Grandfather Clock
นาฬิกาคุณปู่
ติ่ง…ต่อง… เสียงกังวานทรงพลังจากลูกตุ้มที่กำลังกวัดแกว่งไปมา ดังออกมาจากนาฬิกาไม้คลาสสิคเรือนใหญ่ทรงสูงที่ตั้งตระหง่านดูทรงพลัง ดึงดูดความสนใจและสายตาของผู้คนให้เพ่งมองไปที่หน้าปัดนาฬิกาได้เสมอ “นาฬิกาคุณปู่” หรือ Grandfather’s Clock คือนาฬิกาชนิดนี้ที่เรากำลังพูดถึง
Credit : storyclocks
สำหรับกำเนิดความเป็นมาของนาฬิกาคุณปู่ก็มีอยู่ว่า ในปี ค.ศ. 1656 มีชาวดัตช์ชื่อ คริสเตียน ฮูเจ้นส์ (Christian Huygens) เป็นคนแรกที่คิดค้นใช้ลูกตุ้มเป็นอุปกรณ์ขับเคลื่อนในนาฬิกา ซึ่งเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ “กาลิเลโอ” (Galileo Galilei) ที่ค้นพบความสมดุลในแรงแกว่งของลูกตุ้ม ณ เวลาตอนนั้นคำที่ถูกต้องสำหรับเรียกขานนาฬิกาชนิดนี้ ก็คือ “นาฬิกาเรือนยาว” หรือ Long Case Clock โดยนาฬิกาเรือนยาวเรือนแรกถูกผลิตขึ้นในสหราชอาณาจักร
คอลเลกชั่นนาฬิกาเรือนยาว ของ Michael Grange ที่ British Museum
Credit : ahsoc
การนำพลังงานจากการแกว่งไปมาของลูกตุ้ม (Pendulum) มาใช้กับนาฬิกาเรื่อนยาว ใช้หลักความสม่ำเสมอในการแกว่งของลูกตุ้มซึ่งมีผลต่อความเที่ยงตรงของนาฬิกา ส่วนใหญ่มักจะแกว่งหนึ่งครั้งต่อหนึ่งวินาที มีการตีบอกเวลาแต่ละชั่วโมง สำหรับนาฬิกาบางเรือนจะตีบอกเวลาทุกสิบห้านาที
Credit : bowerswatchandclockrepair
ในช่วง 15 ปีแรกผู้ผลิตนาฬิกา ประสบปัญหาในการพัฒนาอุปกรณ์ลูกตุ้มที่ไม่สามารถรักษาเวลาได้อย่างแม่นยำ จนในปี ค.ศ. 1670 บันไดเลื่อนสมอซึ่งเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของนาฬิกาได้ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่งเมื่อนำมาใช้ร่วมกับลูกตุ้ม จะทำให้เกิดความแม่นยำเป็นอย่างมาก การพัฒนาครั้งนี้ทำให้ประวัติศาสตร์ต้องจดจำสหราชอาณาจักรในฐานะผู้ผลิตนาฬิกาอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งของที่มีอำนาจเหนือโลกแห่งกาลเวลาโดยชื่อของนักทำนาฬิกาทั้งหลาย อย่างเช่น โจเซฟ นิบบ์ (Joseph Knibb), โธมัส ทอมป์เปียน (Thomas Tompian), จอร์จ เกรแฮม (George Graham) และแดเนียล ควอร์ (Daniel Quare ) ล้วนเป็นที่กล่าวขานเมื่อพูดถึงประวัติศาสตร์ของนาฬิกาเรือนยาวชนิดนี้
Credit : homestratosphere
ยุคแรกๆของนาฬิกาคุณปู่ผลิตจากไม้มะเกลือหรือไม้แพร์วู้ด ต่อมาจึงนำไม้มะฮอกกานีแอฟริกันมาใช้ แต่ส่วนมากมักนำไม้โอ๊คคุณภาพสูงมาใช้ผลิตตัวเรือน และมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิค บนสุดของนาฬิกาจะมีมงกุฎหน้า ส่วนการออกแบบหน้าปัดนาฬิการุ่นแรกจะดีไซน์รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสและทำจากทองเหลืองเป็นส่วนใหญ่
Credit : PA Oxley
Credit : ticktocktony
ในปี ค.ศ. 1772 ออสบอนน์ แอนด์ วิลสัน (Osborn & Wilson) จากเมืองเบอร์มิงแฮม สหราชอาณาจักร ได้ออกแบบหน้าปัดนาฬิกาเป็นสีขาว โดยหน้าปัดรุ่นแรกเหล่านี้มีการตกแต่งที่ดูเรียบง่าย เช่น ประดับลายลวดนกหรือผลสตรอเบอร์รี่ ต่อมาในปี ค.ศ. 1830 มีการเพิ่มสีสันเล็กๆเพื่อใช้ตกแต่งและหน้าปัดนาฬิกาเริ่มมีส่วนโค้งมนขึ้นมา
