Ceramic
เซรามิก
การออกแบบอีกหนึ่งแขนงที่สามารถสร้างคุณค่าได้ด้วยตัวของงานออกแบบเองอย่างเซรามิก ที่มีเทคนิคและกระบวนการสร้างสรรค์ที่ประณีต ละเอียดละออ จนทำให้ผลงานที่สำเร็จเสร็จสิ้นออกมาสามารถแปรเปลี่ยนดินธรรมดา ให้กลายเป็นผลงานศิลปะชั้นเลิศ สร้างมูลค่า รวมถึงเพิ่มคุณค่าของดินขึ้นมาได้อย่างมากมาย และยังมาพร้อมกับความสวยงามที่มีเสน่ห์เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร
ความเป็นมาของเซรามิก
เซรามิก (ceramic) คือ ศิลปะการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับดินเผา โดยมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก มีความหมายคือ “การนำเอาวัสดุมาผ่านการเผา” แต่ในปัจจุบันนี้ เซรามิก ไม่ใช่เพียงดินที่นำมาเผาจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ แต่ยังมีการนำเอาวัตถุดิบในธรรมชาติต่าง ๆ มาผสมผสานกับวัสดุหลัก (ดินเหนียว) นำมาขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ เพื่อใช้ผลิตเป็นได้ทั้งภาชนะหรือสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องประดับต่าง ๆ และนำมาผ่านกระบวนการเผาที่อุณหภูมิความร้อนที่สูงเพียงพอ จนทําให้ชิ้นงาน หรือผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีความแข็งแรงคงทนไม่แตกหักง่ายนั่นเอง
Cr. claybotik
เซรามิก จัดเป็นวัสดุที่มีประโยชน์ และสำคัญต่อมนุษยชาติตั้งแต่สมัยโบราณ จากหลักฐานการค้นคว้า มีการค้นพบหลักฐานว่ามีการใช้อิฐในการก่อสร้างเตาเผาเซรามิกที่ประเทศบาบิโลเนีย เอสซีเรีย และอียิปต์ นอกจากนั้นยังมีการขุดค้นพบซากของเหยือกน้ำเซรามิก ที่พบว่ามีอายุถึงหมื่นปีเลยทีเดียว
ประเภทของงานเซรามิก
เอิร์ทเทนแวร์ (Earthenware)
Cr. claybotik
เอิร์ทเทนแวร์ เป็นหนึ่งในเซรามิก ที่ทำมาจากดินในแต่ละท้องถิ่น หรือก็คือ “ดินเหนียว” โดยสีที่ได้จะมีสีน้ำตาลแดง เนื้อหยาบ มีรูพรุนมาก เช่น กระถางต้นไม้ เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ ที่เราเคยเห็นกันอยู่บ่อยๆ เซรามิกแบบเอิร์ทเทนแวร์จะไม่สามารถป้องกันการดูดซึมของน้ำได้ จึงทำให้ไม่นิยมนำมาผ่านกระบวนการเคลือบ จะนิยมโชว์สีธรรมชาติจนกลายเป็นเสน่ห์ในตัวของมันเอง และที่สำคัญเนื้อดินประเภทนี้มีความแข็งแรงต่ำแตกหักง่าย จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีราคาถูก
สโตนแวร์ (stoneware)
Cr. pinterest
สโตนแวร์ เป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ทำจากเนื้อดินขาวผสมกับหินและทราย ผลิตภัณฑ์เซรามิกจำพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นสีขาวไปจนถึงสีเทา เนื้อดินมีคุณสมบัติทึบแสง มีสีต่างกันออกไป ตั้งแต่สีขาวอมเหลือง สีเทา และสีน้ำตาล มีลักษณะเนื้อดินที่หลอมกันแน่นกว่าผลิตภัณฑ์เซรามิกประเทภเอิร์ทเทนแวร์ เราจะเห็นผลิตภัณฑ์สโตนแวร์ได้อยู่ทั่วไป เพราะผลิตภัณฑ์เซรามิกชนิดนี้นิยมใช้ทำข้าวของเครื่องใช้ เนื่องจากมีความคงทนสูง เช่น จาน ชาม แจกัน ของใช้ในบ้านต่างๆ โดยถ้าต้องการสีสันที่ดูสดขึ้น จะใช้เทคนิคการเคลือบเพื่อให้เกิดความสวยงาม
พอร์ซเลน (Porcelain)
