Samrong General Hospital
The Next Level of Rehabilitation
“มิติใหม่ของห้องพักคนไข้ ที่จะทำให้ประสบการณ์การเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลผ่อนคลายและสะดวกสบายยิ่งขึ้น
ด้วยความใส่ใจทั้งด้านสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจของคนไข้ ทำให้โรงพยาบาลเอกชนชื่อดังในจังหวัดสมุทรปราการ “สำโรงการแพทย์” ตัดสินใจปรับปรุงห้องพักคนไข้บริเวณชั้น 4 เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ของการดูแลผู้ป่วย ให้ได้รับความสะดวกสบายและเพียบพร้อมไปด้วยรายละเอียด และอุปกรณ์ทันสมัยเพื่อตอบสนองต่อการใช้งานในหลายมิติ ทั้งในส่วนของผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย พยาบาล ตลอดจนนาย แพทย์ที่มาดูแล ภายใต้งานออกแบบในสไตล์ Futuristic ที่เรียบหรูและ แปลกตา”
- ห้องพักคนไข้ขนาด 2 เตียง (7 ห้อง)
-
โถงทางเดิน
- ห้องพักคนไข้ขนาด 3 เตียง (6 ห้อง)
กว่า 40 ปีแห่งความทุ่มเทของโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ ที่ปรับปรุงและพัฒนาเพื่อรองรับความต้องการของประชาชนเสมอมา ในครั้งนี้ทางโรงพยาบาลได้ตัดสินใจ Renovated โฉมหน้าของโซนห้องพักผู้ป่วยบริเวณชั้น 4 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาใช้บริการให้มากยิ่งขึ้น
งานออกแบบและตกแต่งภายใน “โรงพยาบาล” นั้นเมื่อใช้สไตล์ Futuristic เข้ามาเป็นสไตล์หลักในการออกแบบทำให้นอกจากจะคำนึงถึงดีไซน์ที่ถูกสุขลักษณะแล้ว ยังเน้นให้ดูทันสมัยและมีชีวิตชีวา ซึ่งช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสุขภาพจิตใจของคนไข้อีกด้วย
หนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อญาติคนไข้ไปโรงพยาบาล คือ ความไม่แน่ใจว่าเรามาถูกชั้นรึเปล่า? และจำเป็นต้องเดินสำรวจว่าชั้นนี้ใช่ชั้นที่เราต้องการจะมาจริงหรือไม่ ? หลายครั้งที่เราตัดสินใจถามเคาน์เตอร์พยาบาลเพื่อความแน่ใจ แต่ก็มีหลายคราเช่นกันที่เวลาที่เราไปประจวบเหมาะพอดีกับช่วงเวลาที่คุณพยาบาลกำลังไม่ว่าง…
ปัญหานี้จะหมดไปด้วยงานออกแบบที่ดีไซน์เนอร์ของเราตัดสินใจแก้ปัญหา โดยให้ตัวเลขแสดงชั้นนั้นเด่นชัดมาแต่ไกล พร้อมการใช้สีเพื่อแบ่งโซนชัดเจน นอกจากนี้เรายังได้ออกแบบให้โถงทางเดินนี้มีแสงสว่างที่เหมาะสมและระบบระบายอากาศที่ถ่ายเท ควบคู่ไปกับการใช้ Pattern ลายเส้นบนพื้นที่ให้ทางเดินที่ทอดยาวดูมีชีวิตชีวามากขึ้น
เมื่อเดินไปตามทางเดินที่ทอดยาว ก็จะพบกับประตูที่นำเข้าไปสู่ห้องพักผ่อนจำนวน 32 เตียงในบริเวณโซนนี้
ในการออกแบบห้องต่าง ๆ ในโรงพยาบาลทุกครั้ง Interior Design Team ของบาริโอ จำเป็นต้องทำการศึกษาการใช้งานของ User ทุกประเภทให้ครบถ้วน จากนั้นจึงทำการวางแนวคิดในการออกแบบคร่าว ๆ เพื่อให้ตอบสนองต่อโจทย์ต่าง ๆ อย่างครบครัน
สำหรับครั้งนี้ เป็นการออกแบบห้องพักผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นห้องรวมแบบ 2 เตียง และ 3 เตียง ทำให้โจทย์ค่อนข้างซับซ้อนกว่าห้องพักเดี่ยวมาก ดังนั้นทีมออกแบบร่วมกับทางโรงพยาบาลจึงได้ปรึกษากันเพื่อสรุปผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานภายในห้องพักทั้งหมด อันได้แก่
-
