Life Clock ช่วงเวลาแห่งชีวิต

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระบวนการของร่างกายที่ซับซ้อน ทั้งนี้ร่างกายของเรานั้นออกแบบมาเพื่อการอยู่รอดในแต่ละวัน “นาฬิกาชีวิต” จึงต้องเข้ามาช่วยจัดระเบียบการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้สมดุลมากที่สุด จึงทำให้เกิดผลงานการวิจัยในเรื่องของ Circadian Clock หรือ Circadian Rhythm ขึ้นมา เพื่อสร้างความเข้าใจว่าในแต่ละวันร่างกายของเราจะเป็นอย่างไรตามกลไกของธรรมชาติ มาดูกันดีกว่าค่ะว่าเป็น Circadian Clock หรือ Circadian Rhythm เป็นอย่างไร

Circadian Clock / Circadian Rhythm

นาฬิกาชีวิต Life Clock

Credit : theconversation

Circadian Clock หรือ Circadian Rhythm คือ ลักษณะของวงจรจังหวะเซอร์คาเดียน เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมที่เป็นไปตามวัฏจักรใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นวงจรที่ทำงานอยู่ในระบบนาฬิกาชีวภาพของร่างกายมนุษย์เรา มีผลทำให้ร่างกายรับรู้ว่ากระบวนการอะไรควรจะเกิดขึ้นในเวลาไหน ก่อนหรือหลังตามลำดับ ซึ่งกระบวนการทางธรรมชาติเหล่านี้ตอบสนองต่อแสงสว่าง และความมืดเป็นหลัก สมองของเราจึงรับสัญญาณจากสภาพแวดล้อม การกระตุ้น สิ่งเร้า หรือแม้แต่ฮอร์โมนบางชนิด ทำให้ร่างกายมีการปรับอุณหภูมิและเกิดการควบคุมการเผาผลาญ เพื่อให้ร่างกายเรารับรู้เกี่ยวกับเวลาตื่น รวมไปถึงเวลานอนอีกด้วย
นาฬิกาชีวิต Life Clock

Credit : thesleepdoctor

นอกจากจะทำให้รู้เวลาตื่น-นอนแล้ว ยังมีงานวิจัยยืนยันว่า Circadian Clock หรือ Circadian Rhythm มีผลกับผลลัพธ์ของการกระทำบางสิ่งของมนุษย์ที่ทำในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะแตกต่างกันด้วย เช่น การคลอดลูกตามธรรมชาติมักจะเกิดขึ้นในเวลาเช้า หรือการเจ็บปวดของร่างกายจากการใช้แรง จะเริ่มเกิดขึ้นในช่วงเย็น เป็นต้น

การทำงานของ Circadian Clock / Circadian Rhythm

นาฬิกาชีวิต Life Clock

Credit : news-medical

โดยธรรมชาติมนุษย์ต่างรับรู้กันอยู่แล้วว่า ช่วงเช้าเป็นเวลาที่ควรตื่น เพื่อให้มีกิจกรรมระหว่างวันเกิดขึ้น และจบลงด้วยการนอนในช่วงเวลากลางคืน ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพียงวัฒนธรรมที่ต้องทำตามๆกันมา แต่มันคือสิ่งที่ธรรมชาติกำหนดขึ้นมาแล้วว่าร่างกายของเราต้องทำตาม
การเปิดรับแสงเป็นปัจจัยภายนอกและเป็นสิ่งเร้าที่สำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อ จังหวะเซอร์คาเดียน ก่อนเกิดการประดิษฐ์แสง หรือการประดิษฐ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จังหวะเซอร์คาเดียนของชีวิตเราได้รับอิทธิพลมาจากดวงอาทิตย์โดยตรง วัฏจักร 24 ชั่วโมงนี้ปลุกเราเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้า และช่วยให้เรานอนหลับตามที่พระอาทิตย์ตกดินทุกเย็น เป็นการบังคับให้ร่างกายเกิดความรู้สึกง่วงเพื่อเข้าสุ่การพักผ่อน
นาฬิกาชีวิต Life Clock

