เครื่องสำอางในงานสถาปัตยกรรม

     ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง… ตัวอาคารนั้นจะสวยล้ำแซงตึกอื่นขึ้นมาได้ต้องอาศัย Facade
‘FAÇADE’ คำคำนี้เป็นคำภาษาอังกฤษที่แปลว่าหน้าตาของอาคาร หรือส่วนหน้าของอาคารที่หัน หน้าออกไปทางถนน และถ้าหากพูดถึงในเชิงของสถาปัตยกรรมจะหมายถึงส่วนตกแต่งด้านนอกอาคาร ที่สถาปนิกมักจะเล่นลูกเล่นสวยงาม แปลกตาหรือเรียบหรูเอาไว้เพื่อให้อาคารนั้น ๆ โดดเด่นเป็น เอกลักษณ์ขึ้นมานั่นเอง
หลาย ๆ ท่านคงจะเคยมองอาคารนู้น ตึกนี้แล้วเกิดความรู้สึก ‘ว้าว สวยจัง!’ หรือ ‘โอ้โห ไม่เคย เห็นมาก่อนเลย’ มากันบ้างใช่มั้ยล่ะคะ ทั้งหน้าตาดูดี มีสีสัน การเล่นกับเส้นแพทเทิร์นหรือแม้แต่ฟอร์ม แปลก ๆ ก็มีให้เห็นกันมากขึ้นในปัจจุบัน
แต่ เอ… แล้วเจ้า Facade ของแต่ละอาคารเนี่ย เขาทำขึ้นมาให้เป็นแบบนั้นเฉย ๆ หรือว่ามันจะมี เรื่องเล่าเรื่องราวอยู่เบื้องหลังหน้าตาที่โดดเด่นกันแน่นะ? ในวันนี้เราได้คัดอาคารที่มี facade แปลกตา และมีเรื่องราวเบื้องหลังหน้าตาเหล่านั้นมาฝากกันค่ะ

Knowledge Center of Chachoengsao (KCC)

(PHOTO CREDIT : http://www.museumthailand.com/kcc)

เริ่มด้วยอาคารในประเทศอย่าง อาคาร KCC หรือศูนย์การเรียนรู้ฉะเชิงเทรา กันก่อนเลยค่ะ อาคารหลังนี้ออกแบบโดย รศ.ดร.ต้นข้าว ปาณินท์ และคุณธนาคาร โมกขะสมิต ซึ่งฟังก์ชั่นการใช้สอย ของอาคารนี้ก็คือห้องสมุดสาธารณะค่ะ ห้องสมุดที่ดูหน้าตาหวือหวาเล็ก ๆ แห่งนี้มีเบื้องหลังหน้าตา อาคารอย่างตรงไปตรงมา พอจะเดากันได้มั๊ยคะ? ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก…
เฉลยดีกว่า… หน้าตาของอาคารหลังนี้ก็เหมือนกับ ‘หนังสือที่วางซ้อนกัน’ นั่นเองค่ะ
แหม… ก็เป็นห้องสมุดนี่นะก็เลยเอาหนังสือมาเล่นให้กลายเป็น Facade ของอาคารซะเลย แต่ก็ ไม่ใช่แค่เอาฟอร์มหนังสือมาทำเป็นตัวอาคารตรง ๆ เลยอย่างเดียวนะคะ การเลือกใช้ระแนงตกแต่ง เป็น Facade และสาเหตุที่มีมุมหลบเข้าและยื่นออกก็เพื่อกรองแสงอาทิตย์และความร้อนที่จะเข้าไปใน ตัวอาคารให้น้อยลง เพราะเจ้าแสงอาทิตย์เนี่ยล่ะ ศัตรูตัวร้ายของเหล่ากระดาษหนังสือทั้งหลายเลย ดัง นั้นการออกแบบตัวอาคารให้ป้องกันแสงอาทิตย์แบบนี้จึงเป็นวิธีการรักษาสภาพหนังสือให้อยู่ได้นานค่ะ
นอกจากนี้สถาปนิกยังตั้งใจทำหน้าตาอาคารเป็นแบบนี้ เพื่อทำให้อาคารดูไม่เป็นกล่องตันที่ดูทึบ ภายในตัวอาคารยังมีโถงกลางอาคาร เพื่อดึงแสงธรรมชาติลงมาในตัวอาคารอย่างทั่วถึงด้วยนั่นเอง

Moving Landscape, Ahmedabad


(PHOTO CREDIIT : https://www.archdaily.com)

