“บ้านญี่ปุ่น” ในอดีตมักมักมีโครงสร้างและรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ โดยส่วนใหญ่จะทำจากไม้และกระดาษ !! เท่านั้น สำหรับใครที่ยังคิดภาพไม่ออก เดี๋ยว Karuntee จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “บ้านพื้นเมืองญี่ปุ่น” กันค่ะ

      บ้านพื้นเมือง เป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านธรรมดาทั่วไป สร้างจากวัสดุและเทคนิคเฉพาะของท้องถิ่นนั้น ๆ โดยนิยมสร้างบ้านแบบตอกเสาลงไปในดิน จากนั้นจึงล้อมด้วยไม้หรือไม่ไผ่รอบเสา และมุงหลังคาด้วยหญ้าแห้ง หรือไม้ สำหรับบ้านของชาวนาทั่วไป

 

 

      โดยใช้วิธีการสร้างแบบตอกเสาลงไปในดิน แล้วล้อมด้วยไม้ หรือไม้ไผ่รอบเสา มุงหลังคาด้วยฟาง หญ้าแห้ง หรือไม้ ในบ้านของชาวนา พื้นส่วนใหญ่จะเป็นไม้ ผนังมักใช้ไม้ไป่ผ่าซีก แต่สำหรับคนที่ฐานะยากจนจะปูฟางข้าวลงบนดินโดยตรงแล้ววางเสื่อด้านบนแทนการปูพื้นด้วยไม้

ประเภทของบ้านพื้นเมือง

      บ้านพื้นเมืองแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ บ้านของเกษตรกร ซึ่งจะมุงด้วยหลังคาที่เป็นหญ้า (ฟางข้าวหรือฟางพืช Kaya) และบ้านคนเมือง ส่วนใหญ่เป็นบ้านของพ่อค้าหรือช่าง มักถูกดัดแปลงเป็นร้านขายของ โดยหลังคาจะใช้เป็นกระเบื้อง

ลักษณะของบ้านพื้นเมืองญี่ปุ่น

      สามารถแบ่งเป็นส่วนเด่นๆ ได้ดังนี้…

 

 

Genkan หรือ ห้องเล็กๆ ตรงทางเข้าบ้าน

      บ้านญี่ปุ่นมักมีโครงสร้างพิเศษที่ต่างจากทั่วไป โดยมีลักษณะเด่นอยู่ที่ห้องเล็กๆ ตอนประตูเข้าบ้านที่เรียกกันว่า Genkan ซึ่งถูกจัดให้เป็นที่ถอดรองเท้าและเป็นโซนต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมเยือน ส่วนใหญ่ Genkan มักออกแบบให้เป็นพื้นที่ช่วยบังไม่ให้มองเห็นบริเวณอื่นภายในบ้าน

 

 

พื้นของบ้านญี่ปุ่น

      บ้านแบบญี่ปุ่นโดยทั่วไปจะยกพื้นสูงประมาณ 30- 60 เซนติเมตร การยกพื้นของบ้านญี่ปุ่นนั้นตรงช่องว่างใต้พื้น (En-noshita) ของบ้านจะทำมีหน้าที่เป็นตัวระบายความชื้นออกไป เนื่องจากภูมิอากาศที่มีความชื้นมาก หากการระบายความชื้นไม่เพียงพอ จะทำให้พื้นเสื่อแบบญี่ปุ่น (Tatami) เปลี่ยนแปลงสภาพ ทำให้เกิดกานเน่า ขึ้นรา หรือโดนปลวกกินได้นั่นเอง

ลักษณะห้องแบบญี่ปุ่น

      ในสมัยก่อนบ้านญี่ปุ่นมักประกอบด้วยพื้นห้อง 3 ชนิด ได้แก่ ห้องที่มีพื้นเป็นดิน (Doma) ห้องพื้นเป็นไม้ (Itama) และห้องที่มีพื้นเป็นเสื่อ (Tatami)

 

 

      สำหรับห้องพื้นดิน ต้องเป็นพื้นดินที่ทุบให้แข็งเท่านั้น โดยมีมักจะใช้กับห้องครัว ส่วนของเตาไฟ (Kamado) และห้องอาบน้ำ

 

 

ส่วนห้องพื้นไม้มักใช้เป็นห้องเก็บของหรือบริเวณเตรียมอาหาร

 

 

      และห้องที่มีพื้นเป็นเสื่อ ถูกจัดเป็นห้องนอนหรือมุมพักผ่อนค่ะ ซึ่งเสื่อที่ใช้จะต้องมีคุณสมบัติที่สามารถปรับความชื้นในห้องให้สมดุลได้  และที่สำคัญบ้านแบบญี่ปุ่นในสมัยก่อนจะมีคล้ายกับระเบียงในบ้านที่เป็นพื้นไม้อยู่หน้าห้อง Tatami  เรียกว่า Engawa นั่นเอง

 

 

ประตูกระดาษ

      ประตูกระดาษนี้ เราสามารถพบเห็นได้บ่อยจากหนังญี่ปุ่นหรือแม้แต่การ์ตูนสุดฮิตอย่างเช่น โดราเอมอนค่ะ

