Rabbit on the Moon
กระต่ายน้อยบนดวงจันทร์
กาลครั้งหนึ่งเมื่อมีกระต่ายตัวน้อยอยู่บนพระจันทร์…..
หากย้อนกลับไปในวัยเด็ก ก่อนเข้าสู่ห้วงนิทรา เรามักจะได้ฟังนิทานก่อนเข้านอน หนึ่งในนิทานยอดฮิตของหนีไม่พ้นเรื่องราวของกระต่ายน้อยกับพระจันทร์ (The strory of Rabbit on the Moon)
เมื่อใดก็ตามที่ได้มองพระจันทร์ เราจะเห็นเงาสีดำที่ปรากฏอยู่บนพระจันทร์ ทำให้เกิดจิตนาการว่าเงานั้นคือ “กระต่ายที่อยู่บนพระจันทร์” แน่นอนว่าความเชื่อเหล่านี้ไม่ว่าจะกี่ยุค หรือกี่สมัยเรื่องเล่าตำนานกระต่ายบนพระจันทร์ก็ยังคงเป็นความเชื่อของใครหลายๆ คน จึงไม่แปลกที่หลายๆ ประเทศต่างมีเรื่องราว และตำนานเล่าขานเกี่ยวกับกระต่ายบนพระจันทร์อย่างมากมาย
Credit : writing-office .com
สำหรับตำนานเรื่องเล่ากระต่ายบนพระจันทร์ของชาวญี่ปุ่นนั้น มีความเชื่อว่าภาพเงาสีดำที่ปรากฎบนพระจันทร์ แท้จริงแล้วเป็นภาพกระต่ายตำโมจิ จากตำนานกล่าวว่า….
ครั้งหนึ่ง มีชายคนหนึ่งอาศัยอยู่บนพระจันทร์มักชอบมองลงมาบนพื้นโลกอยู่เสมอ อยู่มาวันหนึ่งได้เห็นสัตว์ 3 สหายได้แก่ ลิง หมาป่า และกระต่ายกำลังเดินเล่นอยู่ในป่า จึงเกิดความคิดอยากทดสอบความเมตตาของสัตว์ 3 สหาย โดยได้แปลงกายเป็นชายเฒ่าขอทานหิวโซเพื่อขออาหาร กับสัตว์ 3 สหาย ลิงนำแอปเปิ้ลมาให้ หมาป่าได้นำปลามาให้ ส่วนกระต่ายนั้นปกติแล้วกินหญ้าเป็นอาหารจึงไม่มีอาหารมอบให้ กระต่ายจึงได้เสนอตัวเองเป็นอาหาร และได้ขอให้ลิงและหมาป่ากองไฟให้ จากนั้นจึงกระโดดลงไปในกองไฟเพื่อเป็นอาหารให้แก่ชายขอทาน ทันใดนั้นชายเฒ่าขอทานก็ได้แปลงกายเป็นชายจากพระจันทร์ดังเดิม ชายจากพระจันทร์เห็นว่ากระต่ายมีความเสียสละชีวิตตัวเองเพื่อเป็นอาหารให้เขากิน เมื่อได้เห็นดังนั้นจึงได้เชื้อเชิญกระต่ายขึ้นไปอยู่บนพระจันทร์กับเขา ยามใดที่พระจันทร์ส่องแสงนวลผ่อง ผู้คนที่แหงนมองขึ้นมามักจะเห็นกระต่ายตำโมจิอยู่บนพระจันทร์เสมอ และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นตำนานเรื่องเล่าของชาวญี่ปุ่นที่มีมายาวนาน
Credit : box.tanoshi-me .com
ตามทำเนียมแล้ว ชาวญี่ปุ่นมักเล่านิทานที่เกี่ยวข้อกับพระจันทร์ รวมไปถึงนิทานต่ายตำโมจิให้สมาชิกครอบครอบได้ฟังกันในช่วงเทศกาลโอทัสคิมิ (Otsukimi お月見) หรือที่เรียกว่า เทศกาลชมพระจันทร์ ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ หรือช่วงเดือนกันยายน-เดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่พระจันทร์สวยงาม และส่องแสงนวลตามากที่สุด โดยเทศกาลโอสึคิมิ ชาวญี่ปุ่นจะมีพิธีไหว้พรขอพรจากพระจันทร์เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรเก็บเกี่ยวได้ดีขึ้น ซึ่งทั้งนี้ยังมีการจัดเตรียมของไหว้เป็นขนม “ซึกิมิ ดังโงะ” (月見団子) ที่เปรียบเสมือนพระจันทร์ จัดวางเรียงเป็นรูปทรงพีระมิดสามเหลี่ยมบนโต๊ะไม้เตี้ย พร้อมตกแต่งด้วยรูปกระต่าย ดอกหญ้าซูซูกิ ดอกคิเคียว นอกจากนี้ยังมีผลไม้ในฤดูกาลต่างๆ และเหล้าสาเกร่วมอยู่ในพิธีด้วย
Credit : en.hubei .gov.cn
