อีกเพียงไม่กี่วันนับจากนี้ ก็จะผ่านพ้นปีวอกก้าวเข้าสู่ปีใหม่แล้ว แน่นอนว่า “ปีใหม่” ในทุกๆ ปี งานรื่นเริง เฉลิมฉลอง มาเต็ม!! แต่ปีนี้คนไทยทุกคนรู้กันว่า “พวกเราดีใจที่เวลาล่วงเลยสู่ปีใหม่เฉกเช่นที่ผ่านมา แม้ในใจจะยังรู้สึกเศร้า จากการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่เมื่อเดือนตุลาคม” อย่างไรก็แล้วแต่ ถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 จะไม่อยู่กับคนไทยแล้ว แต่พระองค์จะอยู่ในดวงใจไทยทุกดวงเสมอ
และบทเพลงนี้ ถือเป็นการย้ำเตือนความทรงจำว่า “ในหลวงยังคงห่วงใยและอยู่กับคนไทย” ไปอีกนานแสนนาน เพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับที่ 13 ที่พระองค์ทรงถ่ายทอดมาจากความรู้สึกผ่านเนื้อร้องและท่วงทำนอง เพื่ออวยพรให้กับประชาชนของพระราชา ชื่อว่า “พรปีใหม่”
สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปราณี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ทุกวัน ทุกคืน ชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ
ฟังเพลงนี้ทีไร อบอุ่นหัวใจและมีความสุขทุกทีเลย ว่าไหมคะ? เรียกได้ว่าเราได้ยินเพลงนี้มาทุกปี จนกลายเป็นเพลงฮิตประจำเทศกาลปีใหม่ไทย
แต่รู้หรือไม่ว่า….??
ในอดีตนั้นประเทศไทยมีวันปีใหม่ คือ วันที่ 1 เมษายน ของทุกๆ ปี (ไม่ใช่มกราคมนะคะ…) และมีเพลงเถลิงศก ของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) เป็นเพลงที่มีเนื้อร้อง ทำนอง รวมทั้งขับร้องและบรรเลงตามอย่างสากล ต่อมารัฐาบลสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” และกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เหมือนประเทศอื่นๆ และ “เพลงเถลิงศก” ที่มีเนื้อหาว่า
วันที่หนึ่งเมษายน ตั้งต้นปีใหม่ และแสงตะวันพร่างพรายใสสว่างแจ่มจ้า
เสียงระฆัง เหง่งหง่างก้อง ร้องทักทายมา ไตรรงค์ร่า ระเริงปลิว พลิ้วเล่นลม
ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดีฯ
ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดีฯ
มองทางไหน มีชีวิต จิตใจทั้งนั้น ต้อนรับวัน ปีใหม่เริ่ม ประเดิมปฐม
มาเถิดหนา พวกเรามา มาปล่อยอารมณ์ มาชื่นชม ยินดี ขึ้นปีใหม่แล้ว
ยิ้มเถิด ยิ้มเถิดนะยิ้ม ยิ้มแย้มแจ่มใส สุขสำราญบานใจ ขอให้สวัสดีฯ…
โดยหลายฝ่ายเห็นต้องกันว่าเนื้อหาไม่ทันสมัย และไม่ตรงตามเหตุการณ์ ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2495 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห้วภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชนิพนธ์บทเพลง “พรปีใหม่” เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่พี่น้องชาวไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็จศิริ นิพนธ์คำร้อง ทั้งยังมีโอกาสได้พระราชทานพรปีใหม่แก่บรรดาพสกนิกรชาวไทย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงเป่าแซ็กโซโฟนในช่วงแรกและช่วงที่สาม สลับเปลี่ยนกันกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป่าแซ็กโซโฟนในช่วงที่สองและช่วงที่สี่ จากนั้นเพลง “พรปีใหม่” ก็กลายเป็นเพลงยอดนิยมของคนไทยจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้อีกหนึ่งความสุขของคนไทยในช่วงปีใหม่ที่แตกต่างจากที่อื่น คือ ทุกๆ ปี จะมีคำอวยพรจาก “พ่อหลวง” ผู้เป็นที่รักของปวงชน ที่เราเรียกกันว่า บัตรส่งความสุข หรือ ส.ค.ส. นั่นเอง ซึ่งมีต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 – 2559 โดย ส.ค.ส. ที่ออกมาในแต่ละปีนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงประดิษฐ์ขึ้นด้วยตัวของพระองค์เอง
เรามาย้อนดู บัตรอวยพร ความทรงจำที่แสนสุขของชาวไทยกันค่ะ มาดูอีกหนึ่งพระปรีชาสามารถในการคิดสร้างสรรค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ส.ค.ส. พ.ศ.2530
ส.ค.ส. พ.ศ.2531
ส.ค.ส. พ.ศ.2532
ส.ค.ส. พ.ศ.2533
ส.ค.ส. พ.ศ.2534
ส.ค.ส. พ.ศ.2535
ส.ค.ส. พ.ศ.2536
ส.ค.ส. พ.ศ.2537
ส.ค.ส. พ.ศ.2538
ส.ค.ส. พ.ศ.2539
ส.ค.ส. พ.ศ.2540
ส.ค.ส. พ.ศ.2541
ส.ค.ส. พ.ศ.2542
ส.ค.ส. พ.ศ.2543
ส.ค.ส. พ.ศ.2544
ส.ค.ส. พ.ศ.2545
ส.ค.ส. พ.ศ.2546
ส.ค.ส. พ.ศ.2547
ในปีพ.ศ.2548 ไม่มีส.ค.ส. พระราชทานจากในหลวง เนื่องจากปลายปี 2547 เกิดเหตุการณ์สึนามิครั้งยิ่งใหญ่ในประเทศไทย
ส.ค.ส. พ.ศ.2549
ส.ค.ส. พ.ศ.2550
ส.ค.ส. พ.ศ.2551
ส.ค.ส. พ.ศ.2552
ส.ค.ส. พ.ศ.2553
ส.ค.ส. พ.ศ.2554
ส.ค.ส. พ.ศ.2555
ส.ค.ส. พ.ศ.2556
ส.ค.ส. พ.ศ.2557
ส.ค.ส. พ.ศ.2558
ส.ค.ส. พ.ศ.2559
คำอวยพรจากพ่อ คือ หนึ่งในของขวัญที่ดีที่สุดของคนไทย และพรใดใดในโลก ก็มิอาจเทียบกับ “พรจากพ่อหลวง” ที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน ก็จะอยู่ในความทรงจำและอยู่ในใจคนไทยตลอดไป
ขอขอบคุณภาพจาก
www.facebook.com/groups/ArtisticalImage