“ส่วนห้องนอนของคฤหาสน์พักอาศัยสไตล์ Palladian ขนาด 700 ตารางเมตร ที่ตกแต่งด้วยดีเทลละเอียดอ่อน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละห้อง ภายใต้งานดีไซน์ที่สร้างบรรยากาศเป็นส่วนตัวน่าอยู่และเหมาะแก่การพักผ่อน”
- ห้องนอน (4 ห้อง)
- Living Room
- Pantry
- Multipurpose Room
- Hall
- Dining Room
- Family Room
- ห้องพระ
งานดีไซน์แบบ Palladian Style เป็นงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากผลงาน ออกแบบและตกแต่งภายใน มาจากสถาปนิกชาวอิตาลี ‘อันเดอา ปัลลาดิโอ’ในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ที่เน้น ออกแบบและตกแต่งภายใน ให้สมมาตรตามแบบงานสไตล์กรีกโรมัน ดังนั้นหัวใจหลักนอกจากจะเป็นงานที่สมดุลกันแล้วยังเน้นการนำเส้นสายและลวดลายที่ละเอียดอ่อนทว่าเรียบง่ายของกรีกโรมันมาใช้ในงานตกแต่ง ซึ่งเส้นสายต่างๆ นั้นก็อาจจะเป็นที่คุ้นตากันดีเพราะมาจากเสาหิน Doric ที่มักจะประดับอยู่ตามวิหารของจักรวรรดิ์โรมัน เรียกได้ว่าเป็นสไตล์ที่แฝงไว้ด้วยกลิ่นอายของอารยะธรรมที่รุ่งเรืองและมีเสน่ห์ชวนมอง
ถ้าพูดถึงพื้นที่ส่วนตัวที่จะแสดงถึงเอกลักษณ์และความชอบเฉพาะตัวได้ดีที่สุดก็คงจะไม่พ้น‘ห้องนอน’ เป็นแน่ ดังนั้นดีไซน์เนอร์ของบาริโอจึงพิถีพิถันในการออกแบบแต่ละห้องให้มีลักษณะและบรรยากาศที่แตกต่างกันออกไปให้ตรงกับความชื่นชอบของเจ้าของห้องแต่ละคน
นอกจากห้องนอนที่เป็นสถานที่เงียบสงบแล้ว ยังมี ‘ห้องพระ’ ของบ้านที่เป็นอีกหนึ่งแห่งที่เต็มไปด้วยบรรยากาศสงบ ทว่าโดดเด่นและสง่างาม
ต่อเนื่องมาจากโถงทางเข้า เมื่อเดินขึ้นบันไดมาก็จะพบกับชานพักของส่วนบ้านชั้นสองที่พอมองย้อนกลับไปก็จะพบกับบรรยากาศของส่วนโถงทั้งหมด ทั้งดีเทลการ Drop หลุมของฝ้าเพดาน, Painting ฝาผนัง และยังมองออกไปเห็นวิวภายนอกตัวบ้านผ่านกระจกบานใหญ่ที่สูงแบบ Double Height ตกแต่งเป็นซุ้มวงกลมเพื่อสามารถรับแสงธรรมชาติเข้ามาจากภายนอกได้เต็มที่
ห้องนอนใหญ่ของบ้านจะตกแต่งด้วยสีโทนหวานอย่างสีโทนวานิลลาและเติมความโรแมนติกด้วย Bed Bench สีชมพูแชมเปญและปลอกหมอนสีราสเบอร์รี่ ส่วนหัวเตียงจะออกแบบให้เป็นไม้ย้อมขาวตอกหมุดเป็นเส้นสายของแพทเทิร์น ด้านในกรุด้วยผ้าบุสีเบจที่ให้ความรู้สึกนุ่มละมุน ผนังข้างหัวเตียงทั้งสองด้านนอกจากจะมีลวดลายสวยงามแล้ว แท้จริงเป็นบานเลื่อนทึบที่สามารถเลื่อนเปิดไปซ่อนไว้หลังหัวเตียงเพื่อเปิดหน้าต่างได้
