head pattern128 home ampawa top124  
editor  
newproject  
decor  
design  
living  
healthy  
back  
ded124  
youtube124  
facebook124  
               
 

 

      ศิลปวัฒนธรรมชุมชนอัมพวาเป็นชุมชนริมน้ำในบริบทสวนที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์การตั้งถิ่นฐานดั้งเดิมเอาไว้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ  ถึงแม้ว่าการพัฒนาการคมนาคมทางบกในภายหลังจะทำให้ตลาดน้ำค่อยๆ ถูกลดความสำคัญลงไป แต่ร่องรอยความเจริญของชุมชนริมคลองอัมพวาแห่งนี้ ก็ยังคงปรากฏให้เห็นในงานสถาปัตยกรรมต่างๆ ทั้งบ้านไม้ เรือนไทย ห้องแถวไม้ เรือนแพ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีอายุไม่ต่ำกว่า 50-100 ปี รวมไปถึง ศาสนสถาน และสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ และศิลปะที่ควรค่าแก่การสืบทอด

 

ประวัติชุมชนอัมพวา


      ชุมชนอัมพวาหรือเทศบาลตำบลอัมพวาจังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนกลางของอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันตกประมาณ 72 กิโลเมตร พื้นที่บริเวณชุมชนอัมพวา และพื้นที่โดยรอบเดิมเรียกว่า“แขวงบางช้าง” อยู่รวมกับเมืองราชบุรี


      ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 เอกสารประกอบปาฐกถาเสาหลักของแผ่นดิน “ชุดเศรษฐกิจพอเพียง”เรื่อง“ การอนุรักษ์ และฟื้นฟูชุมชนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม” วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2137-2198) แขวงบางช้าง มีตลาดค้าขายเรียกว่า“ตลาดบางช้าง”
มีนายตลาดทำหน้าที่เก็บอากรขนอน เป็นหญิงชื่อ “น้อย” มีบรรดาศักดิ์เป็น“ท้าวแก้วผลึก” (น้าสาวของท่าน “ทอง” พระ-ชนกของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ (นาก) พระบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา แขวงบางช้าง กลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองสมุทรสงคราม


      ใน พ.ศ. 2437 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นที่ตอนล่างของแขวงบางช้างได้ยกฐานะเป็น อำเภออัมพวา ต่อมาใน พ.ศ. 2481 ได้มีการตราพระราชกฤษฎีการวมท้องที่ ตำบลอัมพวา และตำบลบางกะพ้อม เข้าด้วยกันเป็น ตำบลอัมพวา ก่อนจะได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลตำบลอัมพวา


      ใน พ.ศ.2483 ในด้านประวัติศาสตร์ ชุมชนอัมพวา มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ ต้นพระบรมราชวงศ์จักรีโดยเคยเป็นสถานที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยา และเป็นสถานที่เสด็จพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ ที่เสด็จพระราชสมภพของ สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่1 และสมเด็จพระศรีสุริเยนรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 อีกด้วย


      ในด้านศิลปวัฒนธรรม ชุมชนอัมพวา เป็นชุมชนริมน้ำในบริบทสวนที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์การตั้งถิ่นฐานดั้งเดิมเอาไว้ได้เป็นอย่างดี มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ มีศาสนสถาน และสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม หลายแห่งบริเวณโดยรอบยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสวนผลไม้ มีแม่น้ำลำคลองที่เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางน้ำที่สมบูรณ์และใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีในอดีต

 

      ชุมชนอัมพวา เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางน้ำ และศูนย์กลางพาณิชยกรรม ที่สำคัญแห่งหนึ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กลอง เนื่องจากมีโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางน้ำเชื่อมโยงกับพื้นที่โดยรอบได้อย่างทั่วถึง


