Articles

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย
AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

 

 

ช่วงนี้ไม่ว่าจะหันมองไปทางไหน เปิดรับสื่อใดๆเรามักจะได้ยิน
ได้ฟังแต่คำว่า “Asian” หรือไม่ก็ “AEC” จนเริ่มที่จะอยากรู้ว่า
กระแสของ Asian และ AEC นั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด
มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน เดิมทีเข้าใจว่าคงจะเป็นเรื่อง
ของภาครัฐในแถบภูมิภาคเอเชียที่ร่วมมือกันระหว่างประเทศ
ปรึกษาหารือกันในเรื่องระบบเศรษฐกิจก็เท่านั้น
ไม่น่าเกี่ยวข้องอะไรกับเราโดยตรง แต่พอนานเข้า
ได้ยินได้ฟังบ่อยขึ้นจนเริ่มรู้สึกว่านี่คงจะไม่ใช่เรื่องเล็กๆ
จะทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ก็กระไรอยู่ โดยเฉพาะคำกล่าว
ประโยคสั้นๆของ CEO ชื่อดังคนหนึ่งที่กล่าวผ่านสื่อโฆษณา
โทรทัศน์ที่ว่า “ประชาคมอาเซียน คือเรื่องของพวกเราทุกคน”
ยิ่งตอกย้ำให้เกิดความสนใจในเรื่องนี้ เอาเป็นว่าเราลองหัน
มาทำความรู้จักกับเรื่องดังกล่าวไปพร้อมๆกันเพื่อจะได้ก้าวทัน


ยุคสมัยที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

 

 


Asean Economics Community หรือ AEC
เป็นการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ อันได้แก่ ประเทศไทย ,
พม่า , ลาว , เวียดนาม , มาเลเซีย , สิงคโปร์ , อินโดนีเซีย ,
ฟิลิปปินส์ , กัมพูชา และบรูไน

 

 

 

AEC

พัฒนามาจากการเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian
Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ
(Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510
โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย
มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527
ประเทศบรูไนก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก และในปี 2538
ประเทศเวียดนามเข้าร่วมสมาชิก ปี 2540 ลาวและพม่า
เข้าร่วม ปี 2542 กัมพูชาเข้าร่วม จนได้สมาชิก10
ประเทศดังกล่าว ทำให้อาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจ
ภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500
ล้านคน จากนั้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9
ที่อินโดนีเซีย เมื่อ 7 ต.ค. 2546 ผู้นำประเทศสมาชิก
อาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน
(ASEAN Community) ซึ่งประกอบไปด้วย 3
เสาหลักได้แก่
1.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic
Community:AEC)
2.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural
Pillar)
3.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security
Pillar)

 

 

คำขวัญของอาเซียน คือ “One Vision, One Identity, One Community” หมายถึง “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์
หนึ่งประชาคม” ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน+3 โดยจะเพิ่มประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เข้ามาร่วมด้วย
และต่อไปจะมีการเจรจาอาเซียน+6 โดยจะมีประเทศ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดียต่อไป

 

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

 

หลักการในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ในปี 2558 คือ

 

1.ให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้าได้อย่างเสรี
2.การเคลื่อนย้ายบริการทำได้อย่างเสรี
3.เคลื่อนย้ายการลงทุนได้อย่างเสรี
4.เคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือได้อย่างเสรี


จากเดิมที่กำหนดเป้าหมายจัดตั้งในปี 2563
แต่ได้มีการตกลงที่จะเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นอีกเป็น
ปี 2558 และจะเริ่มมีผลอย่างเป็นทางการ
วันที่ 1 มกราคม 2558 นับเริ่มจากวันนั้นแล้ว
ต่อไปภูมิภาคแห่งนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ
ด้าน ความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นในวันนั้น
คงจะมีหลายสิ่งเกิดขึ้นอย่างมากมายโดยที่เราเอง
อาจจะนึกไม่ถึงกันเลยทีเดียว การรวมตัวของ 10
ประเทศดังกล่าวเป็นความร่วมมือกันเพื่อประโยชน์
ทางด้านเศรษฐกิจ ให้เกิดผลประโยชน์รวมถึงอำนาจ
ต่อรองต่างๆกับคู่ค้าได้มากขึ้นและการนำเข้าหรือส่ง
ออกสินค้าของชาติในอาเซียนก็จะเป็นไปอย่างเสรี
ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะมีการ
ขอร้องเอาไว้เป็นกรณีพิเศษโดยการไม่ลดภาษีนำเข้า
ซึ่งเป็นสินค้าอ่อนไหว โดยแบ่งให้แต่ละประเทศใน
AEC มีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไปคือ

 

 

 

ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน
(ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ASEAN)
พม่า : สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
และสาขาสุขภาพ


อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียน (AEC Blueprint) ซึ่งเป็นแผนบูรณาการงานด้าน
เศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่แผนงานเศรษฐกิจ
ในด้านต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนิน
มาตรการจนบรรลุเป้าหมายในปี 2558
รวมทั้งให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกัน
ล่วงหน้าเพื่อสร้างพันธสัญญาระหว่างประเทศสมาชิก
อาเซียน

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

 

 

ยุทธศาสตร์การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่สำคัญใน
ทิศทาง Blueprint หรือ แบบพิมพ์เขียว 4 ข้อใหญ่ๆได้แก่

 

1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน

 

2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

 

3.การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน

 

4.การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการให้เข้ากับเศรษฐกิจโลก

 

 

สิ่งดีๆที่จะเกิดแก่ประเทศไทยในอนาคตข้างหน้าเมื่อเปิด
ประตูสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 เมื่อเปิดให้มี
การลงทุนได้อย่างเสรี จะมีผู้ประกอบการรายใหม่เพิ่มมากขึ้น
ประเทศที่มีระบบการศึกษาดีๆจะเริ่มมาเปิดสถานศึกษา
ในบ้านเมืองเรา
และด้วยเหตนี้เองที่อาจจะทำให้โรงเรียนที่มีค่าใช้จ่ายต่อ
เทอมสูงแต่คุณภาพไม่ดี อาจต้องตกอยู่ในภาวะลำบาก
ข้อที่เราจะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้คือประเทศไทยจะเป็นศูนย์
กลางแห่งการท่องเที่ยวเพราะได้เปรียบในเรื่องการคมนาคม
และจะเป็นศูนย์กลางทางการบิน เพราะไทยเป็นประเทศ
ที่อยู่ระหว่างกึ่งกลางของ Asean ผลพลอยได้ที่ตามมาก็คือ
มีการจัดงานประชุมต่างๆ การจัดแสดงนิทรรศการ
เป็นศูนย์กระจายสินค้า
รวมถึงการบริการด้านการแพทย์และสุขภาพที่จะเติบโตเป็น
อย่างมากเนื่องจากค่าบริการทางการแพทย์ในต่างประเทศ
นั้นจะมีราคาค่อนข้างสูง การค้าขายจะมีการขยายตัว
การใช้ภาษาอังกฤษจะเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก
เนื่องจากจะมีคนหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาอยู่ในประเทศ
ไทย และหลากหลายประเทศที่เข้ามาส่วนใหญ่จะไม่สามารถ
สื่อสารกันได้ด้วยภาษาไทย จึงต้องใช้ภาษาอังกฤษ
เป็นภาษากลาง การค้าขายบริเวณชายแดนจะคึกคัก
เนื่องจากด่านศุลกากรมีบทบาทน้อยลง อุตสาหกรรมโรงแรม
การท่องเที่ยว ร้านอาหาร รถเช่าจะได้ประโยชน์
เนื่องจากมีการสัญจรมากขึ้น เมืองแถบชายแดนจะพัฒนา
ขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นจุดขนส่ง การขนส่ง logistic ใน AEC
จะพัฒนาไปอีกมาก และจากการที่ไทยเราอยู่ตรงกลาง
ทำให้เราสามารถขายสินค้าได้มากขึ้นเพราะเราจะส่งของไป
ท่าเรือได้หลายฝั่ง ที่ดินในบริเวณดังกล่าวของประเทศไทย
ก็จะมีราคาที่สูงขึ้น