Cr. web.tcdc
สถาปัตยกรรมสีขาว แห่งนี้มีชื่อว่า The Italian Pavilion ที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ที่เมือง Derby ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย The Italian Pavilion แห่งนี้ถูกออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก Nemesi ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบที่ชนะรางวัลจากการแข่งขันการออกแบบระดับนานาชาติ Milan Expo โดย The Italy Pavilion แห่งนี้เป็นอาคารขนาด 6 ชั้น บนพื้นที่กว่า 14,000 ตารางเมตร อีกทั้งยังเป็นความท้าทายทางสถาปัตยกรรมและการสร้างสรรค์ ด้วยความซับซ้อนและนวัตกรรมในการออกแบบ วัสดุและเทคโนโลยีที่เลือกใช้ นอกจากนี้ตัวอาคารได้รับการออกแบบอย่างยั่งยืนด้วยการใช้กระจกโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อให้พลังงานแกตัวอาคารอีกด้วย
เนื่องด้วยงานเซรามิกล้วนมีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัว อีกทั้งความพิเศษของเนื้อดินสีต่าง ๆ หลังผ่านการเผาที่มีเอกลักษณะเฉพาะตัวนี้ จึงทำให้เหล่าดีไซน์เนอร์ เลือกที่จะนำเซรามิกมาทำการสร้างสรรค์เป็นผลงาสนที่น่าสนใจ ตื่นตาตื่นใจมากมาย รวมไปถึงผลงานปติมากรรมด้วย จะมีผลงานอะไรที่น่าสนใจบ้าง มาดูกันค่ะ
VORTEX VESSEL – Jennifer McCurdy
Cr. jennifermccurdy
ประติมากรรมเซรามิกชิ้นนี้ถูกออกแบบโดย Jennifer McCurdy ดีไซน์เนอร์สาวที่มีแนวความคิดการออกแบบที่ได้มาจากการเคลื่อนไหวของธรรมชาติ เธอเลือกใช้การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนก่อนในลำดับแรก และนำมาปรับเปลี่ยนรูปทรงให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหวเป็นวงหมุ่นขึ้นสู่ใจกลางของชิ้นงาน ความพิเศษอยู่ที่การใช้ดินเนื้อสีขาวอย่างดิน พอร์ซเลน ที่ให้สีขาวนวลและ Jennifer McCurdy เลือกสร้างมิติให้กับงานประติมากรรมของเธอ ด้วยการใช้ทองคำเปลวติดไว้ที่ด้านในของผลงาน ช่วยให้เกิดเป็นจังหวะที่หลอกตาเสมือนว่าแสงที่ส่องประกายอยู่ด้านในนั้นกำลังเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาเมื่อตกกระทบกับแสงไฟ
Ceramics vessel – Zhu Ohmu
Cr. thedesignfiles
ผลงานการออกแบบเซรามิกโดย Rose Wei ดีไซน์เนอร์และนักออกแบบชาวนิวซีแลนด์ หรือชื่อในวงการงานออกแบบของเขาคือ Zhu Ohmu ผลงานเซรามิกเหล่านี้ได้รับมาจากแรงบันดาลใจจากตัวของ Rose Wei ที่ชื่บชอบและรักในการปลูกต้นไม้ จึงเริ่มออกแบบกระถางสำหรับต้นไม้ของเขาเองด้วยการใช้เซรามิก กระถางที่มีรูปทรงโดดเด่นไม่เหมือนใครนี้ ถูกสร้างมาจากดินสีขาว ใช้วิธีการนำดินมาทำเป็นเส้นและขดขึ้นรูป โดยรูปทรงนั้นออกแบบให้สื่อถึงความรู้สึกเหมือนกระถางกำลังละลายและไหลลงไป ซึ่งถือเป็นเรื่องยากเลยทีเดียวที่จะทำงานเซรามิกที่ผ่านการเผาแล้วออกมาในรูปทรงที่อ่อนโยนเช่นนี้ อีกทั้งการปั้นให้อยู่ในรูปแบบของเส้นก็เสี่ยงต่อการแตกหักระว่างการเผาอีกด้วย แต่ Rose Wei ก็สามารถเนรมิตผลงานที่น่าตื่นตาตื่นใจนี้ได้ออกมาอย่างสมบูรณ์แบบเลยทีเดียวค่ะ
Anonymous Figures Struggle Against – Claudia Fonte
Cr. thisiscolossal