ไม้ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่มีประโยชน์มากมายสารพัด ตั้งแต่การนำไปทำเป็นอาหาร เครื่องจักรสาน เฟอร์นิเจอร์ รวมไปถึงใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของบ้าน อาทิ พื้นบ้าน เสา หน้าต่าง หรือแม้กระทั่งหลังคาสำหรับกันแดด กันฝน นอกจากนี้ยังสามารถนำมาสร้างเป็น “บ้านพักอาศัย” ซึ่งปัจจุบันนิยมกันมากในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเชียงใต้ อย่างที่บาหลี (อินโดนีเซีย) ฟิลิปปินส์ ส่วนในเมืองไทยก็มี “บ้านไม้ไผ่” ให้ได้พบเห็นกันบ่อยๆ แต่จะเป็นในรูปแบบของรีสอร์ตเป็นส่วนใหญ่
หลายคนอาจคิดว่า “บ้านไม้ไผ่” มีต้นทุนในการก่อสร้างน้อยและอายุการใช้นานเพียงไม่กี่ปี แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากรู้จักเลือกและรักษา “ไม้ไผ่” เป็นอย่างดี คุณจะสามารถมีบ้านไม้ไผ่ไว้ใช้ได้นานกว่า 40-50 ปีเลยทีเดียว
หากใครที่กำลังอยากนำ “ไม้ไผ่” มาสร้างเป็น “บ้าน” หรือ “รีสอร์ท” Karuntee มีเทคนิคง่ายๆ มาฝากค่ะ อันดับแรกควรเริ่มจาก...
การทำความรู้จัก “ไม้ไผ่” แต่ละประเภท
ไม้ไผ่มาด้วยกันหลากหลายชนิดมาก ฉะนั้นขอยกตัวอย่างเฉพาะไม้ไผ่ที่สามารถนำมาสร้างบ้านได้เท่านั้น
ไผ่ข้าวหลาม โดยส่วนใหญ่มักจะใช้ส่วนของลำต้นไผ่ ในการสานเป็นฝาหรือเพดานบ้าน หรือสานเป็นเสื่อแทนพรม และทำเป็นกลอนหลังคาบ้าน
ไผ่ป่า เป็นไม้ไผ่ที่มีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีประโยชน์ในการใช้งานค่อนข้างมาก โดยในส่วนของลำสามารถใช้ทำบันได สร้างผนังบ้าน ทำฟากปูพื้น รั้ว แพลูกบวบ หรือปลูกเป็นแนวกันลม
ไผ่เป๊าะ นิยมนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่น เก้าอี้ โต๊ะ แคร่ เครื่องจักรสาน รวมไปถึงแพลูกบวบ
ไผ่หก เป็นไม้ไผ่ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปและนำมาใช้มากที่สุด ส่วนของเยื่อในกาบหุ้มลำ มักนำไปใช้เป็นมวนบุหรี่ รวมถึงสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั่วไปเช่น ทำฟาก สานเสื่อ ทำเครื่องจักรสาน ทำบวบแพ หรือทำกระดาษ เป็นต้น
หลังจากนำ “ไม้ไผ่” มาใช้ในเป็นองค์ประกอบต่างๆในการสร้างบ้านแล้ว เพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น จึงควรรู้จักดูแลรักษาไม้ไผ่อย่างถูกวิธี...โดยหนังสือ BAMBOO WORLD ได้อธิบายไว้ว่า...
1. ไม้ไผ่ที่จะนำมาใช้งาน ต้องเป็นไผ่ที่เจริญเติบโตเต็มที่ อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เพราะไผ่อ่อนมักจะสะสมแป้งและความชื้นไว้ในเนื้อ เพื่อเตรียมแตกหน่อ อีกทั้งไผ่อ่อนยังเป็นที่ชื่นชอบของ มอด ที่พร้อมมาเจาะกินไผ่ในช่วงระยะดังกล่าวนี้
2. ควรเลือกตัดไม้ไผ่ในฤดูแล้ง จะทำให้ทนทานต่อแมลงได้มากกว่าฤดูกาลอื่น ส่วนใครที่จะนำไผ่ไปใช้งานOUTDOOR ควรใช้วิธีการอัดน้ำยารักษาเนื้อไม้เพื่อให้ไม้ไผ่ทนทานต่อการใช้งานท่ามกลางแดด ฝน และลมมากขึ้น
อีกหนึ่งวิธีการดูแลรักษาไม้ไผ่ด้วยวิธีการธรรมชาติจากหนังสือ “ไม้ไผ่ สำหรับคนรักไผ่” ของสุทัศน์ เดชวิสิทธิ์ ได้กล่าวไว้ว่า....