ในขณะเดียวกันชาวจีนเอง ก็มีตำนานเรื่องราวความเชื่อเกี่ยวตำนานกระต่ายอยู่บนดวงจันทร์เช่นกัน ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า ครั้งหนึ่งได้เกิดโรคระบาดอหิวาตกโรคระบาดอย่างหนักในเมืองปักกิ่ง ทำให้ผู้คนต่างล้มป่วยเป็นจำนวนมาก เทพธิดาฉางเอ๋อร์แห่งดวงจันทร์เมื่อมองลงมาบนพื้นโลกก็เกิดความหดหู่ใจเป็นอย่างมาก จึงได้ส่งกระต่ายหยกคู่กาย ผู้มีหน้าที่ตำยาบนดวงจันทร์ ให้ลงมารักษาชาว กระต่ายหยกจงได้แปลงกายเป็นคนเพื่อรักษาชาวบ้านให้หายจากอาการเจ็บป่วย ชาวบ้านต่างพากับซาบซึ้งน้ำใจจึงพากันนำข้าวของเงินทองมามอบให้ แต่กระต่ายหยกปฏิเสธที่จะรับของเหล่านั้น จึงได้ร้องขอเป็นเสื้อผ้าแทน
Credit : wolfberrystudio.blogspot .com
ทุกครั้งที่ออกไปรักษาชาวบ้านกระต่ายหยกมักเปลี่ยนชุดแต่งกายเสมอ บ้างก็แต่งกายเป็นหมอดู บ้างก็แต่งเป็นชายหนุ่ม บ้างก็แต่งเป็นหญิงสาว ทุกครั้งที่กระต่ายหยกออกเดินทางไปรักษาชาวบ้าน กระต่ายหยกจะขี่ม้าบ้าง กวางบ้าง เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านได้รวดเร็วและไวขึ้น หลังจากที่กระต่ายหยกรักษาโรคภัยให้กับชาวบ้านจนหายเป็นปกติแล้ว กระต่ายหยกก็กลับขึ้นไปบนดวงจันทร์ดังเดิม หลังจากนั้นเป็นต้นมาชาวบ้านก็ได้พากับกราบไหว้ และบูชากระต่ายในวันไหว้พระจันทร์ด้วย
Credit : artstation.com by Maria Ovcharenko
เรื่องเล่าตำนานกระต่ายบนพระจันทร์ไม่ได้มีเพียงแค่ญี่ปุ่น หรือจีนเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายๆประเทศที่มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นทางฝั่งของแอฟริกา อเมริกากลาง-ใต้ ทิเบต แม้กระทั่งของไทยที่มีเรื่องเล่านิทานชาดกของพระพุทธศาสนา โดยเรื่องมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งมีชายคนหนึ่งได้ผลัดหลงเข้ามาในป่า ระหว่างที่หาทางกลับบ้านอยู่นั้น ชายคนดังกล่าวได้เกิดความหิวโหยเพราะอดอาหารมาหลายวัน จึงทำให้หน้ามืดเป็นลมหมดสติไป ระหว่างก็ได้มีสัตว์ป่า 3 ตัวมาพบเข้า ซึ่งได้แก่ หมี หมาจิ้งจอก และกระต่าย ทั้ง 3 มีความเห็นตรงกันว่าจะช่วยชายผู้หลงทางคนนี้ หมีรีบไปหาปลามาให้ ขณะที่หมาจิ้งจองหาองุ่นมาให้ แต่กระต่ายไม่สามารถหาอะไรได้เพราะกระต่ายกินได้แต่หญ้า จังสละตัวเองโดยการกระโดดเข้ากองไฟเพื่อเป็นอาหารแก่ชายผู้นี้ พระอินทร์ได้เห็นถึงความเสียสละของกระต่าย จึงวาดภาพกระต่ายไว้บนดวงจันทร์เพื่อระลึงถึง
ในปัจจุบันผู้นทั่วโลกยังคงมีความเชื่อและมองเห็นเงากระต่ายบนดวงจันทร์นั้นอยู่ แต่แท้จริงแล้วภาพกระต่ายที่ปรากฎบนดวงจันทร์แท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่?
Credit : earthstoriez .com
ในทางวิทยาศาสตร์ การที่เราจิตนาเห็นภาพเงาดำเป็นรูปกระต่ายนั้น แท้จริงแล้วเป็นปรากฏการณ์ Pareidolia เป็นปรากฎการณ์ทางความคิดหรือการจิตนาการที่มองเห็นสิ่งรอบข้างเป็นรูปร่างต่างๆ แม้กระทั่งการเห็นก้อนเมฆเป็นรูปร่างต่างๆ หรือการที่มองเห็นเงาดำๆบนดวงจันทร์เป็นเงากระต่ายเป็นต้น
Credit : skyatnightmagazine .com