head pattern123 ceramic head top123 2  
editor talk : ออกแบบภายใน,ตกตแต่งภายใน,ออกแบบตกแต่งภายใน  
new project : ออกแบบภายใน,ตกตแต่งภายใน,ออกแบบตกแต่งภายใน  
decor guide : ออกแบบภายใน,ตกตแต่งภายใน,ออกแบบตกแต่งภายใน  
design tips : ออกแบบภายใน,ตกตแต่งภายใน,ออกแบบตกแต่งภายใน  
living young : ออกแบบภายใน,ตกตแต่งภายใน,ออกแบบตกแต่งภายใน  
healthy life : ออกแบบภายใน,ตกตแต่งภายใน,ออกแบบตกแต่งภายใน  
back issue : ออกแบบภายใน,ตกตแต่งภายใน,ออกแบบตกแต่งภายใน  
ded123 2  
youtube123 2  
facebook122  
               
 

 

       

      เข้าสู่ช่วงเทศกาลตรุษจีนแบบนี้ ไม่ว่าจะไปไหนมาไหนคงจะพบเห็นสถานที่ต่างๆตกแต่งในสไตล์จีนๆกันมากมายเลยทีเดียวค่ะ เราก็ไม่พลาดที่จะหยิบเอาสาระดีๆให้เข้ากับช่วงเทศกาลตรุษจีนแบบนี้มาฝากทุกๆคนเช่นกัน กับบทความภาชนะเซรามิกกับราชวงศ์จีน


       ในเรื่องของภาชนะเซรามิกบางท่านอาจจะยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเซรามิกคืออะไรนะคะ เซรามิกก็คือดินที่นำมาขึ้นรูปสามารถทำได้ทั้งภาชนะหรือสิ่งของเครื่องใช้เครื่องประดับต่างๆ โดยผ่านกระบวนการเผาที่อุณหภูมิความร้อนสูงเพียงพอที่จะทําให้ชิ้นงาน หรือผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีความแข็งแรงคงทนไม่แตกหักง่ายและเซรามิกจัดว่าเป็นวัสดุที่มีประโยชน์ สำคัญต่อมนุษยชาติตั้งแต่สมัยโบราณ


      จากหลักฐานการค้นคว้ามีการค้นพบหลักฐานว่ามีการใช้อิฐในการก่อสร้างที่ประเทศบาบิโลเนีย เอสซีเรีย และอียิปต์โบราณ และยังมีการขุดค้นพบซากของเหยือกน้ำ ได้ทำการวิจัยเครื่องปั้นดินเผานี้มีอายุถึงหมื่นปีล่วงมา ยังมีชนชาติเก่าแก่ที่สามารถทำได้เช่นกัน ได้แก่ ชาวจีน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย อาหรับ กรีก โรมัน เป็นต้นค่ะ


      ส่วนในเอเชียนั้นประเทศจีนเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สุดในโลกชาติหนึ่งก็ว่าได้ค่ะเครื่องปั้นดินเผาของจีนก็มีประวัติอันยาวนานได้รับการพัฒนาสืบทอดต่อกันมาหลายราชวงศ์ จีนมีความก้าวหน้าในการผลิตเซรามิกและเครื่องปั้นดินเผาชนิดต่างๆมากที่สุดชาติหนึ่งในโลก มาเริ่มกันจากสมัยประวัติศาสตร์ของจีนกันเลยค่ะ

 

ราชวงศ์ชาง,เชียง หรือหยิน (1550 ปีก่อนคริสต์ศักราช -1025 ปีก่อนคริสต์ศักราช)


      อยู่ในยุคสำริดมีการตั้งหลักทฤษฎีหยิน-หยาง เป็นครั้งแรกเน้นว่าทุกอย่างล้วนคู่กันประสานกลมกลืนแม้จะขัดแย้งตรงกันข้ามค่ะ เราจะเห็นลักษณะของเครื่องปั้นจะมีรูปทรงแข็งแรง ทึบ ให้ความรู้สึกหนักแน่น ในเรื่องของการตกแต่งลวดลายบนผิวดินส่วนใหญ่จะใช้วิธีขูดลึกลงไปเป็นลายเส้น เป็นลวดลายต่างๆ