เรื่องน่าเป็นห่วงและไม่ควรมองข้ามเมื่อเปิดประตูสู่ประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ ถึงแม้
เมืองไทยจะไม่ขาดแรงงานอีกต่อไปเพราะมีการเคลื่อนย้าย
แรงงานเข้ามาในประเทศกันอย่างเสรี แต่อีกแง่มุม
ที่น่าเป็นห่วงนั่นก็คือ จะมีแรงงานชาวพม่า, แรงงานลาว,
แรงงานกัมพูชา , แรงงานเวียดนาม ที่ต่างพากันเข้ามา
ทำงานในไทยกันอย่างมากมาย และคนเหล่านี้เองที่จะมา
แย่งงานของคนไทยบางส่วน ทำให้แรงงานไทยต้องตก
อยู่ในภาวะวิกฤติ ซ้ำร้ายปัญหาสังคมที่จะตามมา
มีการก่ออาชญากรรมจากแรงงานของประเทศสมาชิก
รวมทั้งการทะเลาะเบาะแว้งกันในหมู่ของแรงงานซึ่งปะปน
อยู่รวมกัน ในเมืองและชุมชนต่างๆจะคับแคบแออัด
บนท้องถนนจะมีรถยนต์มากขึ้น การจราจรในกรุงเทพฯ
จะติดขัดมากกว่าเดิมหลายเท่า สนามบินสุวรรณภูมิจะแออัด
คับแคบและดูวุ่นวาย


ด้านสาธารณูปโภคต้องเตรียมการให้พร้อมและบริหารจัดการ
อย่างรอบคอบ ขยะจำนวนมากที่ต้องกำจัด จะมีแรงงาน
ของสมาชิกบางส่วนที่ทำผิดกฎหมายเนื่องจากไม่รู้กฎหมาย
ไทยคนไทยที่มีความสามารถและมีทักษะในการทำงานสูง
บางส่วนจะไหลออกไปทำงานยังต่างประเทศเนื่องจากมีทาง
เลือกมากขึ้น

 

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

อุตสาหกรรมที่ได้เปรียบและเสียเปรีบเมื่อเปิด AEC (ที่มาของข้อมูล
นสพ.ข่าวสด)
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำนักงานเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรม(สศอ.) คุณอิทธิชัย ยศศรี เปิดเผยว่า สศอ.ได้ศึกษา
ความได้เปรียบทางการค้าสินค้าอุตสาหกรรมของไทยภายหลังการ
เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี 2558 เทียบกับสินค้า
อุตสาหกรรมอาเซียนกับ 4 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์

 

ประเทศไทยมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่จัดให้อยู่ในประเภทอาการป่วยซึ่ง
ต้องได้รับการรักษา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่

 

 

กลุ่มที่ 1 อาการที่พบความผิดปกติ
จัดอยู่ในเกณฑ์ที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันลดลงกับประเทศ
ในอาเซียนซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์
ผลิตภัณฑ์จากยางพารา กระดาษและกระดาษแข็ง ผลิตภัณฑ์เซรามิก
เครื่องจักร เครื่องกล ลอยเลอร์ อากาศยาน ยานอวกาศ
อาวุธและกระสุน เป็นต้น

 

กลุ่มที่ 2 อาการกำเริบ
มีความสูญเสียความได้เปรียบทางการแข่งขันคือกลุ่มอุตสาหกรรม
เหล็กและเหล็กกล้า เฟอร์นิเจอร์ หนังเฟอร์/เฟอร์เทียม
เยื่อไม้หรือเยื่อที่ได้จากเส้นใยเซลลูโลสอื่นๆ ขนแกะ ผ้าทอ
เส้นใยสิ่งทอจากพืช ด้ายกระดาษ ร่ม ร่มปักกันแดด เป็นต้น
 

กลุ่มที่ 3 อาการป่วยขนาดหนัก
  หรือจัดอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสียเปรียบมากขึ้นคือกลุ่มอุตสาหกรรม
เชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่ ผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม ปุ๋ย เครื่องหนัง
เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ไข่มุกธรรมชาติ/รัตนชาติ ทองแดงและของทำ
ด้วยทองแดง นิกเกิลและของที่ทาด้วยนิกเกิล รองเท้า สนับแข้ง
และของที่คล้ายกัน เครื่องดนตรี เป็นต้น

 

 

อุตสาหกรรมไทยที่มีความได้เปรียบคือ ยานยนต์
และส่วนประกอบ พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก
หนังดิบและหนังฟอก เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ
แก้วและเครื่องแก้ว ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเหล็ก
และเหล็กกล้า พรมและสิ่งทอปูพื้นต่างๆ
เส้นใยสั้นประดิษฐ์ ฝ้าย เป็นต้น
อุตสาหกรรมซึ่งเมื่อเข้าสู่AEC แล้วจะได้เปรียบมีอยู่ 3
กลุ่มอุตสาหกรรมได้แก่
เสื้อผ้าและของใช้แล้วที่ทำด้วยสิ่งทอ สังกะสีและ
ของที่ทำจากสังกะสี หัวรถจักรของรถไฟหรือรถราง
ส่วนอุตสาหกรรมที่จะมีความเสียเปรียบลดลงมี 16
กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น หนังสือ/อุตสาหกรรมการพิมพ์
เครื่อง จักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า ไม้ก๊อกและของทำ
ด้วยไม้ก๊อก ตะกั่วและของที่ทาด้วยตะกั่ว โลหะสามัญ
สินแร่ ไหม ของเล่นและอุปกรณ์การกีฬา ศิลปกรรม
ผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด เป็นต้น (ที่มาของข้อมูล
นสพ.ข่าวสด)

