Master Instrument
กว่าจะมาเป็นเครื่องดนตรี
ดนตรีนับเป็นงานศิลปะรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้ความบันเทิง พร้อมปลอบประโลมจิตใจ สร้างความสุข ให้รู้สึกผ่อนคลาย แต่ใครจะรู้เลยว่าภาพลักษณ์และความงดงามจากเสียงดนตรีนั้น กว่าจะได้เครื่องดนตรีมาแต่ละชิ้นนั้นยากเย็นเพียงใด บทความนี้จะพาดูวิธีการทำเครื่องดนตรีสากลยอดฮิต ที่กว่าจะได้มาแต่ละชิ้น ไม่ง่ายเลยจริงๆค่ะ
กีต้าร์โปร่ง (Guitar)
มาเริ่มกันที่เครื่องดนตรียอดนิยมอย่าง “กีต้าร์โปร่ง” ถึงหน้าตากีต้าร์โปร่ง จะดูเรียบๆ เหมือนจะทำง่ายๆ แต่บอกเลยว่าต้องใส่ใจรายละเอียดและขั้นตอนการผลิตที่กว่าจะได้มาแต่ละชิ้นยากเย็นเหลือเกิน ตั้งแต่การเลือกวัสดุ การประกอบ การติดตั้งสาย
Cr. maderajusta
เริ่มจากขั้นตอนแรกที่ต้องคัดสรรไม้ซึ่งจะนำมาทำเป็นตัวกีต้าร์ก่อน การเลือกใช้ไม้นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม้แต่ละชนิดมีคุณสมบัติการให้เสียงที่แตกต่างกัน และยังส่งผลต่อน้ำหนักของกีต้าร์อีกด้วย โดยไม้ส่วนใหญ่ที่มักนำมาทำกีต้าร์ ก็คือ ไม้เอลเดอร์ (Elder wood) ไม้แอช (Ash wood) ไม้เบสวู้ด (Bass wood) ไม้มะฮอกกานี (Mahogany wood) หรือไม้เมเปิ้ล (Maple wood) เป็นต้น
Cr. jayrosenblattguitars
ซึ่งในปัจจุบันกีต้าร์ 1 ตัว อาจใช้ไม้หลายชนิดเป็นส่วนประกอบ เพื่อให้ได้องค์ประกอบของเสียงที่สมบุรณ์ที่สุด เมื่อเลือกไม้สำหรับทำกีต้าร์เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนของการสร้างส่วนประกอบต่างๆ โดยสร้างส่วนของแพทเทิร์นลำตัวหลัก (Body) จะถูกทำขึ้นมาก่อน จากนั้นจะทำการตัดไม้สำหรับลำตัวหลักด้านหน้าและด้านหลัง
ลำดับต่อไปจะเป็นส่วนของการทำคอของกีต้าร์ (Neck) และส่วนหัว (Headstock) ซึ่งส่วนนี้เกิดจากการนำไม้หลายๆ ชิ้นมาซ้อนกัน หลังจากนั้นจะใช้ตัวเจาะสำหรับทำรูบริเวณส่วนหัวกีต้าร์ ทั้งหมด 6 รู เพื่อให้เป็นจุดใส่ลูกบิดสำหรับตั้งสายกีต้า พร้อมทั้งใช้ใบเลื่อยบากไม้บริเวณคอกีต้าร์ เพื่อสร้างช่องเฟร็ตกีต้า เมื่อเสร็จเรียบร้อยก็จะนำมาขัดให้เรียบ
เมื่อโครงสร้างของแต่ละส่วนเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนของการดัดไม้ในส่วนข้างของลำตัวหลักกีต้าร์ให้เป็นรูปทรงที่โค้งงอตามแบบของกีต้าร์ที่เราพบเห็น จากนั้นนำชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกัน โดยส่วนของลำตัวหลักและคอของกีต้าจะถูกนำมาประกบเข้าด้วยกันโดยการใช้กาวสำหรับใช้ในการทำกีต้าร์โดยเฉพาะ
ในขณะที่ส่วนเฟร็ตกีต้าร์จะใช้โลหะผสมนิกเกิลและเงินตอกเข้าในส่วนที่ทำร่องเตรียมไว้ จากนั้นจะขัดเงาเพื่อความสวยงาม โดยกีต้าร์แต่ละตัวจะถูกขัดเงาด้วยแล็กเกอร์กว่า 10 ชั้น จากนั้นจะทำการติดชุดลูกบิดบริเวณช่องเจาะตรงส่วนหัวกีต้าร์ เพียงเท่านี้สายกีต้าร์ก็พร้อมนำไปเล่นดนตรีเพื่อความเพลิดเพลินได้แล้ว
