Art & Masterpiece
ประวัติศาสตร์จีนนั้นมีมายาวนาน ในช่วงปี 2500 – 2000 ปีก่อนคริสตกาล ได้ก่อกำเนิดพบหลักฐานที่บ่งบอกถึงความเจริญของจีนโบราณโดยนักโบราณคดีสมัยใหม่ โดยเฉพาะพื้นที่ทางตอนล่างของ
แม่น้ำฮวงโห ความต่อเนื่องในการอพยพเคลื่อนย้าย การพัฒนานานนับศตวรรษ ทำให้ก่อเกิดการสร้างระบบทางปรัชญา การเขียน ศิลปะ ระบบการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อรูปเป็นอารยะแห่งความเจริญของประชาชาติจีน ซึ่งมีเอกลักษณะเฉพาะในสังคมโลก
Cr: pinterest.com
เนื่องจาก อารยะธรรมของประเทศจีนมีช่วงเวลาที่ยาวนานมาก ดังนั้น เพื่อให้การศึกษาทําความเข้าใจแบบง่ายๆ จึงแบ่งช่วงเวลานั้น ๆ ออกเป็น 3 ช่วง คือ
ช่วงยุคหินใหม่ – วัฒนธรรมยุคหินใหม่จะตั้งถิ่นฐานตามที่ราบลุ่มแม่น้ำ นักโบราณคดีมักจะพบเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิมที่ใช้แป้นหมุนในการผลิต ตัวเนื้อของเครื่องปั้นจะมีลักษณะบาง มีสีเทาและดำเป็นหลัก จึงเรียกเครื่องปั้นลักษณะนี้ “วัฒนธรรมเครื่องปั้นเคลือบดำ” นอกจากนี้แล้ว ในช่วงยุคนี้จะมีความเชื่อของเรื่องวิญญาณ ดังนั้นคนในสมัยนั้นจะนำภาชนะเหล่านี้ฝังไปพร้อมกับบรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อนำไปใช้ในโลกหน้า ลวดลายที่เกิดขึ้นบนภาชนะก็จะเป็นลวดลายธรรมชาติ ที่ขีดเขียนแบบง่าย ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ พืช หรือลวดลายเรขาคณิตครับ
Cr : http://oknation.nationtv.tv
ช่วงก่อนรวบรวมอาณาจักร
ศิลปวัฒนธรรมในช่วงเวลานี้เป็นต้นกำเนิดของยุคต่อๆไป ซึ่งพระเจ้าเหวินติงแห่งราชวงศ์ซังหล่อขึ้นเพื่อใช้เป็น เครื่องบูชาพระมารดา ลวดลายที่ใช้ตกแต่งเป็นลายเมฆต่อเนื่องกัน จึงเป็นผลให้ช่วงต่อๆ มาเริ่มมีความเชื่อในเรื่อง ผีสาง เทวดา จึงก่อกำเนิดเครื่องสัมฤทธิ์ขึ้นมาใช้เช่นกัน ส่วนมากจะเป็นภาชนะที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ลักษณะของลวดลายก็จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ลวดลายเหมือนจริงเป็นลวดลายที่นำเอาธรรมชาติของคน สัตว์ มาตกแต่งบนภาชนะ โดยคำนึงถึงความเป็นจริงมากที่สุด และลวดลายจากธรรมชาติที่นำมาสร้างขึ้นใหม่ เช่น ลวดลายเมฆ ครับ
Cr. http://thai.cri.cn
ช่วงรวบรวมอาณาจักร
การรวบรวมอาณาจักรถือเป็นช่วงเวลาที่ยาวนาน เริ่มต้นตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน พ.ศ. 322 สิ้นสุดราชวงศ์ชิง พ.ศ. 2454 เกิดเรื่องราวที่หล่อหลอมเข้าด้วยกัน ส่งผลมาถึงการดำเนินชีวิต เกิดวัฒนธรรมต่างๆ เช่น สถาบันปรัชญา ลัทธิศาสนา ศาสนาจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ ลักษณะของลวดลายก็จะเป็นรูปแบบเดิมจากยุคก่อนๆ ถ่ายทอดมา แต่จะมีเรื่องของลวดลายที่เพิ่มขึ้นจากศาสนาที่เข้ามาเผยแพร่จากประเทศอื่นๆ เช่น พุทธศาสนาที่มาจากอินเดีย อาทิเช่น เครื่องประดับ เครื่องแต่งกายของพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ ที่จะมีความพลิ้วไหวสวยงามตามแบบฉบับของชาวอินเดียครับ