หลักการสำคัญของการถนอมไม้ไผ่ให้ใช้ได้นาน คือ การทำลายสารบางอย่างที่มีอยู่ในเนื้อไผ่ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของแมลง เช่น จำพวกแป้งและน้ำตาล ให้หมดไป ทำได้โดย
1. การนำไม้ไผ่ไปแช่น้ำ โดยสามารถแช่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำทะเล เป็นเวลา 3 วันถึง 3 เดือน
2. การใช้ความร้อน หรือสกัดน้ำมันจากไม้ไผ่ออกไป เพื่อทำลายแหล่งอาหารของแมลงในเนื้อไผ่ โดยทำได้ 2 วิธีคือ นำไผ่ไปต้มและปิ้งไฟ
ซึ่ง - การต้ม จะทำให้เนื้อไม้นุ่ม
- การปิ้ง จะทำให้เนื้อไม้แข็งแรงและแข็งแกร่งมากขึ้น
สำหรับวิธีป้องกันมอดกินไม้ มีวิธีที่ใช้สืบทอดกันตั้งแต่โบราณ คือ นำไม้ไผ่ทั้งลำลงแช่ในน้ำประมาณ5-7 วัน จนเริ่มมีกลิ่นเหม็นเน่า จากนั้นให้นำขึ้นไปผึ่งแดดหรือตากลม อีก5-7 วัน (เพื่อให้ไม้ไผ่หายเหม็น) แล้วค่อยนำไม้มาใช้งานต่อ...วิธีนี้จะช่วยทำให้มอดหรือแมลงไม่มากินและกล้าเข้าใกล้อีกเลย ที่สำคัญยังเป็นวิธีธรรมชาติที่ปลอดภัยจากสารเคมี 100 % นอกจากนี้ยังมีอีกมีหนึ่งวิธี ก็คือ การนำต้นไผ่ลนไฟให้ความร้อน จนเยื้อในลำไผ่สุก จากนั้นให้ทำการทาด้วยสารเคมีเคลือบผิวไผ่เป็นการไล่มอดไม่ให้เข้าใกล้ได้อีกทาง
ข้อดีของการสร้างบ้านไม้ไผ่
1. ราคาถูก บ้านไม้ไผ่มีต้นทุนในการก่อสร้างถูกกว่าบ้านไม้อิฐหรือคอนกรีตทั่วไป แต่มีข้อจำกัดอยู่ที่ความแข็งแรง ทนทาน และปลอดภัย อย่างไรก็ตามถ้าเลือกไม้ไผ่ที่มีเนื้อแข็งหนา ก็สามารถต่ออายุการใช้งานของบ้านได้หลายสิบปีเลยทีเดียว
สำหรับราคาไผ่ ขึ้นอยู่กับความนิยมและชนิดของไผ่ จึงมีราคาแตกต่างกันไป แต่ชาวชนบทส่วนใหญ่มักปลูกและนำมาใช้งาน เพราะประโยชน์ที่หลากหลายทั้งใช้สร้างบ้าน และนำไปประกอบอาหารได้อีกด้วย
2. บ้านปลอดโปร่ง ไม่ร้อน ไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติ ช่วยดูดซับความร้อน ทำให้ภายในบ้านมีอากาศเย็นและถ่ายเท บางบ้านมีการนำไม้ไผ่มาสร้างเป็นรั่วเพื่อกันแดดนอกจากจะให้ความร่มรื่นยังสามารถป้องกันแสงแดดกระทบตัวบ้านได้อย่างดีเยี่ยม
3. ทำเฟอร์นิเจอร์ หลังจากสร้างบ้านเสร็จ หากมีไม้ไผ่เหลือ ก็สามารถนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ บันได รั่วบ้าน เป็นต้น
4.ไผ่มีประโยชน์และใช้งานได้เยอะไม้ไผ่เป็นไม้ตระกูลหญ้าที่ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษามากจึงสามารถปลูกไผ่ไว้สร้างบ้านเองได้ อาศัยระยะเวลาอย่างน้อยประมาณ 3 ปี จะเริ่มขึ้นหน่อกลายเป็นลำต้นที่แข็งแรงและยังนำหน่อไปประกอบอาหารได้อีกด้วย
บ้านไม้ไผ่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะนำมาสร้างบ้านได้ทั้งหลังแล้ว ยังสามารถนำมาทำเป็นคอกไก่ คอกวัว คอกควาย ประตูรั้วบ้าน
สำหรับใครที่อยากมีบ้านไม้ไผ่เป็นของตนเอง Karuntee มีแบบบ้านและเทคนิคการทำแบบง่ายๆ มาฝากค่ะ
