Palladian Consistency

อัญมณีแห่งศตวรรษที่ 17 [Part 1]

Pathum Thani, Thailand

Two-Story Home 3-4 Members 700 Sq.m. Classic

About

“คฤหาสน์พักอาศัยสองชั้นขนาด 700 ตารางเมตร ในสไตล์ Palladian ที่ตกแต่งด้วยดีเทลหรูหราแบบกรีกโรมันที่เป็นระเบียบ มาพร้อมการเลือกใช้โทนสีและ Materials ที่สร้างบรรยากาศอบอุ่น สุขุมและภูมิฐานอย่างมีเสน่ห์ในเวลาเดียวกัน”

Space

  • ห้องนอน (4 ห้อง)
  • Living Room
  • Pantry
  • Multipurpose Room
  • Hall
  • Dining Room
  • Family Room
  • ห้องพระ

Space & Style

Palladian Style หรือที่คนไทยอาจรู้จักกันในชื่อ Paladio Style (สไตล์ปัลลาดิโอ) เป็นสไตล์ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 จากประเทศอังกฤษและเริ่มเป็นที่นิยมในช่วงศตวรรษที่ 17 ในช่วงนั้นเองนโปเลียนที่เพิ่งขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารของฝรั่งเศสก็ชื่นชอบสไตล์นี้มากจนสไตล์นี้กลายเป็นที่นิยมในประเทศฝรั่งเศสและพัฒนาจนกลายเป็นสไตล์ Neo-Classic ที่เรารู้จักกันดี
เอกลักษณ์ของสไตล์นี้จะเป็นการนำเส้นสายของกรีกโรมันมาใช้ตกแต่งในงาน โดยลวดลายส่วนใหญ่ก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเสา Doric นั่นเอง ดังนั้น Palladian Style จึงเป็นงานสไตล์ Classic ที่มีเส้นสายที่เป็นระเบียบและเรียบง่ายทว่ามีสเน่ห์ด้วยกลิ่นอายของงานสถาปัตยกรรมในยุครุ่งเรืองของอารยธรรมนั่นเอง

Designer’s Choice

แม้ตัวคฤหาสน์ภายนอกจะเป็นสไตล์ Regency แต่เพราะจุดเด่นของสไตล์ Regency จะค่อนข้างทึบตันและเต็มไปด้วยลวดลายประดับประดา ดังนั้นสำหรับบรรยากาศของบ้านที่ควรจะปลอดโปร่งและสบายตา ดีไซน์เนอร์จึงเลือกใช้สไตล์ Palladian ซึ่งเป็นรากฐานของสไตล์ Regency เข้ามาเป็นสไตล์หลักของงานออกแบบภายใน ทำให้บ้านน่าอยู่และสามารถพักผ่อนได้อย่างผ่อนคลาย

Photo

Hall

ทันทีที่เข้ามาในคฤหาสน์ก็จะได้รับการต้อนรับด้วยโถงบันไดโค้งที่ทอดยาวไปยังบริเวณชั้นสอง ดึงสายตาของผู้มาเยือนให้มองขึ้นไปเห็นฝ้าเพดานที่สูงแบบ Double Volume ตามแบบฉบับของแมนชั่นในยุโรป ตกแต่งด้วยโคมไฟ Chandelier ชุดสวย และ Painting ฝาผนังรูปเทวดาคิวปิดตัวน้อยที่เป็นตัวแทนแห่งความรักอยู่ทางด้านซ้ายเหนือประตูกระจกใสบานหมุนคู่ของส่วนรับแขก ก่อนจะกลับมามองที่ Partition โปร่งสีทองที่ดัดโค้งเป็นลวดลาย ล้อมด้วยเส้นกรอบสีทองที่ช่วยเพิ่มความสว่างให้กับพื้นที่ใต้บันได เช่นเดียวกับการเลือกใช้พื้นหินอ่อนสีขาวที่นอกจากจะทำให้พื้นที่เกิดความหรูหราและน่าประทับใจแล้ว ยังช่วยทำให้พื้นที่ส่วนหน้าของคฤหาสน์ดูสว่างและอบอุ่นมากขึ้น

Living Room

เมื่อเดินผ่านประตูกระจกบานหมุนคู่มายังปีกซ้ายของตัวอาคารก็จะพบกับ ส่วน Living Area ที่เป็นส่วนรับแขกแบบไม่เป็นทางการ ประกอบด้วยชุดรับแขกสองชุด ซึ่งชุดรับแขกทั้งสองชุดสามารถขยายจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่ได้อย่างไม่ติดขัดหากต้องรองรับแขกเป็นกลุ่มใหญ่
ชุดแรกจะอยู่ด้านหน้าเป็นโซฟาตัวยาวกับเก้าอี้ Ottoman สองตัว สำหรับพูดคุยและรับรองแขก ในขณะที่ชุดที่สองจะเป็นโซฟาโค้งที่ตั้งอยู่บริเวณมุขปีกซ้ายของคฤหาสน์ โดยโซฟาโค้งนี้จะเป็นโซฟาดีไซน์พิเศษที่ออกแบบมาให้เข้ากับห้องนี้โดยเฉพาะ สีและวัสดุของโซฟาโค้งจะเลือกให้เข้ากับม่านของกระจกบานสูงแบบ Double Height ที่อยู่ด้านหลัง ทั้งยังทำให้ห้องดูสะอาดตาด้วยการซ้อนรางม่านเอาไว้หลังกล่องที่ตกแต่งด้วยลวดลายของสไตล์ Palladian นั่นเอง

