Glowing Life
สิ่งมีชีวิตเรืองแสง
หากกล่าวถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบสิ่งต่างๆของเหล่าดีไซน์เนอร์ “ธรรมชาติ” คือหนึ่งในอันดับต้นๆ ที่นักออกแบบมักเลือกมาใช้เป็น inspiration เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและสามารถเห็นได้ในชีวิตประจำวัน แต่สิ่งที่จะทำให้งานออกแบบนั้นเกิดความแตกต่าง ก็คือไอเดียของดีไซน์เนอร์ที่จะนำสิ่งเหล่านี้ไปต่อยอดให้เกิดผลงานที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร
สิ่งมีชีวิตเรืองแสงก็เป็นอีกหนึ่ง Inspiration ที่ถูกนำมาพัฒนาต่อยอดไปใช้ในงานออกแบบแขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ การออกแบบภายใน หรือแม้แต่วงการแฟชั่น เพราะเรียกได้ว่าการเรืองแสงนั้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่ธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา
หิ่งห้อย
Cr. wwaytv3
หิ่งห้อย (firefly) สิ่งมีชีวิตตัวน้อยแต่มีความสำคัญที่ยิ่งใหญ่ เพราะหิ่งห้อยนั้นเป็นตัวบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศในบริเวณที่มันอาศัยอยู่ได้เลยทีเดียว หิ่งห้อยเป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ แถมยังเกิดมาพร้อมกับความพิเศษ คือสามารถเรืองแสงได้ในยามค่ำคืน โดยการเรืองแสงของหิ่งห้อยนั้นเหมือนมีนาฬิกาอยู่ภายในตัว เพราะมันจะเรืองแสงในทุกๆ 24 ชั่วโมง เรียกได้ว่ามีเวลาเรืองแสงที่ถูกกำหนดไว้ หากยังไม่ถึงเวลาเจ้าหิ่งห้อยก็จะไม่มีแสงออกมานั่นเอง
Cr. wwaytv3
หิ่งห้อยมีอวัยวะที่ใช้สร้างแสงสว่างอยู่ที่บริเวณท้อง ในส่วนของตัวผู้จะมีอวัยวะที่ใช้สร้างแสง 2 ปล้อง ตัวเมียจะมีเพียง 1 ปล้อง และสิ่งสำคัญที่ทำให้หิ่งห้อยเรืองแสงเป็นเพราะว่าต้องการหลอกล่อหิ่งห้อยเพศตรงข้ามเพื่อจะทำการสืบพันธุ์ หรือทั้งหมดอาจเรียกได้ว่ามันคือกลไลที่ธรรมชาติได้สร้างขึ้นมาเพื่อให้ระบบนิเวศได้ดำเนินต่อไปได้อย่างสมบูรณ์นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามหิ่งห้อยเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีวงจรชีวิตสั้นๆ หิ่งห้อยที่โตเต็มวัยจะมีอายุประมาณ 1 เดือนเท่านั้น และในปัจจุบันหิ่งห้อยก็ได้ลดปริมาณหายไปเป็นจำนวนมาก มนุษย์อย่างเราจึงต้องหันมาใส่ใจและอนุรักษ์ธรรมชาติกันมากยิ่งขึ้น เพื่อให้แมลงตัวน้อยเหล่านี้ได้เรืองแสงอยู่ในธรรมชาติต่อไป
แพลงก์ตอน
Cr. kuoni
แพลงก์ตอน (Plankton) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แต่ถ้าแปลเป็นไทยแล้วนั้นแปลว่า ล่องลอย หรือ พเนจร ชื่อเหล่านี้ก็ได้มาจากลักษณะการดำรงชีวิตของแพลงก์ตอน เพราะมันอาศัยในลักษณะที่ล่องลอยอยู่ในมวลน้ำ มากไปกว่านั้นคือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดหลากหลายตั้งแต่ขนาดเล็กมากๆ จนต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องเพื่อการมองเห็น ไปจนถึงพวกที่มีขนาดใหญ่ แพลงก์ตอนจะมีลักษณะใสและมีสีสันที่หลากหลาย รวมไปถึงยังมีชนิดที่แตกต่างกันอยู่เป็นจำนวนมาก แต่แพลงก์ตอนเรืองแสงที่เราเคยเห็นกันตามทะเลเรืองแสงนั้น คือ แพลงก์ตอนพืช มีความสามารถทำปฏิกิริยาพิเศษที่ส่งผลให้ผนังเซลล์ของมันเกิดการเรืองแสง แสงที่เห็นก็มักจะเป็นสีเขียว หรือสีน้ำเงิน และพวกมันมักจะอยู่รวมตัวกันเป็นปริมาณมาก ๆ ในน้ำทะเล จึงทำให้เราได้เห็นทะเลมีการเรืองแสงเป็นสีน้ำเงิน หรือสีเขียวได้อย่างชัดเจน
Cr. seattleaquarium