แบบบ้านไม้ไผ่ยกใต้ถุนสูง ออกแบบมาเพื่อหนีน้ำท่วมในประเทศเวียดนาม โดย H architects
วิธีการสร้างหลังคาจากไม้ไผ่ เราสามารถผ่าครึ่งของลำต้นไผ่ จากนั้นนำมาประกอบกันโดยใช้วิธีคว่ำ หงาย สลับไปเรื่อยๆ จนสุดโครงสร้าง และเพื่อให้ไม้ไผ่มีความทนทาน มันวาว ควรนำไม้ไผ่ไปแช่น้ำเกลือกันปลวกกิน และเอาแลกเกอร์ทาเคลือบดูสวยงาม ทั้งยังช่วยกันแดดกันฝนได้เป็นอย่างดี
มาดูในส่วนของการประกอบหรือยึดไม้ไผ่เข้ากันบ้างค่ะ วิธีนี้สามารถนำไปใช้กับผนัง ประตู หน้าต่าง รวมไปถึงคาน มีทั้งแบบผูกเชือกและแบบเจาะแล้วใช้น๊อตยึดให้แน่น
ตัวอย่างบ้านไม้ไผ่
Green Village (บาหลี)
กรีนวิลเลจ (Green Village) เป็นหมู่บ้านที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อความยั่งยืน ด้วยการใช้ไม้ไผ่ในการก่อสร้าง โดย Elora เจ้าของหมู่บ้าน ต้องการสร้างมูลค่าให้กับไม้ไผ่จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ระดับ High-End และสร้างภาพของไม้ไผ่กลายเป็นวัสดุสุดเท่และใช้ในงานที่เป็นนวัตกรรมได้ โดยกรีนวิลเลจเน้นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบให้ดูทันสมัย เชิงความคิดสร้างสรรค์ สวยงาม โดยใช้ความมีฝีมือล้วนๆ
โซเนว่า คีรี บาย ซิกเซ้นส์ (SonevaKiri by Six Senses )เกาะกูด จ.ตราด
โรงแรมหรู ราคาระดับหกดาว ที่โดดเด่นจากดีไซน์โมเดิร์ทรอปิคอล กับกลิ่นอายของความเป็นธรรมชาติที่ใช้ไม้ไผ่เป็นโครงสร้างและวัสดุสำคัญในการตกแต่งสวยกินกันไม่ลงกับ Green Village เห็นหรือไม่คะ? ว่าเมืองไทยเองก็มีการออกแบบ และการดีไซน์ ที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก
The Hut by Sabu-Sabu จ.เชียงใหม่
รีสอร์ท แบบกระท่อมที่ให้กลิ่นอายธรรมชาติจากไม้ไผ่ เน้นการดีไซน์ที่เรียบง่าย ไม่หวือหวา เสริมตกแต่งให้มีความเป็นไทยได้อย่างลงตัว เหมาะสำหรับการพักผ่อนและคนที่ชื่นชอบความเป็นส่วนตัว
โรงเรียนปัญญาเด่น (Panyaden) จ.เชียงใหม่
โรงเรียนปัญญาเด่นเน้นแนวคิดและปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนรักธรรมชาติ จึงได้ดึงแนวคิดและวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่มาออกแบบและสร้างเป็นอาคารเรียน ผสมผสานรูปแบบโครงสร้างของความเป็นโมเดิร์นได้อย่างสวยงามลงตัว
ว๊าว...ว๊าว...ว๊าว!! นอกจากความสวยงาม มีสไตล์ “บ้านไม้ไผ่” ยังทำให้คุณเข้าถึงความเป็นธรรมชาติได้เป็นอย่างดี สร้างบรรยากาศให้ภายในบ้านให้ถ่ายเท เย็นสบายตลอดเวลา ที่สำคัญยังต้นทุนต่ำกว่าบ้านไม้แบบอื่น บ้านไม้ไผ่จึงเป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่อยากจะมีบ้านสักหลังที่ไกล้ชิดธรรมชาติ แต่มีดีไซน์ทันสมัย ด้วยงบประมาณที่จำกัดค่ะ
รูปภาพจาก Pinterest
|