 

1

 

2

 

ราชวงศ์จิ๋น (249 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 207 ปีก่อนคริสต์ศักราช)


      จะมีเครื่องปั้นที่สำคัญคือ ภาชนะ “เย่ว” (Yue ware) ทำจากเนื้อดินสีคล้ำ เคลือบด้วยน้ำเคลือบที่มีส่วนผสมของขี้เถ้าไม้และดิน ภาชนะเย่วถือได้ว่าเป็นภาชนะที่โดดเด่นของราชวงศ์จิ๋นเลยก็ว่าได้ค่ะด้วยในเรื่องของสีที่มีความคล้ำจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของ “เย่ว” และมีความนิยมทำกันแพร่หลายในช่วงนั้น

 

3

 

4

 

      การเผาของภาชนะเย่วจะเผาที่อุณหภูมิสูงเคลือบสีเขียวหรือเทา และภาชนะเย่วยังถือได้ว่าเป็นเคลือบเซลาดอนรุ่นแรกเลยนะคะ ซึ่งทำสีเขียวไข่กาและได้รับการสืบสานพัฒนาขึ้นในราชวงศ์ต่อมา

 

ราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช - คริสต์ศักราช 220)


      ในช่วงนั้นจีนมีนโยบายผูกมิตรกับต่างชาติ การเดินทางเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าของจีนทำให้จีนได้ความรู้เรื่องน้ำเคลือบตะกั่วที่พวกโรมันใช้ในขณะนั้น ภาชนะที่เป็นเอกลักษณ์ของสมัยราชวงศ์ฮั่นก็คือภาชนะไหภูเขา(Hill Jar)คือฝาปิดภาชนะเป็นภาพภูเขา ตัวภาชนะตกแต่งด้วยภาพนูนต่ำเป็นภาพสิงสาราสัตว์ ภาพทิวทัศน์บนฝาภาชนะได้คติจากความเชื่อในเรื่องสวรรค์ ความสุข

 

5

 

6

 

7

 

ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์สำหรับราชวงศ์ฮั่นเลยล่ะค่ะกับภาชนะไหภูเขาในรูปแบบต่างๆ

 

ราชวงศ์ถัง และห้าราชวงศ์ (คริสต์ศักราช 589 - คริสต์ศักราช 617)

 

      งานศิลปะทางเครื่องปั้นดินเผามีการพัฒนาต่อเนื่องจากราชวงศ์ที่ผ่านมา นอกจากเทคนิควิธีแบบเก่ายังมีการค้นคว้าวิธีการใหม่ๆเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะแนวนี้ให้เกิดความงามและมีคุณค่ามากขึ้นดังต่อไปนี้ค่ะ

 

 

      -น้ำเคลือบตะกั่ว มีการพัฒนาก้าวไกลด้านฝีมือจนเกิดลักษณะพิเศษเป็นที่ยอมรับทั่วไปจนปัจุบันนี้คือ เครื่องปั้นที่เรียกว่า “ถังสามสี” (Tang San Cai) ลักษณะคือจะมีการใช้เคลือบสีโดยประมาณ3สีเป็นสีที่สดใสเคลือบสีเหล่านี้จะไหลน้อยๆเมื่อแต่ละสีไหลมาผสมกันจะทำให้เกิดความนุ่มนวลของสีเปรียบได้กับการระบายภาพบนกระดาษด้วยสีน้ำ

 

8

 

9

“ถังสามสี” (Tang San Cai)

 

