Fossil ไดโนเสาร์ถูกพบในทุกทวีปของโลก รวมถึงแอนตาร์กติกา แต่ฟอสซิลไดโนเสาร์ส่วนใหญ่และสายพันธุ์ที่หลากหลายที่สุดถูกพบในทะเลทราย และที่รกร้างว่างเปล่าของอเมริกาเหนือ จีน และอาร์เจนตินา ไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่บนโลกตั้งแต่ประมาณ 245 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันก็ได้วิวัฒนาการมาเป็นนกนั่นเอง ไดโนเสาร์ทั้งหมดยกเว้นนกซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันอย่างมาก ไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีการค้นพบและตั้งชื่อประมาณ 700 สายพันธุ์ แต่เนื่องจากบันทึก Fossil ยังไม่สมบูรณ์ ในแง่ที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ค้นพบ Fossil ของไดโนเสาร์ชนิดอื่นๆเพิ่มเติม แต่แน่นอนว่ายังมี Fossil อีกมากมายที่ยังรอการค้นพบ จึงทำให้ตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้สะท้อนถึงความหลากหลายที่แท้จริงของไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
Fossil ไดโนเสาร์ไม่ทราบชนิดที่พบในประเทศไทย
Credit : japantimes .co.jp
Fossil ไดโนเสาร์ในประเทศไทยถูกค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา โดยอยู่ในขั้นตอนการทำงานของคณะสำรวจโบราณชีววิทยาไทย – ฝรั่งเศส ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ที่ถูกค้นพบในประเทศไทยนั้น ซากที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดจะอยู่ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย ราวๆ 209 ล้านปีก่อน และซากอายุที่น้อยที่สุดจะอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนกลาง ราวๆ100 ล้านปีก่อน นอกจากนี้ซากที่พบจะมีทั้งที่เป็นชนิดที่พบใหม่ของโลก และชนิดที่พบได้ทั่วไป ซึ่งแหล่งขุด Fossil ไดโนเสาร์ในไทย ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดกาฬสินธุ์ ชัยภูมิ และขอนแก่น เป็นต้น
แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ Fossil
Credit : National Geographic
แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ Fossil นั้นมีมากมายและหลากหลาย อย่างทางอินเตอร์เน็ตเองก็สามารถเลือกหาเว็ปไซต์ที่น่าเชื่อถือในการศึกษาได้ เช่น กรมทรัพยากรธรณี, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), National Geographic Society เป็นต้น นอกจากนี้หากใครที่สนใจอยากจะค้นคว้าแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับ Fossil ที่มากไปกว่าการค้นหาในอินเตอร์เน็ตก็จะสามารถไปดูของจริงได้จากพิพิธภัณฑ์ ในประเทศไทยของเราก็จะมีอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยา จ.ลำปาง, พิพิธภัณฑ์สิรินธร จ.กาฬสินธุ์ เป็นต้น และในต่างประเทศ เช่น Fukui Prefectural Dinosaur Museum ประเทศญี่ปุ่น, Field Museum Chicago เป็นต้น