Art Make Rules
Art Make Rules

Credit : reddit

“Works of art make rules, Rules do not make work of art” กล่าวโดย คีตกวีชาวฝรั่งเศส “โกลด เดอบูว์ซี” (Claude Debussy) ว่ากันด้วยเรื่องของ “งานศิลปะสร้างกฎเกณฑ์ แต่กฎเกณฑ์ไม่สามารถสร้างงานศิลปะได้” หากจะขยายความให้ลึกซึ้งลงไปนั่นก็หมายถึง งานศิลปะแต่ละชิ้นจะสร้างกฎเกณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวของมันเองขึ้นมา ซึ่งแท้จริงแล้วผลงานศิลปะที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาในโลกนี้แทบทั้งสิ้นก็ล้วนมีความน่าหลงไหลและมีเสน่ห์ในการสร้างสรรค์ที่แตกต่างกันออกไปอย่างไร้ขีดจำกัด
หลายครั้งหลายครา เราเคยผ่านตากับผลงานภาพวาดจากศิลปินชื่อก้องระดับตำนานมามากมายทั่วโลกแล้ว และหลายๆคนคงอยากจะรู้ถึงชั่วขณะสำคัญ หรือ Moment ที่เป็นแรงบันดาลใจขับเคลื่อนให้ศิลปินเหล่านั้นลงมือวาดภาพระดับMasterpiece ออกมา ว่าแท้จริงแล้วเบื้องหลังภาพวาดเหล่านี้มีที่มาที่ไปมาจากไหนกันเล่า

Les Demoiselles d’Avignon by Pablo Picasso

Les Demoiselles d’Avignon Art Make Rules

Les Demoiselles d’Avignoncr
Credit : mentalfloss

“หญิงสาวแห่งอาวิญง” เป็นผลงานจิตรกรรมของ “พาโบล ปิกัสโซ” (Pablo Picasso) วาดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1907 เดิมทีภาพนี้ชื่อว่า “หญิงโสเภณีที่อาวิญง” ซึ่งเป็นภาพที่ปิกัสโซพยายามจะถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของบรรดาผู้หญิงขายบริการในซ่อง ย่านถนนอาวินโย เมืองบาเซโลนา ประเทศสเปน เมื่อครั้งวาดภาพนี้ขึ้นมาก็อยู่ในช่วงเวลาเชื่อมต่อระหว่างศิลปะแนว Blue period กับ Cubism การวาดภาพนี้ขึ้นมานอกจาก ปิกัสโซ จะผสมผสานศิลปะในแบบแอฟริกันที่ใส่ลงไปในภาพแล้ว เราก็ยังได้เห็นอิทธิพลจากผลงานของศิลปินที่ปิกัสโชชื่นชอบ นั่นก็คือ เอลเกรโก โกแกง และ ปอล เซซาน อีกด้วย
Les Demoiselles d’Avignon Art Make Rules

Pablo Picasso
Credit : mentalfloss

ช่วงชีวิตของ ปิกัสโซ นั้นได้เข้าไปพัวพันกับเหล่าผู้หญิงโสเภณีตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก ดังนั้นภาพวาดของผู้หญิงเหล่านี้จึงอาจสะท้อนให้เห็นถึงตัวตนของ ปิกัสโซ เอง อีกทั้งเขายังต้องการแสดงให้เห็นถึงชีวิตจริงของเหล่าโสเภณีที่ถูกสังคมตีตราและไม่ให้การยอมรับ ดังนั้นการลงมือวาดใบหน้าของบรรดาหญิงสาวในภาพที่คล้ายกับหน้ากากชาวแอฟริกันและรูปร่างที่ถูกลดทอนไม่เหมือนมนุษย์จริงๆ จึงอาจต้องการสื่อให้เห็นถึงความน่ารังเกียจในสายตาของชนชั้นสูงที่มีต่อหญิงขายบริการที่นั่นก็เป็นได้
Les Demoiselles d’Avignon Art Make Rules

Credit : britannica

อย่างไรก็ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร ผลงานภาพวาดชิ้นนี้ก็ยังคงได้รับความนิยมและเป็นที่สนใจจากผู้คนเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินรุ่นต่อๆมาที่ซึมซับศิลปะแนว บาศกนิยม หรือ Cubism สืบต่อมา ปัจจุบันภาพ “หญิงสาวแห่งอาวิญง” ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ในนครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา

ภาพม้าลาย l Zebra by Victor Vasarely

Zebra Rosenthal, 1977 Art Make Rules

Zebra, 1937
Credit : mutual art

“ภาพลวงตา” ถือว่าเป็นผลงานจากศิลปินที่มีความคิดสร้างสรรค์ขั้นสุด ศิลปินเหล่านี้จะใช้เวลาสำรวจเทคนิคต่างๆเพื่อหลอกให้สมองมองเห็นสิ่งที่ไม่ค่อยสะท้อนความเป็นจริง พวกเขาทำการออกแบบจัดเรียงสัดส่วนใหม่ ทำให้วัตถุ 2 มิติปรากฏเป็น 3 มิติ หรือทำให้ตามองเห็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีศิลปินที่หลงใหลในการสร้างปรากฏการณ์งานศิลปะเฉพาะทางนี้ ซึ่งก็คือ วิคเตอร์ วาสสาเล (Victor Vasarely) ศิลปินชาวฝรั่งเศส – ฮังการี ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกศิลปะแนว Op Art โดยการใช้รูปทรงเรขาคณิตและกราฟิกสร้างสรรค์ผลงานภาพ “ม้าลาย” ที่ได้กลายเป็นปรมาจารย์ในการใช้ลูกเล่นระหว่างแสงและช่องว่างที่บิดไปมา เพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะที่หลอกและเล่นกับสายตาคนดู
Zebra Rosenthal, 1977 Art Make Rules

Zebra, 1937
Credit : mutual art

ภาพม้าลายสองตัวพันกัน แขนขาเหลื่อมล้ำทับกัน โดยใช้เส้นสายสีดำและสีขาวสลับกันไปมา จนประกอบเป็นลายทาง ไม่มีโครงร่าง เมื่อถูกนำวางบนพื้นหลังสีดำ สี 2 สี ที่ตัดกันอย่างสิ้นเชิงทำให้เกิดความเชื่อมโยงที่ซับซ้อน และกลายเป็นภาพม้าลาย 2 ตัวที่ปรากฏขึ้น ลำตัวที่ทับซ้อนกันของม้าลายก็ทำให้เรามองเห็นเคลื่อนไหวและพลังบางอย่างที่เกิดขึ้น
Zebra Rosenthal, 1977 Art Make Rules

Victor Vasarely
Credit : DW

“วิกเตอร์ วาซาเรอลี” (Victor Vasarely) เป็นที่รู้จักในฐานะศิลปินทัศนศิลป์และกราฟิกดีไซน์เนอร์แนว “Op Art” และเจ้าของ “ภาพม้าลาย” ในปี ค.ศ. 1937 ซึ่งก็ถือเป็นภาพตัวอย่างแรกสุดของงานแนว Op Art โดยผลงานสไตล์ Op Art ได้รับความนิยมอย่างมากในยุค 60 และ 70 โดยอิงตามแนวคิดทางด้านสุนทรียะภาพจากลวดลายที่เป็นนามธรรมและคอนทราสต์สูง ซึ่งในช่วงนั้นศิลปินส่วนมากมักจะผลิตผลงานออกมาเป็นสีขาวและสีดำซะส่วนใหญ่
งานศิลปะของ วาซาเรอลี ได้รับอิทธิพลมาจากการที่เขาใช้เวลาอยู่ที่ Breton Beach ใน Belle Isle ประเทศฝรั่งเศส ผลงานเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการขบคิดที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตภายใน ที่มีอยู่ในธรรมชาติบนโลกใบนี้ซึ่ง วาซาเรอลี ได้ใช้เวลาศึกษา สำรวจ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องกับศิลปะแนวนี้ตลอดช่วงชีวิตของเขา ซึ่งนั่นก็แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นบางอย่างที่ตัวของเขาเองเคยกว่าวไว้ว่า “รูปธรรมและสีที่บริสุทธิ์สามารถบ่งบอกถึงโลกได้”

The Shipwreck by Joseph Vernet

The Shipwreck by Joseph Vernet

A Shipwreck in Stormy Seas
Credit : national gallery of art

“จะวาดท้องฟ้า โลก ทะเลอย่างไร ไม่มีใครรู้ดีไปกว่าฉันในการวาดภาพ” โคลด-โฌแซ็ฟ แวร์เน่ต์ (Claude-Joseph Vernet) จิตรกรเอกชาวฝรั่งเศสได้กล่าวเอาไว้
แวร์เน่ต์ เกิดที่เมืองอาวีญง ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1714 เป็นลูกชายของ อองตวน แวร์แน่ (Antoine Vernet) จิตรกรช่างฝีมือตกแต่งสถาปัตยกรรม โดยในปี ค.ศ. 1734 แวร์เน่ต์ เดินทางไปกรุงโรมเพื่อศึกษาการออกแบบภูมิทัศน์และการวาดภาพทะเล ตัวของเขานั้นมีความสนใจในศิลปะแบบโรมและธรรมชาติและรวมถึงบรรยากาศในท้องทะเลและท้องฟ้า แวร์เน่ต์ อาศัยอยู่ในกรุงโรมเป็นเวลา 20 ปี เขาซึมซับเอาทัศนียภาพของท่าเรือ พายุ ความสงบ แสงจันทร์ และวาฬขนาดใหญ่ จนตัวเขากลายเป็นศิลปินที่ได้รับความนิยมชมชอบในหมู่ขุนนางชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก
Art Make Rules Claude-Joseph Vernet