      -ลายหินอ่อน(Marble ornament) ใช้ดินที่มีสีต่างกัน2-3สีนวดดินแต่ละสีแล้วตัดเป็นแผ่นวางซ้อนสลับสีกันนวดเบาๆพอให้ดินแต่ละสีผสมเข้าหากัน แล้วตัดดินเป็นแผ่นๆ ด้านในของดินที่ตัดออกจะเห็นเป็นลายเหมือนหินอ่อนแล้วจึงนำดินแผ่นลายหินอ่อนมาวางในแบบพิมพ์เพื่อทำเป็นรูปทรงภาชนะ

 

10

 

ราชวงศ์ซ้อง (คริสต์ศักราช 960 - คริสต์ศักราช 1279)

 

      เครื่องปั้นดินเผาสมัยราชวงศ์ซ้อง สมัยรุ่งเรืองของศิลปะเครื่องปั้นดินเผาจีนเพราะมีความงดงามทั้งรูปทรงและน้ำเคลือบ เครื่องปั้นดินเผาในยุคนี้จะแบ่งได้ตามแหล่งเตาเผามี 2 ประเภทคือ 

 

      เตาหลวง จะผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะพิเศษ สะท้อนให้เห็นถึงรสนิยมของชนชั้นสูงที่ชอบของนุ่มนวล อ่อนหวานและเด่นสง่าด้วยรูปแบบที่เรียบง่าย เคลือบสีสุภาพคลาสสิค

 

      เตาพื้นบ้าน นิยมลวดลายที่แข็งกล้า สีสดใส ล้วนแต่เป็นความหลากหลายที่ลงตัวทั้งเนื้อดินและน้ำเคลือบ นอกจากนี้ศิลปะเครื่องปั้นดินเผาสมัยราชวงศ์ซ้อง สามารถแบ่งได้ตามลักษณะต่างๆดังนี้

 

      -ภาชนะติง เป็นเนื้อปอร์ซเลนสีขาว เคลือบส่วนใหญ่มีสีอ่อนประเภทสีงาช้าง บริเวณขอบของภาชนะจะเว้นไว้ไม่มีการเคลือบ เนื่องจากใช้วิธีคว่ำภาชนะเคลือบในเตาเผา ปิดขอบภาชนะด้วยการนำเส้นโลหะ เช่น ทอง เงิน มาประดับ

 

11

ภาชนะติง

 

      -ภาชนะชุน เนื้อสีคล้ำ ภาชนะมีลักษณะแข็งแรงเนื้อหนากว่าภาชนะติง น้ำเคลือบเป็นสีฟ้าอมเหลือง อมแดงไล่เรียงลำดับไปจนกระทั่งสีฟ้าอมม่วงมีเคลือบหนาและมักไหลเยิ้มม้วนตัวกองบริเวณด้านล่างของภาชนะ มีผู้เปรียบเทียบเคลือบสีฟ้าของภาชนะชุนว่า “ชุ่มช่ำดังฟ้าหลังฝน”

 

12

 

13

 

      -ภาชนะจู คล้ายภาชนะติง เคลือด้วยสีอ่อนๆเช่นสีเขียวอมฟ้าจางบางเบา ผิวเคลือบมีรอยราน

 

14

“รานแบบรอยเดินของปูทะเล”

 

15

“รานแบบเกล็ดปลา"

 

      -ภาชนะเยา-เชา มีการตกแต่งผิวด้วยวิธีแกะลายลึกลงในดินและปาดเพล่ การปาดเพล่ก็คือการทำให้ลายบนภาชนะมีมิติเมื่อเคลือบและเผาแล้วจะพบว่าเคลือบฝังตัวลึก ตื้น ตามรอยแกะสลักทำให้ได้น้ำหนักของสีเคลือบอ่อนแก่สวยงาม นิยมเคลือบเป็นสีน้ำตาลใสหรือสีน้ำตาลอมเขียว น้ำตาลอมเทา ลวดลายส่วนใหญ่แกะเป็นรูปพันธุ์พฤกษา ลายดอกโบตั๋น ดอกเบญจมาศ ดอกบัว เป็นต้น

 

16

 

17

 

