left buddha head buddha right buddha

 

 

 

      เชื่อว่าหลายๆบ้านก็คงต้องมีห้องพระในบ้านกันอยู่แล้วแน่นอน  แต่เคยทราบกันไหมว่า ทำไมเราถึงต้องมีห้องพระในบ้าน  ความเชื่อหรือวิธีปฏิบัตินี้  มีความเป็นมาอย่างไร แล้วแน่ใจได้อย่างไร ว่าห้องพระที่เรามีอยู่นั้น  วางถูกต้องตามหลักแล้วหรือ???  เอาเป็นว่า ทั้งหมดนี้ แฟนชาวบาริโอจะได้ทราบคำตอบกันอย่างแน่นอน เพราะวันนี้บียอนได้หาคำตอบเหล่านี้รอให้ไว้ชาวบาริโอได้อ่านกันอยู่แล้วครับ

 

 

Buddha Room 3

 

 

 

ทำไมถึงต้องมีห้องพระ

 

      จริงๆแล้วก็ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า วิธีปฏิบัติแรกเริ่มนี้มาจากไหน แต่จากที่บียอนได้หาข้อมูลมานั้น เชื่อว่า การมีห้องพระในศาสนาพุทธนั้น ได้รับอิทธิพลจากธรรมเนียมของศาสนาฮินดู

      บ้านในประเทศอินเดียแทบทุกหลังจะมีห้องสวดมนต์ หรือสถานที่เฉพาะที่จัดไว้สำหรับแท่นบูชา โดยจะแยกเป็นสัดส่วนไว้อย่างชัดเจน ตะเกียงไฟถูกจุดขึ้นเพื่อทำการบูชาพระเป็นเจ้าในทุกๆ วัน รวมไปถึงการถือปฏิบัติต่างๆ เช่น การสวดพระนามแห่งพระเป็นเจ้า การทำสมาธิ หรือแม้แต่การอ่านคัมภีร์ทาง

      ศาสนา ร้องเพลงบูชาแก่พระเป็นเจ้า เค้าก็จะปฏิบัติกันเฉพาะในสถานทีนี้เท่านั้น ไม่เพียงแต่กิจวัตรการบูชาประจำวันเท่านั้น ยังมีการจัดการบูชาในเทศกาลหรือโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น งานวัดเกิด งานเทศกาลบูชาพระเจ้า เช่น ศิวะราตรี หรืออื่นๆ ทุกๆ คนในครอบครัว ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่จะมารวมตัวกันอยู่ ณ ห้องบูชานี้

      พระเป็นเจ้าทรงเป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง เป็นผู้ให้ความสมบูรณ์พร้อมในด้านต่างๆ ดังนั้นชาวฮินดูจะถือว่าพระเจ้าเท่านั้นที่เป็นเจ้าของบ้านอย่างแท้จริง และถือว่าพระองค์พักอาศัยอยู่ภายในบ้านด้วย ดังนั้นห้องพระหรือห้องสวดมนต์สำหรับชาวฮินดูจึงเป็นห้องสำคัญและสถานที่หลักของบ้าน

 

 

 

19

 

 

      แต่ถ้าบ้านหลังไหนหาสถานที่หรือบริเวณที่จะสร้างห้องพระได้ยาก เหมือนกับว่าพระองค์เป็นเจ้าของบ้านแท้ๆ แต่กลับไม่มีห้องสวดมนต์ให้พระองค์พำนักอยู่  อย่างน้อยที่สุดให้คิดว่าพระองค์เป็นแขกคนสำคัญของบ้านที่เราต้องต้อนรับขับสู้อย่างดีที่สุด และคิดเสมอว่าพระองค์อยู่ภายในบ้านตลอดเวลา ควรทำความสะอาดบ้านและห้องสวดมนต์ให้สะอาดอยู่เสมอ และภายในห้องสวดมนต์ต้องประดับตกแต่งให้สวยงาม เมื่อทำเช่นนั้นแล้ว ทุกครั้งที่เราเข้าห้องสวดมนต์ และขอพรต่อพระองค์ พระองค์ก็จะประทานพรให้แก่ผู้บูชาสม่ำเสมอ   และเชื่อกันว่าห้องสวดมนต์นี้จะเต็มไปด้วยพลัง เมื่อผู้บูชาเข้าไปสวดท่องอยู่สม่ำเสมอ เสมือนกับห้องสวดมนต์มีพลังในการซึมซับพลังเหล่านั้นไว้ แต่เมื่อผู้บูชาเข้าห้องพระเมื่อใด จิตจะเปี่ยมไปด้วยพลัง ใจจะแจ่มใสเบิกบาน