Cr: https://www.9chaichana.com
ลวดลายในศิลปะจีน
ลวดลายที่นํามาใช้เป็นสัญลักษณ์ในทางมงคลของจีนมีมากมาย บางครั้งก็มีการนำเอาสัญลักษณ์มาใช้ผสมผสานกันความหมายก็เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เพื่อง่ายต่อความเข้าใจจึงจำแนกลวดลายสัญลักษณ์เหล่านี้ออกเป็นประเภทตาม 3 ลักษณะดังนี้
ลวดลายจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
เป็นการเอาสิ่งที่พบเห็นในธรรมชาติหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เหนือการควบคุมของมนุษย์เรามาประกอบเข้ากับจินตนาการและความรู้ ความสามารถในแต่ละยุคสมัย ออกแบบเป็นลวดลายขึ้นมา โดยเราจะเห็นลวดลายเหล่านี้ได้ตามตามสถานที่บำเพ็ญทางพุทธศาสนาต่างๆ ลวดลายที่จะเห็น อาทิเช่น
ลวดลายเมฆ เป็นลวดลายที่นิยมใช้กันมากในประเพณีจีน มีความหมายถึงความสันติสุข ความมี โชคและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
Cr: pinterest.com
ลายประแจจีน เป็นการนำลวดลายเมฆมาต่อ ลายในรูปทรงเรขาคณิต
Cr : https://th.pngtree.com
ลายประแจสายฟ้า นำลวดลายของเมฆต่อลายโดยไม่ม้วนขด
ลวดลายน้ำ คลื่น เป็นลวดลายที่นำธรรมชาติมารังสรรค์เป็นสัญลักษณ์แทนทะเล ทะเลสาบและ สระน้ำ นิยมวาดเป็นลวดลายโค้ง ครึ่งวงกลม หรือ 3 ใน 4 ของวงกลม วางเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เป็นการอวยพรให้ได้รับยศถาบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางชั้นสูงในราชสำนัก
Cr: pinterest.com
ลวดลายจากพืช
เป็นการนำเอาลวดลายของต้นไม้ ดอกไม้หรือผลไม้ต่างๆนานา มากำหนดเป็นสัญลักษณ์ และสร้างความหมายเพื่อเป็นสิริมงคล โดยยึดเอาแบบตามจริงของพืชมาประกอบเข้ากับความเชื่อ อาทิ
ต้นสน เป็นต้นไม้ที่ไม่ผลัดใบ ทนทานในทุกฤดูกาล มีอายุยืน จึงใช้เป็นสัญลักษณ์ของการอวยพรให้มีอายุยืนยาว มั่นคงและการมีชีวิตคู่ที่ยั่งยืน
Cr: pinterest.com
ต้นไผ่ แสดงความหมายที่เป็นมงคล ซึ่งมักจะให้ความหมายเรื่อง อายุยืนยาว สงบร่มเย็นและความสุขสมหวัง
Cr: pinterest.com
ดอกโบตั๋น เป็นนางพญาแห่งดอกไม้ของจีน มีหลากหลายสี แต่สีแดงมักเป็นที่นิยมมาก เป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคง มีเกียรติและความสง่างาม
Cr: pinterest.com
ดอกเหมยหรือดอกบ๊วย เป็นดอกไม้ที่ ออกดอกในฤดูหนาว กลิ่นหอมสดชื่น จึงเป็นตัวแทนของ ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ดอกเหมยเป็นสัญลักษณ์ของความ ชื่นบาน ความมีโชคลาภ
Cr: pinterest.com
ลวดลายจากสัตว์
เป็นลวดลายมงคลที่นำเอา สัตว์ทั้งที่ปรากฏในธรรมชาติ และสัตว์จากจินตนาการจาก ความเชื่อในลัทธิทางศาสนาต่างๆ มาเป็นสัญลักษณ์ ในการสื่อความหมาย