ส่วนใครที่อยากทำความเข้าใจขั้นตอนการทำกีต้าร์ให้มากขึ้น ลองดูคลิปนี้ค่ะ
ฮาร์ป (Harp)
ฮาร์ป (Harp) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ซึ่งจะมีความแตกต่างจากเครื่องสายประเภทอื่นๆ เพราะฮาร์ปเป็นเครื่องดนตรีที่มีการขึงสายโดยไม่ผ่านกล่องเสียง (Sounding Board) โดยลักษณะของโครงสร้างของฮาร์ปที่ใช้ขึงสายจะมีลักษณะเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมที่มีความโค้งงอ
Cr. bestofthealps
ในส่วนของขั้นตอนการทำ “ฮาร์ป” จะเน้นความปราณีตในการผลิตเป็นอย่างมากเช่นกัน เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกไม้ที่ต้องเลือกไม้ที่มีความแข็งแรง ทนทาน ต้นไม้ที่ถูกเลือกทำเป็นฮาร์ปจะถูกนำมาตัดเป็นแผ่นๆ แล้วนำไปอบแห้ง เพื่อกำจัดความชื้นออกจากเนื้อไม้ จากนั้นจะทำการตัดออก จนได้รูปทรงของส่วนบนตามต้องการ ก่อนจะทำการเจาะรูสำหรับหมุดปรับแต่งและหมุดสะพานเพื่อร้อยสายของฮาร์ป
Cr. salviharps
บอร์ดเสียงของฮาร์ป เป็นชิ้นส่วนที่มีขนาดใหญ่และหน้าที่สุด บอร์ดเสียงคือส่วนที่ยึดติดกับสายของฮาร์ปซึ่งทำมาจาก Stika spruce (ไม้สนขนาดใหญ่ที่มีความสูงถึงระดับ 100เมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึงระดับ 5เมตร) ซึ่งสามารถออกแบบรูปทรงและความหนาได้ตามที่ต้องการ หลังจากนั้นนำโครงแต่ละส่วนมาประกอบเข้ากัน
Cr. salviharps
เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะทำการตกแต่งให้สวยงาม โดยมันจะทำการแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ พร้อมติดตั้งสาย โดยสายฮาร์ปส่วนใหญ่ทำด้วยไนลอนหรือลวดทองเหลือง
ส่วนใครที่อยากทำความเข้าใจขั้นตอนการทำกีต้าร์ให้มากขึ้น ลองดูคลิปนี้ค่ะ
ไวโอลิน (Violin)
ไวโอลิน เป็นอีกหนึ่งเครื่องดนตรีสากลที่ได้รับความนิยมไปทั่วทั้งโลก เพราะให้ความรู้สึกที่อ่อนหวานและอบอุ่น แถมยังเป็นเครื่องดนตรีขนาดกำลังพอดี พกพาง่าย
ถึงแม้ไวโอลินจะเป็นเครื่องดนตรีที่ทีขนาดกลาง แต่กว่าผลิตออกมาได้แต่ละชิ้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เลยจริงๆ เพราะช่างต้องใส่ใจ มีสมาธิ และระมัดระวังกับทุกรายละเอียด ทุกขั้นตอน เพราะถ้าพลาดเพียงนิดเดียว อาจทำให้เสียงของไวโอลินเพี้ยนได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่คล้ายกับเครื่องดนตรีอื่นๆ คือการเลือกไม้ที่นำมาผลิต ซึ่งไม้ที่นำมาทำไวโอลินนั้นเข้าข่ายว่าเป็นไม้ยิ่งแก่ยิ่งดี ไม้ที่นำมาทำนั้นต้องอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป แต่ที่ดีที่สุดต้องมีอายุถึง 20 ปีเลยทีเดียว ถึงจะสร้างไวโอลีนที่มีคุณภาพสูงออกมาได้