Dining Room

บริเวณห้องอาหารจะตกแต่งภายในเป็นสไตล์ Palladian แต่เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ นั้นจะดึงเอาสไตล์ Art Deco มาใช้ในงานแทนเนื่องจากตัวสไตล์ Art Deco จะมีความโอ่อ่าและภูมิฐานมากกว่า ทำให้ห้องอาหารสามารถใช้ต้อนรับแขกได้เป็นอย่างดี อีกทั้งลูกเล่นพิเศษของห้องนี้ก็คือแผงทีวีที่ดีไซน์ให้ออกมาเป็นซุ้มเล็กๆ เพื่อเลียนแบบบริเวณมุขของตัวอาคาร
…หากหน้าต่างของมุขมองออกไปแล้วได้เพลิดเพลินกับวิวสวยของสวนข้างนอก ทีวีของมุขเองก็มองไปแล้วสามารถเพลิดเพลินกับเนื้อหาต่างๆ ที่ถูกนำเสนอขึ้นมาบนหน้าจอทีวีได้เช่นกัน

Pantry

Pantry จะอยู่ติดกับส่วนรับประทานอาหาร แม้จะเป็นพื้นที่ขนาดไม่ใหญ่มากแต่ก็ตกแต่งด้วยหินทั้งหมดเพื่อให้เกิดความสง่างาม หน้าบานกระจกเงาจะช่วยสะท้อนให้พื้นที่ดูกว้างขวางมากขึ้น กั้นโซนด้วยซุ้มเพดานเล็กๆ ทำให้ไม่เกะกะทว่าให้ความรู้สึกเป็นสัดส่วน อีกทั้งยังตกแต่งด้วยบัวที่มีลวดลายละเอียดอ่อนตามแบบฉบับของงานดีไซน์สไตล์คลาสสิค

Multipurpose Room

ปีกหลังด้านขวาของตัวอาคารจะเป็นที่ตั้งของห้อง Fitness และโต๊ะประชุมยาวสำหรับการพบปะของสมาชิกในตระกูล และสามารถปรับใช้ได้ตามความต้องการในอนาคต จุดเด่นของห้องนี้จะอยู่ที่ประตูทางเข้าบานเลื่อนที่ตกแต่งด้วยแพทเทิร์นเดียวกับผนัง ทำให้เมื่อเข้ามาภายในห้องและปิดประตูแล้วจะดูกลมกลืนราวกับห้องนี้ไม่มีประตูเลยทีเดียว
เนื่องจากห้องนี้อยู่ที่ส่วนหลังของคฤหาสน์จึงทำให้แสงเข้าได้ไม่มาก ดีไซน์เนอร์จึงออกแบบให้ผนังด้านหนึ่งเป็นกระจกเงาทั้งหมดเพื่อสะท้อนแสงธรรมชาติจากภายนอกที่เข้ามาในห้องให้สว่างและปลอดโปร่ง

Guest Bedroom

จุดเด่นของห้องนอนแขกคือบริเวณผนังหัวเตียงที่ดีไซน์โดยใช้ลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมมากที่สุดของสไตล์ Palladian เส้นสายที่ถึงแม้จะเรียบง่ายทว่าส่วนที่เป็นจุดตัดของเส้นทั้งสองและความหนาบางของเส้นที่ไม่เท่ากันทำให้เกิดความน่าดึงดูด สีชมพูที่เลือกใช้เป็นสีชมพูตามแบบฉบับวิกตอเรียน ทำให้ผู้ที่มาพักในห้องนี้เกิดความรู้สึกราวกับเป็นแขกกิตติมศักดิ์ที่ได้รับการต้อนรับจากราชวงศ์อังกฤษเลยทีเดียว
นอกจากนี้บริเวณแผงทีวีของห้องยังตกแต่งด้วยลวดลายและโทนสีที่คล้ายกันเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของบรรยากาศ รวมไปถึงหน้าบานของตู้เสื้อผ้าที่ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างและเก้าอี้แต่งตัวข้างหน้าต่างด้วยเช่นกัน
และนี่คือ Part 1 ของโปรเจค Palladian Consistency อัญมณีแห่งศตวรรษที่ 17 ค่ะ ในเดือนหน้าสามารถกลับมาพบกับตอนต่อของโปรเจคนี้ได้ใหม่ในวันที่ 5 กันยายนที่หน้า Website ของเรา หรือหากอดใจรอไม่ไหวก็สามารถเข้าไปดูโปรเจคอื่นๆ ได้ที่ Portfolio ของเว็บไซต์ Bareo-Isyss ค่ะ
หากมีข้อสงสัยก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ 02 408-1341 – 44 และ 085 072-8998 หรือสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Design by Bareo ค่ะ
แล้วพบกันใหม่ในเดือนหน้า
สวัสดีค่ะ : )

PROJECT RELATED

NEW CONTENT