5. ขั้นการกำหนดวัสดุตกแต่งภายในทั้งหมด
นักออกแบบตกแต่งภายในจะทำการ กำหนดวัสดุตกแต่งทั้งหมดโดยอ้างอิงกับแบบร่างขั้นสุดท้ายที่ได้ รับการอนุมัติแล้วให้ลูกค้าทำการพิจารณาทั้งนี้ มักจัดทำเป็นแผ่นกำหนดวัสดุตกแต่ง หรือ Material Board ให้ลูกค้าทำการพิจารณา เปรียบเทียบประกอบแบบร่างในขั้นสุดท้ายก่อนที่จะดำเนิน การเขียนแบบรายละเอียดในขั้นตอนสุดท้าย
6. ขั้นการเขียนแบบรายละเอียด นักออกแบบจะทำการเขียนแบบรายละเอียดให้ตรง ตามแบบร่างขั้นสุดท้ายและ Material Board ที่ได้รับการรับรองแบบจากลูกค้าแล้ว โดยปกติแล้ว นักออกแบบจะใช้เวลาประมาณ 15-30 วัน ในการ ทำงานในขั้นตอนนี้ (บริษัท บาริโอ จำกัด ของเราสามารถเขียนแบบ ได้เสร็จทั้งหมด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย) หากลูกค้ามีความประสงค์จะขอแก้ไข รายละเอียดในแบบ ก็จะสามารถ แจ้งแก่นักออกแบบ ได้ ภายหลังจากที่ได้รับแบบรายละเอียดมาอ่านแล้ว โดยปกตินักออกแบบมักจะพิมพ์แบบรายละเอียดให้ลูกค้าทำการอ่านแบบ และพิจารณารายละเอียด ทั้งหมด ก่อนที่จะพิมพ์แบบจริง
อย่างไรก็ดีลูกค้าส่วนใหญ่มักจะอ่านแบบรายละเอียดไม่ได้ ดังนั้นจึงควร จะขอให้นักออกแบบทำการอธิบาย แบบทั้งหมดโดยละเอียด ก่อนลงนามอนุมัติเนื่องจากแบบรายละเอียดนี้ จะใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง และประกอบสัญญารับเหมาตกแต่งภายในอีกด้วย (เราจะไม่ใช้แบบร่างหรือภาพ Perspective เป็นหลักฐานอ้างอิงหรือแบบประกอบสัญญา) และหากมีข้อขัดแย้งระหว่างแบบรายละเอียด และแบบร่างหรือภาพ Perspective แล้วเราจะต้องยึดถือแบบรายละเอียด ประกอบสัญญาเป็นหลักเสมอ
7. ขั้นการประเมินราคากลางสำหรับงานตกแต่งภายใน นักออกแบบจะใช้แบบรายละเอียดและ Material Board เป็นแบบอ้างอิง สำหรับการทำการประเมินราคากลางโดยราคากลางนั้นจะใช้อ้างอิง ในขั้นตอนการประกวดราคาและเจรจาต่อรอง ขั้นตอนนี้มักจะมีปัญหามาก กับนักออกแบบมือใหม่ ที่ไม่เคยมีประสพการณ์ในการประเมินราคา โดยบ่อยครั้งที่ราคากลางไม่ถูกต้อง (ไม่มีผู้รับเหมารายใด ทำได้ตามราคากลาง หรือราคากลางสูงเกินไป จนผู้รับเหมาทุกราย สามารถเสนอราคาได้ในราคากลาง ทั้งหมด) หรือ แม้กระทั่งราคากลางที่ประเมินได้ สูงกว่างบประมาณที่ลูกค้า ได้วางแผน(อันเป็นสาเหตุหนึ่งของ งบประมาณบานปลาย) ดังนั้นลูกค้าบางส่วน จึงนิยมใช้บริการของบริษัทออกแบบตกแต่งภายใน ที่มีบริการรับเหมา ตกแต่งภายในด้วย เนื่องจากสามารถลดความวุ่นวายกับขั้นการประกวดราคาอีกด้วย