Credit : nigms.nih.gov

ทั้งนี้สมองที่เรียกว่า Suprachiasmatic Nucleus (SCN) เป็นสมองส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นจากจังหวะเซอร์คาเดียน มีหน้าที่ควบคุมวงจรการนอนหลับและตื่น โดยเกิดจากการที่สมองคอยผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งผลิตได้มากขึ้นในช่วงเช้า กลางวัน และน้อยลงในตอนกลางคืน เมื่อทุกอย่างทำงานตามที่ควรจะเป็น เราก็จะรู้สึกถึงระดับความตื่นตัวที่เปลี่ยนแปลงไปในตอนเช้าและกลางวัน และรู้สึกง่วงนอนมากขึ้นเมื่อเราเข้าใกล้เวลานอน

การดำรงชีวิตให้ตรงกับนาฬิกา

นาฬิกาชีวิต Life Clock

Credit : nigms.nih.gov

Circadian Rhythm สามารถส่งผลต่อการทำงานที่สำคัญในร่างกายของเรา เช่น ฮอร์โมนที่หลั่งในแต่ละช่วงเวลา นิสัยการกินและการย่อยอาหาร อุณหภูมิของร่างกาย เป็นต้น หากเราใช้ชีวิตที่ไม่สมดุลไปกับนาฬิกาชีวิตก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของเรา เพราะในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมภายนอกมีส่วนทำให้วงจรจังหวะเซอร์คาเดียนไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
ยกตัวอย่างเช่นการเดินทางข้ามทวีป ทำให้เกิดการ Jet lag การทำงานกะกลางคืน รวมไปถึงแสงสว่างจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเวลากลางคืน อาจทำให้นาฬิกาชีวภาพของเราสับสน โดยสิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวงจรจังหวะเซอร์คาเดียน และทำให้เกิดความผิดปกติของการนอนหลับ และอาจนำไปสู่ภาวะสุขภาพเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว และโรคทางอารมณ์ตามฤดูกาล

การดูแลสุขภาพให้เหมาะสมกับนาฬิกาชีวิต

นาฬิกาชีวิต Life Clock

Credit : flickr

การดูแลสุขภาพให้เหมาะสมกับนาฬิกาชีวิตเบื้องต้นเริ่มจากการปรับพฤติกรรมการนอนหลับของเรา ให้เป็นการพักผ่อนที่เพียงพอและไม่ใช่เพียงเท่านั้นแต่ขณะที่เรานอนหลับ ควรเป็นการนอนหลับที่ได้ประสิทธิภาพ  ไม่ควรให้ร่างกายได้รับแสง ควรปิดไฟขณะนอนหลับ และปิดแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ  หลีกเลี่ยงการนอนพักระหว่างวัน เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้วงจรการนอนหลับในช่วงกลางคืนไม่เป็นไปตามปกติ
นอกจากนี้ก็คือการใช้ชีวิตประจำวันให้ให้ตรงตามการหมุนของนาฬิกาชีวิต ก็จะช่วยให้มีสุขภาพที่แข็งแรงได้ เพราะยิ่งเราทำจนเป็นกิจวัตรร่างกายของเราจะเริ่มเรียนรู้และสามารถปรับสมดุลได้อย่างอัตโนมัตินั่นเอง
  เรียกได้ว่าเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ที่ธรรมชาติได้คิดค้นกลไลเหล่านี้ขึ้นมา เพื่อทำให้ร่างกายของเราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในแต่ละวัน โดยเราทุกคนก็มีหน้าที่ใช้ชีวิตให้ตรงไปตามการหมุนของนาฬิกาชีวิตที่ธรรมชาติกำหนดไว้ แต่การที่เราจะมี Life Clock ช่วงเวลาแห่งชีวิตที่สมดุลได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวของเรานี่เอง
สามารถติดตามผลงานต่าง ๆ ของทาง Bareo ได้ที่ช่องทางเว็บไซต์ของ Bareo หรือทาง Facebook : Design by Bareo ที่จะคอยอัพเดทข่าวสาร งานดีไซน์ และผลงานการออกแบบตกแต่งภายในมากมาย ให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้ และความสนุกตลอดทั้งปี
หรือหากสนใจจะออกแบบตกแต่งภายในกับทาง Bareo ทางเราก็มีบริการออกแบบภายในครบวงจร โดยสามารถอ่านรายละเอียดการให้บริการของเราได้ที่นี่ คลิ๊ก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
biomedical-sciences.uq.edu
thesleepdoctor
nigms.nih.gov
pobpad

CONTENT RELATED

NEW CONTENT

PORTFOLIO