Clock Tower หอนาฬิกา
เวลาถือเป็นตัวช่วยจัดการระบบชีวิตของเราได้เป็นอย่างดี นาฬิกาจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์ขาดไม่ได้ แต่ในอดีตใช่ว่าทุกคนจะสามารถหานาฬิกามาใช้ได้อย่างง่ายๆ แต่ละเมืองใหญ่จึงเกิดสถาปัตยกรรมที่เป็นเครื่องช่วยบอกเวลาให้กับพลเมืองของตนเองด้วยการก่อสร้าง “หอนาฬิกา” ขึ้นมานั่นเองค่ะ
Big Ben (England)
Credit : pikrepo
หอนาฬิกาบิกเบนที่โด่งดังแห่งลอนดอนในประเทศอังกฤษ เชื่อว่าหลายท่านคงรู้จักสถาปัตกรรมแห่งนี้ในนามว่า Big Ben แต่ในความเป็นจริงแล้วสถายกรรมแห่งนี้ มีชื่อเรียกที่เป็นทางการว่า Elizabeth Tower ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Queen Elizabeth ที่ 2 ซึ่งคำว่า “บิกเบน” เป็นชื่อที่ตั้งให้กับระฆังขนาดใหญ่ภายในหอนาฬิกา ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า 13 ตัน ด้วยความโดดเด่นของขนาดและน้ำหนักของระฆัง จึงทำให้ผู้คนส่วนใหญ่จดจนสถาปัตยกรรมแห่งนี้ในชื่อของ “บิกเบน” นั่นเอง
ระฆัง Big Ben ซึ่งมีน้ำหนักกว่า 13ตัน (1,300กิโลกรัม)
Credit : theconversation
Credit : britania
หอนาฬิกาบิกเบน สร้างขึ้นทางตอนเหนือสุดของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในปี พ.ศ. 2402 และถือเป็นผลงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปะกอธิคที่มีหน้าต่างที่มีรูปทรงหอก, การตกแต่งที่มีรายละเอียดอย่างหนัก, การใช้ลักษณะยอดแหลม และการใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น หิน เหล็ก โดยหอนาฬิกาบิกเบนมีคุณสมบัติเหล่านี้มากมาย หน้าต่างบางหอมีการสร้างด้วยหินปูน และอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจที่สุดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการก่อสร้างหอคือหอนาฬิกาบิกเบน คือ หอนาฬิกาบิกเบนแห่งนี้ทำการก่อสร้างโดยทำการก่อสร้างด้านในก่อน แล้วจึงก่อสร้างตัวอาคารภายนอก
Astronomical Clock (Czech Republic)
Credit : solosophie
หอนาฬิกา Astronomical Clock ตั้งอยู่ที่กรุงปราก ในสาธารณรัฐเช็ก ได้รับการขนานนามว่าเป็นหอนาฬิกาที่มีอายุเก่าแก่กว่า 600 ปี ว่ากันว่าถูกสร้างขึ้นในปี 1410 โดย Mikulas แห่ง Kadan โดยสถาปัตยกรรมบริเวณหอนาฬิกา Astronomical Clock มีการผสมผสานศิลปะต่าง ๆ อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นมหาวิหารแบบกอธิกซึ่งตั้งตระหง่านเหนือโบสถ์แบบโรมาเนสก์ ซึ่งหอนาฬิกา Astronomical Clock มีความพิเศษกว่าที่อื่น ๆ เพราะไม่ได้ใช้บอกแค่เวลาเพียงเท่านั้น แต่ยังใช้บอกสัญลักษณ์ของจักรราศี ดาราศาสตร์ รวมไปถึงอักขระที่ใช้แทนกลุ่มดาวต่างๆ ผู้คนจึงมักเรียกหอนาฬิกาแห่งนี้ว่า หอนาฬิกาดาราศาสตร์ นั่นเองค่ะ
Credit : obonparis
และด้วยความที่ Boulders Beach เป็นพื้นที่อนุรักษ์เพนกวิน ส่วนหนึ่งของ Table Mountain Natioanl Park ทางการก็ได้มีการจัดโซนให้สำหรับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะ เพื่อที่จะไม่ให้เป็นการรบกวนพื้นที่ในส่วนของเพนกวินสายพันธ์ุนี้ ที่ปัจจุบันจัดอยู่กลุ่มประเภทใกล้ศูนย์พันธุ์ (Endangered) จึงได้สร้างเป็นสะพานไม้ที่มีลักษณะยื่นออกไปทางชายหาด นักท่องเที่ยวที่มาก็จะสามารถชื่นชมเพนกวินได้อย่างใกล้ชิด และไม่ทำให้เพนกวินตกใจกลัว นอกจากนี้ยังมีอีกโซนที่ผู้คนสามารถเดินลงไปที่ชายหาดได้ซึ่งบริเวณนั้นจะมีเพนกวินบางตา
St. Mark’s Clock Tower (Italy)
Credit : pixabay
หอนาฬิกาเซนต์มาร์ก หรือหอนาฬิกาแห่งมัวร์ ตั้งอยู่ใน Piazza San Marco อันเลื่องชื่อของเมืองเวนิส ในประเทศอิตาลี และยังนับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางวิศวกรรมแห่งศตวรรษที่ 15 ถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงความมั่งคั่งและความรุ่งโรจน์ของเมืองเวนิส สถานที่แห่งนี้เป็นอาคารในยุคเรอเนซองส์ และถูกสร้างในช่วงปลายปี 1400 โดยสถาปนิกยุคเรอเนสซองส์ผู้ยิ่งใหญ่ Mauro Codussi ในส่วนของกลไกของนาฬิกาถูกสร้างขึ้นโดย Zuan Carlo Rainieri และในเวลาต่อมากลไกนาฬิกาได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากและตัวอาคารถูกปรับแต่งให้มีความแข็งแรงมากขึ้น จากการบูรณะหอนาฬิกาหลายต่อหลายครั้ง