ต่อมาคือ Moving Landscape โดย Matharoo Associates ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
บ้านหลังนี้ดูเผิน ๆ อาจะเหมือนบ้านเรียบ ๆ ทั่วไปที่ผนังทำจากหิน แต่อันที่จริงแล้ว Facade ของ อาคารหลังนี้นั้น ‘ขยับได้’
การขยับของ Façade ที่ว่าเนี่ยขยับด้วยการหมุนและการเลื่อนค่ะ ถ้าหากมองตอนที่ปิดสนิทแล้วล่ะ ก็จะเห็นเป็นผนังหินขัดสวยสีน้ำตาลส้มเรียบ ๆ แต่พอขยับแล้วก็ทำให้ตัวอาคารเกิดหน้าตาใหม่ขึ้นมา มีมิติของแสงเงาและความลึกของอาคารที่จะเปลี่ยนไปทุกครั้ง ตามการขยับที่ต่างกันและผนังนี้ก็ สามารถขยับได้ตามใจชอบ ควบคุมได้ด้วยสวิชต์ที่อยู่ในบ้าน เมื่อเปิดออกมาแล้วก็จะพบกับผนัง กระจกที่ดูเบาตัดกับตัวผนังหินด้านหน้า

ภายในบ้านหลังนี้ก็ตกแต่งด้วยวัสดุที่เป็นหินเช่นกันค่ะ เพราะแรงบันดาลใจของบ้านหลังนี้มาจาก ป่าหิน หรือ Fossilized Landscape ที่เป็นเนินทรายกว้างที่มีซากหินซากต้นไม้โบราณอยู่…นี่ก็ไม่รู้ เหมือนกันนะคะเนี่ยว่าอะไรดลใจให้เจ้าของบ้านหรือดีไซน์เนอร์เลือกที่จะใช้ธีมนี้เป็นคอนเซ็ปต์ของ บ้าน แต่ยังไงก็ตามแต่ Facade ของบ้านที่สามารถขยับได้เนี่ย… เท่ห์ไม่หยอกเลยใช่มั้ยล่ะคะ : )

Azurem campus, University of Minho

(PHOTO CREDIT :https://www.domusweb.it)

อาคารวิจัยของ University of Minho ที่ตั้งอยู่ในประเทศโปรตุเกส วิทยาเขต Azurem campus อาคารเป็นสีเขียวอ่อนที่มีช่องเปิดมากมายที่ได้ไอเดียมาจากรูปทรงของ ‘ท่อนาโนไทเทเนียม’ Nano Titenium เป็นโครงสร้างทางเคมีที่สามารถนำไปประยุกต์เพื่อทำเป็นวัสดุต่าง ๆ ได้หลากหลาย แล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง
Claudio Vilarinho สถาปนิกผู้ออกแบบตึกนี้กล่าวว่า ที่ใช้ท่อนาโนไทเทเนียมมาเป็นไอเดียใน การออกแบบและการใช้สีของอาคารเป็นสีเขียวอ่อนซึ่งดูโดดขึ้นมาจากตึกอื่น ๆในวิทยาเขตที่เป็น อาคารสีเทานั้น ก็เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงภาวะสิ่งแวดล้อมของโลก ตัววัสดุที่ใช้ทำ Facade นั้นทำ มาจากซีเมนต์และไมโครไฟเบอร์ (Microfiber) เพื่อป้องกันสนิมและรอยร้าว อีกทั้งตัว Facade เองก็เป็น เปลือกด้านนอกที่มีช่องว่างห่างจากผนังภายในออกมา ทำให้อาคารวิจัยแห่งนี้สามารถระบายอากาศ และลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคารได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้การเจาะช่องวงกลมที่คละขนาด และรูปทรงนั้นยังช่วยดึงแสงธรรมชาติจากภายนอกเข้า สู่ตัวอาคาร เพื่อเป็นอีกหนึ่งวิธีของการประหยัดพลังงาน ซึ่งตรงกับคอนเซ็ปต์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ อาคารวิจัยแห่งนี้อีกด้วย

Crinkled Wall Building, High School Crinkled Wall


(PHOTO CREDIT : http://miesarch.com/work/1145)

สถาปนิก Johannes Wiesflecker และศิลปิน Karl-HeinzKlopf เป็นผู้ออกแบบอาคารหลังนี้ที่ถูก เรียกว่า Crinkled Wall Building แห่งโรงเรียน Schillerstraße ที่ตั้งอยู่ในเมืองคุฟชไตน์ ประเทศ ออสเตรีย
แรงบันดาลใจของผนังตกแต่งที่ดูเหมือนกระดาษยับ ตั้งแต่ชั้นหลังคาลงมาเกือบถึงพื้นแบบนี้… แน่นอนว่ามันก็มาจากกระดาษยับนั่นล่ะ แต่เป็นกระดาษยับที่สื่อถึงร่องรอยการเรียนรู้ การเรียนและทำ ซ้ำ การแก้ไขและการใช้งาน เพราะโรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนเก่าแก่ อีกทั้งตอนที่เกิดอาคารหลังนี้ขึ้น มาก็เป็นการ Renovate ตึกจากอาคารเรียนเก่ามาค่ะ ดังนั้นคอนเซ็ปต์ที่เล่าเรื่องการแก้ไขและนำกลับ มาใช้งานใหม่จึงตรงตามเรื่องราวของอาคารหลังนี้พอดี
โอ้โห… แค่ Facade ยับนิดเดียวแต่กลับซ่อนความหมายที่ลึกซึ้งไว้ขนาดนี้ แล้ว Facade ของ อาคารหลังต่อไปจะเป็นยังไงกันบ้างนะ?