 

 

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

จุดแข็ง จุดอ่อน และประเด็นที่น่าสนใจของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน

 

1.ประเทศสิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง
ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ
เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู
4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)
โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็น
หัวหน้าฝ่ายบริหาร


ข้อควรรู้

- หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.
-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการ
ระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
-การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพขายบริการผิดกฎหมาย
จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
-การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ
จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต

 

จุดแข็ง รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงสุดของอาเซียนและติดอันดับ
15 ของโลก การเมืองมีเสถียรภาพ เป็นศูนย์กลางทางการเงิน
ระหว่างประเทศ แรงงานมีทักษะสูง ชำนาญด้านการจัดการ
ทรัพยากรบุคคลและธุรกิจ มีที่ตั้งเอื้ออำนวยต่อการเป็นศูนย์กลาง
เดินเรือ

 

จุดอ่อน พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและขาดแคลนแรงงานระดับล่าง
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจค่อนข้างสูงประเด็นที่น่าสนใจของประเทศ
สิงคโปร์คือ พยายามขยายโครงสร้างเศรษฐกิจมายังภาคบริการมากขึ้น
เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกสินค้า

 

 

 

2.ประเทศอินโดนีเซีย
  ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า
583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข
และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

ข้อควรรู้
- ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ
หรือรับประทานอาหารคนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
- ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
- การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร
มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษ
ถึงประหารชีวิต
- บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200
ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ

 

จุดแข็ง ขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตลาดขนาดใหญ่ประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลกและมากที่สุด
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลาย
จำนวนมาก โดยเฉพาะถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะต่างๆ
ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแกร่ง

 

จุดอ่อน
ที่ตั้งเป็นเกาะและกระจายตัวสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนา
เท่าที่ควรโดยเฉพาะการคมนาคมและการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
ประเด็นที่น่าสนใจของประเทศอินโดนีเซียคือการลงทุนส่วนใหญ่
เน้นใช้ทรัพยากรในประเทศเป็นหลัก

 

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

3.ประเทศมาเลเซีย
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ
รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%,
ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
 

ข้อควรรู้
ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุน
ทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตร งานแต่งงาน
และงานศพ
-มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ
ชาติพันธ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40
ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ
อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว

 

จุดแข็ง รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 3 ของอาเซียน
มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 และก๊าซธรรมชาติ
มากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก ระบบโครงสร้างพื้นฐาน
ครบวงจร แรงงานมีทักษะ

 

จุดอ่อน จำนวนประชากรค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดแคลนแรงงาน
โดยเฉพาะระดับล่างประเด็นที่น่าสนใจของประเทศมาเลเซียคือ
ตั้งเป้าหมายเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” ในปี 2563
มีฐานการผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญที่คล้ายคลึงกับไทย
มีนโยบายพัฒนาการผลิตด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างจริงจัง

 

4.ประเทศบรูไน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ
รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
 

ข้อควรรู้
- ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่
ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ มีระยะเวลาอยู่ในบรูไนฯได้ 2 สัปดาห์
-ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลืองเพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
- การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
- การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือ
ชี้แทน
-จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
-สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือ
หัวเราะดัง

 

จุดแข็ง รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ในอันดับ 2
ของอาเซียนและอันดับ 26 ของโลก การเมืองค่อนข้างมั่นคง
เป็นผู้ส่งออกน้ำมัน และมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4
ของอาเซียน

 

จุดอ่อน ตลาดขนาดเล็ก มีประชากรประมาณ 4 แสนคน
ขาดแคลนแรงงานประเด็นที่น่าสนใจของประเทศบรูไนคือ
มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับสิงคโปร์ มาเลเซีย
และอินโดนีเซีย การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพึ่งพาสิงคโปร์
เป็นหลัก ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารค่อนข้างมาก

 

5.ประเทศฟิลิปปินส์
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ
รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์
มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย
10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83%
คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง :
ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่าย
บริหาร