เมื่อมองย้อนกลับมาทางแผงทีวีจะตกแต่งสองข้างด้วยดีไซน์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมากจากเสาหินแบบกรีกโรมัน กระจกเงาถูกใช้เป็นวัสดุหลักของบริเวณนี้ที่นอกจากจะช่วยกระจายแสงให้ตัวห้องดูสว่างแล้วยังทำให้ห้องดูกว้างขวางและภูมิฐานมากขึ้นอีกด้วย
ที่ด้านหลังแผงทีวีจะเป็นโซนห้องแต่งตัวที่เป็นออกแบบสองส่วน ส่วนของคุณผู้ชายนั้นจะถูกออกแบบให้มีฟังก์ชันเป็นทั้งพื้นที่แต่งตัวและมีโต๊ะสำหรับทำงานไปด้วยในตัว ตัวหน้าบานตู้จะเน้นการใช้โทนสีขาวและคั่นด้วยสีเหลืองแดฟโฟดิลเพื่อลดความฉูดฉาดของพื้นที่บริเวณนี้ และมีการไล่ระดับฝ้าเพื่อเพิ่มมิติให้กับพื้นที่
และส่วนของคุณผู้หญิงนั้นจะเป็น Walk-In-Closet ที่มีตู้สองฝั่งยาวไปจนสุดพื้นที่ หน้าบานจะเน้นการดีไซน์ให้ดูหวานโดยใช้เส้นโค้งและเพิ่มความสง่าด้วยการแทรกกระจกเงาแบบเต็มบานเข้าไปเป็นจังหวะ ที่สุดปลายทางเดินนั้นเองก็เป็นโต๊ะเครื่องแป้งสำหรับแต่งหน้าทำผมที่ดีไซน์ให้สองข้าง
เป็นบานกระจกใส สามารถมองรับแสงธรรมชาติจากภายนอกเข้ามาได้อย่างเหมาะสม
‘สีฟ้า’ และ ’สีเบจ’ (Blue & Beige) ถูกเลือกให้เป็นโทนสีหลักสำหรับการตกแต่งห้องนอนห้องนี้เพื่อสร้างบรรยากาศให้ตัวห้องดูสุขุมและผ่อนคลาย บริเวณส่วนบนของหัวเตียงถูกประดับด้วยไม้แกะสลักทำสีขาวที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเสาหิน Corinthians โดดเด่นอยู่เหนือวอลเปเปอร์ภาพวาดของแวนโก๊ะ ที่บริเวณข้างหัวเตียงทั้งสองข้าง หน้าบานตู้เสื้อผ้าและฝ้าเพดานใส่ลูกเล่นด้วยการเดินเส้นขึ้นมาเป็นลวดลายทั้งเส้นตรงไปจนถึงเส้นโค้งเพื่อสร้างชีวิตชีวาให้กับตัวห้อง
บริเวณซุ้มทีวีถูกออกแบบมาให้เป็นซุ้มโค้งเพื่อล้อกับหัวเตียงอีกฝั่ง ทาพื้นผนังด้วยสีเข้มเพื่อสร้างมิติให้กับบริเวณ ข้างกันมีโต๊ะทำงานตัวเล็กที่ใช้ไฟเป็นไฟซ่อนจากชั้นวางหนังสือด้านบนเพื่อให้แสงสว่างส่องลงมาได้อย่างทั่วถึง
ห้องนอน 4 จะเน้นการออกแบบและตกแต่งภายในสไตล์ Modern ตามความชอบของเจ้าของห้อง แต่ก็ยังแฝงไปด้วยกลิ่นอายของงาน Palladian Classic ที่ตกแต่งดีเทลให้ดูสวยงามแต่เรียบง่าย จุดเด่นของห้องนี้อยู่ที่การนำเส้นแสตนเลสสีทองเข้ามาเป็น Element หลักในการตกแต่ง กระจกข้างเตียงและบริเวณชั้นวางโชว์ที่ด้านข้างเป็นกระจกที่กัดลายโดยใช้ Pattern เดียวกับหน้าบานตู้เสื้อผ้าของห้องนอน 2 เพื่อเพิ่มลูกเล่นให้กับตัวห้อง
