ORIGAMI

Inspired By Origami

 

เมื่อกล่าวถึงการพับกระดาษ หรือ “Origami”   Origami มาจากภาษาญี่ปุ่นซึ่งเกิดจากการผสมคำว่า “Ori” ที่แปลว่า “พับ” และคำว่า “Kami” ที่แปลว่า “กระดาษ” เมื่อเรียกกันนานๆเข้า คำศัพท์เกิดเพื้ยนไปเป็น “Origami” นั่นเอง  อย่างไรก็ดีชื่อ “Origami”   นี้ก็ฟ้องอยู่แล้วว่ามาจากญี่ปุ่น  แต่หลายๆคนรู้หรือไม่ว่าฝั่งตะวันตก เขาก็มีศิลปะการพับกระดาษมาเหมือนกัน    เรื่องศิลปะการพับกระดาษนี้อย่าเพิ่งเข้าใจผิดไปว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ให้กำเนิดนะครับ แม้ชื่อเรียกทางสากลจะยอมรับชื่อ “Origami”   กันก็ตาม   อันที่จริงแล้วศิลปะการพับกระดาษนั้นแบ่งออกเป็น 2 สายคือ สายเอเชีย เริ่มจากญี่ปุ่น กับ สายยุโรป เริ่มจากประเทศสเปน

 

สายยุโรป

ศิลปะการพับกระดาษของสเปนนี้ตามประวัติบอกว่ามาจากพวกมัวร์ (Moore) ซึ่งบุกเข้ามายึดครองสเปนในราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 พวกมัวร์เป็นชนเผ่ามุสลิมที่มาจากแถบแอฟริกาเหนือ โดยพวกมัวร์นิยมพับกระดาษเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบต่างๆ เนื่องจากในศาสนาอิสลามห้ามการสร้างรูปสัตว์

ต่อมาชาวคริสต์สามารถชิงดินแดนสเปนคืนกลับมาจากพวกมัวร์ได้ในปี ศ.ศ. 1492 จากนั้นมา สเปนก็พัฒนาการพับกระดาษขึ้นมาเป็นรูปสัตว์ชนิดต่างๆ โดยเริ่มจากการพับนก เรียกว่า papiroflexia หรือ pajarita (แปลว่า นก) และจากจุดเริ่มต้นที่สเปนนี้เองศิลปะการพับกระดาษสายยุโรปก็ได้แพร่เข้าสู่ประเทศทางแถบอเมริกาใต้ที่เป็นอาณานิคมของสเปนในเวลาต่อมา

 

นกปาคารีตา (pajarita)

 

เอกลักษณ์ของโอริกามิสายพันธุ์สเปนคือแบบแผนรูปทรงเรขาคณิตที่เห็นได้ชัดเจน ดังจะเห็นตัวอย่างได้จาก นกปาคารีตา (pajarita) ซึ่งเป็นการพับนกพื้นเมืองของสเปนที่แปลกและแตกต่างจากการพับนกแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นมาก

ศิลปะการพับกระดาษแบบสเปน ถือเป็นต้นทางโอริกามิสายยุโรปที่แพร่ขยายออกไปยังประเทศใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว ในยุคเรอเนซองส์ชนชั้นสูงชาวอิตาลีนิยมตกแต่งโต๊ะรับประทานอาหารด้วยการพับผ้าเช็ดปากหรือมือเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น นก เรือ และเริ่มมีการเผยแพร่หนังสือคู่มือวิธีพับกระดาษในยุคนี้

 

http://easywatch.info/tag/the-bird-of-paradise-napkin-fold-procedure/

สายเอเชีย

สันนิษฐานว่าการพับกระดาษน่าจะเริ่มไม่นานนัก หลังจากที่ชาวจีนได้คิดค้นกระดาษขึ้นเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อน   แต่จากการค้นหาหลักฐานของนักโบราณคดี ไม่พบหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรแม้แต่ชิ้นเดียว   อย่างไรก็ดีมีเพียงการสังเกตจากวัฒนธรรมเท่านั้นว่า คนจีนมักจะพับกระดาษเงินกระดาษทองในพิธีกรรมต่าง  ซึ่งพิธีกรรมนี้มีอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อ  และลัทธิขงจื๊อเคยรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น  ก็เลยสันิษฐานว่าการพับกระดาษในพิธีกรรมคงจะสืบทอดมาจากสมัยราชวงศ์ฮั่น  ต่อมาได้แพร่หลายเข้าสู่หมู่เกาะญี่ปุ่นโดยพ่อค้าชาวจีนและเกาหลี

ในญี่ปุ่น ได้พบบทกลอนโบราณที่แต่งใน ปี ค.ศ. 1680 ซึ่งมีการพูดถึงผีเสื้อกระดาษ นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า การพับกระดาษในยุคแรกๆ น่าจะไม่กว้างขวางมากนัก เพราะกระดาษมีราคาแพง ดังนั้นการพับกระดาษจึงถูกผูกขาดโดยกลุ่มชนชั้นสูงและซามูไร