Claude-Joseph Vernet
Credit : wikiart

ในปี ค.ศ. 1753 แวร์เน่ต์ ถูกเรียกตัวไปกรุงปารีส โดยคำสั่งของกษัตริย์หลุยส์ที่ 15 เขาได้วาดภาพชุด “ท่าเรือของฝรั่งเศส” หรือ Vues des port de France จำนวน 15 ภาพ (ปัจจุบันภาพชุดนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ และ Musée แห่งชาติเดอลามารีน) ซึ่งถือเป็นภาพวาดของประเทศฝรั่งเศสที่ยิ่งใหญ่มากที่สุดในช่วงศตวรรษที่18 เนื่องจากเป็นทั้งเอกสารทางสังคมและประวัติศาสตร์ที่โดดเด่นเกี่ยวชีวิตท่าเรือร่วมสมัย ในขณะเดียวกันภาพวาดนี้ก็มีงดงามที่น่าทึ่งมากด้วยเช่นกัน
Vues des port de France

Vues des port de France
Credit : Wikipedia

แวร์เน่ต์ ได้วาดภาพภูมิทัศน์ทางทะเลไว้จำนวนมาก โดยเฉพาะภาพเรืออับปาง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวคิดร่วมสมัยและภาพของเรือเดินทะเลได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งความรู้สึกของผลงานชิ้นนี้แสดงออกถึงความกลัวในชั่วขณะที่เรือกำลังจะจมลงอย่างที่สุด และยังแสดงให้เห็นถึงความพยายามของมนุษย์ที่ยังไงก็ไม่สามารถต้านทานพลังของธรรมชาติได้แม้แต่นิดเดียว

A Storm with a Shipwreck (1754)
Credit : Wikipedia

แวร์เน่ต์ ถือเป็นศิลปินแนวศิลปะจินตนิยม หรือ Romanticism ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษของฝรั่งเศสและของโลก ในฐานะศิลปินผู้มีชื่อเสียงในการวาดภาพเขียนภูมิประเทศและภูมิทัศน์ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในจิตรกรที่วาดภาพแล้วสามารถลงรายละเอียดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ อย่างพายุและแสงจันทร์ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งผู้คนต่างก็ชื่นชมและยอมรับในงานศิลปะของเขาอย่างกว้างขวาง

A Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte by Georges Seurat

A Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte by Georges Seurat

Georges Seurat, A Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte, 1884
Credit : Art Institute of Chicago, Chicago, IL, USA.

ฤดูใบไม้ผลิที่กำลังใกล้เข้ามา ช่วงเวลากลางวันที่ยาวนานและอบอุ่นขึ้น แสงแดดเจิดจ้า คือสัญญาณแรกในการเกิดใหม่ของธรรมชาติ สำหรับชาวยุโรปนั้นคือนี่คือสิ่งกระตุ้นให้ผู้คนใช้เวลาอยู่ข้างนอกมากขึ้น หนึ่งในภาพวาดที่มีชื่อเสียงซึ่งแสดงถึงออกถึงการพักผ่อนกลางแจ้งของผู้คนในเมืองหนึ่ง คือภาพวาดชื่อ “บ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากร็องด์ฌัต” (A Sunday Afternoon on the Island) วาดโดยจิตรกรโพสต์อิมเพรสชันนิสต์ชาวฝรั่งเศส ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา (Georges Seurat)
ในภาพวาดขนาดใหญ่นี้ ซึ่งถือว่าใหญ่มากสำหรับชิ้นงานที่ลงสีในช่วงเวลานั้น (2 x 3 เมตร) เซอรา ต้องการบรรยายถึงผู้คนที่กำลังพักผ่อนในสวนสาธารณะชานเมือง บนเกาะในแม่น้ำแซนที่เรียกว่า ลากร็องด์ฌัต ซึ่งถือเป็นสถานที่พักผ่อนยอดนิยมสำหรับชนชั้นกลางและระดับสูงของกรุงปารีสในศตวรรษที่ 14 สิ่งที่ทำให้ภาพวาดนี้มีเอกลักษณ์และลึกลับยิ่งขึ้นไปอีก ก็กิจกรรมของผู้คนในภาพวาด ซึ่งไม่มีการแสดงอารมณ์ที่ลึกซึ้ง หรือว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญแม้แต่นิดเดียว แต่เป็นฉากที่น่าเบื่อที่สุดของบ่ายวันหนึ่งแค่นั้นเอง