เมื่ออ้อมไปด้านหลังชั้นจะเป็นห้องแต่งตัวที่เน้นการตกแต่งด้วยสี Earth Tone เหมาะสำหรับการเป็นห้องแต่งตัวของคุณผู้ชาย ตู้เสื้อผ้าจะเป็นหน้าบานกระจกแบบเต็มความสูง ประดับตกแต่งด้วยบัวสีน้ำตาลเข้ม ที่นอกจากจะใช้ส่องดูความเรียบร้อยและเพื่อทำให้ตัวห้องดูกว้างขวางขึ้นอีกด้วย
บริเวณโต๊ะทำงานจะเน้นชั้นวางของที่ดูโปร่งและสะอาดตา ด้านหลังผนังโต๊ะทำงานจะซ่อนไฟเอาไว้เพื่อเพิ่มบรรยากาศให้ดูละมุนมากขึ้น ฟังก์ชันพิเศษของโต๊ะทำงานตัวนี้คือการดีไซน์ตู้ให้สามารถเก็บซ่อน CPU ของคอมพิวเตอร์เอาไว้ในตู้และเดินสายไฟออกมาทางด้านหลังเพื่อเชื่อมกับหน้าจอคอมบนโต๊ะทำงานได้
ห้อง Family Room เป็นห้องสำหรับส่วนกลางของบ้านบนชั้นสองที่นอกจากจะเป็นพื้นที่สำหรับใช้เวลาร่วมกันแล้วยังเป็นห้องที่ออกแบบไว้สำหรับรองรับการขยายของครัวครัวในอนาคตอีกด้วย ดังนั้นตัวห้องจึงมีฟังก์ชันที่ครบครันอย่างชั้นวางและเก็บของ แผงทีวีและส่วนแต่งตัว ตกแต่งด้วยโทนสีที่เป็นกลางอย่างโทนสีขาวและเทาเข้ม
ตรงกลางห้องวางโซฟาตัวแอลสี Navy Blue เพื่อเป็นจุดเด่นของตัวห้อง ตัดด้วยหมอนอิงโทนสีเหลืองที่ดึงให้บรรยากาศดูมีชีวิตชีวา ซึ่งบริเวณนี้ในอนาคตสามารถยกโซฟาออกเพื่อวางเตียงนอนและกั้น Partition หัวเตียงขึ้นมา กลายเป็นห้องนอนอีกห้องได้อย่างสะดวกสบาย
และสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ส่วนห้องพระของตัวบ้านจะเน้นการออกแบบที่ใช้สีขาวและสีครีมเป็นหลัก งานตกแต่งภายในห้องจะใช้ดีไซน์ที่เรีบร้อยทว่าเต็มไปด้วยฟังก์ชันการใช้งานทั้งลิ้นชักเก็บของและชั้นวางของที่สูงจรดเพดาน เพื่อให้ผนังบริเวณแท่นวางพระพุทธรูปโดดเด่นขึ้นมาทั้งจากสี ไฟซ่อนบริเวณภายในและลวดลายสีทองที่ช่วยเสริมให้ตัวห้องดูศักดิ์สิทธิ์และให้บรรยากาศน่าเกรงขามนั่นเอง
สำหรับในเดือนนี้โปรเจค Palladian Consistency อัญมณีแห่งศตวรรษที่ 17 [Part 2] ก็พาทุกท่านไปชมส่วนห้องนอนที่เป็นงานออกแบบสไตล์คลาสสิกกันอย่างจุใจแล้วนะคะ หรือหากยังอยากดูผลงานอื่นๆ ของเราก็ สามารถเข้าไปดูโปรเจคอื่นๆ ได้ที่ Portfolio ของเว็บไซต์ Bareo-Isyss ค่ะ แล้วกลับมาพบกันใหม่ในเดือนหน้ากับงานออกแบบ ‘ห้องน้ำ’ พื้นที่เล็กๆ แต่มีดีไซน์ที่ยิ่งใหญ่ในวันที่ 5 ตุลาคม กันนะคะ
หากมีข้อสงสัยก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ 02 408-1341 – 44 และ 085 072-8998 หรือสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Design by Bareo ค่ะ
แล้วพบกันใหม่ในเดือนหน้า
สวัสดีค่ะ : )