เนื่องจากพวกซามูไรจะมีพิธีในแบบฉบับของตัวเอง มีขนบธรรมเนียมในการห่อของขวัญเป็นแบบเฉพาะตัว หนังสือสอนการห่อของขวัญเล่มแรกชื่อ “ทสึทสึมิ โนะคิ” (1764) ที่แสดงวิธีการพับของประดับห่อของขวัญและวิธีการห่อของขวัญ

 

ค.ศ. 1797  ได้มีการเขียนหนังสือชื่อว่า “เซ็มบาทสึรุ โอริคาตะ” หรือ“วิธีพับนกกระเรียนพันตัว” โดยพระญี่ปุ่นในสมัยเอโดะชื่อ กิโดะ โระโคะอัน เนื้อหาในหนังสือบอกถึงวิธีพับนกกระเรียนหลายๆตัวจากกระดาษเพียงแผ่นเดียว ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้สร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการพับกระดาษมากกว่าเล่มอื่นที่ผ่านมา คนในวงการพับกระดาษบางคนจึงยกย่องหนังสือเล่มนี้ให้เป็นหนังสือพับกระดาษเล่มแรกของโลก

การผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก

ช่วงปลายทศวรรษที่ 19 มีการจัดสัมมนาหัวข้อเรื่อง “ORIGAMI” ที่กรุงปารีส จึงได้เกิดการผสมผสานวิธีการพับกระดาษของทางฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก โดยตัวแทนทางฝั่งตะวันตกได้แก่ “Ligia Montoya” และ “Adolfo Cerceda” ส่วนทางฝั่งตะวันออกมี “Isao Honda” และ “Akira Yoshizawa” โดยทั่งสองฝ่ายได้มีการประชุมร่วมกันหลายครั้ง ซึ่งได้สรุปความแตกต่างกันระหว่างแบบตะวันตกกับตะวันออกก็คือ ทางฝั่งตะวันตกจะสื่อว่า Origami เป็นรูปแบบการพับกระดาษแบบเรียบง่าย และต้องมาจากกระดาษสี่เหลี่ยมขาวๆ 1 แผ่น ส่วนทางฝั่งตะวันออกจะบอกว่า Origami เป็นรูปแบบการพับกระดาษที่สวยงาม มีสีสันหลากหลาย ยิ่งโดดเด่น ยิ่งสวย

ปัจจุบัน Origami รูปแบบต่างๆได้มีให้เห็นบ่อยๆตามหนังสือ นิตยสาร กระดาษห่อ หรือแม้กระทั่งการ์ดอวยพรในงานต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว Origami จะต้องไม่มีการใช้กาว, การฉีก, การตัด, การตกแต่งอื่นๆนอกจากกระดาษ 1 แผ่นเท่านั้น และกระดาษนั้นต้องเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสอย่างสมบูรณ์เท่านั้นครับ

Inspired By Origami

Issey Miyake

 

หนึ่งในนักออกแบบแห่งยุคสมัยนี้ก็คือ Issey Miyake ที่ออกผลงานดีไซน์มากี่ครั้งก็จะต้องได้รับเสียงว้าว จากสายตาผู้ชมกลับไปทุกครั้ง ตัวเขาเองนั้นเกิดในปี 1938 ที่ฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น หลังจากเรียนจบที่มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นหกปี เขาก็ได้ทำงานในปารีส และนิวยอร์ก รวมไปถึงก่อตั้งสตูดิโอออกแบบแฟชั่นของตัวเองในยุค 70 และได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในยุค 80 จนถึงทุกวันนี้เขายังคงเป็นดีไซน์เนอร์ญี่ปุ่นที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลกจากงานดีไซน์ และกระเป๋าโอริกามิ

 

Origami Bag

BAO BAO นั้นเป็นแบรนด์ใหม่จากมิยาเกะ ซึ่งขาย accessory ทั้งหลาย รวมทั้ง กระเป๋ายอดฮิตอย่าง BILBAO LUCENT

ซึ่งมิยาเกะมีแนวคิดในการทำกระเป๋าจากการมีความคิดที่จะสร้างกระเป๋าสามมิติที่แข็งแรงในแบบโอริกามิ แต่มีความยืดหยุ่น สวยงามและดูทันสมัย

Dress

 

แรงบันดาลใจโอริกามิในงานดีไซน์ของ Issey Miyake ไม่ได้จบลงแค่กระเป๋าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเสื้อผ้าอีกด้วย

โดยงานดีไซน์เสื้อผ้าแบบโอริกามิพับได้นี้ถือเป็นรายแรกในวงการแฟชั่นและเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่ซ้ำกับใครจวบจนกระทั่งตอนนี้ และสะท้อนความเก่งกาจของ Issey Miyake ในการออกแบบงานชั้นเลิศ โดยแทนที่จะตามเทรนด์ที่ถูกกำหนดมา เขากลับเลือกสร้างงานตามความฝันด้วยวัฒนธรรมของตัวเอง และกำหนดเทรนด์เอง โดยเสื้อดังกล่าวจะต้องทำการพับ หมุน เพื่อเปลี่ยนรูปแบบของมัน