      -ภาชนะเฉียน เนื้อแกร่งชุบเคลือบหนา สังเกตได้จากเคลือบที่ไหลม้วนตัวหนาบริเวณส่วนล่างเคลือบเป็นสีน้ำตาลเข้มจนเกือบดำ บางทีเป็นสีดำอมน้ำเงิน ดำออกน้ำตาล น้ำเคลือบมีส่วนผสมของเหล็กออกไซด์ซึ่งมักมีปริมาณสูงเกินจุดอิ่มตัวของน้ำเคลือบประกอบกับช่างมีทักษะความชำนาญในการเผาสูงปล่อยให้เตาเย็นตัวลงอย่างช้าๆเป็นผลที่ทำให้เกิดจุดเหมือนโลหะสีเทาเงินอย่างที่เรียกว่า “หยดน้ำมัน” (Oil spot)และลายเส้นสี “ขนกระต่าย” (Fur of a hare)

 

18

“หยดน้ำมัน” (Oil spot)

 

19

“ขนกระต่าย” (Fur of a hare)

 

      -ภาชนะซู-เจา มักปั้นภาชนะขนาดใหญ่ให้ความรู้สึกหนักแน่น แข็งแรง มีลักษณะเด่นตรงที่ใช้น้ำดินสีขาวแล้วใช้เครื่องมือขูดขีดในเนื้อดิน บางครั้งก็ใช้พู่กันชุบสีน้ำตาลเข้ม ระบายบนพื้นภาชนะที่ชุบน้ำดินสีขาว

 

20

 

21

 

      -ภาชนะลุงชวน ผลิตขึ้นมามากแทนภาชนะเย่วซึ่งเป็นเซลาดอนรุ่นแรกหรือเรียกว่าเครื่องถ้วยตี้ (Ti ware)น้ำเคลือบมีหลายน้ำหนักสี มีการแกะลาย ปั้นนูน หรือกดลายจากแม่พิมพ์

 

22

 

23

 

      -ภาชนะควน เคลือบมีลักษณะทึบ ส่วนใหญ่เป็นสีครีมหรือขาวหม่น เน้นรอยรานให้เด่นชัดด้วยการใส่สีเข้มให้ซึมในรอยราน ช่างโบราณนิยมแช่ภาชนะเคลือบลงในน้ำชาแก่เพื่อให้สีคล้ำของชาซึมลงไปในรอยราน

 

24

 

ราชวงศ์หยวน (คริสต์ศักราช 1200 - คริสต์ศักราช 1368)

 

      เป็นราชวงศ์ของชาวมองโกลที่ได้เข้ามาครอบครองแผ่นดินจีน ลักษณะของเครื่องปั้นดินเผาจะแตกต่างจากราชวงศ์ซ้องอย่างมาก มักชอบตกแต่งอย่างอลังการ ภาชนะค่อนข้างหนัก ไม่เพรียวตกแต่งเต็มพื้นที่ทั้งลายปั้นนูนและลายเขียน และค้นพบวิธีเขียนภาพด้วยสีคราม สีน้ำเงิน หรือเรียกว่า ลายคราม



25

 

26

 

ราชวงศ์หมิง (คริสต์ศักราช 1360 - คริสต์ศักราช 1644)

 

      ส่วนใหญ่จะเป็นลายธรรมชาติ เป็นภาชนะลายครามเขียนลายสีน้ำเงินบนดินชนิดปอร์ซเลน ทำต่อเนื่องมาจากราชวงศ์หยวน มีการคิดค้นการทำสีต่างๆและวิธีเขียนสีบนเคลือบ

 

      -ภาชนะแบบโต๋วไฉ่ ร่างเส้นนอกของลวดลายด้วยสีฟ้า นำไปเคลือบน้ำเคลือบใสหรือเคลือบขาวทับแล้วจึงนำมาเขียนลวดลายภายในเส้นร่างโดยใช้น้ำยาสีต่างๆมากกว่า2สี

 

27

 