ความพิเศษของแพลงก์ตอนนั้นไม่ได้มีเพียงแค่เรืองแสงได้เท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งในการมีส่วนช่วยผลิตออกซิเจนให้กับแหล่งน้ำ มนุษย์นำแพลงก์ตอนมาใช้ประโยชน์หลากหลายทางทั้งใช้เป็นอาหารเสริม รวมถึงนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อนที่ต้องการเพาะพันธุ์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของแพงก์ตอนเพราะอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น พวกมันมีชนิดที่หลากหลายและก็มีประโยชน์แตกต่างกันออกไปนะคะ
หนอนเรืองแสง
Cr. wildlifetrusts
หนอนเรืองแสง หรือ Glowworm เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก โดยจริงๆแล้วมันคือตัวอ่อนของแมลงที่มีลักษณะคล้ายยุง ในช่วงเวลาที่แมลงชนิดนี้อยู่ในช่วงตัวอ่อนนั้นมันจะมีความพิเศษคือสามารถส่องแสงประกาย หรือทำการเรืองแสงได้ ซึ่งการเรืองแสงนี้จะมีระยะเวลา 6 ถึง 12 เดือน หรืออาจขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของร่างกายของหนอนแต่ละตัว และเมื่อถึงเวลาที่โตเต็มที่เจ้าหนอนเหล่านี้ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นแมลงต่อไป
Cr. amusingplanet
หนอนเรืองแสงเหล่านี้มีวงจรชีวิตที่ยาวนานถึง 9 เดือน ก่อนที่มันจะทำการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นดักแด้ ส่วนการเรืองแสงนั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้กับแค่ตัวอ่อน และเพศเมียที่มีอายุโตเต็มวัยเท่านั้น พวกมันจะมีอวัยวะพิเศษที่ทำให้เกิดแสง ซึ่งมีลักษณะเป็นคู่ตรงด้านข้างของลำตัว ความแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตเรืองแสงชนิดอื่นๆ คือพวกมันสามารถควบคุมแสงบนตัวได้ โดยการที่มันจะทำการเรืองแสงนั้นก็เพื่อต้องการปกป้องตัวเอง หรืออาจเรียกได้ว่าใช้ขู่ศัตรูผู้ล่าเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันก็คือสัตว์มีพิษเช่นเดียวกัน และมากไปกว่านั้นมันยังใช้การเรืองแสงในการล่อแมลงตัวอื่นๆ เพื่อเข้ามาติดกับและกลายเป็นอาหารของมันอีกด้วย
Quantula striata หรือ Dyakia striata
Cr. biolib
Quantula striata หรือ Dyakia striata เป็นหอยทากบกสปีชีส์เดียวที่สามารถเรืองแสงได้ ซึ่งหอยทากชนิดนี้จะไม่มีอาศัยอยู่ในเมืองไทยแต่มักจะพบได้ที่ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เป็นต้น โดยการเรืองแสงนั้นเกิดมาจากไข่และลูกที่เพิ่งเกิดใหม่ของมัน และจะเกิดการเรืองแสงนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าพวกมันจะโต แต่เมื่อพวกมันโตขึ้นการเรืองแสงจะถูกเปลี่ยนเป็นแสงวาบซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับแฟลช แต่มันจะปล่อยแสงนี้เมื่อมีสิ่งรบกวนพวกมันเท่านั้น
Cr. bioluminescentorganisms.weebly
Quantula striata มีอวัยวะพิเศษที่ใช้ปล่อยแสงออกมาซึ่งจะอยู่บริเวณด้านล่างของลำตัว โดยจุดประสงค์ของการเรืองแสงนั้นยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่แน่ชัดว่าพวกมันเรืองแสงเพื่ออะไร แต่พวกมันจะเกิดการเรืองแสงขณะที่มันเคลื่อนไหวและจะไม่เกิดแสงขณะที่มันอยู่นิ่งโดยเปลือกของมันจะมีสีน้ำตาลในเวลาปกติที่ไม่ได้ทำการเรืองแสง
การออกแบบจาก Inspiration เรืองแสง
แน่นอนว่าความไม่หยุดนิ่งทางความคิดของเหล่านักออกแบบนั้นก็ได้ดึงเอาความพิเศษเหล่านี้มาผสมผสานกับงานออกแบบของเขาจนออกมาเป็นผลงานที่น่าทึงในแขนงต่างๆ
Cr. philips
Cr. philips
Cr. etsy