about bareo
news & events
art of design
decor guide
the gallery
living young
talk to editor
links

I-service

back issue

 

 

          สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน Issue นี้เรากลับมาพบกันอีกครั้งนะค่ะ ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายแล้วที่จะเขียนเกี่ยวกับเรื่องราวประวัติศาสตร์ศิลปะการออกแบบของประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย แหมไม่ได้จะหนีหายไปไหนค่ะ แต่ที่ปรึกษาคนเก่งของเรานะสิบินกลับประเทศฟินแลนด์ไปซะแล้ว คุณสามารถอ่านบทความ ย้อนหลังของ Jari ได้ใน

          Issue ที่ 35 “เรื่องไม้...ไม้ของชาวสแกนฯ”
          Issue ที่ 36 “เรื่องแก้ว...ของชาวสแกนฯ”
          Issue ที่ 38 “Metal สไตล์เมืองหนาว”
          Issue ที่ 38 “Plastic สไตล์เมืองหนาว”ค่ะ

          ก่อนกลับประเทศ Jari ก็มีเรื่องดีๆ มาฝากพวกเราเช่นเคยค่ะ Jari ทิ้งท้าย Issue ด้วยเรื่องราวของ Textile และ Lightings ถือว่าจบงานเขียนชิ้นนี้ได้สวยเชียวล่ะค่ะ

Lightings


         อย่างที่ Jari บอกไว้แต่ต้นค่ะ ฤดูหนาวของชาวสแกนฯ ยาวนานถึงกว่า 7 เดือน เมืองทั่วไปมีบรรยากาศค่อนข้างมืดสลัว ในแต่ละวันก็มีเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้นที่จะได้รับไออุ่นจากแสงอาทิตย์อ่อนๆ ที่สาดส่องลงมา และนั่นก็เป็นเหตุผลว่าทำไมโคมไฟมากมายที่มีคุณภาพสูงและมีดีไซน์เป็นที่รู้จักทั่วโลก จึงมาจากเหล่าดีไซน์เนอร์และสถาปนิกชาวสแกนฯ แทบทั้งสิ้นค่ะ


         โคมไฟที่เห็นจะโด่งดังไปทั่วโลก คงจะเป็น  PH Lamp ของ Poul Henningsen สถาปนิกชาวเดนมาร์กค่ะ ถือกำเนิดมาจากแรงบันดาลใจของ Henningsen ตอนนั่งรถรางกลับบ้าน เขาสังเกตเห็นบ้านเรือนมีเฟอร์นิเจอร์ที่มีสไตล์ มีพื้นพรมที่ลวดลายงดงาม แต่เกือบทุกบ้านกลับขาดสิ่งสำคัญที่สุด นั่นก็คือแสงไฟที่สวยงาม Henningsen ต้องการออกแบบ PH Lamp ให้เป็นโคมไฟสำหรับบ้านเรือนทั่วไป เป็นโคมที่มีแสงส่องสว่างอย่างถูกต้องตามหลัก คือแสงต้องไม่ส่องเข้าตาและในขณะเดียวกันต้องกระจายแสงสว่างออกไปทั่วห้อง และเมื่อเจ้าของบ้านกลับมาบ้านแล้วเปิดไฟ แสงสว่างจากโคมไฟจะทำให้เขารู้สึกว่าค่ำคืนนั้นเต็มไปด้วยความผ่อนคลายและมีความสุขอย่างที่สุดค่ะ


         ในปี 1924 PH Lamp ชนะรางวัลโคมไฟจากงาน Paris World Exhibition นับแต่นั้นเป็นต้นมาจึงเรียกขานโคมไฟนี้ว่า Paris Lamp และก็ผลิตแทบไม่ทันขายดีเป็นเทน้ำเทท่า และยังคงผลิตซ้ำอยู่จนถึงทุกวันนี้ค่ะ

 

 
   
 


           Jari เล่าว่าดีไซน์เนอร์อีกคนที่ดังไม่แพ้ Henningsen คือ Lisa Johansson-Pape ดีไซน์เนอร์ชาวฟินแลนด์ ที่มีทักษะในการใช้ Lightings เข้าไปเพิ่มความงามให้กับอาคารและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ได้อย่างยอดเยี่ยม มีความกลมกลืนเหมาะเจาะ ความมีพรสวรรค์ของ Lisa ทำให้เธอได้รับคัดเลือกให้เป็นที่ปรึกษาทางด้าน Lightings ให้กับมัสยิดในกรุงเมกกะ และ Lisa ยังได้เดินทางไปรอบโลกเพื่อจัดนิทรรศการและบรรยายเผยแพร่ให้ความรู้ทางด้านLightings แก่ดีไซน์เนอร์และบุคคลทั่วไปที่สนใจอีกด้วยค่ะ


           ถึงอุตสาหกรรมด้านการออกแบบในประเทศแถบสแกนฯ จะเฟื่องฟูเพียงใดก็ตาม ก็ต้องพบกับจุดวิกฤติเช่นเดียวกันค่ะ Jari บอกว่าจุดตกอับที่สุดน่าจะเป็นช่วงปลายปี 1960 ซึ่งเป็นช่วงที่การออกแบบสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเซรามิค สิ่งทอ แก้ว เฟอร์นิเจอร์ทั้งหลายจากประเทศอิตาลีเริ่มเข้ามาตีตลาดโลก เพราะว่ามีดีไซน์ที่โดนใจและทันสมัย ทำให้สินค้าของสแกนฯ ดูล้าสมัยและสามารถคาดเดาได้เลยว่าดีไซน์จะออกมาเป็นรูปร่างหน้าตาอย่างไร  โรงงานต่างๆ มียอดขายที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องและมีจำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดกิจการลงไป สำหรับโรงงานที่ยังเปิดอยู่ก็ต้องผลิตสินค้าตามสมัยนิยมเพื่อประทังโรงงานให้อยู่รอดได้เท่านั้นค่ะ

 

 
   
 


          เมื่อมีฟ้ามืดก็ต้องมีฟ้าสว่าง Jari เล่าว่าตกอับไม่นานหรอกค่ะ พอปลายปี 1980 ประเทศในแถบสแกนฯ ก็กลับมารุ่งเรืองได้อีกครั้ง เพราะมีดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ถือกำเนิดขึ้นและมีชื่อเสียงโด่งดังก้องโลก อย่าง Thomas Eriksson (มือถือ Nokia), Pia Wallen (เครื่องประดับ รองเท้า Slipper), Bjorn Dahlstrom (เฟอร์นิเจอร์) และ Thomas Sandell (เฟอร์นิเจอร์) ดีไซน์เนอร์เลือดใหม่ไฟแรงเหล่านี้ทำให้ประเทศในแถบสแกนฯ สามารถกลับมายืนหยัดบนแผนที่โลกแห่งการออกแบบได้อย่างภาคภูมิใจได้อีกครั้งหนึ่งค่ะ

 

 
  อ่าน เรื่อง Lighting ต่อ ที่ Issue ที่ 39 “Textile สไตล์ชาวสแกนฯ” ค่ะ  
 

ขอบคุณ : ข้อมูลอ้างอิง และภาพจาก PAGEONE : scandinavia modern

 

 

 
  -- mammos --        
           

 

 

 
Home | About Bareo | News & Events | Art of Design | Decor Guide | The Gallery | Living Young | Talk to Editor | Links
 
บริษัท บาริโอ จำกัด
50 ซอยบรมราชชนนี 4 ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700    Tel. 66 2881 8536-7    Fax. 66 2881 8538