Estacao Oriente – โปรตุเกส

 

 

ลิสบอนโอเรียนท์สเตชั่นซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งหลักแห่งหนึ่งในลิสบอนโปรตุเกสและสถานีที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวสเปน Santiago Calatrava ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในด้านการออกแบบที่มักมีรากฐานมารูปแบบธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตทางทะเลและนกซึ่งเขาได้ผสมผสาน origami เข้ามาใช้ในการออกแบบ

Robot Origami

 

นักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือเอ็มไอที นำเสนอผลงานการประชุมประจำปีของสมาคมด้านหุ่นยนต์ IEEE Robotics and Automation Society ซึ่งจัดขึ้นที่ซีแอตเติล

ผลงานชิ้นนี้เป็นหุ่นยนต์โอริกามิ สร้างขึ้นด้วยการพิมพ์แผ่นสามแผ่นประกบกัน แผ่นตรงกลางเป็นวัสดุโพลีไวนิลคลอไรด์ ซึ่งจะพับเมื่อโดนความร้อน สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กเป็นตัวควบคุมการเคลื่อนที่ของแผ่นดังกล่าว   ด้วยการใช้ความร้อนและสนามแม่เหล็ก แผ่นตรงกลางจะหดตัว ทำให้แผ่นด้านนอกทั้งสองทำหน้าที่ต่าง “เท้า” เมื่อควบคุมสนามแม่เหล็กในทางใดทางหนึ่ง เจ้าหุ่นยนต์ก็จะเดินหน้าหรือถอยหลัง    หุ่นยนต์ความยาว 1 เซนติเมตรตัวนี้ เคลื่อนที่ได้ในอัตราสี่ช่วงตัวต่อวินาที สามารถว่ายน้ำ ปีนที่ลาดเอียง เดินบนพื้นผิวขรุขระ และบรรทุกของที่หนักกว่าตัวมันเองสองเท่า

 

          นักวิจัยคาดหวังว่า ในอนาคต หุ่นยนต์แบบนี้จะถูกฉีดเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ เพื่อทำงานทางการแพทย์ จากนั้นสลายตัวไปเองภายในตัวคน ดังที่ทีมงานแสดงให้เห็นในการทดลอง.

สำนักงานใหญ่ของธนาคาร Barklays ในฝรั่งเศส

 

 

งานสถาปัตยกรรมแห่งนี้ถูกพัฒนาในวิธีอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า Sustainability เพื่อที่จะใช้เป็นสำนักงานใหญ่ของธนาคาร Barklays ในฝรั่งเศส ซึ่งออกแบบโดย  Manuelle Gautrand Architecture   การออกแบบที่เริ่มต้นจากการนำเทคนิคของการพับกระดาษ “Origami” มาใช้กับซุ้มด้านหน้าอาคาร   การออกแบบจะมีการใช้กระจกสองชั้น ประกอบด้วยด้านนอกสุดของอาคารจะมีหินอ่อนที่ถูกออกแบบให้เป็นเหมือนงาน Origami จีบพับไปพับมา จนกลายเป็น pattern ที่คอยป้องกันแดดที่จะเข้ามามากเกินไปซึ่งจะทำให้อาคารร้อน และยังสร้างบรรยากาศให้กับภายในอาคารได้เป็นอย่างดี

Estacao Oriente – โปรตุเกส

 

 

ลิสบอนโอเรียนท์สเตชั่นซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งหลักแห่งหนึ่งในลิสบอนโปรตุเกสและสถานีที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวสเปน Santiago Calatrava ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในด้านการออกแบบที่มักมีรากฐานมารูปแบบธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตทางทะเลและนกซึ่งเขาได้ผสมผสาน origami เข้ามาใช้ในการออกแบบ

Health Department Building – สเปน

 

 

อาคารด้านการแพทย์ของ Bilbao ในประเทศสเปนเป็นอาคารรูปทรง origami ที่โดดเด่น ออกแบบบโดย Coll-Barreau Arquitectos   โดยตัวกระจกด้านนอกยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดพลังงานจากโครงสร้างคือ: ลดเสียงรบกวนจากถนนที่มีรถพลุกพล่าน  และความร้อนจากแสงอาทิตย์  ลดรังสีที่จะมากระทบตัวอาคาร และระบบผนังระบายอากาศครับ

เราจะเห็นได้ว่า Origami เป็นศิลปะพับกระดาษขนาดเล็ก ที่สามารถสร้างแรงบัลดาลใจให้กับงานออกแบบที่ยิ่งใหญ่ได้หลากหลายผลงาน เพียงแค่เราต้องเห็นคุณค่าและนำศิลปะเล็กๆเหล่านนี้มาปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัยครับ ☺

ขอบคุณข้อมูลจาก

pest-not.ru

sarakadee.com

youtube.com

lib.ru.ac.th

reflectgirl.com

freshome.com

sentangsedtee.com

pinterest.com