 

ข้อควรรู้
-การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น
การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูล
ให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี
และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น

 

จุดแข็ง ประชากรจำนวนมากอันดับ 12 ของโลกคือจำนวน
100 ล้านคน แรงงานทั่วไปมีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้

 

จุดอ่อน ที่ตั้งห่างไกลจากประเทศสมาชิกอาเซียนระบบโครงสร้าง
พื้นฐาน และสวัสดิภาพทางสังคมยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
ประเด็นที่น่าสนใจของประเทศฟิลิปปินส์คือ
สหภาพแรงงานมีบทบาทค่อนข้างมากและมีการเรียกร้อง
เพิ่มค่าแรงอยู่เสมอ การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการรองรับ
ความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก

6.ประเทศเวียดนาม
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม
โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว

 

ข้อควรรู้
- หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข
เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น.
ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
- เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
- หากนำเงินตราต่างประเทศติดตัวเข้ามามากกว่า 7,000
ดอลลาร์สหรัฐ
ต้องแจ้งให้ศุลกากรเวียดนามทราบการนำเงินตราออกประเทศมาก
กว่า 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งชาติ
หรือธนาคารกลางในท้องถิ่นก่อน มิเช่นนั้นจะถูกยึดเงิน
-บทลงโทษของเวียดนามในคดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของ
รัฐมีโทษประหารชีวิต

 

จุดแข็ง ประชากรจำนวนมากอันดับ 14 ของโลกคือจำนวน 90
ล้านคน มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียแปซิฟิก
มีแนวชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,200 กิโลเมตร การเมืองมีเสถียรภาพ
ค่าจ้างแรงงานเกือบต่ำสุดในอาเซียนรองจากกัมพูชา

 

จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
ต้นทุนที่ดินและค่าเช่าสำนักงานค่อนข้างสูงประเด็นที่น่าสนใจ
ของประเทศเวียดนามคือมีรายได้และความต้องการสูงขึ้นจาก
เศรษฐกิจที่โตเร็ว

 

7.ประเทศกัมพูชา
ภาษาที่ใช้ : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ,
ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

 

ข้อควรรู้
- เมื่อเดินทางถึงท่าอากาศยานกรุงพนมเปญ โดยกรอกแบบฟอร์ม
Visa on Arrival พร้อมยื่นรูปถ่ายและค่าธรรมเนียม 20 ดอลลาร์
สหรัฐ
- ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะ
เวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์และไวรัสเอและบี

 

จุดแข็ง มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์โดย
เฉพาะน้ำ ป่าไม้ แร่ชนิดต่างๆค่าจ้างแรงงานต่ำสุดในอาเซียน
(1.6 USD/day)

 

จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
ต้นทุนสาธารณูปโภคอย่างน้ำ ไฟฟ้า และการสื่อสารค่อนข้างสูง
ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะประเด็นที่น่าสนใจของประเทศกัมพูชา
คือประเด็นขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชาอาจบั่นทอนโอกาสการ
ขยายการค้า-การลงทุนระหว่างกันในอนาคต

 

8.ประเทศลาว
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง
9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า
ระบบประชาธิปไตยประชาชน)

 

ข้อควรรู้
-ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทยทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาว
ได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
-ลาวขับรถทางขวา

 

จุดแข็ง มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและอุดมสมบูรณ์
โดยเฉพาะน้ำและแร่ชนิดต่างๆการเมืองมีเสถียรภาพ
ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.06 USD/day)

 

จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา การคมนาคมไม่สะดวก
ไม่มีทางออกสู่ทะเลประเด็นที่น่าสนใจของประเทศลาวคือ
การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานน้ำ
และเหมืองแร่

 

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

 

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

9.ประเทศพม่า
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8
เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%,
กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย
2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม
3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหารปกครองโดย
รัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

 

ข้อควรรู้
- (ยังไม่มีบันทึกข้อมูลในส่วนนี้)

 

จุดแข็ง มีทรัพยากรธรรมชาติน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
จำนวนมาก มีพรมแดนเชื่อมโยงจีนและอินเดีย
ค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ (2.5 USD/day)

 

จุดอ่อน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่
ควร ความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายประเด็น
ที่น่าสนใจของประเทศพม่าคือการพัฒนาโครงข่าย
คมนาคมในประเทศเชิงรุกทั้งทางถนนรถไฟความเร็วสูง
และท่าเรือ