ผู้ป่วย หรือ ผู้ที่มาพักฟื้น
-
ญาติผู้ป่วย
-
พยาบาล
-
นายแพทย์ประจำตัวผู้ป่วย
-
พนักงานรักษาความสะอาด
-
พนักงานซ่อมบำรุง หรือช่าง
โดยในการพักฟื้น หรือดูแลผู้ป่วยนั้น ความสำคัญอันดับแรกคือความสะอาด ปราศจากฝุ่น และเชื้อโรค ดังนั้น ห้องพักจำเป็นที่จะต้องเรียบง่าย ไม่มีจุดกักเก็บฝุ่น เช่น หลืบไฟ หรือซอกมุมต่างๆ ที่ไม่สามารถเข้าถึง รวมทั้งงานออกแบบจำเป็นจะต้องไม่มีเหลี่ยมมุมคม ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน รวมทั้งจะต้องเลือกใช้วัสดุที่ง่ายต่อการทำความสะอาด ทนทาน ตลอดจนสะดวกในการบำรุงรักษา
จากผลการวิเคราะห์ ทำให้ทีมออกแบบตัดสินใจเลือกใช้งานออกแบบในสไตล์ Futuristic ที่เรียบง่าย แต่สวย แปลกตา รวมไปถึงทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้เวลาในห้องพักชุดนี้ได้อย่างมีความสุข
“The purpose of the hospital is to improve the healthcare and living conditions of people”
– Dikembe Mutombo –
เป็นห้องพักที่ค่อนข้างท้าทาย เนื่องจากเป็นห้องพักผู้ป่วยที่มาพักรวมกัน ดังนั้น Designer จึงได้วาง Planning แยกเป็น 2 ส่วนโดยมีกล่องเก็บผ้าม่านกั้นที่ยื่นออกมาราว 60 เซนติเมตร เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ป่วยแต่ละราย โดยกล่องเก็บผ้าม่านนี้ ยังติดตั้งป้ายเลขที่เตียง ตลอดจนมีช่องสำหรับการติดคำเตือนประเภทต่างๆ สำหรับคนไข้แต่ละรายโดยเฉพาะ ทำให้แพทย์และพยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
หัวเตียงของห้องพักแบบ 2 เตียงนี้ ได้รับการออกแบบให้เรียบง่ายแต่หรูหรา โดย Designer ได้เลือกใช้ Artificial Quatz หรือ Acrylic Solid Surface สี Emerald ของ LG Hausys ซึ่งเป็นเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ที่เกิดจากการนำหินจริงมาบดละเอียด และเทลงบนแม่พิมพ์โดยผสมกับสารประกอบอื่นๆ ที่ช่วยเสริมความแข็งแรง ลดปัญหาการบิ่น แตกหรือร้าว ทนทานต่อสารเคมี รวมไปถึงมีค่าการดูดซึมน้ำต่ำมาก ทำให้เป็นวัสดุที่ง่ายต่อการทำความสะอาด และทนทานต่อการใช้งานในโรงพยาบาล
ด้วยคุณสมบัติที่ง่ายต่อการขึ้นรูปของวัสดุ ทำให้ Designer สามารถออกแบบหัวเตียงที่โค้งมนโดยไม่มีรอยต่อ จึงไร้ปัญหาเรื่องฝุ่นตกค้างหรือสะสม รวมถึงความโปร่งแสงของเนื้อวัสดุช่วยกระจายแสงของไฟ LED ทำให้ผู้ที่มาพักฟื้นสามารถเลือกเปิดเป็นแสงสลัว ในกรณีที่ต้องการพักผ่อน แต่ไม่ต้องการให้มืดเกินไปได้อีกด้วย
หัวจ่ายอากาศที่จำเป็นต้องใช้ในโรงพยาบาลทั้ง 3 ชนิด ถูกติดตั้งไว้บริเวณด้านบนของ Headboard นี้ และในแถบสเตนเลสเดียวกัน ยังติดตั้งปลั๊ก สวิชท์ไฟ และไฟอ่านหนังสือเพื่อให้ตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้งานทุกประเภทด้วย
ในห้องพักแบบ 2 เตียงนี้ ยังมีตู้เสื้อผ้าติดตั้งไว้ที่มุมทั้งสองด้านของห้อง เพื่อให้ผู้มาพักฟื้นและญาติ สามารถเก็บของใช้ส่วนตัวได้อย่างเป็นสัดส่วน