นกสามขา เป็นตัวแทนของสัญลักษณ์การมีอายุ ยืนยาวและนำโชคมาให้ เป็นสัตว์อมตะที่อยู่บนดวงอาทิตย์ จึงมักวาดให้อยู่ในวงกลม
Cr: pinterest.com
กิเลน เป็นสัตว์ในจินตนาการเกิดจากการนําเอาส่วนต่างๆ ของสัตว์หลายชนิดมาประกอบเข้าด้วยกัน คือ ตัวกวาง หางวัว หัวมังกร เกล็ดปลา ส่วนเขาของกิเลนนั้นพบว่า มีทั้งเขาเดียว สองเขาและสามเขา กิเลนเป็นสัญลักษณ์ของความมีวาสนาและมั่นคง
Cr: pinterest.com
สิงห์ เป็นสัตว์มงคล ที่มีลักษณะคล้าย สิงโต ทำหน้าที่อารักขา ดูแลสถานที่สำคัญให้แคล้วคลาดจากภยันตราย ปกติจะติดตั้งเป็นคู่ไว้หน้าอาคาร ตัวผู้จะอยู่ ทางขวาใต้อุ้งเท้าจะเหยียบลูกบอลประดับ ลวดลาย ตัวเมียจะอยู่ทางซ้ายภายใต้อุ้งเท้าจะเป็นลูกของมัน ที่กำลังหยอกเล่นอยู่ นอกจากนี้สิงห์ยังเป็นพาหนะของพระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์ในพุทธศาสนานิกายมหายานอีกด้วยครับ
Cr: pinterest.com
ลวดลายจากอักษรจีน
ตัวอักษรของจีนเป็นอักษรภาพที่ดัดแปลงมาจาก ธรรมชาติ และพัฒนามาหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน การเขียน ตัวอักษรของจีนมีลักษณะเป็นการวาดมากกว่าการเขียนในการใช้ตัวอักษรมาเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายในการอวยพรในงานพิธีต่างๆ มักจะนิยมใช้ตัวอักษร 3 ตัว คือ ฝู ลู่ โซ่ว หรือในสำเนียงแต้จิ๋ว คือ ฮก ลก ซิ่ว เป็นสัญลักษณ์ของความสุข ความร่ำรวย มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง ๆ ลูก หลานดีๆ และอายุยืนยาว
Cr: pinterest.com
ลวดลายสัญลักษณ์มงคล
เป็นการนำสัญลักษณ์มงคลในพุทธศาสนาลัทธิเต๋า และลัทธิขงจื๊อ มาให้ความหมายเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
ปลาคู่ เป็นการอวยพรในเรื่องของความสุข มีความเข็มแข็งเกิดขึ้นในจิตใจ
Cr: pinterest.com
มุกอัคนี เป็นมุกที่ล้อมรอบด้วยเปลวไฟมีความหมายแสดงถึงความบริสุทธิ์
Cr: pinterest.com
คฑาหยู่อี้ เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในชนชั้นสูง ดัดแปลงมาจากเห็ดหลินจือ เป็นการอวยพรให้กระทำการสิ่งใดได้ สมตามความปรารถนา
Cr: pinterest.com
หยินหยาง เป็นสัญลักษณ์ของความมืดมนและความสว่าง มีความหมายมงคลของลัทธิเต๋าที่แสดงให้เห็นว่า ชีวิตนี้มีทั้งดีและเลว ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์พร้อม
Cr: pinterest.com
สำหรับเนื้อหาในบทความนี้ก็ถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องสัญลักษณ์ของชาวจีนที่มีความเป็นมาที่หลากหลาย หวังว่าเพื่อนๆ ทุกคนคงได้ประโยชน์ไม่ได้มากก็น้อยนะครับ อย่างน้อยเวลาไปที่ไหนเห็นรูปแบบสัญลักษณ์ทำนองนี้ก็จะได้เข้าใจถึงความหมายและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องครับ ☺
ขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือสัญลักษณ์มงคลจีน.กรุงเทพฯ (2545)
thai.china.com
pinterest.com
thaichinese.net