Mondrian Style เป็นสไตล์ที่กำเนิดในยุค 1917-1931 โดย Piet Mondrian ศิลปินคนสำคัญของกลุ่ม De Stijl ซึ่งถ้าหากพูดถึงในปัจจุบันก็จะเรียกได้ว่าคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนอินดี้ค่ะ เพราะในช่วงยุคนั้นเป็นยุคของ Art Nouveou ที่เน้นการเล่นกับเส้นสายและรายละเอียดของความเป็นธรรมชาติและสีโทนพาสเทล
แต่สำหรับ De Stijl แล้ว พวกเขาตั้งใจจะปฏิเสธธรรมชาติเต็มที่โดยเน้นการใช้รูปทรงสี่เหลี่ยมและแม่สี (แดง,เหลือง,น้ำเงิน) มาใช้เป็นองค์ประกอบหลักในงานศิลปะของพวกเขา และงานศิลปะที่มีชื่อเสียงและเป็นเอกลักษณ์ที่สุดในยุคนี้ก็คือภาพวาดของ Piet Mondrian ที่ดูเรียบง่ายแต่มีพลัง ศิลปินและนักออกแบบหลายท่านเองก็ได้รับแรงบันดาลใจจากสไตล์ของรูปภาพนั้นและสร้างสรรค์ผลงานอื่นๆ ในสไตล์ Mondrian ออกมาจนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ทั้ง Le Corbusier, Richard Meier, Charles and Ray Eames และอีกหลายๆ คน
และในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับงานชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ทั้งหลายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสไตล์นี้กันค่ะ
‘Composite Painting’ ของ Piet Mondrian
(Credit : https://www.artsology.com)
เริ่มกันด้วยภาพ Painting ของ Piet Mondrain ซึ่งเป็น Painting ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของศิลปะแบบ De Stijl เป็นอย่างมาก ทั้งเอกลักษณ์การใช้สีเพียงแม่สีอย่าง แดง เหลือง น้ำเงิน บวกกับสีพื้นอย่างขาว เทา ดำ และเส้นตรงแนวตั้งและแนวนอนที่สร้างให้เกิดสี่เหลี่ยมหลายขนาดขึ้นมา อีกทั้งองค์ประกอบของภาพยังไม่มีการกำหนดที่ตายตัว ทำให้ภาพแต่ละภาพที่ Piet วาดขึ้นนั้นโดดเด่นและเป็นที่สนใจของคนในยุคนั้น รวมไปถึงกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับดีไซน์เนอร์คนอื่นๆ ทั้งในยุคเดียวกันและยุคถัดมาอีกด้วย
‘Red Blue Chair’ ของ Thomas Gerrit Rietveld
(Credit : http://terraingallery.org)
ตามประวัติแล้วกล่าวไว้ว่าเขาได้เริ่มดีไซน์เก้าอี้ตัวนี้ตั้งแต่ในปี 1918 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของยุคศิลปะ De Stijl แต่กว่าเก้าอี้ตัวนี้จะสำเร็จเสร็จสมบูรณ์ออกมานั้นก็ล่วงเลยเวลามาถึงปี 1923 เลยทีเดียวล่ะค่ะ
เก้าอี้ตัวนี้เป็นอีกหนึ่งงานดีไซน์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากงานศิลปะของ Mondrian โดยเก้าอี้ตัวนี้เองเน้นการใช้สีพื้นอย่างสีดำ มาผนวกเข้ากับแม่สีโดยเน้นสีแดงเป็นหลัก อีกทั้งรูปทรงของตัวเก้าอี้เองก็ใช้แผ่นสี่เหลี่ยมและเส้นสายที่ประกอบกันเป็นเฟรมสี่เหลี่ยมที่ใช้ขนาดแท่งไม้เป็นขนาดที่มีขายทั่วไปในเวลานั้น เพื่อแสดงให้คนเห็นว่า แม้จะเป็นงานสไตล์ Mondrian ก็สามารถสร้างออกมาให้เป็นงาน Mass Production เพื่อขายให้กับคนทั่วไปได้เข้าถึงตัวศิลปะได้มากขึ้น
และในปี 1923 นั้นเอง Gerrit Rietveld ก็ได้ตัดสินใจสร้างบ้าน Schröder’s House ขึ้นมาโดยได้รับแรงบันดาลใจจากสไตล์ของ Mondrian เช่นกัน
Rietveld Schröder House
CR.http://architecturalmoleskine.blogspot.com
‘Eames Storage Unit (ESU)’ ของ Charles and Ray Eames
(Credit : https://www.1stdibs.com)
ชั้นวางของของ Charles and Ray Eames ในปี 1949 นั้นได้รับแรงบันดาลใจจากงานศิลปะของ Mondrian อย่างเห็นได้ชัด ชั้นวางของ Unit ที่เน้นการแบ่งช่องออกเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีการใช้สีเพื่อแยกช่องแต่ละช่องให้ชัดเจนขึ้นออกมา ทั้งการตกแต่งภายนอกตู้เองก็ใช้สีตกแต่งสไตล์เดียวกันและผลิตขึ้นเป็น Unit แบบ Mass-Production ที่สามารถนำไปใช้ได้ในหลายสถานการณ์ แต่นอกจากทรงสี่เหลี่ยมแล้ว Charles and Ray Eames ยังเพิ่มการตกแต่งด้วยเส้นเหล็กบางมาไขว้กันเป็นกากบาทเพื่อให้เกิดเป็น Pattern ที่ไม่จำเจ คือ มีทั้งช่องโปร่งกากบาทและพื้นปิดทึบแม่สีนั่นเอง
The Hague City Hall โดย Richard Meier
(Credit : https://www.lostateminor.com)