      ต่อมาประมาณทศวรรษ 2520 มีการพัฒนาโครงข่ายถนนเข้ามาแทนที่โครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางน้ำประกอบกับมีการการก่อสร้างเขื่อนเก็บน้ำในพื้นที่ตอนบนของแม่น้ำแม่กลองหลายแห่ง ส่งผลให้ระบบนิเวศในพื้นที่เปลี่ยนแปลงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติลดลง บทบาทความเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและตลาดน้ำขนาดใหญ่ที่เคยคึกคักก็สิ้นสุดลงชุมชนอัมพวาที่เคยรุ่งเรืองกลับซบเซาลงอาคารร้านค้าริมน้ำที่เคยมีอยู่มากมายทยอยปิดตัวลง และถูกปล่อยทิ้งร้างประชาชนจำนวนมากย้ายออกจากพื้นที่ เนื่องจากขาดแคลนแหล่งงาน แต่อย่างไรก็ตามคนรุ่นหลังยังมีผู้ที่เห็นคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์ ช่วยให้ ชุมชนอัมพวา ยังคงเอกลักษณ์การตั้งถิ่นฐานริมน้ำดั้งเดิมเอาไว้ได้ จนได้รับรางวัลชุมชนอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ในพ.ศ. 2545

 

1

 

2

แผนที่แสดงที่ตั้งและการเข้าถึงชุมชนอัมพวา

 

3

 

      การอนุรักษ์ และฟื้นฟูชุมชน และการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนอัมพวา ขึ้นถึงจุดสูงสุดในพ.ศ. 2551 เมื่อชุมชนอัมพวา ได้รับรางวัลชมเชย (Honorable Mention) จากการประกวด “UNESCO Asia-Pacific Heritage Awards 2008” ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการดําเนินงาน  “โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม”

 

      ปัจจุบัน อาคารริมน้ำส่วนใหญ่ได้รับการปรับปรุงซ่อมแซม และปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยจากที่อยู่ มาเป็นการใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยว เช่นใช้เป็นบ้านพักที่อยู่ร่วมกับคนในท้องถิ่น (Homestay) ขายของที่ระลึก ขายอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม 

 

5

เกียรติบัตรที่ได้รับจาก UNESCO Asia-Pacific Heritage Awards 2008

 

สถาปัตยกรรมในอัมพวา

 

 

สถาปัตยกรรมของชุมชน  อาคารที่มีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ อุทยาน ร.2 อาคารสำนักงานเทศบาลตำบลอัมพวา ตึกแถวเก่า บ้านเรือนริมน้ำและในสวนที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เป็นต้น

 

6

 

7

 

      อุทยาน ร.2 เป็นอาคาร ทรงไทย 4 หลัง จัดแสดงศิลปวัตถุในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ความเป็นอยู่ของชาวไทย ในสมัยรัชกาลที่ 2 

 

8

 

9

 

      บ้านเรือนริมน้ำ ยังมีทั้งที่ชาวบ้านยังอาศัยอยู่ดั้งเดิมและบางส่วนก็ปรับเปลี่ยน เป็นโฮมสเตย์สำหรับนักท่องเที่ยว แต่โฮมสเตย์ ที่เกิดขึ้นใหม่ๆก็ยังคงรักษาเสน่ห์ของอัมพวา โดยการตกแต่งเชิงอนุรักษ์ลักษณะบ้านเรือนแบบดั้งเดิมเพื่อให้หลงเหลือไว้ซึ่งกลิ่นอาย ของความเป็นอัมพวาไว้ได้มากที่สุด

 

1122

 

      ประตูบานเฟี้ยมไม้สักบานใหญ่ ที่ผ่านการลงน้ำยารักษาเนื้อไม้อวดผิวจนขึ้นเงา คือ เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมเรือนห้องแถวของชุมชนอัมพวา หากเราเดินลัดเลาะเลียบไปตามริมคลองอัมพวา จะเห็นห้องแถวเก่าที่ได้รับการอนุรักษ์ให้คงสภาพเดิมเอาไว้ แล้วปรับปรุงใหม่จนสวยงาม

 

ชุมชนลายครามกับอัมพวา

 

      เครื่องลายครามกลายเป็นของคู่เคียงกับอัมพวาไปแล้วก็ว่าได้ เช่น โฮมสเตย์ต่างๆ ยังมีการนำเครื่องลายครามมาใช้เป็นภาชนะสำหรับนักท่องเที่ยง ซึ่งสามารถสื่อถึงเอกลักษณ์ของอัมพวา และยังเป็นการส่งเสริมผลักดันให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงเครื่องลายครามได้ง่ายขึ้น 

 