 

10.ประเทศไทย


จุดแข็ง เป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้า
เกษตรหลายรายการรายใหญ่ของโลกที่ตั้งเอื้อต่อการ
เป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ
สาธารณูปโภคพื้นฐานทั่วถึงระบบธนาคารค่อนข้าง
เข้มแข็ง แรงงานจำนวนมาก

 

จุดอ่อน แรงงานส่วนใหญ่ยังขาดทักษะ เทคโนโลยี
การผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นขั้นกลางประเด็นที่น่าสนใจ
ของประเทศไทยคือตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียน
ในหลายด้าน อาทิ ศูนย์กลางโลจิสติกส์และศูนย์กลาง
การท่องเที่ยวดำเนินงานตามแผนปรับตัวสู่ AEC
ปี 2553-2554 ได้ 64สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของอาเซียน
ที่ 53% สะท้อนการเตรียมความพร้อมอย่างจริงจัง

 

ได้ทำความรู้จัก Asian และ AEC
ทำให้ต้องอ้าปากค้างผิดคาดที่มันช่างเป็นเรื่องใกล้
ตัวเสียจริงๆนี่ก็ใกล้จะสิ้นปีแล้วเวลาผ่านไปอย่าง
รวดเร็ว ความเปลี่ยนแปลงในอนาคตก็เริ่มประชิด
ตัวมากขึ้น สำคัญที่เราจะปรับตัวและรับมือกับสิ่งที่
จะเกิดขึ้นอย่างไร

AEC กระแสของความเปลี่ยนแปลง แห่งเอเชีย

 

พูดคุยสนทนากับเพื่อนใหม่ด้วยภาษาอังกฤษจนน้ำลายแตก
ฟอง ไม่แน่ว่า ต่อไปแม้แต่พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอย
ก็อาจต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคของ Asian และ AEC
ด้วยการหัดพูดและฟังภาษาอังกฤษเพื่อจะได้ขายของให้ลูกค้า
ที่ไม่ได้มีแค่คนไทย ป้ายประกาศ สิ่งพิมพ์ สื่อต่างๆ ที่จะต้อง
มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษร่วมด้วยต่อไปจะมีโรงเรียนสอน
ภาษาเต็มไปหมดและหลากหลายหลักสูตร เรื่อง AECจึงถือเป็น
เรื่องใหญ่ ที่ภาคธุรกิจและประชาชนคนไทยทุกคนต้องปรับตัว
และเตรียมพร้อม ต่อไปไม่แน่อาจจะมีการสร้างชุมชนขึ้นใหม่
คล้ายๆเยาวราชที่เต็มไปด้วยคนไทยเชื้อสายจีน แต่ชุมชนที่
เกิดขึ้นใหม่นี้จะเป็นชุมชนเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติอย่าง
กัมพูชาทาวน์, ลาวทาวน์ , พม่าทาวน์, เวียดนามทาวน์
และไม่นานคนไทยคงได้ลิ้มรสอาหารนานาชาติโดยฝีมือเจ้า
ของตำรับตัวจริง คนไทยบางคนอาจได้เพื่อนเกลอต่างชาติ
มาเป็นซี้ หรือไม่ก็เกิดตำนานรักคู่กรรมภาคพิสดารข้ามแดน
มาเป็นเนื้อคู่ ตกร่องปล่องชิ้นแต่งงานกันไปเลยก็เป็นได้


อย่างไรก็ดีผลที่ออกมาในด้านบวกซึ่งเกิดจากการรวมตัวของ
สมาชิกทั้ง 1ประเทศที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อจะนำพาความ
เจริญก้าวหน้ามาสู่ภูมิภาค เป็นการยกระดับและพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตของประเทศสมาชิกให้แข็งแกร่ง


เราเองเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสมาชิกจึงไม่ควรมองข้าม
ต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
เพื่อจะก้าวไปสู่อนาคตด้วยกันได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ที่มาของข้อมูล... http://www.thai-aec.com

 

 

 

 Contact us / Join us

ออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน Interior design Thailand

www.bareo-isyss.com เป็น web magazine ที่ update รายเดือนเพื่อผู้อ่าน ทัศนะและความคิดเห็นใดๆ ของผู้ประพันธ์ หรือผู้สนับสนุน
ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง หรือไม่แน่ชัดใน www.bareo-isyss.com มิได้มาจาก บริษัท บาริโอ จำกัด และบริษัทในเครือแต่อย่างใด
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน Interior design Thailand