      นี่ถือเป็นกุศโลบายของชาวฮินดู  และก็เผยแพร่มาสู่ชาวพุทธเรา เป็นความเชื่อว่าพระก็เหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะปกป้องรักษาบ้านของเราในเวลาที่เราไม่อยู่บ้าน ให้ปลอดภัยนั้นเองครับ

 

Cr :hindumeeting.com

 

 

 

การเลือกตำแหน่งของห้องพระ

 

1. วางห้องพระชั้นบนดีกว่าชั้นล่าง - พระถือเป็นของสูง เป็นที่สักการบูชาของคนในบ้าน การวางให้ต่ำกว่าคนในบ้านถือว่าเป็นเรื่องไม่เป็นมงคล เพราะฉะนั้น ต่อให้มีบ้านกี่ชั้นก็ควรวางไว้ชั้นสูงสุด แต่ก็ใช่จะวางชั้นล่างไม่ได้ แต่การวางชั้นล่างมีข้อจำกัดมากกมาย ต้องดูว่าวางตรงไหนแล้วจะตรงกับห้องอะไรด้านบน ถ้าจะให้บียอนแนะนำก็ควรจะหาห้องพระไว้ด้านบนจะดีกว่าครับ

2. ห้ามวางหน้าห้องน้ำ - ห้องพระห้ามติดกับห้องส้วม เหตุผลในเชิงฮวงจุ้ยบอกว่า ห้องส้วมเป็นธาตุน้ำ ห้องพระเป็นธาตุไฟ ตามกฎเบญจธาตุ ( 5 ธาตุ) ธาตุน้ำพิฆาตธาตุไฟ

3. อยู่ในตำแหน่งที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกแน่นอนอยู่แล้วว่าห้องพระก็จะต้องมีการจุดธูป เทียนเพื่อสักการบูชา เพราะฉะนั้น ห้องพระควรมีหน้าต่างก็ถ่ายเทอากาศ กลิ่นควันธูปจะได้ไม่รบกวนไปห้องอื่นๆ อีกทางเลือกหนึ่ง คือ ธูป เทียน แบบไฟฟ้า ที่จะเหมาะกับห้องพระที่ไม่มีช่องระบายอากาศนั้นเองครับ

4. ห้องพระติดห้องนอนต้องระวังเรื่องการวางเตียง กรณีที่วาง ตำแหน่งห้องพระติดกับห้องนอน จะต้องพิจารณาเรื่องการวางเตียงนอน เป็นประเด็นสำคัญ  ไม่ควรหันปลายเตียงไปทางห้องพระ

5. ห้องพระควรอยู่ในที่สงบ 
ในที่นี้ก็หมายถึงเวลาเราไปไหว้พระ ทำสมาธิ เมื่อห้องอยู่ในตำแหน่งที่ดีสงบ ก็จะทำให้จิตเราสงบไปด้วย ลองนึกดูว่าถ้าห้องพระติดกับห้องครัว จะเป็นยังไง สงสัยระหว่างทำสมาธิคงได้จามกันตลอดเวลา ถ้าเกิดแม่บ้านผัดกะเพราตอนเราทำสมาธิอยู่ในห้องพระพอดี ฮ่าๆ ^^

 

 