      ชุมชนดอนไก่ดีเป็นชุมชนลายครามใกล้เคียงกับตลาดน้ำอัมพวา เครื่องลายครามเป็นภาชนะเครื่องถ้วยจีนที่เขียนสีน้ำเงินหรือสีคราม เรียกว่า เครื่องลายคราม ปัจจุบันคนไทยผลิตเครื่องลายครามได้เอง มีโรงงานผลิตแถวภาคกลางของประเทศไทย มีคุณภาพดีทัดเทียมของจีน อยู่ที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร มีชุมชนที่ทำเบญจรงค์ และเครื่องลายครามเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเครื่องลายคราม มีธุรกิจโรงงานขนาดเล็กประมาณ 10 แห่ง กลุ่มดั้งเดิมตระกูลเก่าแก่เชื้อสายจีน อยู่ในพื้นที่ ต.คลองมะเดื่อ ซึ่งทำเครื่องลายครามอยู่ก่อนแล้ว และมีแตกแขนงออกมาเป็นอีกหลายกลุ่มย่อย คือบรรดาลูกจ้างที่เคยทำงานอยู่ในโรงชาม หรือโรงงานเสถียรภาพซึ่งเป็นโรงงานผลิตภัณฑ์ถ้วยชามขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันได้เลิกกิจการไปแล้ว ลูกจ้างที่มีฝีมือในการทำถ้วยชามเหล่านี้จึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก ผลิตเครื่องถ้วยชามเขียนลายแบบอย่างเบญจรงค์ และลายครามพัฒนาฝีมือขึ้นเรื่อย ๆ และตั้งตัวเป็นกลุ่มหมู่บ้านเบญจรงค์ ต.ดอนไก่

 

      ถึงแม้ว่าเครื่องลายครามจะไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทย แต่ลวดลายที่ใช้กันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องลายครามไทย เช่น ลายสับปะรด เป็นต้น

 

1213

 

ลวดลายที่ใช้เขียนลายครามในปัจจุบัน

 

14 2

 

      1. ลายสับปะรด เป็นลายพื้นฐานของลายครามไทย และเป็นลายที่นิยมเขียนกันมากที่สุดและยังมีการเขียนอยู่ในปัจจุบัน

 

 15 2

 

      2. ลายร่างแหเป็นลายดั้งเดิมที่มาจากแหจับปลาเป็นแรงบันดาลใจในการทำมาออกแบบลวดลายที่ได้มาจากสิ่งที่มีอยู่รอบตัว และเป็นลายที่ต้องใช้ความพยายามในการเขียนอย่างมากจึงทำให้ลายนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยม

 

16 2

 

      3. ลายพรรณพฤกษา เป็นลายที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก ดอกไม้หรือพรรณไม้ต่างๆ จากธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัวกับคนสมัยก่อน

 

      สืบสายลายเส้น หัตถศิลป์อันงดงาม ที่ “หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี” เครื่องเบญจรงค์ถือว่าเป็นศิลปหัตถกรรมที่มีคุณค่าที่เกิดจากความประณีต ความละเอียดอ่อน และความสร้างสรรค์ของช่างฝีมือ ซึ่งเป็นที่น่าภูมิใจของไทยที่มีหัตถศิลป์อันงดงาม ซึ่งนอกจากจะสามารถสร้างความประทับใจแก่ชาวไทยและต่างชาติที่ได้พบเห็น  เสน่ห์แบบไทยไม่แพ้ชาติใดจริงๆเลยใช่ไหมคะ

 

 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก

 

www.manager.co.th

www.unseeninthai.com

www.cca.chula.ac.th

www.thaitambon.com

 

 

 
     

 

    แผนที่แสดงที่ตั้งและการเข้าถึงชุมชนอัมพวา

 Contact us / Join us

ออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน Interior design Thailand

www.bareo-isyss.com เป็น web magazine ที่ update รายเดือนเพื่อผู้อ่าน ทัศนะและความคิดเห็นใดๆ ของผู้ประพันธ์ หรือผู้สนับสนุน
ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะอันอาจก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง หรือไม่แน่ชัดใน www.bareo-isyss.com มิได้มาจาก บริษัท บาริโอ จำกัด และบริษัทในเครือแต่อย่างใด
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบ ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

Bareo-Isyss รับออกแบบตกแต่งภายใน รับเหมาตกแต่งภายใน ออกแบบภายใน ออกแบบตกแต่งภายใน Interior design Thailand