เมื่อพูดถึงประวัติศาสตร์นาฬิกา เราคงต้องนึกถึง จอนน์ แฮริสัน (John Harrison) ผู้ซึ่งเกี่ยวกับการเดินเรือของอังกฤษ โดยแฮร์ริสันผลิตนาฬิกาเดินทะเลเครื่องแรก ซึ่งมีการคำนวณที่แม่นยำของลองจิจูด ซึ่งช่วยให้สหราชอาณาจักรกลายเป็นประเทศการค้าทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 19 จากนั้นมาสำหรับนาฬิกาคุณปู่ของอังกฤษก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนกระทั่งมีราคาถูกลง จนช่วงปลายทศวรรษ 1870 ในช่วงเวลานี้การผลิตนาฬิกาเรือนยาวของอังกฤษแทบจะหยุดลง อย่างไรก็ตามตลอดศตวรรษที่ 18 และ 19 นาฬิกาเรือนยาวถูกใช้ในบ้าน โรงงาน สำนักงาน และสถานีรถไฟ ได้ทำหน้าที่เป็นมาตรฐานเวลาหลักสำหรับการจัดตารางชีวิตประจำวัน กะการทำงาน และการขนส่งสาธารณะ ได้ถูกต้องและแม่นยำเป็นอย่างมาก นาฬิกาชนิดนี้จึงถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง
นาฬิกาคุณปู่แบบสถาปัตยกรรมอาร์ตเดโค ในอาคารผู้โดยสารสถานีรถไฟบัฟฟาโล นครนิวยร์อค
Credit : buffalocentralterminal
เพลง My grandfather’s clock โดย Henry C. Work
อย่างที่กล่าวมาว่านาฬิกาคุณปู่เคยถูกเรียกว่า “นาฬิกาเรือนยาว” หรือ “Longcase Clock” แต่เนื่องจากมีบทเพลงๆหนึ่งที่ประสบความสำเร็จเอามากๆแต่งโดย เฮนรี่ เครย์ เวิร์ค (Henry Clay Work) เมื่อปี ค.ศ. 1876 กับเพลงที่ชื่อว่า “Grandfather’s Clock” หรือ “นาฬิกาคุณปู่” ด้วยความดังของเพลงนี้จึงถูกใช้เรียกแทนชื่อนาฬิกาชนิดนี้ไปในทันที
Credit : wikipedia
เพลงนี้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชายคนหนึ่งและนาฬิกาที่เชื่อถือได้ของเขาซึ่งเริ่มสูญเสียเวลาไป หลังจากเจ้านาฬิกาเสียชีวิต ซึ่งปรากฎว่าเป็นเรื่องจริง! เรื่องมีอยู่ว่า โรงแรมจอร์จในเพียร์ซบริดจ์ เมืองนอร์ธยอร์กเชียร์ ประเทศอังกฤษ บริหารงานโดยพี่น้องสองคน ที่นั่นมีนาฬิกาตั้งพื้นเรือนยาวเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ล็อบบี้ของโรงแรมและเป็นนาฬิกาที่เที่ยงตรงที่สุดในเมือง
โรงแรมจอร์จในเพียร์ซบริดจ์ เมืองนอร์ธยอร์กเชียร์ ประเทศอังกฤษ ที่มาของเพลง Grandfather’s Clock
Credit : wikipedia
เมื่อพี่น้องคนหนึ่งเสียชีวิตไป นาฬิกาเริ่มเดินช้าลง 15 นาทีต่อวัน และไม่นานก็ค่อยๆช้าลงเป็นชั่วโมงต่อวัน โดยช่างนาฬิกาไม่สามารถซ่อมแซมได้ เมื่อ เฮนรี่ เครย์ เวิร์ค นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เข้าพักที่โรงแรมนั้น เขาได้ทราบเรื่องของนาฬิกาจึงได้เขียนเพลงเกี่ยวกับนาฬิกาเรือนนั้นชื่อว่า Grandfather’s Clock s เมื่อเขากลับมาที่อเมริกา เขาขายแผ่นเสียงได้มากกว่าหนึ่งล้านแผ่น เพลงนี้โด่งดังเป็นพลุแตก ผู้คนจึงเรียก “นาฬิกาเรือนยาว” ซะใหม่ว่า “นาฬิกาคุณปู่”
ศิลปิน Everly brothers เพลง My grandfathers clock