8. ขั้นการประกวดราคา ในขั้นตอนนี้ นักออกแบบจะต้องทำการเชิญผู้รับเหมา ตกแต่งภายในที่ได้มาตราฐาน และมีประวัติการทำงานที่ดีให้เข้าร่วมการ ประกวดราคา โดยจะต้องให้ผู้รับเหมาเข้ามารับแบบ หรือซื้อแบบจาก นักออกแบบ ตกแต่งภายในก่อน แล้วนำไปทำการพิจารณา อย่างน้อย 7-14 วัน จากนั้นนักออกแบบจะต้องทำ การนัดผู้รับเหมาทุกรายที่ได้รับแบบหรือซื้อแบบไป ให้เข้าร่วมประชุม เพื่อสอบถามรายละเอียด และ ข้อข้องใจทั้งหมด และกำหนดวันส่งซองประกวด ราคา (ส่วนใหญ่บริษัทผู้รับเหมาต้องการ เวลาประเมินราคาอย่างน้อย 7-10 วัน) ทั้งนี้ลูกค้าจะเข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบ รายละเอียดทั้งหมดด้วยเช่นกัน
จากนั้น เมื่อถึงวันส่งซองประกวดราคา บริษัทผู้รับเหมาทั้งหมดจะต้องส่ง ใบเสนอราคาโดยละเอียด (BOQ - Bill of Quantity) พร้อมหลักฐาน ที่ลูกค้าและนักออกแบบต้องการเพื่อให้ทำการพิจารณา โดยนักออกแบบจะต้อง ให้คำปรึกษาที่ดีและเป็นประโยชน์แก่ลูกค้าในการคัดเลือกผู้รับเหมา จนได้ผู้รับเหมาที่ต้องการแล้วก็จะแจ้งให้ผู้รับเหมาทุกรายทราบว่าใคร เป็นผู้ที่ชนะการประกวดราคา ทั้งนี้ในบางครั้งลูกค้าและนักออกแบบ อาจช่วยกันต่อรองราคากับผู้รับเหมา จนได้ราคาที่พอใจก่อนประกาศผู้ชนะ การประกวดราคาก็ได้
ในการประกวดราคาเพื่อในการประกวดราคา เพื่อหาผู้รับเหมานั้น จำเป็นต้องใช้การพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากขั้นตอนหลังจากนี้ไป จะเป็นขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุด ดังนั้น ลูกค้าควรจะพิจารณาโดยดูจาก ประวัติการทำงาน ประวัติทางการเงิน รวมทั้ง ความมั่นคงและน่าเชื่อถือของบริษัท ผู้รับเหมาแต่ละราย ก่อนให้เข้าร่วมประกวดราคา เพื่อป้องกันบริษัทที่หิวงาน และไม่มีคุณภาพเข้ามาตัดราคาเพื่อรับเงินค่าจ้างงวดแรก ๆ ก่อนที่จะ ล่องหนหายไปในอากาศ ทิ้งให้ลูกค้าต้องปวดหัวกับงานที่ ค้างอยู่และต้องเสีย ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อว่าจ้างผู้รับเหมารายใหม่
เป็นที่น่าสังเกตว่านักออกแบบหรือบริษัทออกแบบตกแต่งภายในที่มีประสพการณ์ และ อยู่ในวงการมายาวนานจะช่วยกลั่นกรองและให้คำแนะนำตลอดจนคัดเลือกผู้รับเหมาที่มี คุณภาพให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี หรือทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง คือการใช้บริการของ บริษัทที่มีการให้บริการอย่างครงวงจร (Turnkey) ซึ่งเมื่อถึงขั้นการประกวดราคาบริษัทเหล่านี้จะทำการประเมินราคา กลางที่ได้มาตราฐานและอาจจะรับประกันราคากลาง ในกรณีที่ไม่มีผู้รับเหมา รายอื่นเสนอราคาได้ในราคากลางอีกด้วย ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าจะได้ งานตกแต่งที่ไม่มีงบประมาณบานปลาย
Back 1 | 2 | 3 Next
|