      ประตูกระดาษ ซึ่งคนญี่ปุ่นเรียกว่า  “Shouji”  หรือ “Fusuma”  เป็นประตูภายในบ้านที่อยู่ระหว่างห้อง Tatami และ Engawa (หรือทางเดินรอบห้องที่เรียกว่า Rouka)  จึงไม่โดนแดดหรือฝน ทำให้สามารถใช้งานได้นานแน่นอนค่ะ ส่วนด้านนอกบ้านพื้นเมืองญี่ปุ่นจะใช้เป็นประตูไม้ที่กันฝน (Amado)

      ลักษณะของ Shouji คือประตูเลื่อนที่มีโครงสร้างเป็นตาข่ายไม้และเอากระดาษสาญี่ปุ่นแบบบางมาปิด ทำให้แสงสว่างจากภายนอกผ่านเข้ามาได้ ส่วน Fusuma เป็นประตูบานเลื่อนที่ทำจากไม้และกระดาษ แต่ใช้กระดาษที่มีความหนามากกว่า และแสงสว่างไม่สามารถผ่านได้ จึงมักใช้เป็นประตูระหว่างห้องแตะละห้องภายในบ้านค่ะ

 

 

Tokonoma, Butsuma (Butsudan), Kamidana 

      Tokonoma เป็นที่แขวนภาพวาดแบบญี่ปุ่นที่มีลักษณะเป็นม้วน (Kakejiku) หรือดอกไม้ประดับที่จัดแต่ง (Ikebana) ซึ่งมักเป็นพื้นไม้ที่ขัดเงา

      บ้านพื้นเมืองญี่ปุ่นสมัยก่อนในห้องรับแขกสมัยก่อนต้องมี Tokonoma อยู่ด้วย สำหรับแขวนภาพวาดหรือรูปภาพบรรพบุรุษนั่นเองค่ะ แต่ส่วนใหญ่จะแยกออกเป็นห้องสำหรับไหว้บรรพบุรุษ เรียกว่า Butsuma หากเป็นบ้านที่ไม่ใหญ่นักจะมีตู้ไหว้บรรพบุรุษ (Butsudan) สำหรับวางอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ทางศาสนา

 

 

ห้องส้วมแบบญี่ปุ่น

      ส้วมแบบญี่ปุ่นส่วนใหญ่ทำจากเครื่องเคลือบดินเผา และในบางแห่ง (เช่นบนรถไฟ) ทำด้วยสเตนเลส ห้องส้วมแบบญี่ปุ่นจะมีลักษณะคล้ายกับห้องส้วมแบบไทย แต่จะมีที่กั้นอยู่ข้างหน้า แต่จะต่างกันที่ทิศทางการนั่ง ถ้าเป็นส้วมญี่ปุ่นต้องนั่งอย่าหันหน้าไปด้านหน้า คือไม่หันหน้าไปทางประตูเข้านั่นเองค่ะ (หรือหันหน้าเข้าหากำแพงด้านหลังส้วม)

      บ้านพื้นเมืองญี่ปุ่นก็คล้ายๆ กับบ้านไทยในปัจจุบันค่ะ พอยุคสมัยเปลี่ยนแปลง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ก็เปลี่ยนตามไปด้วย แต่ก็ยังมีหลายๆ พื้นที่ในประเทศญี่ปุ่นนะคะ ที่เขาตั้งจะจะอนุรักษ์ “บ้านพื้นเมืองญี่ปุ่น” ให้คนรุ่นหลังๆ ได้ชื่นชมกันต่อไป เช่น…

 

 

อุชิโอะ (จังหวัดเอะฮิเมะ) 

      เมืองที่เจริญรุ่งเรืองด้วยการทำกระดาษสา หรือญี่ปุ่นเรียกว่า วะฌิ กับเทียนที่ทำมาจากไม้ อุชิโคะ เป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยกำแพงสีขาว และทางลาดชันมากมาย จึงถูกอนุรักษ์ไว้จนถึงปัจจุบัน

 

 

ทะกะยะมะ (จังหวัดกิฟุ)

      เป็นย่านที่มีสิ่งปลูกสร้างที่ค่อนข้างมั่นคงแข็งแรง มีย่านพักอาศัยเล็ก ๆ เรียงรายกันบนถนนแคบ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรือนไม้ หลังคามุงกระเบื้อง

 

 

กุโจ (จังหวัดกิฟุ)

      บ้านพื้นเมืองส่วนใหญ่จะถูกดัดแปลงกลายเป็นร้านค้า เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงมาก เพราะทิวทัศน์งดงามและระหว่างเขาที่มีแม่น้ำไหลผ่าน

      จะว่าไป “บ้านพื้นเมืองญี่ปุ่น” ก็มีความคล้ายคลึงกันกับ “บ้านเรือนไทย” ของไทยเหมือนกันนะคะ เพราะ Karutee รู้สึกว่าสถาปัตยกรรมเหล่านี้ ยิ่งเก่าก็ยิ่งทรงคุณค่า เอกลักษณ์ที่บรรพบุรุษตั้งใจสร้างขึ้นมามันมีเสน่ห์ จนหาที่ใดเปรียบมิได้เลยค่ะ เหมาะที่จะเก็บอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูกันต่อไป จริงๆ จริงมั๊ยคะ??

 

 

ข้อมูลบางส่วนจากนิตยสาร Japan World

www.jeducation.com

รูปภาพจาก pinterest