Credit : Wikipedia

เซอรา ใช้เวลามากกว่าสองปีในการสร้างผลงานชิ้นเอกนี้จนเสร็จในปี ค.ศ. 1886 เมื่อเขามีอายุได้เพียง 26 ปี โดยใช้เทคนิคภาพวาดที่เรียกว่า การผสานสี หรือ Pointillism ซึ่งต้องใช้จุดที่วาดด้วยมือนับล้านลงบนผืนผ้าใบอย่างพิถีพิถัน โดยอาศัยความสามารถของดวงตาและความรู้สึกจากข้างในสำหรับการผสมผสานจุดสีเล็กๆต่างๆให้กลายเป็นโทนสีที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดย เซอรา เองชอบเรียกเทคนิคของเขาว่า “Chromo-Luminarism” ซึ่งเป็นคำที่เขารู้สึกว่าเน้นไปเฉพาะที่ “สีและแสง”
เซอรา ใช้เวลามากกว่าสองปีในการสร้างผลงานชิ้นเอกนี้จนเสร็จในปี ค.ศ. 1886 เมื่อเขามีอายุได้เพียง 26 ปี โดยใช้เทคนิคภาพวาดที่เรียกว่า การผสานสี หรือ Pointillism ซึ่งต้องใช้จุดที่วาดด้วยมือนับล้านลงบนผืนผ้าใบอย่างพิถีพิถัน โดยอาศัยความสามารถของดวงตาและความรู้สึกจากข้างในสำหรับการผสมผสานจุดสีเล็กๆต่างๆให้กลายเป็นโทนสีที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดย เซอรา เองชอบเรียกเทคนิคของเขาว่า “Chromo-Luminarism” ซึ่งเป็นคำที่เขารู้สึกว่าเน้นไปเฉพาะที่ “สีและแสง”

Credit : mymodernmet

ภาพวาดนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของศิลปินหนุ่มคนหนึ่งที่มีความทะเยอทะยาน แปลกแยก และไม่พอใจกับมาตรฐานและบรรทัดฐานทางศิลปะในยุคสมัยนั้น และเขาได้ทำการพิสูจน์ความคิดเห็นของเขาที่มีต่อศิลปะโดยไม่คำนึงถึงการแสดงความคิดเห็นของศิลปินคนอื่นๆในยุคนั้นที่มีต่อผลงานของเขา ภาพวาดชิ้นนี้ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่สถาบันศิลปะแห่งชิคาโก และยังคงเป็นไฮไลท์ของคอลเล็กชั่นของพิพิธภัณฑ์และอาจเป็นผลงานที่โด่งดังที่สุดของ Pointillism ในโลกที่มีมา
จากผลงานศิลปะที่ผู้เขียนไล่เรียงมา ทั้งตัวผลงานภาพวาดที่ต่างถูกวาดขึ้นจากกาลเวลาต่างยุคสมัย และตัวของศิลปินที่ได้รับการยอมรับในความสามารถที่แตกต่างกันคนละช่วงเวลา แต่สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากชีวิตของศิลปินและผลงานที่พวกเขาทิ้งไว้ นั่นก็คือ “ เมื่อไรที่เรากล้าที่จะมองโลกให้ต่างออกไป นั่นคือแรงขับเคลื่อนชั้นดีที่จะส่งเราให้ไปเจอสิ่งใหม่ๆ ที่อาจไม่มีใครค้นพบมาก่อน” ดังนั้นงานศิลปะ ถือได้ว่าเป็นบ่อกำเนิดของแรงบันดาลใจ การเรียนรู้ การได้ลองผิดลองถูก และไร้ซึ่งขนบกฎเกณฑ์มาเป็นกรอบกำหนดอย่างแท้จริง อย่าลืมว่าหากเราได้ลงมือทำในสิ่งที่รักและสนใจจริงๆ เราจะทำมันออกมาได้ดีเสมอค่ะ
สามารถติดตามผลงานต่าง ๆ ของทาง Bareo ได้ที่ช่องทางเว็บไซต์ของ Bareo หรือทาง Facebook : Design by Bareo ที่จะคอยอัพเดทข่าวสาร งานดีไซน์ และผลงานการออกแบบตกแต่งภายในมากมาย ให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้ และความสนุกตลอดทั้งปี
หรือหากสนใจจะออกแบบตกแต่งภายในกับทาง Bareo ทางเราก็มีบริการออกแบบภายในครบวงจร โดยสามารถอ่านรายละเอียดการให้บริการของเราได้ที่นี่ คลิ๊ก

CONTENT RELATED

NEW CONTENT

PORTFOLIO