับทิม 5 เม็ด โดยอัญมณีต่าง ๆ ที่ประดับตกแต่งบนมงกุฎแห่งรัฐอิมพีเรียลล้วนแล้วแต่เป็นอัญมณีที่มีความสำคัญและมีประวัติศาสตร์อันยาวนานอีกด้วย อาทิเช่น อัญมณีที่ฝั่งอยู่บนกานเขนสูงสุดของมงกุฎ ถูกเรียนขานว่า แซฟไฟร์เซนต์เอ็ดเวิร์ด โดยนำมาจากแหวนของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี (Edward the Confessor) ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ แห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ในช่วงปี ค.ศ. 1003 – 1066
Cr. deviantart.com
นอกจากนี้ยังประดับด้วย Black Prince’s Ruby หรือ ทับทิมแบล็กพรินซ์ คือ สปิเนลซึ่งเป็นแร่รัตนชาติที่มีลักษณะคล้ายกับทับทิม โดยถูกประดับอยู่ใจกลางของกางเขนแพตตี้ บริเวณใจกลางของมงกุฎ ซึ่ง Black Prince’s Ruby ถือว่าเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรชิ้นหนึ่งที่มีความเก่าแก่ที่สุดทางประวัติศาสตร์ โดยเป็นเครื่องราชบรรณาการที่ถูกทูลเกล้าถวายให้แด่ เอ็ดเวิร์ดแห่งวูดสตอก (“เจ้าชายดำ”)
– The Sovereign’s Sceptre –
Cr. hrp.org.uk
The Sovereign’s Sceptre คทาแห่ง Sovereign ถือเป็นตัวแทนของ “อำนาจ และ พระวิญญาณอันบริสุทธิ์ หรือหมายถึง ความยุติธรรมและความเมตตา” โดยคทาแห่ง Sovereign นี้จะถูกมอบให้แด่กษัตริย์องค์ใหม่แห่งสหราชอาณาจักร เพื่อใช้เป็นเครื่องย้ำเตือนถึงเหตุจราจลที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1066 โดยคทาแห่ง Sovereign ถือเป็นตัวแทนของ “ไม้เรียว” ที่ใช้ในการควบคุมเหตุจราจลที่เกิดขึ้น แทนการใช้อาวุธอย่างเช่นดาบ
Cr. rct.uk
คทาแห่ง Sovereign ชิ้นแรกถูกสร้างขึ้นเพื่อพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และได้รับการปรับเปลี่ยนและดัดแปลงหลายครั้ง โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1820 ในพระราชพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าจอร์จที่ 4 ที่มีการประกับตกแต่งต่าง ๆ ที่มากขึ้น รวมถึงอัญมณีต่าง ๆ และในปี 1910 ได้มีการเพิ่มเพชร Cullinan I เพชรสีขาวที่สวยงาม และมีคุณภาพสูงที่สุดในโลก โดยมีน้ำหนักของเพชรอยู่ที่ 530.2 กะรัต ลงบนคทาแห่ง Sovereign
– The Sovereign’s Orb –
Cr. www.hrp.org.uk
The Sovereign’s Orb ลูกโอ๊บ แห่ง Sovereign ถือเป็นตัวแทนสัญลักษณ์แห่งคริสตจักรทั่วโลก แถบของลูกโอ๊บ แห่ง Sovereign ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน แทนความหมายถึงทวีป 3 ทวีป (ในยุคกลาง ชาวอังกฤษแบ่งทวีปออกเป็น 3 ทวีปเท่านั้น) ในระหว่างพิธีราชาภิเษกลูกโอ๊บนี้จะถูกวางไว้ในมือขวาของพระมหากษัตริย์ เสมือนว่าโลกอยู่ในมือของกษัตริย์นั่นเอง
Cr. wikipedia.org
ลูกโอ๊บ แห่ง Sovereign เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ถูกสร้างขึ้นสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 จากช่างทองที่ชื่อ โรเบิร์ต ไวเนอร์ (Robert Viner) โดยลูกโอ๊บ แห่ง Sovereign สร้างมาจากทองคำ ไพลิน ทับทิม มรกต อเมทิส เพชร และไข่มุก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.5 นิ้ว และหนัก 42oz (หรือประมาณ 1.2 กิโลกรัม)
– Queen Mary’s Fringe Tiara –