ความเชื่อของคนโบราณ หิ้งพระหรือองค์พระ ต้องหันไปทาง ทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศเหนือ ส่วนทิศอื่นหันแล้วไม่เป็นมงคล จากความเชื่อนี้สันนิษฐานได้ว่า ชื่อของทิศที่มีคำว่า “ใต้” กับ “ตก” ปนอยู่ในคำว่าทิศ จะฟังดูแล้วไม่เป็นมงคล จึงไม่หันหน้าพระไปยังทิศนี้

 

 

m18

 

 

 

การวางพระ

 

หากท่านมีพระจำนวนมากแต่ไม่รู้จะจัดลำดับการวางอย่างไร บียอนขอแนะนำการวางดังนี้ คือ

1. วางพระพุทธรูปอยู่บนสุด
2. รองลงมาเป็นพระสาวก อาทิ พระสังกัจจายน์ พระสิวลี ( อริยสงฆ์ )
3. ส่วนองค์เทพ อื่นๆ อาทิเช่น พระโพธิสัตว์กวนอิม พระแม่ศรีอุมาเทวี พระพิฆเนศ แนะนำให้อยู่ด้านล่างสุด หรือจะให้ดี ก็ควรแยกโต๊ะออกมาบูชาต่างหาก
4. พระเกจิอาจารย์ต่างๆ รูปเหมือนหลวงปู่ หลวงพ่อต่างๆ
5. ส่วนสุดท้ายคือ บรรพบุรุษ ก็ควรวางแยกโต๊ะเช่นกัน หรือถ้าไม่สะดวกก็ควรอยู่ด้านล่างสุด การวางแยกโต๊ะก็ควรให้อยู่ต่ำกว่าองค์พระประธาน เพราะมีความเชื่อว่า ถ้าอยู่สูงกว่า หรือวางเท่ากัน จะทำให้บรรพบุรุษอยู่อย่างไม่เป็นสุขครับ

การจัดตกแต่งห้องพระ

 

     ห้องพระควรจัดตกแต่งให้ดูโปร่งโล่ง เน้น โทนสีขาวหรือสีอ่อนให้ดูสะอาดตา  มองแล้วไม่รู้สึกรบกวนสมาธิและที่สำคัญควรออกแบบให้มีตู้เก็บของให้ดูกลมกลืนและเหมาะสมเพื่อใช้เก็บอุปกรณ์ที่ไว้สักการบูชาพระ ให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย  และควรทำความสะอาดห้องพระอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญอีกอย่างคือควรเปิดไฟส่องสว่างองค์พระประธานอยู่ตลอด เพื่อความเป็นมงคลนั้นเองครับ

 

I-Buddha-1

 

 

 

      เห็นไหมละครับ การจัดห้องพระจริงๆก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย เพียงแค่เรารู้หลัก มันก็จะทำให้ห้องพระเป็นห้องที่สมบูรณ์ มีแต่ความเป็นสิริมงคล มีพระคุ้มครองบ้านอยู่ตลอดอย่างแน่นอนครับ ยังไงแล้วกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปไปแล้ว ก็อย่าลืมไหว้พระในบ้านอย่างพ่อแม่ของเราด้วยนะครับชีวิตเราจะได้มีความสิ่งดีๆยิ่งๆขึ้นไปอีก ยังไงแล้วบียอนขอฝากเรื่องห้องพระนี้ไว้ให้ได้อ่านกันดูนะครับ ส่วนครั้งหน้าจะมีอะไรมาฝาก อย่าลืมติดตามกันได้ในเวปไซค์ของ Bareo นะครับ สำหรับวันนี้สวัสดีครับ

 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล
banlangchok.com
oknation.net

 Contact us / Join us

ออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน Interior design Thailand

www.bareo-isyss.com เป็น web magazine ที่ update รายเดือนเพื่อผู้อ่าน ทัศนะและความคิดเห็นใดๆ ของผู้ประพันธ์ หรือผู้สนับสนุน
ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง หรือไม่แน่ชัดใน www.bareo-isyss.com มิได้มาจาก บริษัท บาริโอ จำกัด และบริษัทในเครือแต่อย่างใด
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน Interior design Thailand