      -ภาชนะแบบอู๋ไฉ่ คือ “เครื่องห้าสี” อาจใช้สีมากกว่าแต่มองโดยรวมเป็นการเขียนสีหลายสีประมาณ5สี และยังมีภาชนะที่ราชวงศ์เหม็งทำได้ดีก็คือ ภาชนะที่เผาเคลือบสีแดง (Copper red)

 

28

 

29

“เครื่องห้าสี” (Copper red)

 

ราชวงศ์เช็ง หรือ ชิง (คริสต์ศักราช 1645 - คริสต์ศักราช 1912)

 

 

      เป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีน สถาปนาโดยชาวแมนจู ซึ่งรับเอาศิลปะและวัฒนธรรมต่อจากราชวงศ์หมิงภาชนะเครื่องปั้นดินเผาจึงยังคงมีเคลือบลายครามอยู่แต่พัฒนาให้สีเคลือบมีคุณภาพมากขึ้นพัฒนาให้มีหลายเฉดสี มากกว่าภาชนะอู๋ไฉ่ และมีการฟื้นฟูภาชนะเคลือบแบบต่างๆโดยการนำเอาราชวงศ์อื่นๆมาพัฒนา การทำเครื่องปั้นดินเผาของจีนสามารถทำสีต่างๆได้มากและใช้สีสดใสต่างๆมารวมในงานชิ้นเดียวกันทำให้ดูงามเกินงาม

 

30

 

      ในยุคนี้ประเทศจีนมีจำนวนประชากรเพื่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ทำให้สินค้าต่างๆต้องผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก จึงทำเครื่องปั้นดินเผาสมัยเช็งทำกันมากซ้ำซาก มีการผลิตจำนวนมากเป็นอุตสาหกรรมทำให้ดูเหมือนขาดชีวิตจิตใจ ขาดเอกลักษณ์สะท้อนให้เห็นถึงรสนิยมที่เปลี่ยนไปเป็นผลให้งานด้อยลงในด้านคุณค่าทางศิลปะ

 

31

 

32

 

      ราชวงศ์เช็ง ล่มสลายกลายเป็นสาธารณรัฐปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ หลังสงครามโลกครั้งที่2 พรรคคอมมิวนิสต์ได้เข้าปกครองประเทศจีน จึงเปลี่ยนเป็นสมัยแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนจนกระทั่งปัจจุบันค่ะ

 

      เป็นยังไงกันบ้างคะสาระที่นำมาฝากในเดือนนี้อ่านแล้วอินเข้ากับช่วงเทศกาลตรุษจีนจริงๆค่ะกว่าจะกลายมาเป็นภาชนะในรุ่นปัจจุบันมีการพัฒนามาอย่างยาวนาน หวังว่าจะชอบกับบทความที่เรานำมาฝากกันนะคะ นอกจากจะได้สาระความรู้แล้วยังได้เห็นถึงฝีมือของช่างในสมัยก่อนจากการบรรจงสร้างสรรค์ภาชนะแต่ละชิ้นทำให้เห็นเลยว่าศิลปะอยู่คู่กับมนุษย์มายาวนาน

 

 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ history of ceramic(ประวัติศาสตร์เซรามิกส์)

เขียนโดย อาจารย์พิพัฒน์ จิตอารีย์รักษ์

 

 

 
     

 

ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์สำหรับราชวงศ์ฮั่นเลยล่ะค่ะกับภาชนะไหภูเขาในรูปแบบต่างๆ

 Contact us / Join us

ออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน Interior design Thailand

www.bareo-isyss.com เป็น web magazine ที่ update รายเดือนเพื่อผู้อ่าน ทัศนะและความคิดเห็นใดๆ ของผู้ประพันธ์ หรือผู้สนับสนุน
ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง หรือไม่แน่ชัดใน www.bareo-isyss.com มิได้มาจาก บริษัท บาริโอ จำกัด และบริษัทในเครือแต่อย่างใด
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน Interior design Thailand