Cr. pinterest
การผลิตไวโอลิน 1 ตัวนั้น ใช้ไม้หลายชนิด หลายแผ่น หลายชั้น ซึ่งแต่ละส่วนก็จะใช้ไม้ที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม ลำตัวหลัก (Body) ของไวโอลินจะทำการตัดไม้สปรูซ (Spruce wood) เป็นรูปทรงของไวโอลีน ด้วยคุณสมบัติของไม้สปรูซที่เป็นไม้เนื้ออ่อน มีน้ำหนักที่เบา แข็งแรง สามารถทนต่อการสั่นสะเทือนได้ดี
Cr. freecycleusa
ในขณะที่คอของไวโอลินผลิตจากไม้เมเปิ้ล (Maple wood) เป็นไม้ที่มีเนื้อแข็ง คงรูปได้ดี ไม่แตกหักง่าย โดยไม้แต่ละชิ้นที่จะนำมาทำไวโอลินต้องผ่านก็บไว้ในที่เก็บจำเพาะมีอุณหภูมิ และความชื้นที่เหมาะสม เพื่อไล่ความชื้นออกไปจากเนื้อไม้นั่นเอง
เมื่อทำโครงสร้างของไวโอลินเรียบร้อยแล้ว ก็มาต่อกันที่การประกอบสายของไวโอลิน ซึ่งมีทั้งหมด 4 สาย โดยแต่ละสายจะต้องมีความยาวเท่ากัน แต่ระดับเสียงแตกต่างกันไปตามขนาดไวโอลิน ซึ่งขนาดมาตรฐานของไวโอลีนอยู่ที่ 23.5 นิ้ว
ส่วนใครที่อยากทำความเข้าใจขั้นตอนการทำกีต้าร์ให้มากขึ้น ลองดูคลิปนี้ค่ะ
เปียโน (Grand piano)
Cr. wallpaperaccess
รู้กันไหมว่าเปียโนหนึ่งหลังที่เราเห็นกันนั้น ประกอบด้วยชิ้นส่วนกว่า 120,000 ชิ้น เพื่อมาเป็นเปียโนคุณภาพแต่ละหลังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงๆ มารู้จักขั้นตอนหลักๆ ของการทำเปียโนกันดีกว่าค่ะ
เปียโนเป็นอีกหนึ่งเครื่องดนตรีที่ส่วนประกอบหลักในการผลิตได้มาจากไม้เมเปิ้ล ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นชื่อว่ามีความแข็งแรงและให้ลวดลายที่สวยงาม
Cr. classicfm
เริ่มแรกช่างทำเปียนโนจะเริ่มผลิตจากขอบของเปียโนซึ่งมีรูปทรงที่โค้งงอเป็นอันดับแรก ซึ่งจะประกอบไปด้วยไม้เมเปิ้ลแผ่นบางๆซ้อนทับกันจนหนากว่า 18 ชั้น และมีความยาวกว่า 7 เมตร เมตร เมื่อเตรียมแผ่นไม้เรียบร้อยแล้วจะเริ่มขั้นตอนของการดัดโค้ง ซึ่งหากเกิดข้อผิดพลาดในส่วนนี้ ก็กลับไปเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้นในทันทีเลยค่ะ
ฝาครอบของเปียนโนจะผลิตมาจากไม้เมเปิ้ลเช่นเดียวกันกับขอบโดยรอบ ซึ่งจะทำการตัดไม้เป็นตามแบบที่ต้องการ เรียงซ้อนทับกันจนได้ความหนาที่เหมาะสม ก่อนจะทำการนำไปอบไล่ความชื้น
กระดานเสียง (Soundboard) ของเปียโนจะผลิตขึ้นจากเหล็กกล้า ถูกซ่อนไว้ด้านในของเปียโน ขึงด้วยสายโลหะที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมาก สายโลหะนี้จะต่อติดอยู่กับค้อนที่มีหน้าทีเคาะให้เกิดเสียงขึ้นเมื่อเราทำการกดลิ่มนิ้วนั่นเอง ด้วยเหตุนี้เองจำอาจทำให้เปียโนหนึ่งหลังมีน้ำหนักตั้งแต่ 80 – 300 กิโลกรัมเลยทีเดียว
Cr. classicfm