Cr. orderofsplendor.blogspot.com
Queen Mary’s Fringe Tiara รัดเกล้าของควีนแมรี่ รัดเกล้านี้ถูกสร้างขึ้นเนื่องในวันพระราชพิธีอภิเสกสมรสของควีนแมรี่ โดยใช้เพรชจากสร้อยคอของควีนวิคตอเรีย เพื่อมอบเป็นของขวัญฉลองพระราชพิธีอภิเสกสมรสของควีนแมรี่ ในปี 1893 นอกจากนี้มงกุฎนี้ยังถูกส่งต่อให้แก่ ควีนเอลิซาเบธ เพื่อให้เป็นของขวัญแด่ลูกสาวของเธอ (ควีนเลิซาเบธ ที่ 2) ซึ่งกลายเป็นองค์กษัตริย์ของสหาราชอาณาจักรในปัจจุบัน
ภาพของสร้อยคอของควีนวิคตอเรียที่ทรงมอบให้นำไปทำเป็นรัดเกล้าให้แก่ควีนแม่รี่
Cr. orderofsplendor.blogspot.com
Cr. orderofsplendor.blogspot.com
ตัวรัดเกล้าถูกสร้างขึ้นจากทองคำและเงิน ประดับตกแต่งด้วยเพชรจากสร้อยคอของควีนวิคตอเรีย โดยบริษัท E. Wolff & Co. นอกเหนือจากควีนอลิซาเบธ ที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของรัดเกล้าของควีนแมรี่นี้แล้ว ยังมีอีกหนึ่งบุคคลที่ได้สวมใส่รัดเกล้านี้ นั่นก็คือเจ้าหญิงแอนน์ผู้เป็นพระธิดาของควีนอลิซาเบธ ที่ 2 โดยใช้สวมใส่ในงานราชาภิเษกกับมาร์คฟิลลิปส์ในปี 1973 ในขณะที่เจ้าหญิงแอนน์มีพระชนมายุ 23 พรรษา โดยปัจจุบันเจ้าหญิงแอนน์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “ราชกุมารี” ในสมเด็จพระราชินีนาถ อลิซาเบธที่ 2
– Queen Mary’s Lover’s Knot Tiara –
Cr. tiara-mania.com
Queen Mary’s Lover’s Knot Tiara รัดเกล้านี้ถูกสร้างขึ้นในปี 1913 โดยบริษัท E. Wolff & Co. โดยใช้ไข่มุกและเพชรจาก Girls of Great Britain & Ireland Tiara และ Ladies of England Tiara โดยแต่เดิมรัดเกล้านี้ จะมีไขมุกอีก 1 แถวด้านบน แต่ถูกสั่งให้นำออกด้วยความประสงค์ของควีนแมรี่
Cr. Pinterest
หลังจากที่ควีนแมรี่ทรงสวรรคต รัดเกล้านี้ได้ถูกส่งต่อให้แก่ ควีนอลิซาเบธที่ 2 ผู้มีศักดิ์เป็นหลานสาวของควีนแมรี่ และในปี 1981 รัดเกล้าถูกมอบให้แก่ ไดอาน่าเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ในงานแต่งงานของเธอ และถูกส่งคืนให้แก่ควีนอลิซาเบธที่ 2 อีกครั้งหลังจากที่เธอหย่าร้างในปี 1995 และหลังจากนี้ก็ไม่มีใครได้เห็นรัดเกล้านี้อีกเลย
ดัชเชสเคท (ซ้าย) และ ไดอาน่าเจ้าหญิงแห่งเวลส์ (ขวา)
Cr. townandcountrymag.com
จนกระทั่งในปี 2015 เมื่อดัชเชสเคท พระชายาในเจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์ ผู้เป็นพระโอรสพระองค์ใหญ่ในเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ และไดอาน่าเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงสวมรัดเกล้านี้ในงานเลี้ยงต้องรับที่พระราชวังบักกิ้งแฮม เพื่อหยุดข่างลือที่ว่ารัดเกล้านี้ได้สูญหายไปหลังการหย่าร้างของไดอาน่าเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ในปี 1995 นั่นเอง
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ Luxury Item : เครื่องราชแห่งราชวงศ์อังกฤษ ที่เต็มไปด้วยประวัติความเป็นมาอันยาวนาน บ้างมีมูลค่าเกินกว่าจะตีราคาได้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้รับความรู้ และความสนุกจากบทความนี้
เรื่องโดย : เฉพาะกิจ
อ้างอิง
www.englishmonarchs.co.uk
www.hrp.org.uk
www.rct.uk
www.wonders-of-the-world.net
.