Salon Mittermeier, Linz


(PHOTO CREDIT : http://sashaberdichevskaya.blogspot.com/)

ถัดจากอาคารหลังใหญ่ ๆ เราก็มาดู Facade ของร้านตัดผมห้องเล็ก ๆ กันบ้างดีกว่าค่ะ
Salon Mittermeier ร้านตัดผมที่ตั้งอยู่ในเมืองลินซ์ ประเทศออสเตรีย ถึงแม้ว่าจะเป็นร้านห้อง เดียว แต่สถาปนิก Xarchitekten ก็ตั้งใจทำ Facade ออกมาทั้งให้สวยงามและมีคอนเซ็ปต์ ซึ่งคอน เซ็ปต์ของร้านนี้ก็ไม่พ้นได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ‘การเคลื่อนไหวของเส้นผม’ นั่นเอง
ตัว Facade ของร้านตัดผมแห่งนี้ทำมาจากลามิเนต ตัดให้เป็นทรงโค้งตามดีไซน์ทีละแผ่น ประกอบกันเป็นระแนงไม้ที่ดูมีการเคลื่อนไหว ประโยชน์ของ Facade นี้นอกจากจะเป็นที่ดึงดูดสายตา ของคนภายนอกแล้ว ยังสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับลูกค้าภายในอีกด้วย เนื่องจากตัวระแนงมีความลึก พอสมควร จึงทำให้บรรยากาศภายในร้านตัดออกจากโลกภายนอก สร้างความรู้สึกเป็นส่วนตัวภายใน ร้านที่อยู่ติดกับถนนและมีคนเดินผ่านไปมาตลอดเวลา

Pure Spa, Vietnam


(PHOTO CREDIT : http://aasarchitecture.com)


(PHOTO CREDIT : www.archdaily.com)

ปิดท้ายกันด้วย Pure Spa by Mia Design Studio อาคารที่ใช้ต้นไม้เป็นองค์ประกอบหลัก
เมืองดานัง ประเทศเวียดนามซึ่งเป็นที่ตั้งของสปาแห่งนี้มักจะใช้ต้นไม้มาเป็นองค์ประกอบของ อาคารเป็นส่วนมาก ทำให้ Facade ของที่นี่แปลกตาไปจากตัวอย่างที่ได้หยิบยกมาก่อนหน้า ซึ่งล้วน แล้วสร้างจากวัสดุสังเคราะห์เกือบทั้งหมด
สปาแห่งนี้เป็นสปาธรรมชาติจึงเน้นให้ลูกค้าได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ แต่เนื่องจากเมืองดานังเป็น เมืองที่ค่อนข้างอากาศร้อนและแดดแรง ดังนั้นพื้นที่แบบเปิดโล่งจึงจำเป็นต้องมี Facade ต้นไม้มาช่วย กรองลม สร้างร่มเงาและบังแสงแดดเพื่อให้ตัวอาคารสามารถใช้แสงและลมธรรมชาติได้
นอกจาก Facade ต้นไม้แล้วอาคารแห่งนี้ยังแซมไปด้วยแผงตกแต่งสีขาวที่มีจุดประสงค์ทำให้ดู คล้ายน้ำตกเพื่อให้ใกล้กับความเป็นธรรมชาติ อีกทั้งยังช่วยให้อาคารดูสะอาดสะอ้านน่าใช้งานขึ้นมา นั่นเอง

     เป็นยังไงกันบ้างคะ พอจะเห็นด้วยหรือยังว่า Facade เป็นปัจจัยที่มีส่วนช่วยเสริมอาคารให้ สวยงาม เป็นเสมือนเครื่องสำอางตกแต่งให้มีเอกลักษณ์และลงตัว ดังรูปทรงสะดุดตาของอาคารที่ หยิบยกมาในวันนี้ ก็เป็นเพียงแค่ตัวอย่างส่วนหนึ่งของอาคารที่น่าสนใจ หวังว่าในครั้งต่อ ๆ ไปจะได้มี โอกาสนำอาคารอื่น ๆ มาแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกันนะคะ
สวัสดีค่ะ 🙂