Credit : flickriver
หอนาฬิกา St. Mark’s นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญที่สุดในเวนิสเลยทีเดียว โดยหอนาฬิกาที่นี่จะมีนาฬิกาดาราศาสตร์ขนาดใหญ่ ซึ่งแสดงเวลาตลอดจนสัญลักษณ์ของจักรราศี และระยะของดวงจันทร์ ยอดหอคอยถูกตกแต่งด้วยรูปปั้นทองสัมฤทธิ์สองรูปที่ตีระฆังในเวลาปีละสองครั้ง โดยรูปปั้นสัมฤทธิ์ทั้งสองได้รับฉายาว่า “โมริ” ซึ่งรูปปั้นทั้งสองมีข้อต่อที่เอวเพื่อให้สามารถบิดลำตัวและเคลื่อนไหวได้ และรูปปั้นเหล่านี้ยังสร้างขึ้นด้วยขนาดที่เกินจริงและมีการออกแบบอย่างตั้งใจ เพื่อให้ผู้คนสามารถแยกแยะรูปร่างของรูปปั้นได้แม้ในระยะไกล
Zimmer Tower (Belgium)
Credit : flickr
หอนาฬิกา Zimmer Tower แห่งนี้เริ่มต้นสร้างขึ้นมาในฐานะเป็นป้อมปราการในเมือง Lier อันเก่าแก่ของเบลเยียม ซึ่งสร้างขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1425 เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งทางสภาเมืองมีมติให้ทำการรื้อถอนหอนาฬิกาแห่งนี้ แต่ในเวลาต่อมาปี ค.ศ. 1930 นักดาราศาสตร์และช่างนาฬิกา หลุยส์ ซิมเมอร์ ได้มีการบริจาคนาฬิกาที่มีกลไกซับซ้อน ซึ่งได้ทำการติดตั้งไว้ในหอคอยเก่า จึงเป็นเหตุที่ทำให้หอคอยแห่งนี้ถูกบูรณะใหม่อย่างหนัก และเพื่อเป็นเครื่องหมายของการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี แห่งอิสรภาพของเบลเยียมอีกด้วย
Credit : visitlier
หลุยส์ ซิมเมอร์ ได้ส่งมอบนาฬิกา Centenary หรือ Jubilee ซึ่งมีหน้าปัดนาฬิกาทั้งสอ้น 12 หน้าปัดรอบนาฬิกาตรงกลาง ซึ่งหน้าปัดแต่ละหน้าปัดแสดงข้อมูลที่หลากหลาย รวมถึงสัญญาณของจักรราศี ฤดูกาล และวัฏจักรเมโตนิก และสุดท้ายหอนาฬิกาแห่งนี้กลายเป็นอนุสาวรีย์ที่ได้รับการคุ้มครองโดยรัฐในปี 1980 เป็นต้นมา
Chaing Rai Clock Tower (Thailand)
Credit : chiangmaitravelhub
หอนาฬิกาเชียงราย หรือมีอีกชื่อว่า หอนาฬิกาพุทธศิลป์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงราย อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ถูกออกแบบโดยศิลปินชาวไทยที่มีชื่อเสียงอย่า อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และเปิดตัวในปี พ.ศ. 2551 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถในยุคนั้น โดยการออกแบบถูกออกแบบไว้อย่างวิจิตรตระการตา เรียกการออกแบบลักษณะนี้ว่าการออกแบบเชิงพระพุทธศาสนา รายละเอียดของผลงานมักจะมีหลักคำสอนทางศาสนาแฝงอยู่ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นแบบเดียวกันจากวัดร่องขุ่นที่โด่งดัง โดยศิลปินท่านเดียวกันนี้เอง
Credit : imsuktour
โครงสร้างของตัวหอนาฬิกาทำหน้าที่เป็นวงเวียนการจราจรและในขณะเดียวกันก็มีความโดดเด่นเพียงพอในระหว่างวันจนกลายเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวจะต้องมาเยือนสักครั้ง ความพิเศษของหอนาฬิกาเชียงรายแห่งนี้ ไม่ได้มีเพียงความสวยงาม แต่ยังมีการแสดงแสง สี เสียง เป็นไปตามรอบเวลาที่กำหนดอีกด้วยในเวลากลางคืน
Otaru Steam Clock Tower (Japan)
Credit : commons.wikimedia
หอนาฬิกา Otaru Steam Clock Tower ของขวัญจากเมืองแวนคูเวอร์ถึงเมืองโอตารุ เป็นนาฬิกาไอน้ำที่ตั้งอยู่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์กล่องดนตรีแห่งเมืองโอตารุ ที่เกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น โดยนาฬิกาไอน้ำนี้เป็นนาฬิกาไอน้ำโบราณ ทางญี่ปุ่นได้รับมาเป็นของที่ระลึกจากประเทศแคนาดา ซึ่งนับได้ว่าเป็นนาฬิกาไอน้ำที่เก่าแก่มากหนึ่งในสองเรือนของโลกเลยทีเดียว เรือนแรกจะมีลักษณะเหมือนกันและตั้งอยู่ที่ประเทศแคนนา
Credit : vancouverisawesome