อีกจุดหนึ่งที่ทางโรงพยาบาลได้คำนึงและตัดสินใจปรับปรุงเพื่อคนไข้นั้นก็คือ “ห้องน้ำ” เนื่องจากประตูห้องน้ำแต่เดิมนั้นเป็นประตูบานเปิดทำให้ผู้ใช้รถเข็นเข้าออกไม่สะดวก ดังนั้นในงานปรับปรุงใหม่นี้ Designer จึงได้เลือกใช้ประตูบานสไลด์ที่จะซ่อนบานประตูเข้าไปในผนังได้ทั้งบาน เพื่อแก้ปัญหาการเปิด-ปิดประตูไม่สะดวกเมื่อต้องนั่งรถเข็น อีกทั้งบานประตูนั้นยังติดตั้งด้วยอุปกรณ์ Hardware พิเศษที่สามารถสไลด์กลับเองได้ ทำให้หมดปัญหาต้องคอยปิดประตูเมื่อเข้าไปหรือหลังออกมาจากการใช้ห้องน้ำนั่นเอง
และจุดเด่นพิเศษอีกอย่างของห้องพักนี้คือการนำวัสดุ “ลามิเนตลายไม้” และ Wallpaper ลายใบไม้หน้าห้องน้ำ ที่บริเวณทีวีที่ปลายเตียง โดย Natural Pattern & Materials นั้นจะช่วยให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายและใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจิตวิทยาด้านจิตใจที่จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
ห้องพักผู้ป่วยรวมแบบ 3 เตียง จะเป็นห้องพักที่จำเป็นต้องออกแบบให้ประหยัดพื้นที่มากที่สุด แต่ต้องยังตอบโจทย์การใช้งานเช่นเดียวกับห้องแบบ 2 เตียง ดังนั้น Designer จึงได้ออกแบบหัวเตียงให้โค้งขึ้นไปถึงเพดาน เพื่อสร้างอาณาเขตของผู้ป่วยแต่ละคน และด้วย Design ของหัวเตียงที่โค้งขึ้นไปเป็นฝ้าเพดาน ยังทำให้สามารถติดตั้งแถบ Function ต่างๆ บนหัวเตียง ไปจนถึงไฟ LED ที่ซ่อนในฝ้าเพดานได้อย่างลงตัว
การเลือกใช้วัสดุในการตกแต่งหัวเตียงนี้ Designer ยังคงเลือกใช้ Artificial Quatz เช่นเดียวกับห้อง 2 เตียง แต่มีจุดเพิ่มเติมที่เหนือ Headboard จะมีบานเปิดขนาดเล็กที่ด้านขวา ซึ่งสามารถเปิดเพื่อให้ทีมช่างบำรุงรักษาอาคาร ทำการดูแลระบบท่อและสายไฟต่างๆ ที่ฝังในผนังชุดนี้ได้โดยสะดวก
สำหรับ Lighting ของห้องพักแบบนี้จะแบ่งออกเป็น 3 สวิชท์ คือ ไฟตัว U วงนอก, ไฟวงกลมด้านใน และไฟซ่อนบริเวณหัวเตียง ที่สามารถดึงแถบไฟสีดำที่ซ่อนอยู่ออกมาเพื่อใช้งานหรือเก็บกลับเข้าไปเป็นระนาบเดียวกับ Headboard ได้ตามประสงค์ของผู้ใช้งาน
มาถึง Side Table ที่อยู่ข้างเตียงก็ยังได้รับการออกแบบอย่างเอาใจใส่ ตั้งแต่การเลือกใช้ Top ที่กรุลามิเนตที่ทนทานต่อสารเคมี เพื่อให้พยาบาลเตรียมยาให้กับผู้ป่วยได้โดยสะดวก รวมไปถึงลิ้นชักแบบ 2 ชั้นที่สามารถล็อคได้ เพื่อเก็บของใช้ส่วนตัว
รวมไปถึงด้านใต้ Side Table ที่ปล่อยเป็นช่องว่าง เพื่อใช้เก็บถังขยะในยามที่ไม่ใช้งาน ทำให้ถังขยะไม่กลายเป็นสิ่งเกะกะภายในห้องหรือทางเดินปลายเตียงอีกต่อไป
และนี่ก็คือโปรเจค “Samrong General Hospital : The Next Level of Rehabiltation” ผลงานรีโนเวทโซนห้องพักผู้ป่วยใน ของโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ ที่เรานำมาฝากทุกท่านในวันนี้ค่ะ
ในช่วงปลายฝนต้นหนาวของเดือนพฤศจิกายนแบบนี้ อย่าลืมดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ตรวจสุขภาพประจำปี รอต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขในช่วงสิ้นปีที่จะถึงนี้กันนะคะ
หากสนใจดูผลงานอื่นๆ ของเราก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ Portfolio ของเว็บไซต์ Bareo-Isyss หรือ ถ้ามีข้อสงสัยก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ 02 408-1341 – 44 และ 085 072-8998 และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Design by Bareo ค่ะ
แล้วพบกันใหม่ในเดือนหน้า
สวัสดีค่ะ : )